เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 8738 หมอบรัดเลย์
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 18 ก.พ. 01, 08:18

เคยทราบมาว่า หมอบรัดเลย์ ที่เข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นชาวเยอรมัน จริงไหมคะ ชื่อจริง-นามสกุลจริงภาษาเยอรมันเขียนอย่างไรคะ คืออยู่เยอรมนีพอดีจีงอยากลองเปืดกรุเอกสารแถวๆนี้ดูค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.พ. 01, 23:42

เอ- ผมว่าแกเป็นอเมริกันนะครับ ชื่อ Bradley ?
มีคนที่เป็นเยอรมัน หรืออย่างน้อยชื่อก็เป็นเยอรมัน ตัวจะเป็นออสเตรียนหรือไรไม่ทราบ คนหนึ่ง เข้ามาเป็นนายวงคุมวงแตรฝรั่งหลวง ดูเหมือนจะชื่อ ไฟล้ทช์.. อะไรนี่แหละ ท่านผู้ผมจำชื่อไม่ได้นี่ เป็นต้นตระกูลของคุณพระเจนดุริยางค์ ซึ่งเป็นผู้แต่งทำนองเพลงชาติไทยครับ นามสกุลของคุณพระดูเหมือนจะ ไวทยากร นี่ก็ว่ามาจากชื่อเดิมในภาษาเยอรมัน
บันทึกการเข้า
โสกัน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 01:51

คนที่เข้ามาคุมวงแตรฝรั่งหลวง ที่คุณนกข. พูดถึง
คงไม่ใช่ นายหันแตร (Hunter) หรอกนะครับ
...ผมแวะเข้ามาได้แป๊บนึงเท่านั้น
แล้วจะเข้ามาคุยเรื่อง
 หมอปลัดเลย์ (Bradley) ด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 03:39

อ้าว..อเมริกันหรือคะ เหมือนคุ้นๆว่าแกเป็นหมอสอนศาสนาชาวเยอรมัน และนำเทคโนโลยีการพิมพ์ของเขาเข้ามาด้วย..แต่ไม่ค่อยแน่ใจค่ะ..ต้องรอผู่รู่ซะแล้วสิคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 05:54

อเมริกันด้วยคนค่ะ  รู้สึกจะมาตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทยน่ะค่ะ  และได้พิมพ์พงศาวดารฉบับเจ้าพระยา...ง่า...เกิดความจำเสื่อมกระทันหันค่ะ  นักประวัติศาสตร์บางครั้งก็อ้างถึงพงศาวดารฉบับนี้ว่า ฉบับหมอบรัดเลย์ค่ะ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 08:46

หมอบรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เป็นอเมริกันค่ะ เป็นชาวรัฐนิวยอร์ค   ส่วนหมอชาวเยอรมันที่เข้ามาก่อนหน้า ชื่อ คาร์ล        กุตสลาฟ  หรือที่คนไทยเรียกว่า หมอกิศลับ

หมอบรัดเลย์เป็นคนแรก ๆ ที่เริ่มต้นงานโรงพิมพ์   ส่วนงานพิมพ์หนังสือนั้น ไม่น่าจะใช่พระราชพงศาวดารหรอกนะคะคุณพวงร้อย  น่าจะเป็นกฎหมายตราสามดวงมากกว่า ที่มีชื่อว่ากฎหมายหมอบรัดเลย์  นับเป็นหนังสือเล่มอื้อฉาว  เพราะพิมพ์สมัยรัชกาลที่ 3  แล้วถูกสั่งเก็บ  เรื่องนี้คุยได้อีกยาว   กับหนังสือเล่มสำคัญที่หมอบรัดเลย์พิมพ์ คือ สามก๊ก

หมอบรัดเลย์เป็นมิชชันนารีที่อยู่เมืองไทยยาวนานถึง 35 ปี ตายในเมืองไทยฝังอยู่ที่สุสานโปรแตสแตนท์  กรุงเทพนี่เอง  

นอกจากงานพิมพ์ ก็มีเรื่องการรักษาโรค นับว่าเป็นหมอตะวันตกคนแรกที่นำเชื้อหนองฝีเข้ามาบ้านเรา  เป็นหมอที่เคยตัดแขนพระที่ได้รับอุบัติเหตุ  เป็นหมอที่ใส่ใจกับปัญหาสุขภาพเขียนบทความหลายชิ้นตำหนิพฤติกรรมของคนไทยสมัยนั้น ทั้งเรื่องเสพสุรา สูบฝิ่น ฯลฯ

นอกจากนี้ยังเป็นหมอที่สนใจเรื่องราวทางการเมือง  มักจะเสนอแนะเกี่ยวกับการเมืองบ่อย ๆ จนบางครั้ง ก็ถูกราชสำนักรู้สึกว่าจุ้นจ้านมากเกินไป  ความคิดเห็นเหล่านี้ของหมอปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์  นับว่าเป็นหนังสือพิมพ์แรกของไทยด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 10:07

Oooops!

ต้องขออภัยคุณพวงร้อยอย่างแรง
พอหยิบหนังสือหมอบรัดเลย์มาเปิดดูก็พบว่า มีการพิมพ์พงศาวดารจริง ๆ อย่างที่คุณพวงร้อยว่า
หนังสือชุดนี้มี 2 เล่ม เรียกว่า พงศาวดารฉบับหมอบรัดเลย์  

ขอแก้ไขที่ถูกต้องมาด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 15:41

ถ้าเป็นหมอสมิธ ละก็ คนนี้เป็นมิชชันนารีชาวอังกฤษ มาตั้งโรงพิมพ์เหมือนกัน แต่อยู่ที่บางคอแหลม
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ก.พ. 01, 23:04

ขอบคุณคุณปะกากะออมมากเลยค่ะ  ที่อุตส่าห์ไปเช็คให้  ดีใจที่เช็คกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องค่ะ  
คุณปะกาฯไม่ทราบมีข้อมูลของพงศาวดารฉบับนี้มั้ยคะ  ว่าชื่อเป็นทางการว่าอย่างไร  ใครเป็นผู้ชำระ  ตีพิมพ์เมื่อไหร่  ดิฉํนไม่มีอะไรให้ค้นเลยค่ะ  
ดิฉันอยากรู้เค้ามูลของพงศาวดารฉบับนี้มานานแล้ว  ขอรบกวนช่วยค้นให้อีกหน่อยนะคะ แหะๆๆ
ไม่ทราบคุณทราบแหล่งที่จะหามาไว้ครอบครองได้ด้วยหรือเปล่าคะ  ขอขอบคุณมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ก.พ. 01, 04:56

ขอบคุณค่ะ หมอบรัดเลย์แกช่างเก่งหลายด้านจังนะคะ อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับพงศาวดารที่แกเขียนเหมือนกันค่ะ ฉบับจริงยังอยู่ไหมคะ ถ้ายังมีอยู่  ยังเป็นสมบัติของคยไทยหรือว่าเป็นของชาวต่างชาติไปแล้วคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ก.พ. 01, 06:30

ไม่คิดว่าหมอบรัดเลย์เป็นคนเขียนนะคะ  แกเป็นเจ้าของโรงพิมพ์แห่งแรก  เค้าก็ไปจ้างให้พิมพ์เหมือนสำนักพิมพ์เอาหนังสือไปพิมพ์กับโรงพิพม์น่ะค่ะ คุณส้มหวาน  คุณปะกากะออมคงดูยืนยันให้ได้นะคะ
บันทึกการเข้า
koong
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ก.พ. 01, 09:57

Presbytarian นิกายนี้น่าจะเป็นอเมริกันนะครับ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ก.พ. 01, 17:37

อุ๊ย ขอโทษค่ะ คุณพวงร้อย เข้าใจผิดไปหน่อย  อย่าวนี้แสดงว่าพงศาวดารฉบับหมอบร้ดเลย์ก็เป็นฉบับที่คนไทยเขียนเองน่สิคะ ไม่มีอะไรที่มาจาก point of view ของแกเลย ไม่รู้ว่าแกอ่านภาษาไทยได้ไหมคะ แล้วแกมีไดอารี่ส่วนตัวหลงเหลืออยู่ไหมคะ แบบว่าอยากอ่าน point of view ของแกเองน่ะค่ะเพราะแกค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักและนับหน้าถือตาของคนสมัยนั้น ไม่เหมือนคุณแหม่มแอนนาค่ะ
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.พ. 01, 08:04

รับปากค่ะว่าจะค้นข้อมูลเกี่ยวกับพงศาวดารฉบับหมอบรัดเลย์  แต่ขอเวลานิดหน่อยนะคะ  

สำหรับ diary ของหมอบรัดเลย์ที่คุณส้มหวานสนใจ  เคยมีคนบอกว่าที่หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพมีไมโครฟิล์มอยู่นะคะ  ยังไม่เคยไปขอดู เห็นว่าเป็นหมื่นหน้าทีเดียว  หรือในกรุงเทพก็มีฉบับย่ออยู่ที่หอสมุดกลางธรรมศาสตร์ค่ะ  ต้นฉบับอยู่ที่อเมริกาโน่น

งานชิ้นสำคัญของหมอบรัดเลย์อีกเล่มคือ อักขราภิธานศรับท์ พจนานุกรมเล่มใหญ่ที่หมอบรัดเลย์อำนวยการจัดทำ    ถือว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าทั้งด้านภาษา และประวัติศาสตร์  เมื่อไม่กี่ปีมานี้ยังซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์
บันทึกการเข้า
ปะกากะออม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.พ. 01, 13:07

คุณส้มหวาน คุณพวงร้อย
ค้นเรื่องหนังสือพระราชพงศาสวดารฉบับหมอบรัดเลย์มาให้แล้วนะคะ

เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ชำระในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชำระและเพิ่มเติมเนื้อหาสมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1   ฉบับนี้เองที่หมอบรัดเลย์ได้นำไปพิมพ์จำหน่ายใน พ.ศ. 2407 มี 2 เล่ม จึงมีชื่อเรียกว่า พระราชพงศาวดารฉบับหมอบรัดเล หรือ ฉบับพิมพ์ 2 เล่ม

นอกจากนี้ยังเรียกว่า พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน  หรือ ฉบับกรมพระปรมานุชิต  หรือฉบับหอสมุดแห่งชาติก็มี

ปัจจุบันคงหาต้นฉบับพิมพ์ได้ยาก  แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับกรมพระปรมานุชิต เข้าใจว่าน่าจะพอหาซื้อได้ตามร้านหนังสือเก่า  หรือลองดูที่ศึกษาภัณฑ์ โดยเฉพาะที่ราชดำเนิน ที่นี่มักจะได้พบหนังสือฉบับพิมพ์รุ่นเก่าที่น่าสนใจเสมอ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง