เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3531 ใครพอจะเคยได้ยินชื่อร้านรูปสมัยเก่าที่ชื่อ Chia Teng Leng บ้าง
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


 เมื่อ 26 เม.ย. 10, 13:53

ใครพอจะเคยได้ยินร้านรูปสมัยเก่าที่ชื่อ Chia Teng Leng หรือ Chia Peng Leng ในกรุงเทพฯบ้าง พอดีไปเจอรูปเก่าแล้วมีตราของร้านแปะไว้ ได้ลองค้นหาในเนตแล้วไม่มีข้อมูลเลยอยากรบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำข้อมูลต่างๆและรายละเอียดของร้านด้วยประมาณว่าอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลใด ปีใด ที่ตั้งร้าน ฯลฯ

ข้อมูลหลังรูปเขียนว่า

"Portraits Painted
Artistic Photographs
Enlargements"


"Photographic
Artistic
Bangkok"


ยังไงขอรบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วย
บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 พ.ค. 10, 12:25

ไม่มีท่านใดพอจะมีข้อมูลแนะนำบ้างเลยเหรอ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 พ.ค. 10, 13:36

แต่ช้าแต่..........



ไม่ทราบเลยค่ะ         เพื่อนๆก็ไม่ทราบ

ถ้าถามเรื่องสติลเฟรดนี้  เราก็พอจะบรรยายไปได้อีกสองหน้า


เรื่องเดา  ขอความกรุณาอย่าให้เดาเลยนะคะ      ครูบาอาจารย์ของดิฉันท่านห้ามไว้เป็นสาหัส

ถ้าไม่มีที่ไปที่มา     คนจะเย้ยเยาะได้


ก็ได้พยายามตรวจรายชื่อธุรกิจในโฆษณาเก่า ๆ ให้แล้วค่ะ   ยังไม่พบเลย
บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ค. 10, 13:22

ขอบคุณทางคุณวันดีและท่านอื่นๆเป็นอย่างสูงที่กรุณาสละเวลาช่วยค้นคว้าหาข้อมูลให้เพราะทางนี้ก็ได้พยายามค้นหาหลายๆทางแล้วก็ยังมืดแปดด้านเช่นกัน
ไม่รู้จะหาข้อมูลได้จากทางไหน เพราะลองเอาชื่อร้านค้นดูก็ยังไม่พบแม้แต่อย่างใด แต่ที่เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่พอจะให้ได้ ก็ได้จากลักษณะและการพิมพ์ของตัวอักษร กล่าวคือตัวอักษรที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นตัวอักษรที่เป็นสมัยใหม่คือถ้าอายุสักราวๆ25 ปีขึ้นไปน่าจะทันได้ใช้เรียนคัดลายมือเพราะส่วนตัวไม่แน่ใจว่าตัวอักษรแบบนี้ยังใช้กันอยู่หรือไม่ (ที่ลักษณะเส้นโค้ง หัวกลมๆใหญ่ เช่นตัว C ก็จะหัวกลมหันไปทางขวาในขณะที่ตัว S หันหัวกลมไปทางซ้าย) คือไม่ได้ใช้พิมพ์ด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่แบบ ABC แต่อย่างใด อีกทั้งตัวอักษรก็ปั้มเป็นตัวนูนสีทองแต่ก็มีรอยจางไปบ้าง แต่ตัวรูปนี่เก่ามากจนซีดแล้ว เลยทำให้ดูขัดๆกันระหว่างตัวรูปกับร้านรูป ยิ่งทำให้ไม่แน่ใจในการหาข้อมูลและทำให้มันดูยากขึ้นไปอีก

และอยากจะขอรบกวนเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง คืออยากจะทราบว่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 ในท้องที่ต่างจังหวัดในแถบภาคกลางตอนบน-ภาคเหนือตอนล่างได้เริ่มมีร้านถ่ายรูปแล้วหรือยัง เพราะมีรูปอีกรูปหนึ่งที่ปรากฎหลักฐานว่าถ่ายในปี 2455 เลยทำให้เกิดข้อสงสัยว่าสมัยนั้นจะเอากล้องหรือตากล้องจากที่ไหน เพราะน่าจะเป็นของที่หายาก น่าจะมีแต่ในพระนคร อีกทั้งรูปที่มีนั้นเป็นการมาถ่ายรูปถึงที่บ้าน ไม่ได้ไปถ่ายที่ร้านแต่อย่างใด เลยอยากทราบถึงความเป็นไปได้ของการใช้กล้องถ่ายรูปหรือร้านถ่ายรูปในช่วงสมัยนั้น สำหรับในท้องที่ต่างจังหวัด

ขอบคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้งสำหรับข้อมูล
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 พ.ค. 10, 07:12

ได้ตรวจ หนังสือพิพิธภัณสัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔    

เป็นหนังสือรายชื่อข้าราชการ ตามกระทรวงต่าง ๆ  และ แยกตามตัวอักษร และ บัญชีห้างร้านต่างจังหวัด
ลงไปทุกมณฑลและจังหวัดแล้ว
ไม่พบชื่อนี้ค่ะ
การที่ไม่พบ  มิใช่จะหมายความว่าไม่มี  อาจจะมีในเอกสารอื่น


เวลานั้นคือ รัขกาลที่ ๗         ข้อมูลมีรายชื่อของข้าราชการตั้งแต่รัชกาลก่อนบางท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้น

หนังสือออกมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง      จึงโดนทำลาย  ไม่มีผู้ใดเก็บไว้   เป็นบันทึก บรรดาศักดิ์และราชทินนาม ครั้งสุดท้ายของไทย



การมาถ่ายรูปถึงบ้าน  เป็นเรื่องธรรมดาตั้งแต่แรกมีช่างภาพฝรั่งระดับ ตอมสั้น เข้ามาแล้ว

พระยาหนึ่งท่าน รับราชการอยู่ต่างจังหวัด  เมื่อมาราชการที่พระนคร  ได้พาช่างถ่ายภาพ ไปถ่ายเจ้าพระยา รายหนึ่งที่จวน (จับเส้นเก่ง แปลว่า ประจบได้ถูกใจ)
นัยว่าเจ้าคุณท่านตั๋งมาก  (ในยุคต่อมาอ่านพบว่าใช้คำว่า "อู๋")
ลูกหลานและหนังสือพิมพ์สมัยนั้น ชื่นชม   ถ่ายออกมา ๖ ภาพหรืออะไรนี่
แต่พออยากได้ภาพอีกที   ปรากฎว่าพระยาท่านนั้นเก็บกระจกไปต่างจังหวัดด้วย      เลยไม่มีใครได้ภาพท่านเจ้าพระยาอีกเลย

เรื่องนี้บรัดเล บ่นไว้ ตามนิสัยฝรั่งสูงอายุ


แวะมาแจ้งว่า   ยังมอง ๆ ให้ค่ะ          ไม่มีตำราถ่ายภาพรูปโบราณ เพราะไม่ได้อ่านแนวนี้
บันทึกการเข้า
propaganda
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 พ.ค. 10, 22:15

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับข้อมูลที่ช่วยค้นหามาให้ โดยส่วนตัวก็ได้พยายามหาหลายๆด้านอยู่เหมือนกันแต่ก็ยังไม่มีไรคืบหน้าเลย ขอขอบคุณอีกครั้ง ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 พ.ค. 10, 23:36



บางกอกคาลันเดอร์ปี ค.ศ. ๑๘๖๒  มีแจ้งความ

องค์การ
ห้างร้าน
โรงเลื่อย
โรงสี
อู่ต่อเรือ
พ่อค้าแขกมี ๒๐ ชื่อ
พ่อค้าจีนตั้งอยู่สองฝั่งเจ้าพระยา  มี ๓๐ ชื่อ

อ่านมาจาก ก้าวแรกของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย  ขจร สุขพานิช  พิมพ์เป็น

หนังสืออนุสรณ์ ให้ หลวงบุณยมาณพพาณิชย์(แสงทอง) เมื่อ ๒๕๐๘, หน้า ๒๐

มีแต่เล่มบาง ๆ สีเขียว  เดี๋ยวจะลองดูให้นะคะ  ถ้ามีก็จะแจ้นมาค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง