เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 22464 พระมหาปราสาทฝาแฝด ในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 เม.ย. 10, 13:08

ยังนึกไม่ออกไงครับว่ามันจะตั้งไว้ตรงไหน เพราะที่ในวังหลวงก็เต็มไปหมดแล้ว ซากฐานก็หาไม่เจอ ค่อนข้างงงๆอยู่นะครับ

แต่ก่อนพระบรมมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยาคงจะแออัดยัดเยียดกันไม่แพ้พระราชวังในกรุงเทพทวารวดีนี้เลย 

คิดว่าเอกสารเล่มนี้จะใช้ก็คงต้องพิจารณากันดีๆแล้ว ไม่เช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อความคลาดเคลื่อนเลื่อนล้ำทางประวัติศาสตร์ไปได้ แต่เอาเถิด มันก็เหมือนกับเรามานั่งตั้งกระทู้นั่นแหละ เรามองด้วยสายตาของคนสมัยรัชกาลที่เก้า มองอยุธยาแบบเพ้อๆลมๆก็คงงมงายพอกันกับสายตาคนสมัยรัชกาลที่สี่ ซึ่งอยากจะให้บ้านเมืองของตนยิ่งใหญ่ประดุจมหานครลอนดอน มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่พระเจ้ารามคำแหงมหาราช

ถ้าคนอีกสักร้อยปีมาอ่านกระทู้นี้แล้วเชื่อไปร้อยเปอร์เซนต์ การศึกษาสมัยนั้นคงวุ่นวายน่าดู (หรืออาจจะสะท้อนถึงสิ่งที่เรากำลังกระทำกันอยู่นี่ก็ได้นะครับ อิอิ)
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 16:45

เขียนภาพ ผังด้านบนมาให้ลองพิจารณาดูครับ .. คือยังไม่ความรู้ทำ 3d น่ะครับ 555
จะใช้มือเขียนก็เกรงใจ กลัวจะออกมาผิดส่วนดูไม่รู้เรื่อง 


 ตกใจ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 02:45

คอมมเพล็กพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ครับ ยังไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ขาดสะพานฉนวนไป


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 02:46

 เจ๋ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 02:48

้เดี๋ยวพรุ่งนี้จะลองทำฉนวน แล้วก็แก้เสาให้ลงไปในน้ำจริงๆดูครับ


บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 03:11

กรี๊ดดด หมู่พระตำหนักในฝัน


.....กลับไปฝันต่อดีกว่า...
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 06:41

 กรี้ด.......ด้วย..... น้องกุลุม เสริมนิดนึง หลังพระที่นั่งจะมีห้องสรง และแนวตึกรูปยาวไปตามเกาะของพระที่นั่งบรรยง แล พระที่นั่งโปรยข้าวตอก  อีกทั้งพระที่นั่งดูดาว...น้องเก่งมากกก.ชอบๆๆๆ  สอนพี่มั่งเลย ยังทำได้แค่สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยมอยู่เลย... 
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 11:35

โอ๊ะ ผมผิดพลาดไปเยอะเลย ตอนทำก็อ่านแต่คำให้การ ไม่ได้ดูแผนที่จริง ว่าเขามีอ่างแก้วกับพระที่นั่งทรงปืนด้วย เดี๋ยวต้องไปเพิ่ม รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
asia
มัจฉานุ
**
ตอบ: 78


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 18:34

สวัสดีคับ ทุกคน ตอนนีอยู่อุดร มันร้อนจริงๆๆเลย ฮะ เห็นว่าน้องเนจะไปชัยนาทฝากเที่ยวด้วยแล้วกัน คับไม่ว่างจริงๆๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 20:51

โหย... รูปสวยมากครับ อายจัง
ผมสิ เป็นเจ้าของกระทู้เอง ดันไม่มีเวลาจะได้เข้ามาดูแล เฮ่อ....



เอาข้อความของท่านเจ้าคุณโบราณฯมาเล่าต่อครับ


เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ได้ทอดพระเนตรที่ๆขุดไว้ก็เป็นที่พอพระราชหฤทัย
แต่เวลานั้นกำลังที่จะเอาไปทำการขุดค้นตรวจสอบพื้นพระราชวังยังไม่มีพอ ได้อาศัยแบ่งแยกเอาผู้คุมเรือนจำไปได้คน ๑ คุมนักโทษไปทำการขุดค้นได้เพียงวันละ ๑๐ คนบ้าง กว่าบ้าง การจึงช้าไม่ปรุโปร่งเห็นได้ทันพระราชประสงค์

ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติมาจะครบ ๔๐ ปี เท่ารัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ ๒ ในปีมะแม พ.ศ. ๒๔๕๐ จะโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีรัชมงคล บำเพ็ญพระราชกุศลถวายสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ที่ ๒ กับทั้งอดีตมหาราชทุกพระองค์ที่ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา
โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์จัดการเตรียมที่สำหรับจะปลูกพลับพลาพระราชพิธีกับโรงการมหรสพ และโปรดให้รื้อโครงปราสาทที่ทำค้างไว้บนฐานพระที่นั่งสรรเพชญ์นั้นเสียในคราวนี้ พระยาโบราณราชธานินทร์จึงกะโครงการณ์ ขออนุญาตเงินตั้งพนักงานเป็นผู้คุมนักโทษขึ้นโดยเฉพาะแผนกนี้ ๕ คน กับซื้อรางและรถเหล็กสำหรับขนดิน

อนึ่งแต่เดิมที่ดินด้านข้างพระราชวังทางริมน้ำ ตั้งแต่หน้าวัดธรรมิกราชไปจนคลองท่อ มีบ้านเรือนราษฎรปลูกเรียงรายปิดหน้าพระราชวังหมด จึงต้องขออนุญาตเงินใช้เป็นค่าเสียหายแก่เจ้าของบ้านที่จักต้องถูกรื้อถอนด้วย และการขุดวังตั้งแต่เริ่มมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครั้งยังดำรงในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เป็นพระธุระแนะนำอุดหนุนทุกอย่าง การจึงสำเร็จตามรูปที่กะไว้

ครั้นถึงเดือนกันยายน พ.ศ. ๑๔๔๙ ได้แยกเอานักโทษจากเรือนจำไปคุมขังไว้ที่ข้างวัดธรรมิกราช ๑๐๐ คนไปลงมือทำการ พระยาโบราณราชธานินทร์ก็ได้เข้าไปตั้งที่พักชั่วคราวอยู่ที่มุมพระราชวังด้านตะวันออก คอยตรวจตราบงการให้เจ้าหน้าที่ขุดค้นให้ถูกต้องวตามแผนผังรากของเดิม และได้ขนเอาอิฐหักกากปูนมูลดินออกไปถมในที่ซึ่งราษฎรย้ายถอนบ้านเรือนไป ซึ่งเป็นที่ลุมน้ำท่วมมาแต่เดิมนั้น สูงขึ้นจนเสมอพื้นดินเชิงกำแพงข้างวัง คือ ที่เป็นถนนย่านท่าวาสุกรี ตอนข้างวังด้านริมน้ำเดี๋ยวนี้
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 21:05

การขุดครั้งนั้นสำเร็จได้รูปแผนผังเพียงตั้งแต่กำแพงด้านเหนือ ไปจนถึงแนวกำแพงคั่นข้างพระวิหารสมเด็จ ด้านหน้าพระราชวังด้านตะวันตก ก็พอจวนจะถึงกำหนดงานพระราชพิธี จึงหยุดการขุดลงมือจัดการปลูกสร้างพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทและป้อมกำแพงประตูเมืองประตูวังสถานที่ต่างๆ ตามรูปรากเดิมด้วยเครื่องไม้ ให้เหมือนอย่างพระราชวังครั้งกรุงศรีอยุธยา และปลูกโรงมหรสพรอบพระราชวังชั้นใน

ครั้นถึงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พระพุทธศักรา ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินแต่กรุงเทพพระมหานครขึ้นไปประทับพลับพลา ณ เกาะลอย
วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน และวันที่ ๑ ที่ ๒ ธันวาคม เวลาบ่าย เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพระราชอิสริยยศทั้งทางชลมารคสถลมารค เข้าไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับแรมที่พลับพลาเกาะลอย มีมหรสพ โขน ๒ โรง หุ่น ๒ โรง ละคร ๒ โรง มอญรำโรง ๑ เทพทองโรง ๑ และมีระเบง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ ไม้ลอย ญวนหก นอนหอก นอนดาบ ไต่ลวด กระอั้วแทงควาย แทงวิสัย กับสรรพกีฬา มีแข่งระแทะ วิ่งวัว คนชกมวย ขี้ช้างไล่ม้า ๓ วัน ค่ำมีดอกไม้ไฟทั้ง ๓ คืน
เมื่อเสร็จพระราชพิธีแล้ว รุ่งขึ้นเวลาบ่าย เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรในพระราชวังอีกเวลาหนึ่ง วันที่ ๔ ธันวาคม จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพพระมหานคร

อนึ่งทรงพระราชดำริว่า ต่อไปก็คงจะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมาทอดพระเนตรอยู่เนืองๆ ทั้งเมื่อมีเจ้านายต้างประเทศหรือแขกเมืองชั้นสูง เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ก็จะเป็นที่ให้แขกเมืองมาเที่ยวได้แห่ง ๑
จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์ สร้างพลัลพลาตรีมุขขึ้นบนฐานเขียง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฐานพระราชมนเทียรที่ประทับแต่เดิม แต่ในแผนผังของเก่าที่ขุดพบฐานนี้ เป็นพระที่นั่งหลังคาแฝดมิใช่ตรีมุข และไม่มีเกยช้างเกยม้าเกยพระราชยานมาทำเพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้เหมาะสำหรับการเสด็จประพาส
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 21:17

ถึงรัชกาลปัจจุบัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปสังเวยอดีตมหาราชเหมือนดังรัชกาลก่อน เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๙

อนึ่งการขุดพื้นวังนั้น เมื่อพ้นรัชมงคลมาแล้ว ก็ได้ไปลงมือขุดพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท และวัดพระศรีสรรเพชญ์ตอนหน้า ต่อมากำลังการขุดร่อยหรอลง โดยมีอุปสรรคในการใช้แรงนักโทษถึง พ.ศ. ๒๔๖๖
ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณซึ่งภายหลังมาในรัชกาลที่ ๗ เปลี่ยนเป็นราชบัณฑิตยสภา เป็นหน้าที่รักษาสถานที่โบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา จึงมีรับสั่งให้พระยาโบราณราชธานินทร์สมุหเทศาภิบาล และอุปนายกราชบัณฑิตยสภา ลงมือขุดชำระพื้นวัดพระศรีสรรเพชญ์ต่อมา

การขุดชำรพื้นพระราชวังและวัดพระศรีสรรเพชญ์นั้น บางแห่งต้องขุดออกสูงตั้งแต่ศอก ๑ ถึง ๕-๖ ศอก จึงถึงพื้นเดิม




ทั้งหมดที่เล่าไว้นี้เป็นสิ่งที่เจ้าคุณโบราณเล่าถึงการขุดพระราชวังหลวงและวัดพระศรีสรรเพชญ์ไว้นะครับ
มีราชละเอียดที่ท่านบันทึกไว้เพิ่มเกี่ยวกับพระที่นั่งองค์ต่างๆ ขออนุญาตเอามาลงในความคิดเห็นอื่นๆต่อไปนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 พ.ค. 10, 21:38

ก่อนจะนำข้อความในคำอธิบายแผนที่ฯ ของพระยาโบราณมาลงให้อ่านกัน
ขออนุญาตเล่าเพิ่มก่อนครับ ว่าสมุดไทเล่มที่ท่านเจ้าคุณนำมาใช้อธิบายแผนที่
ไม่ใช่งานเขียนของท่านเจ้าคุณเอง แต่เป็นสมุดไทดำเก่าเล่มหนึ่ง
ท่านเจ้าคุณเห็นว่าเป็นของควรรักษา จึงเอามาทำเชิงอรรถอธิบายความใส่ลงไปให้พวกเราได้อ่านกัน

สำหรับสมุดไทดำเล่มเดิมดูจากรูปภาษาแล้ว
ผมเข้าใจว่าคงเขียนขึ้นหลังจาก พ.ศ. 2380 ลงมา

ส่วนที่ท่านเจ้าคุณโบราณได้แต่งคำอธิบายไว้ เป็นเชิงอรรถของสมุดเล่มนี้อีกทอดหนึ่ง
ข้อความที่ผมนำมาลง ถ้าลงว่าท่านเจ้าคุณแต่ก็จะมาจากเชิงอรรถทั้งหมดนะครับ




สมุดไทดำเล่มเดิมเล่าถึงพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสว่า


อนึ่ง มีสระล้อมรอบพระที่นั่งมหาปราสาทบันยงรัตนาต(๑) มีพระตำหนักอยู่ในสระ สำหรับมีเทษนาพระมหาชาติ แล้วมีพระที่นั่งปรายเข้าตอก(๒) พระราชทานปลาหน้าคนแลกระโห้ ตะเพียนในท้องสระริมพระฉนวน(๓) เสด็จออกขุนนาง ณ พระที่นั่งทรงปืน(๔)แล

ท่านเจ้าคุณโบราณทำเชิงอรรถอธิบายความในสมุดไทดำเล่มนี้
เล่าถึงสิ่งที่ท่านพบ จากการขุดค้นพื้นที่พระราชวังเดิมไว้ให้พวกเราได้อ่านกัน 4 จุด
คือ จุดที่ผมใส่วงเล็บเอาไว้ ดังนี้





(๑) พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นปราสาทจตุรมุขและเป็นที่ประทับอยู่ข้างในด้านตะวันตกมีสระล้อมรอบ ด้านตะวันตกของพระที่นั่งก่อภูเขาลงในอ่างแก้ว มีท่อน้ำพุไหลลงในอ่างเลี้ยงปลาเงินปลาทอง สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา ขุดพบรากอ่างแก้วและศิลาที่ก่อเขาหลุดทับถมกองอยู่ ได้เลือกก้อนที่ดีมาก่อเขาไว้ในอ่างบนชาลาหลังพลับพลาจตุรมุขวังจันทร์เป็นของพิพิธภัณฑ์

(๒) พระที่นั่งปรายเข้าตอก พระที่นั่งองค์นี้ก่อเป็นฐานอิฐลดชั้นอยู่ข้างอ่างแก้วด้านหนึ่งอยู่ริมสระ

(๓) มีสะพานข้ามสระไปจากฟากเกาะพระที่นั่งบรรยงก์ ถึงฟากข้างตะวันตกหลังพระที่นั่งทรงปืน ยังเห็นโคนเสาสะพานอยู่

(๔) พระที่นั่งทรงปืน ขุดพบรากเป็นรูปยาวรี อยู่ริมขอบสระด้านตะวันตก พงศาวดารว่า เมื่อทรงสร้างพระที่นั่งหมู่นี้แล้ว เปลี่ยนกลับเอาท้ายสนมเป็นข้างหน้า จึงมามีศาลาลูกขุนและโรงหมอ ทั้งสถานที่สำหรับเจ้าพนักงานประจำการอื่นๆ ขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย





กลายเป็นว่าสิ่งที่ท่านเจ้าคุณโบราณไปพบและสันนิษฐานไว้
อาจจะกลายเป็นการ renovate คนละครั้งกับที่หนังสืออยุธยายศยิ่งฟ้านำมาลงเสียแล้ว...
ผมคงต้องหาเอกสารเล่มอื่นๆมาให้ท่านผู้ติดตามกระทู้อ่านกันเพิ่มนะครับ

สำหรับวันนี้... ขออนุญาตพอเท่านี้ก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 พ.ค. 10, 02:30

แก้แล้วครับ เพิ่มเขามอสวนหย่อม กับพระที่นั่งทรงปืน แล้วก็ใส่รายละเอียดตามคำให้การ คือ

ทิศเหนือเป็นพระที่นั่งทรงธรรม

ทิศตะวันออกเป็นพระที่นั่งทรงดาว

ทิศใต้เป็นพระที่นั่งโปรยข้าวตอก

ทิศตะวันตกเป็นสะพานฉนวนมีหลังคา ข้ามไปพระที่นั่งทรงปืน

ิีอันนี้มองจากทิศตะวันตก เป็นพระที่นั่งทรงปืน (แต่แสงเงาผิดมากมาย)


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 พ.ค. 10, 02:32

อันนี้เป็นมุมมองรวม ที่นั่งด้านบนสุดคือพระที่นั่งทรงธรรมครับ ส่วนที่ไม่มีหลังคาคือที่นั่งทอดเนตรดาว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง