เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 19925 ตำนาน " พริฏิษ แฟกฏอรี่ "
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 12:27

พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จัน)  คนนี้มีชื่อเป็นฝรั่งว่า  เบเนดิก   (จากจดหมายเหตุเรื่องทูตอเมริกันฯ )เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 13:00

เรื่องเรือกลไฟ

กาลต่อมา   ที่เกาะอังกฤษได้คิดสร้างเรือกลไฟขึ้นได้แล้ว  และเรือนั้นทำด้วยเหล็กหาได้ทำด้วยไม้อย่างเรือทั่วๆ ไปที่เคยมีมา   ทั้งสามารถเดินทะเลบรรทุกสินค้าได้    นายหันแตรเห็นว่าเรือนี้น่าจะขายได้ในกรุงสยามจึงได้สั่งเรือเหล็กนั้นเข้ามา ๑ ลำ   เมื่อเรือเหล็กนั้นเข้ามายังกรุงสยาม   ชาวพระนครได้แตกตื่นแห่แหนไปดูเรือนั้นกันมาก  ด้วยลือกันว่าเหล็กลอยน้ำได้   

เจ้าพนักงานได้นำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๓    ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท    ในชั้นแรก   ในหลวงทรงสงสัยจึงได้มีรับสั่งให้เจ้าพนักงานไปตรวจสอบเรือนั้นดูแล้วนำความมากราบบังคมทูลรายงาน    เจ้าพนักงานไปตรวจสอบเรือแล้วมาเฝ้าฯ กราบบังคมทูลว่า   ได้ตรวจดูเรือตามที่ได้รับรับสั่งแล้ว  เห็นว่าเรือนั้นเป็นแผ่นเหล็กย้ำด้วยหมุด   มีเครื่องจักรเป็นลิ้นสูบ  มีเพลาไปต่อกับจักรข้างท้าย   มีหม้อน้ำติดไฟใช้ฟืนและถ่านเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำขังไอไว้  แล้วเปิดให้ไอเดินตามท่อมาเข้าลิ้นสูบกดให้ชักขึ้นชักลงให้เพลาที่ติดกับใบจักรนั้นหมุนไปทางหนึ่ง    เดินหน้าอีกทางหนึ่ง   ถอยหลังก็ได้   ทรงฟังรายงานเจ้าพนักงานแล้วก็หาได้ทรงเชื่อว่าเหล็กนั้นจะลอยน้ำได้   ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่ได้ทอดพระเนตรเรือนั้น   จนชั้นว่า  ได้เอาบาตรเหล้กลงลอยน้ำแสดงให้ทอดพระเนตร  ก็ยังมิได้ทรงเชื่ออีก


ร้อนถึงพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นอินทรอมเรศร์   (คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์) ได้มีพระดำริด้วยกับมหาดเล็กหลวงนายหนึ่ง   ซึ่งเป็นผู้ชำนาญในเรื่องเข็มมีสตีรและเครื่องจักร เครื่องยนต์กลไก   เพราะได้ร่ำเรียนวิชาความรู้กับหมอเฮาส์ และสังฆราชยวง    มหาดเล็กคนนี้มีเครื่องเจาะ เครื่องกลึงอยู่ด้วย  จึงได้มีพระดำริให้เอาแผ่นเหล็กมาเจาะและย้ำเข้าเป็นรูปเรือเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง  พอเป็นจัวหย่างให้ได้ทอดพระเนตร   พร้อมกับได้ทรงทดลองปล่อยเรือที่ทำนั้นลอยน้ำที่หน้าพระที่นั่งด้วย    รัชกาลที่  ๓ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่าเรือเหล็กนั้นไม่รั่วไม่จมจริงดังเขารายงานครั้งก่อนนั้นแล้ว   ก็ทรงสบโอกาสพระบรมราโชบาย   จึงมีพระราชดำรัสว่า    "พ่อโตก็ทำได้จะไปซื้อของมันทำไม   เมื่อเราต้องการจะใช้ทำเอาเองก็ได้"  (งานเข้าล่ะสิครับ ยิงฟันยิ้ม)   

จึงไม่โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือเหล็กของนายหันแตรนั้นไว้     ทั้งยังมีพระราชดำริว่า   นายหันแตรนี้คอยแต่จะคิดหาทางหลอกลวงสยามโดยหาสิ่งขิงสินค้าต่างๆ จากเมืองนอกมาขายแพงเอาเงินทองเมืองสยามไปมากมาย   นับแต่นั้น  ความโปรดปรานแก่นายหันแตร (หลวงวิเศษอาวุธ) ที่ทรงมีมาแต่เดิมนั้นก็เสื่อมคลายลงอยู่ในเกณฑ์ต้องพิพาท   


ฝ่ายนายหันแตรขายเรือเหล็กแก่พระคลังหลวงไม่ได้  ก็ต้องนำเรือนั้นกลับออกไปจำหน่ายที่อื่น  เป็นการเสียประโยชน์ขาดทุนมาก   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 13:17

เรื่องเรือเหล็กของนายหันแตรนั้น  คงเป็นเหตุของเรื่องพระนายไวยวรนาถ (ช่วง  บุนนาค) ได้คิดสร้างเรือกลไฟขึ้นใช้เป็นครั้งแรกของสยามในกาลต่อมา


เรื่องของนายหันแตร  พ่อค้าอังกฤษในกรุงสยามยังไม่หมดแต่เท่านั้น   

ต่อมา   นายหันแตรเห็นว่า   หอยเบี้ยที่ใช้แลกเป็นเงินปลีกในท้องตลาดกรุงสยาม  ซึ่งเป็นของที่แขกเทศบันทุกเข้ามานั้นมีกำไรมาก  และราคาซื้อขายกันก็ขึ้นลงไม่แน่นอน  สุดแต่ว่าจะมีเบี้ยหอยเข้ามามากหรือน้อย    นายหันแตรได้ความคิดสั่งเอากะแปะทองแดง(เหรียญทองแดง) ตีตราช้างและตัวหนังสือว่าเมืองไทย เป็นกะแปะเล็กๆ ทำที่เมืองเบอร์มิงคำม์  (ตามต้นฉบับ) เข้ามาในสยามด้วยหมายจะได้กราบบังคมทูลให้รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กะแปะทองแดงนี้เป็นเงินปลีกแลกเปลี่ยนในท้องตลาดแทนหอยเบี้ยนั้น


เมื่อนายหันแตรนำกะแปะทองแดงที่สั่งทำนั้นมาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๓   พระองค์ทอดพระเนตรแล้วไม่โปรดและไม่โปรดเกล้าฯ ให้ใช้กะแปะนั้นด้วย   นายหันแตรจึงต้องขาดทุนไปกับการทำกะแปะทองแดงนี้มาก     กะแปะนั้นนับว่าเป็นคราวแรกในเมืองไทยที่มีเหรียญเงินตรา  แม้จะไม่ได้นำมาใช้ก็ตาม   จนกระทั่งรัชกาลที่  ๔ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงกสาปน์ทำกะแปะดีบุกและ โสฬศ อัฐ เสี้ยว ซีกทองแดงใช้แทนหอยเบี้ยขึ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 14:02

นายหันแตรเห็นท่าว่าจะอยู่ค้าขายในเมืองสยามต่อไปไม่ได้  จึงได้เรียกมิสเตอร์เยมส์  เฮส์ <James  Hays> เข้ามาอยู่ในห้าง  ด้วยคงจะหมายให้เข้าหุ้นด้วย  และได้ทำการเป็นเสมียนอยู่ในพริฏิษแฟกฏอรีนั้น  เรียกชื่อกันโดยสามัญว่า เสมียนยิ้ม หรือ ยิ้มเฮส์    และนายหันแตรยังได้เรียกนายโรเบิต  หันแตร ลูกชายที่ออกไปเรียกหนังสือเมืองนอกให้มาอยู่ที่ห้างด้วย   

จากนั้นนายหันแตรก็ได้ให้เจ้าพนักงานนำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๓  ว่าตนจะขอกราบถวายบังคมทูลลากลับออกไปอยู่เมืองนอก   กิจการห้างค้าขายที่ทำอยู่นั้น  ได้ให้เสมียนยิ้มเฮส์ดูแลต่อไป   เมื่อเจ้าพนักงานนำความกราบบังคมทูลในหลวง   ในหลวงได้มีรับสั่งถามว่า  เสมียนยิ้มกับเฮส์ที่นายหันแตรจะให้อยู่ดูแลห้างต่อนั้น  เป็นพี่น้องกันหรืออย่างไร   เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลว่า  เป็นคนเดียวกัน แต่สองชื่อ  (สมัยนั้นคนไทยยังไม่นามสกุลใช้ จึงได้ทรงสงสัย) 


เมื่อนายหันแตรได้นำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๓ แล้ว  ก็เดินทางออกจากกรุงสยามไปเมืองนอก  เล่ากันว่า  นายหันแตรจะไปฟ้องไทยด้วย   เมื่อนายหันแตรออกจากสยามไปแล้วก็สูญชื่อไป  หาได้กลับมาอีกเลย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 14:26

ฝ่ายท่านผู้หญิงทรัพย์  ภรรยานายหันแตร  เมื่อนายหันแตรยังทำการค้าขายอยู่ที่พริฏิษ แฟกฏอรีมีกำไรมากนั้น  ท่านผู้หญิงได้ซื้อที่ดินในตำบลกุฎีจีนไว้แปลงหนึ่ง  แล้วสร้างตึกไว้ให้คนเช่าแห่งหนึ่ง  และได้ปรากฏชื่อต่อมาภายหลังว่า  ห้างมาแลบยูเลียน   

นอกจากนี้ ได้สร้างตึกปั้นหยาที่หลังตึกที่ให้เช่าเข้ามาริมคลองคูวัดประยุรวงศาวาส  นอกเขตกุฎีจีน  นอกกำแพงป่าช้า   สำหรับท่านผู้หญิงอยู่อาศัยเอง

นายโรเบิต  หันแตร  บุตรชายได้มาอาศัยอยู่กับท่านผู้หญิงทรัพย์    นายโรเบิต  ได้แต่งงานกับบุตรสาวของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี  (ไม่แน่ใจว่า คนใด)  บ้านเขมร   มีบุตรชาย  ๒  คนชื่อ  นายโรเบิต ๑  นายชอน ๑   ได้ส่งไปเรียนหนังสือที่เมืองนอก   


ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔  นายโรเบิต  หันแตร  ได้มาทำราชการอยู่กับฯพณฯ สมุหพระกระลาโหม  ในตำแหน่งเสมียนล่ามไทย   ฯพณฯ  ได้กราบบังคมทูลขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายโรเบิต  หันแตร เป็นที่หลวงสุรสาคร  เจ้าท่า  และได้อยู่ในตำแหน่งนี้มา  จนกระทั่งกปิตันบุชเข้ามากรุงสยาม  จึงได้โปรดเกล้าฯ  ให้กปิตันบุชเป็นที่หลวงวิสูตรสาครดิษฐ์ เจ้าท่า แทนหลวงสุรสาคร 


ส่วนเสมียนยิ่มทำการค้าขายที่พริฏิษ แฟกฏอรี  ภายหลังนายหันแตรกลับไปแล้ว  ก็ไม่ได้มีกำไรอย่างครั้งนายหันแตรทำการค้า   มีแต่ขาดทุนจนต้องเลิกทำการค้าที่พริฏิษ  แฟกฏอรีนั้น   จากนั้นก็มีนายโยเสพ  ฝรั่งอังกฤษเข้ามาเช่าที่พริฏิษ  แฟกฏอรีตั้งห้างค้าขายต่อไป  แต่เผอิญถึงแก่กรรมในกาลไม่นาน   จึงได้มีกปิตันปลอน  ฝรั่งอังกฤษเข้ามาเช่าที่ทำการค้าต่ออีก   แต่ก็ทำกิจการได้ไม่นานนัก  ต้องเลหลังล้มละลาย   จากนั้นรัชกาลที่ ๔  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกที่พริฏิษ  แฟกฏอรีให้เป็นที่สำหรับรับแขกเมืองต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาเจริญพระราชไมตรี   นับแต่นั้น  บริเวณพริฏิษ  แฟกฏอรีจึงได้เรียกชื่อใหม่ว่า  ตึกแขกเมือง  ในกาลต่อมา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 14:33

  เรื่องอัฐทองแดง    

     ในปี พ.ศ. ๒๓๗๘  ปีที่ ๑๒ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่สาม  โปรดเกล้าให้
พระยาจุฬาราชมนตรี(นาม)   หลวงท่องนะที(บุญ)  และ  ขุนศรีสมุทรเขต(เนตร)  ออกไปตรวจภูมิประเทศที่เมืองสิงคโปร์  และเมือง
กะหลาป๋าในประเทศชวา    ได้กลับมากราบทูลเรื่องเมืองทั้งสองใช้เบี้ยทองแดง

จึงทรงพระราชดำริสั่งเจ้าพระยาคลัง(ดิษ)ให้คิดสั่งเบี้ยทองแดงกับฝรั่งให้ส่งมาดูเป็นตัวอบ่างเพื่อทรงทอดพระเนตรก่อน

เจ้าพระยาคลังบัญชาให้นายช่างเขียนแบบเป็นสองชนิด

เบี้ยด้านหนึ่งเขียนว่า เมืองไท  มีดาวสองดวง อยู่ข้างบนหนึ่งดวง ข้างล่างหนึ่งดวง       อีกด้านหนึ่งมีรูปช้างและตัวเลข ๑๑๙๗

เบี้ยอีกชนิดหนึ่ง ด้านหนึ่งเขียนว่าเมืองไทย และดาวสองดวง        แต่อีกด้านหนึ่งมีรูปดอกบัวบานแฉ่ง มีใบบัวเห็นด้านข้าง

รัชกาลที่สามไม่โปรด  ได้ทรงซักไล่เลียงเจ้าพระยาคลังอยู่เป็นเวลานาน

เจ้าพระยาคลังก็มีกิริยาอาการดั่งปาเรวัตโปฎก (อ่านคุณหลวงเล็กบ่อยๆ ก็พลอยอ่านออกว่าแปลว่าอะไร)

สรุปแล้วไม่โปรด  เบี้ยที่นำเข้ามา  ๑ ถัง   นั้นก็ตกอยู่ในมือ

หลวงพัฒนพงศ์ภักดี(ทิม)
มิศเตอร์การะโด
หลวงจินดารัก(จัน)
และ ก.ศ.ร. กุหลาบ
รวมถึงบุคคลอื่น ๆ
(อ้างอิง สยามประเภท   เล่ม ๓ หน้า ๑๑๘๔ - ๑๑๘๘)

เรื่องต่อมาก็มีว่า มีสุภาพสตรีไทย สมรสกับชาวต่างประเทศ  ได้สั่งซื้อเหรียญนี้ หนึ่งเหรียญ  ในราคา ห้าแสนบาท(ลงในพันทิปสี่ห้าปีมาแล้ว)
เธอได้แสดงรูปว่าเหรียญนั้นยังบรรจุอยู่ในซองโลหะบางๆของเดิม

นักสะสมหนังสือแนวหน้าแห่งวงการที่เป็นนักสะสมเหรียญได้อธิบายให้ดิฉันฟังว่า เหรียญราคาแพงกว่าหนังสือหลายเท่าเพราะเป็นที่นิยม
จนบัดนี้ดิฉันก็ไม่สามารถจะยอมรับได้ ว่า เบี้ยทองแดง ราคา ครึ่งล้าน
ก็ไม่สำคัญอะไรเพราะดิฉันไม่ใช่นักสะสมเหรียญ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 14:36

อ้า...ดีครับ   มีข้อมูลอย่างนี้   ต้องเอานำเสนอ  ผิดถูกเดี๋ยวค่อยพิจารณากัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 14:45

ตอนเขียนเรื่อง บูรพา  จำได้ว่าเคยเขียนถึงหันแตรคนพ่อว่าเคยขู่รัฐบาลสยาม ขนาดจะเอาเรือรบมาปิดทาง
แต่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ท่านไม่ทรงเกรงกลัว
ความขัดแย้งกับหันแตรกับสยาม มีหลายเรื่องด้วยกันค่ะ    ในที่สุดเขาก็ออกจากสยามไป
ส่วนลูกชายที่เป็นล่ามนั้น   หมอบรัดเลย์เล่าว่าดื่มสุราเป็นอาจิณ  จนเมาตกน้ำตาย

โรเบิต ฮันเตอร์ เป็นผู้ที่เจอฝาแฝด อินจัน เข้าโดยบังเอิญ   มองเห็นช่องทางจะทำเงินได้ก็เลยขอ(ซื้อ)มาจากพ่อแม่
ยังค้นกูเกิ้ลไม่เจอประวัติของเขา ว่าตายเมื่อไร  ต้องขอแรงสมาชิกอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 22:46


สยามประเภทเล่ม ๑  ตอน ๑ - ๑๒  หน้า ๗๗๒ - ๗๗๓  แจ้งว่า
(พ.ศ. ๒๓๘๗)

   เมื่อ วันที่ ๒๔ เดือนเฟบรุเอรี ศักราช ๑๘๔๔  มิศเตอร์หันเต้อได้ทิ้งบุตรภริยาไว้ในกรุงเทพ 
หานับไปได้ไม่

เพราะราชาธิปไตยสยามอ้างว่า ทรัพย์ภรยาเป็นคนไทย  บุตรหันเต้อต้องไปไม่ได้
ต้องอยู่กับมารดาตามกฎหมายไทย

หันเต้อออกไปถึงแก่กรรมที่เมืองอินเดีย


ได้พยายามโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาหลายวันแล้วค่ะ  ไม่มีรายการ
เรื่องการฝังศพ
หันเต้อเป็นคนสก้อต


ในหน้า ๗๗๑  บอกว่าภรรยาเป็นชาววังหลัง  แต่มาเข้ารีดบาดหลวงบ้านกระดีจีน  ถือศาสนาโรมันกะทอลิก(บาดหลวงฝรั่งเศส)

โรเบิศ หันเต้อผู้บุตร ได้ภรรยา เป็นบุตรีพระยาวิเศษสงครามรามภักดีจางวางกรมทหารปืนใหญ่(แก้ว)  ถือศาสนาโรมันกะทอลิก

ต่อมาโรเบิศ ได้เป็นหลวงสุดสาครในกรมท่า

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 พ.ค. 10, 22:06

หนังสือจดหมายเหตุ The Bangkok Recorder  May lst  1865  No. 5

หน้า ๒๒

ความมรณ


     ณ วันพุธ เดือนห้า แรมเก้าค่ำ  ปีฉลู สัพตศก       มิศเตอ โรเบิด หันแตร  ผู้เป็นล่ามแลเสมียน  ในเจ้าพระยาศรีสุริย์วงษ

ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านเขา


      มีข่าวว่าถึงแก่กรรมเพราะกินสุรา  ได้ยินว่าเขาอดได้ห้าเดือนแล้วมิได้รับประทานเลย   แต่เมื่อก่อนตายได้ห้าวัน  

มีคนอังกฤษที่เป็นเพื่อนกันสองสามคนมาเยี่ยม   เขาเห็นเหล้าฝรั่งเศสตั้งอยู่สองขวดสามขวด   แต่ยังหาได้เปิดออกไม่

เป็นเหล้าที่เพื่อนของมิศหันแตรคนหนึ่งฝากมาให้เมื่อครั้งก่อน         มิศหันแตรตั้งใจว่าจะไม่กิน  แต่คนนั้นมาชักชวนให้กิน

มิศหันแตรขัดเขามิได้   จึ่งเปิดขวดออกให้เขากิน             ตั้งแต่นั้นมามิศหันแตรก็กินบ่อยๆ

ใจก็วุ่นวายไป          เมื่อใกล้จะตายก็ลงท้องนัก


(มิศ คือ มิศเตอร์)
(บรัดเล ถือโอกาสอบรมเรื่อง โทษของสุราอีกยาวเลยค่ะ)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 08:30

ขอขอบคุณคุณวันดีที่กรุณาหาข้อมูลมาเสริมเพิ่มให้สมบูรณ์มากขึ้น

บางกอก รีคอร์เดอร์ นี่มีประโยชน์จริงๆ   ฉบับที่ในหลวงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณสมหมาย  ฮุนตระกูล   มีสองสี  คือ ปกสีเทา  กับปกสีนำตาล  เนื้อหาเหมือนกัน  เป็นที่นิยมของนักสะสมและค้นคว้ากันนักหนา     ทราบว่าราคาเล่มละหลายพัน ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 09:39


     สี่พันบาท  นานมาแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 10:03


       ความที่คุณหลวงเล็กนำมาเล่า  น่าฟังเพราะอ้างอิงพิงกันไว้แน่นหนาปานกระบุงที่ขุนแผนสาน

ใครจะมาเพิ่มเติมได้        ดิฉันมีข้อมูลจากแหล่งอื่นก็นำมาลงปะทะไว้ก่อน

อาจจะเรียกว่าสนองบัญชาสนับสนุน    (เพิ่มเติม เป็นศัพท์ที่กลัวมาก  โผล่มาทีไรยุ่งทุกที)



     อันที่จริงก็เป็นห่วงคุณหลวงอยู่  เกรงว่าท่านผู้ใดเกิดอ้าง Romance of the Harem เข้า คุณหลวงจะวิงเวียน

เพราะตัวภรรยาหันแตรนั้น เกิดชื่อ  โรซา  เป็นลูกของอำแดง ทรัพย์

ตาหันแตรนี่แกเป็นคนสก้อต ที่ตะหนี่เหนียวแน่น  แถมเป็นโปรเตสแต้นท์  แกเลยส่งลูกชายสองคนไปเมืองสก้อตเสีย

ถ้าเชื่อเรื่อง แหม่มโรซานี้   ก็ต้องเชื่ออะไรพิลึก ๆ ที่ขวัญใจของนักค้นคว้าทางประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เล่าไว้

ทราบแค่นี้เองค่ะ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 09:43


   อ่านเรื่องเรือแกล้วกลางสมุทรอยู่เมื่อวันวาน 

เนื่องจากต้องไปวิ่งเก็บ หมุด ที่คุณท่านเจ้าของเรือนแจก

จึงต้องปั่นกระทู้ของตนเองก่อน   ฮ่ะ ๆ   สหายย่อมเข้าใจ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 พ.ค. 10, 10:54

เล่าเรื่องบทความตำนาน พริฏิษ  แฟกฏอรี ต่อ

ตวันสาย ผู้เขียนบทความยาว รัตนศัพท์สงเคราะห์  ตอน พริฏิษ  แฟกฏอรี  ได้เล่าต่อไปว่า

เมื่อเซอร์  ยอน เบาวริง  เดินทางเข้ามาทำสนธิสัญญากับสยาม   ตึกในบริเวณพริฏิษ  แฟกฏอรี  ชำรุดเสียหายอยู่ ยังไม่ได้ซ่อมแซม   จึงต้องปลูกทำเนียบรับเซอร์ ยอน เบาวริง  ในบริเวณพริฏิษ  แฟกฏอรี แทน    จากนั้นจึงได้เริ่มการซ่อมตึกแขกเมืองอีก   

ครั้นต่อมา  มองตีงี ราชทูตกรุงฝรั่งเศสได้เข้ามาเจรจาทำสนธิสัญญากับสยาม  ตึกแขกเมืองนั้นยังซ่อมไม่แล้วเสร็จ   ทางราชการไทยจึงได้จัดหอนั่งของสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ให้เป็นที่พักของคณะราชทูตฝรั่งเศส   ด้วยครั้งนั้นราชทูตฝรั่งเศสได้พาครอบครัวเข้ามาด้วย

ตึกแขกเมืองในพริฏิษ  แฟกฏอรี นั้นเมื่อซ่อมแซมแล้วเสร็จ  ในยามที่ว่างแขกเมืองเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงสยาม   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตึกแขกนั้นเป็นที่อาศัยของบรรดาฝรั่งที่เข้ามารับราชการอยู่กับรัฐบาลสยาม   อันมี นายเบตเมน  เป็นต้น

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง