เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 8713 หมอบรัดเลย์
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 ก.พ. 01, 20:34

ขอบคุณมากค่ะตุณปะกากะออม
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ก.พ. 01, 22:27

ขอบคุณจริงๆค่ะที่กรุณาไปค้นให้  อยากทราบมานานแล้ว
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.พ. 01, 02:24

ลองหา บางกอกริคอร์เดอร์ อ่านดูสิครับ ในเมืองไทยน่าจะหาได้ ที่คุณเอนก นาวิกมูล พิมพ์ออกมาใหม่บ้างแล้วก็มี แล้วจะเห็นความคิดของหมอ "ปลัดเล"  (สำเนียงไทยเรียก - เลยเป็นแต่ปลัดจนตาย ไม่ได้เลื่อนขึ้นเลย)
ดูเหมือน นายหนหวย ก็จะเคยเขียนเรื่องของหมอปลัดเล

ใช่หมอปลัดเลหรือเปล่านะ ที่มีส่วนทำให้ไทยใช้ชช้อนกับส้อมเป็นเอกลักษณ์ไทยจนเดี๋ยวนี้?
สังเกตมั้ยครับว่า ไม่มีชาติไหนใช้ช้อนคู่กับส้อมเลยนอกจากไทย (ยกเว้นสมัยหลังๆ นี่เองที่มีการถ่ายทอดกันไปมา จนร้านเอเชียในเมืองฝรั่งเอาช้อนส้อมขึ้นโต๊ะ ตามไทย กันไปหมดแล้ว) ดั้งเดิมแท้จริงๆ นั้น ไทยเปิบมือ เหมือนอินเดียและชาติเอเชียอีกหลายชาติ ส่วนจีนและชาติที่รับวัฒนธรรมจีนก็ใช้ตะเกียบ ฝรั่งก็ใช้มีดกับส้อม และมีส้อมสลัด ส้อมปกติ มีดเนย มีดเนื้อ มีดปลา ช้อนซุป ช้อนหวาน ฯลฯ อีกเยอะ ชาติที่ต่อมาตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง ถ้าไม่รับใช้มารยาทโต๊ะกินมีดส้อมแบบฝรั่งไปเลย ก็กลับไปหารากเดิมของตน คือ กินเปิบมือหรือตะเกียบต่อไป

แต่ไม่มีใครฉลาดประยุกต์ใช้ช้อนมากินข้าวคู่กับส้อม ได้เหมือนไทย แม้แต่ฝรั่งเองเวลาจะกินข้าว ก็กินข้าวด้วยมีดกับส้อม (ซึ่งไม่ถนัดที่สุด) เมื่อไทยกำลังเผอิญกับการคุกคามทั้งทางวัฒนธรรมและทางการเมืองจากฝรั่ง สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กลุ่มหัวก้าวหน้าในสยาม ตั้งแต่ ร.4 สมเด็จพระปิ่นเกล้า ลงมา เห็นกันว่าต้องค่อยๆ ปรับรับใช้ธรรมเนียมตะวันตกบางประการ ไม่ให้ฝรั่งดูถูกว่าป่าเถื่อนแล้วหาเหตุยึดเมือง

วันหนึ่งก็มีรับสั่งวังหน้า คือพระปิ่นเกล้าฯ เชิญหมอสอนศาสนาฝรั่งผัวเมียคู่หนึ่ง ซึ่งผมรู้สึกจะเป็นพ่อปลัดเลนี่เอง กับภริยา ให้ไป "ดินเน่อร์" เวลาแปดโมงเช้า (!) ที่วังที่ประทับ คือ ไปสาธิตการกินอาหารแบบฝรั่งใช้เครื่องโต๊ะฝรั่ง หมอสอนศาสนาคู่นั้นก็ไปแสดงให้ทอดพระเนตร ถึงจะต้องกินดินเน่อร์เช้ากว่าปกติหลายชั่วโมงก็ไม่เป็นไร

สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สนพระทัยสอบถาม มารยาทโต๊ะและเครื่องโต๊ะแบบฝรั่ง ซึ่งฝรั่งคนสาธิตก็อธิบายถวายทุกอย่าง จนหมดจบสิ้นกระบวนการกินเลี้ยงโต๊ะแบบฝรั่ง (ซึ่งใครเคยนั่งโต๊ะแบบฝรั่งเมยศก็คงจะนึกออก ว่าเรื่องมากเป็นบ้าเลย)

พระปิ่นเกล้าฯ ท่านทรงเห็นว่า เครื่องโต๊ะแบบฝรั่งแท้นั้นรุงรังมาก (จริงๆ ก็รุงรังจริง) จึงทรงเลือกไว้แต่ส้อมคันหนึ่ง กับช้อนอย่างช้อนหวานฝรั่ง ไม่ใช่ช้อนซุป คันหนึง เข้าคู่กันกันเป็นเครื่องโต๊ะไทย คือช้อนส้อมคู่แรกในเมืองไทยและในโลก มีดฝรั่งสารพัดอย่างนั้นทรงไม่เลือกใช้เลย ช้อนนั้นต่อมาก็ปรับขนาดให้เหมาะมือเหมาะปากคนไทย และปรับใช้ให้เป็นอย่างที่คนไทยใช้ คือใช้ตักข้าวเข้าปากด้วยมือที่ถนัด (มักจะเป็นมือขวา) และถือส้อมคอยช่วยอีกมือหนึ่ง (มักเป็นมือซ้าย) ซึ่งไม่มีชาติไหน แม้แต่ฝรั่ง ทำมาก่อนในโลก

หมอปลัดเลจึงเกี่ยวโดยอ้อมกับช้อนส้อมด้วยประการฉะนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.พ. 01, 12:18

หนังสือต้องห้ามที่ว่า น่าจะเป็นหนังสือของพระยากษาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ที่พิมพ์โดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต นะคะ
เลยถูกสั่งห้าม ริบหมด

สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เคยสัมมนาเรื่อง "หมอบรัดเลย์กับสังคมไทย" ไว้ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๘  รวมเอกสารได้เล่มโตทีเดียวค่ะ

ถ้าคุณเจ้าของกระทู้สนใจเรื่องหมอเยอรมันที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสังคมไทย ลองค้นหานายแพทย์ Carl Augustus Friedrich Gutzlaff ดูนะคะ
เขาเคยเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในสมัยรัชกาลที่ ๓  แจกยา แต่ไม่ได้ผ่าตัดรักษาโรค  อยู่ในสยามจนถึงพ.ศ. ๒๓๗๔ แล้วเดินทางต่อไปที่จีน
เขาได้ทำรายงานไปยังสภาคริสตจักรแห่งอเมริกา ขอมิชชันนารีมาทำงานต่อในไทย  ทำให้  ABCFM American Board of Commissioners for Foreign Missions ส่งมิชชันนารีมาหลายชุดด้วยกัน
ชุดที่สามที่มาเผยแพร่ศาสนา  คือหมอแดน บีช แบรดลีย์ค่ะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ก.พ. 01, 01:25

เอ...อ่านแล้วนึกขึ้นได้ ใช่หมอปลัดเลหรือเปล่าคะที่กำจัดโรคไข้ทรพิษให้หมดไปจากเมืองไทย โรคที่มีนำเหลิองไหลเต็มตัว พอหายก็เป็นแผลเป็นปูดๆเต็มไปหมดน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 ก.พ. 01, 01:28

คือดิฉันหมายถึงโรคฝีดาษค่ะ เอ๊ะ โรคฝีดาษกับไข้ทรพิษใช่โรคเดียวกันไหมคะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 ก.พ. 01, 21:25

เผอิญไม่ใช่หมอครับ ไม่ทราบจริงๆ
ถ้าคุณส้มหวานจะค้นเรื่องคนเยอรมันที่มีส่วนเกี่ยวพันกับสยาม นอกจากหมอกิศลับที่คุณเทาชมพูและคุณปะกากะออม (ชื่อคุณใช่ภาษากะเหรี่ยงมั้ยครับ คุ้นๆ) ว่ามาแล้ว ผมขอแถม นายยาโค้บ ไฟท์ Jacob Feit ให้ลองไปค้นด้วยอีกคนครับ
เท่าที่ผมไปค้นเพิ่มมา จากที่เคยจำได้ตะหงิดๆ แฮร์ไฟท์ เป็นชาวเมืองเทรียร์ (Trier) ลุ่มแม่น้ำโมเซ็ล เขตชายแดนเยอรมันกับลักเซมเบอร์ก มีชีวิตอยู่เมื่อราว 100 กว่าปีกอน เคยเดินทางเผชิญโชคไปถึงอเมริกา เข้าร่วมรบในสงครามกลางเมืองอเมริกัน เสร็จสงครามแล้วตุหรัดตุเหร่มาจนถึงเมืองสยาม เข้ารับราชการกับฝ่ายไทยจนได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีหลวงประจำวังหน้าเมื่อ พ.ศ. 2410 แฮร์ไฟท์ แต่งงานกับแม่ทองอยู่ สาวไทยเชื้อมอญ มีบุตร 3 คน คนสุดท้องชื่อ เพเท่อร์ ไฟท์ ต่อมาใช้ชื่อไทยว่า ปิติ ไวทยาการ สืบทอดความสามารถทางดนตรีมาจากบิดา นายปิติ ทำงานเป็นล่ามกรมรถไฟหลวง เป็นขุนเจนรถรัถ แล้วต่อมาในสมัย ร.6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายให้ไปประจำกรมมหรสพ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดกรมนั้น ทำหน้าที่ควบคุมวงเครื่องสายฝรั่งหลวง ได้รับพะราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์ และราชทินนามใหม่ว่า หลวงเจนดุริยางค์
ปี 2465 ได้รับพระราชทานเลื่อนเป็น พระเจนดุริยางค์
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คุณพระเจนดุริยางค์นี่แหละครับ ที่เป็นผู้แต่งทำนองเพลงชาติไทยที่เราร้องกันอยู่
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ก.พ. 01, 15:54

ขอบคุณ คุณเทาชมพู มากค่ะที่กรุณาให้ข้อมูลที่ถูกต้องเรื่องการพิมพ์หนังสือกฎหมายตราสามดวง  ดิฉันไม่น่าจับแพะชนแกะได้ถึงขนาดนี้ ทั้งที่เคยทำรายงานเรื่องกฎหมายตราสามดวงส่งอาจารย์มาแล้วด้วย

สำหรับเรื่องหมอบรัดเลย์ กับ ไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ ตอบคุณส้มหวาน ได้ว่าใช่คะ  แต่การกำจัดโรคนี้หมดไปจากเมืองไทยยังไม่ใช่ฝีมือบรัดเลย์หรอกนะคะ  เขาเป็นเพียงคนนำหนองฝีเข้ามา และริเริ่มการปลูกฝีป้องกัน   แต่ก็เป็นยุคแรก ๆ นะคะ  ปลูกขึ้นบ้าง  ไม่ขึนบ้าง  ถึงอย่างไรก็ต้องให้เครดิตกับบรัดเลย์

คุณ นกข. ขา ชื่อดิฉันไม่ได้มาจากภาษากระเหรี่ยงหรอกคะ    ลองเดาสิคะเป็นภาษาอะไร
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ก.พ. 01, 22:22

รู้สึกว่าภาษากะเหรี่ยงมีคำว่า ปญากะญอ แต่ปะกากะออมเป็นภาษาอะไรนั้น สารภาพว่าจนด้วยเกล้าครับ
บันทึกการเข้า
B
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ก.พ. 01, 14:38

If I remember it correctly, "ปญากะญอ" is the word  กะเหรี่ยง call themself.
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ก.พ. 01, 17:08

ในภาษากระเหรี่ยง "ปรา"(ออกเสียงหนัก ๆ ในคอ)  แปลว่า ฉัน  "กะยอ" แปลว่า คน
ความหมายคือ ฉันคือคน
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 ก.พ. 01, 00:48

แล้ว ปะกากะออม ล่ะครับ?
ถ้าเป็นภาษาไทย เดาว่า กาน้ำคงจะรั่วอยู่ เลยเอาไปปะ เพื่อตั้งใจจะเอาไว้เก็บออมอะไรสักอย่าง (น้ำ?) - จึงกลายเป็น ปะกาน้ำชา กะว่าจะออม....
แต่ถ้าเป็น ปะกากะอ่อม ก็แปลได้ว่า เดินๆ ไปเจอะ (ปะ) กาเข้าตัวหนึ่งเลยยิงเสีย กะว่าจะเอามาทำแกงอ่อม...

โปรดเฉลยด้วยครับ ก่อนผมจะเข้ารกเข้าพงไปไกลกว่านี้
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 ก.พ. 01, 01:06

ก๊ากกก คุณ รกข พักหน่อยเถอะค่ะ

มารอฟังคำเฉลยด้วยคนนะคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 ก.พ. 01, 01:08

ต๊ายยยย โทษทีค่ะ  ไม่ได้ไปพิมพ์มาก่อนเหมือนเคย (ด้วยความมั่นใจในฝีมือพิมพ์ของตัวเองสุดๆ)  เลยพิมพ์ผิดเพราะตรวจปรู๊ฟตัวกรีกไม่ได้  
ต้องขออภัยคุณ นกข ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 ก.พ. 01, 09:57

ว่าเข้าไปนั่น คุณ นกข. ออกมาจากป่าดงดิบได้แล้วค่ะ

เฉลยก็ได้ค่ะ  ไม่เคยบอกใครเลยว่าเป็นภาษาเขมรค่ะ

ปะกา  หรือ ผกา
ปะกากะออม เป็นชื่อดอกไม้หอมชนิดหนึ่ง

มีลายผ้ามัดหมี่ของทางสุรินทร์ ชื่อ อันปรมปะกากะออม  

รู้สึกว่าจะะออกนอกกระทู้นี้มากไปแล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง