เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 22462 พระมหาปราสาทฝาแฝด ในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 23 เม.ย. 10, 10:44

พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยามีพระมหาปราสาทและปราสาทอยู่หลายหลัง
เรือนยอดมีทั้งที่เป็นปรางค์และยอดมณฑป กระจายกันอยู่ในส่วนต่างๆของวัง

ผมเห็นว่าคุณvirain ชวนคุยเรื่องพระที่นั่งวิหารสมเด็จไปแล้ว
เข้าใจว่าคงจะมีท่าน อ.เสนอ นิลเดช เป็นผู้จุดประกายความคิดให้
เพราะว่าท่านตีพิมพ์หนังสือมาและทำรูปทรงสันนิษฐานพระที่นั่งองค์นี้ประกอบไว้
ส่วนจะอยู่ดีกินหวานกับความเห็นของท่านหรือไม่ หรือจะเจ็บท้องข้องใจนั้นคงเป็นอีกเรื่อง
เอาเป็นว่าต้องกราบขอบพระคุณท่านที่ลุกขึ้นทำงานจุดประกายให้เราได้คุยกันในเรือนไทยนี้

เมื่อคุยมาได้สักระยะหนึ่ง คุณกุรุกุลาเกิดบ่นขึ้นมาว่านึกต่อไม่ออก
ผมเห็นว่าในเอกสารเก่า-ใหม่หลายฉบับที่ยกพงศาวดารเก่ามาทำคำอธิบายหลายเล่ม
มีคำบรรยายภาพพระที่นั่งที่งามไม่แพ้พระที่นั่งวิหารสมเด็จอีกหลายองค์
และหลายองค์มีผังที่ออกจะซับซ้อนกว่าผังพระที่นั่งวิหารสมเด็จ และคนรัตนโกสินทร์ไม่เคยได้พบเห็น
จึงคิดจะเชิญสมาชิกชาวเรือนทั้งหลายเข้ามาเปิดเรื่องเสวนากันในหัวข้อใหม่ และได้มาเปิดกระทู้นี้ขึ้น
ขออนุญาตใช้ชื่อว่าพระมหาปราสาทฝาแฝดในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 10:50

พระมหาปราสาททั้ง 2 องค์ที่ผมชวนให้พูดถึง ตือ
พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มหาปราสาท และพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาท

ที่คิดว่าต้องพูดถึงพระมหาปราสาททั้ง 2 องค์นี้พร้อมกัน
เหตุเพราะผังของพระมหาปราสาททั้ง 2 องค์อยู่ในระบบผังเดียวกัน
คือ เป็นอาคารจตุรมุขต่อมุขข้ามไปยังอาคารขนาดย่อมกว่าที่ปลายมุข ทั้ง 4 ด้าน

ผมขอคัดเอาคำอธิบายสัณฐานของพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสมหาปราสาท
มาจากหนังสืออยุธยายศยิ่งฟ้าของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ให้อ่านกันก่อนนะครับ
(ยังอู้อยู่ไม่ได้ทำการบ้านว่าหนังสือเล่มอื่นๆจะอธิบายไว้ว่าอย่างไร)
ลองดูกันครับ ว่าคุณสุจิตต์รวบรวมเอกสารในพงศาวดารเก่าๆมาได้ว่าอย่างไรบ้าง




พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มหาปราสาท เป็นยอดมณฑปเดียวมีมุขใหญ่ทั้งสี่ด้าน
มีพระแท่นแว่นฟ้าบุษบกตั้งในมุขโถงทั้งสี่ทิศ มีเกยหน้ามุขโถงมีบันไดนาคราชทั้งสี่เกย
มีกำแพงแก้วล้อมรอบชาลาพระมหาปราสาท
แล้วมีสระล้อมรอบกำแพงแก้วชาลาพระมหาปราสาททั้ง 4 ด้าน สระกว้างด้านละ 6 วา

ในสระระหว่างมุขโถงมุมพระมหาปราสาทด้านเหนือ
มีพระตำหนักปลูกปักเสาลงในสระด้านเหนือหลังหนึ่ง 5 ห้อง
ฝากระดานเขียนลายรดน้ำทองคำเปลว พื้นทารัก มีช่อฟ้า หางหงส์ มุขซ้อนสองชั้น
มีพระบัญชรลูกกรงเหล็ก ระเบียงชานเฉลียงรอบนั้นมีลูกมะหวดกลึงล้อมรอบ
มีสะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระตำหนัก

พระตำหนักนี้เป็นที่มีเทศนาพระมหาชาติคำหลวงทุกปีมิได้ขาด

ในสระระหว่างมุขโถงด้านใต้นั้น ปลูกพระที่นั่งปรายข้าวตอกหลังหนึ่ง
เสาลงในสระหลังคามีช่อฟ้า หางหงส์ มุขซ้อนสองชั้น ฝาไม่มี มีแต่ลูกกรงมะหวดรอบพระเฉลียง
เสารายทารักเขียนทองคำเปลวลายทรงข้าวบิณฑ์ มีภาพพรหมพักตร์ต้นเสา-ปลายเสา

มีสะพานลูกกรงข้ามมาจากพระมหาปราสาทถึงพระที่งนั่งปรายข้าวตอก

พระที่นั่งปรายข้าวตอกนี้สำหรับเสด็จทรงประทับโปรยข้าวตอกพระราชทานปลาหน้าคน ปลากะโห้ ปลาตะเพียนทอง และปลาต่างๆ

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตะวันออกนั้น
ปลูกเป็นพระที่นั่งทอดพระเนตรดาว ฝังเสาลงในท้องสระ ไม่มีหลังคา มีแต่พื้นและลูกกรงมะหวดรอบ
มีสะพานข้ามสระออกมาจากมุมพระมหาปราสาทถึงพระที่นั่งทรงดาว
พระที่นั่งทรงดาวนี้สำหรับทอดพระเนตรดาวและทอดพระเนตรสุริยุปราคากับจันทรุปราคา
ชีพ่อพราหมณ์ทำพิธีถวายน้ำกรด น้ำสังข์ ในวันสุริย-จันทร เมื่อโมกขบริมุทธิ์บนพระที่นั่งทรงดาวทุกคราวไป

ในท้องสระระหว่างมุมมุขโถงด้านตะวันตกนั้น ปลูกเป็นสะพานพระฉนวน
มีหลังคาร่มสะพานข้ามออกมาจากพระมหาปราสาท
เสาสะพานพระฉนวนนั้นมีระยะห่างๆแต่พอเรือน้อยพายลอดได้ใต้สะพาน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 10:52

ไหนๆขึ้นกระทู้ใหม่แล้ว ผมก็ขออนุญาตแยกพระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาทไว้อีกความคิดเห็นหนึ่งนะครับ
(ไม่อยากรักษาชื่อว่าเป็นคนโพสต์อะไรยาวครับ)
รายละเอียดจากหนังสือเล่มเดิมครับผม



พระที่นั่งเบญจรัตน์มหาปราสาทนั้นมียอดมณฑป 5 ยอด
มีมุขศร 4 ชั้นเสมอกันทั้ง 4 ด้าน มีมุขยาวออกมาจากมุขใหญ่ทั้ง 4 ด้าน
แต่มุขยาวทั้ง 4 ด้านนั้นมีหน้ามุขเป็นจตุรมุข มียอดมณฑปทุกมุขเป็นสี่ยอด
แต่พื้นมุขทั้ง 4 ด้านต่ำเป็นท้องพระโรงทั้ง 4 ด้านสำหรับเสด็จออกว่าราชการตามฤดูทั้ง 3 ฤดู 3 มุข
แต่มุขด้านหลังเป็นมุขฝ่ายใน สำหรับเสด็จออกว่าราชการฝ่ายใน

ฝ่ายพระมหาปราสาทและฝามุขใหญ่เป็นผนังปูนทารัก ประดับกระจกปิดทองคำเปลวเป็นลายทรงข้าวบิณฑ์
ใต้พระบัญชรเป็นรูปสิงห์ทุกช่อง ซุ้มจระนำพระบัญชรเป็นรูปพรหมพักตร์ทุกช่อง
ฐานป้ทม์พระมหาปราสาทเป็นรูปปั้น ชั้นต้นเป็นกุมภัณฑ์ ชั้นสองเป็นครุฑจับนาค
ชั้นสามเป็นรูปเทพนมถวายกร จึงถึงชั้นรูปสิงห์รับพระบัญชร
บานพระบัญชรจำหลักเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดาเป็นคู่กันทุกช่อง
บานพระทวารเป็นรูปนารายณ์สิบปาง บานละปาง
มีทิมคดล้อมรอบพระมหาปราสาทและมีประตูด้านหนึ่ง

พระมหาปราสาทองค์นี้เป็นที่ทรงพิพิกษาตราสินคดีและกิจการพระนครสำคัญ
เป็นที่ประชุมใหญ่ฝ่ายมหามาตยาธิบดี
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 11:03

ก่อนจะคุยกันต่อไปอีก ขออนุญาตคุยกันเรื่องคำศัพท์ก่อน
มีศัพท์อยู่ 2 - 3 คำ ที่เข้าใจว่าควรจะต้องพูดถึง(และนึกออก)
ที่เหลืออีกมากนั้นยังนึกไม่ออก ถ้าท่านผู้ใดนึกออกผมก็ต้องขอคำชี้แนะด้วยนะครับ



ที่นึกออกคำแรก คือ "เกย"
เกยในที่นี้ไม่ใช่เกยเสด็จหรือเกยทิ้งทาน
แต่หมายถึงทางเข้า-ออก ที่ต่อจากบันไดปกติจะมีเสาหัวเม็ดปักไว้ 1 คู่ครับ
ส่วนที่ต่อจากเกยลงมาก็คือบันได ถ้าเป็นศัพท์ชุดเก่า (เข้าใจว่าก่อน พ.ศ. 2400)
บันไดมักต้องเป็นเครื่องไม้ เว้นพื้นที่ระหว่างลูกบันไดแต่ละขั้นทะลุหน้า-หลัง
ส่วนที่เป็นอิฐก่อปูนตันๆเห็นว่าเรียก "อัฒจรรย์" นะครับ



อีกคำคือ "รูปสิงห์" คำนี้ผมเข้าใจว่าแปลว่า "ฐานสิงห์" ครับ
หรืออาจหมายถึงฐานสิงห์รูปหน้ากาลที่ใช้รับหน้าต่างอยู่ก็น่าจะได้
(พบลายเส้นวาดเป็นรูปนี้อยู่หลายที่ ที่สะดุดตาหน่อย คือ วัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรีครับ)

ที่เชื่อเช่นนั้นเพราะดูเหมือนว่าโดยประติมานที่เห็นมาจากรูปแบบแล้ว
รูปของหน้าสิงห์กับหน้ากาลจะมีอะไรปนๆกันมาตั้งแต่เมืองพระนครของเขมรแล้วครับ

ส่วนการจะเอาสิงห์เป็นตัวๆไปรับไว้หรือไม่ยังไม่แน่ใจนัก
ที่เห็นสิงห์รับมาทั้งหมดก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งหน้าต่าง
แต่ช่างท่านอาจจะทำมากกว่าหลักฐานที่เหลือมาให้เราเห็นกันก็ได้




คำสุดท้าย คือ "ทิมคด" เข้าใจว่าแปลว่าระเบียงคดนะครับ
หรือถ้ามีเอกสารเล่มไหนอธิบายว่าเป็นกำแพงแก้ว ก็ขอความกรุณาบอกด้วยครับผม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 20:32

การที่คุณติบอนำเสนอพระที่นั่งสององค์นี้มาพร้อมๆกัน ผมเองก็ยังคงต้องตั้งคำถามก่อนว่า
พระที่นั่งเบญจรัตน์ฯนี้อยู่ที่ไหน เพราะดูจากลักษณะแล้วคงต้องเป็นพระที่นั่งสำคัญที่
ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง หรือไม่ก็เบี่ยงไปบริเวณไหนสักแห่งแถวๆพระที่นั่งบรรยงค์ฯ
ที่ไม่กินกับสวน?? (ลืมชื่อครับ T-T) เพราะขุนนางสามารถเข้าเฝ้าได้

เท่าทีเคยอ่านมาบ้างผมเห็นคำบรรยายถึงพระที่นั่งบางหลัง ที่คิืดว่ารื้อไปแล้วไว้ด้วย
ผมก็เลยไม่แน่ใจว่ามีการสับสนยังไง เพราะไม่มีหลักฐานที่ตั้งจริงๆก็คงยากที่
จินตนาการได้สมบูรณ์ครับ แต่ถ้าอ้างอิงตามคำบรรยายเหล่านั้น ก็อาจได้เพียงรูปจินตนาการ
ลอยๆที่หลายคนไม่เชื่อถือ การที่คุณติบอหยิบยกตรงนี้ขึ้นมา ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ผมสนใจเรื่องหนึ่ง
จึงต้องขอความคิดเห็นจากท่านอื่นๆเพิ่มเติม เพราะมีหลายจุดที่น่าเชื่อและอีกหลายจุดที่ยังต้อง
หาคำตอบต่อไปครับ

อยากให้คุณติบอแนะนำเรื่องเกยอีกสักหน่อยครับ ... แหะๆ
ส่วนเรื่องทิมคด อาจจะเป็นแบบทิมคู่หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง นะครับ

 
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 23:20

เรียนสมาชิกชาวเรือนไทยทราบ
 
           เรื่องพระที่นั่งองค์นี้มีการสันนิษฐานว่าเป็นพระที่นักจตุรมุขในพระราชวังโบราณอยู่ทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสำรวจรากเสาครั้งรัชกาลที่ ๕ หาได้ต้อง
ตามคำบรรยายไม่ แต่ก็หาพระที่นั่งองค์อื่นที่เหมาะกว่านี้ไม่ได้แล้ว
           สวัสดี
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 เม.ย. 10, 22:17

สนุกจังเลย ชอบๆๆ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 08:33

ลองทำมาดูนะคับ ผมคิดว่ามหาปราสาทนี้แปลกมากในเรื่องแผนผัง.....ลองร่างจากคำให้การนะคับ เมื่อวานได้ไปร่วมสวดมนต์ให้ประเทศมาที่วัดพระแก้ว เลยได้มีโอกาศขึ้นไปดูโมเดลพระบรมมหาราชวังของกรุงรัตนโกสินทร์ในฃสมัยรัชกาลที่1 รวมถึงโมเดลของพระที่นั่งอมริทราภิเษกปราสาทที่ถอดแบบของสรรดพชญปราสาทในอยุธยามา..นา่สนใจทีเดียว มีตำหนักกลางน้ำ สวนด้านใน การแบ่งพื้นที่ เล่าสู่กันฟังนะคับบบ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 08:52

ผังแปลกจริงๆ คงจะต้องตรวจสอบไปก่อนว่าเบญจรัตนปราสาทนี้คือองค์ใด

เดี๋ยวจะเอาคอมไปซ่อมแล้วครับ จะได้ลองทำดูบ้าง อิอิ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:23

ขอบคุณสมาชิกร่วมเรือนทุกๆท่านครับ
ผมมีเหตุให้ต้องยุ่งวุ่นวายอยู่ 3 วัน เพิ่งจะได้ว่างเต็มๆ
เลยมีโอกาสได้พิมพ์งานมาลงในกระทู้นี้
แต่ก่อนอื่น ขออนุญาตตอบคำถามที่ค้างๆไว้ก่อน


คุณ virain ครับ
เรื่องเกยผมขออนุญาตยกไปพูดในกระทู้ที่กำลังจะเปิดใหม่นะครับ
เพราะจะได้เห็นภาพจากของจริงและเอกสารเดิมมากกว่า

ขอบคุณ คุณ han_bing ที่เกริ่นให้เรื่องการสำรวจในสมัยรัชกาลที่ 5 นะครับ

และขอบคุณภาพของคุณ sittisak มากครับ รวมถึงภาพที่จะตามมาของคุณ kurukula ด้วยนะครับ


ขออนุญาตนำเอาบันทึกการสำรวจสมัย ร.5 มาลงต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:32

ก่อนจะอธิบายในสิ่งต่อไปนี้ ขอเกริ่นก่อนว่า
พระมหาปราสาทและปราสาทแต่ละหลังก็เหมือนบ้านของพระมหากษัตริย์
และมีโอกาสถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อยู่เสมอๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิมตลอดเวลา

เอกสารที่บอกเล่าถึงอาคารเหล่านี้จึงอาจตรงหรือไม่ตรงกันก็ได้ ไม่ถือว่าผิด
หรือแม้แต่ว่าอาจถูกแต่งขึ้นในสมัยหลังก็เป็นได้ เช่น ที่คุณกุรุกุลาสงสัยเรื่องนารายณ์สิบปางไปแล้ว

อย่างไรก็ดี ความนิยมเรื่องนารายณ์สิบปางในภูมิภาคอุษาคเนย์นั้นมีมาก่อนหน้าอยุธยาจะเป็นเมืองนานโข
หากอยุธยาจะมี หรือไม่มีก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดการเสื่อมความนิยมหรือได้รับความนิยมขึ้น



คำอธิบายต่อไปนี้เป็นคำอธิบายของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์)
หากใครสนใจประวัติของท่าน ผมขอความกรุณาให้อ่านกระทู้ "พระยาโบราณราชธานินทร์" ของอาจารย์เทาชมพูนะครับ
เพราะผมมั่นใจว่าฝีมือในการค้นคว้าและเล่าเรื่องของท่านอยู่เหนือสิ่งที่ผมทำได้มากนัก
บันทึกการเข้า
sittisak
มัจฉานุ
**
ตอบ: 66


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:34

ยินดีคับ....ดีๆๆผมชอบ โปรแกรมที่น้องกุลุให้โหลดมา ยังงงๆๆในการใช้ เดี่ยวเจอตัวแล้วจะได้ถามไถ่กัน  รูปแบบที่ลองร่างดูนั้น ถ้าเป็นตามแปลนก็น่าจะทันสมัยแหวกม่านประเพณีในสมัยอยุธยาไหมครับ เพราะกลุ่มอาคารดุเป็นคอมเพล้กซ์เชื่อมต่อกันเป็นสี่อาคารย่อยๆๆครับ เข้าใจครีเอตมากกกก.....รูปแบบนี้ผมก็ไม่เคยเห็นที่ไหน จะมีก็รุปแบบในวัดสำเร็จรุปแบบสมัยใหม่.....ขอบคุณคับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:40

ถึงคุณ sittisak โดยส่วนตัวผมยังกล้าตอบว่า "ยังไม่แปลก" นะครับ
บางครั้งพระราชมณเฑียรสถานก็ไม่จำเป็นจะต้อง "เหมือน" กับที่อื่นๆ
ไม่เช่นนั้นกษัตริย์ก็จะไม่แตกต่างกับประชาชนสิครับ


สิ่งที่จะเล่าจากนี้ไป เป็นผลการขุดค้นของพระยาโบราณราชธานินทร์ครับ

ในสมัยที่ท่านทำการขุดค้น วิธีการทางโบราณคดียังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย
สิ่งที่ท่านใส่ใจและประมวลได้จากผลการศึกษาส่วนมากจึงเป็นฐานของสิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยอิฐเป็นหลัก
และอีกหลายสิ่งอย่างที่ท่านขุดได้ก็ถูกรวบรวมไปไว้ในที่อื่นๆ อย่างที่คณะโบราณคดีทุกวันนี้ก็คงรับไม่ได้
อย่างไรเสีย หากท่านไม่เริ่มทำงาน... คนไทยทุกคน (รวมถึงคณะโบราณคดีด้วย) ก็คงไม่มีอยุธยาเช่นทุกวันนี้ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:46

เจ้าคุณโบราณเล่าว่า


พระราชวังกรุงศรีอยุธยา เมื่อรื้อเอาอิฐปราสาทราชฐาน ป้อมกำแพงลงมาใช้ในการสร้างกรุงเทพพระมหานครแล้วก็ทิ้งเป็นที่ร้าง ไม่ปรากฏว่ามีการปกครองรักษาอย่างไร ในพระราชวังก็มีแต่กองอิฐหักกากปูนถมอยู่เป็นโคกเป็นเนิน มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมรกเรี้ยว ต่อมาจึงมีราษฎรไปตัดฟันถากถางต้นไม้ แล้วปลูกต้นไม่มีผลเช่น น้อยหน่า ส้ม มะขาม มะตูม ถือเป็นเจ้าของกันเป็นแปลงๆไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นไปประพาสแต่ยังทรงผนวช เมื่อเสวยราชสมบัติแล้วก็ได้เสด็จขึ้นไปทรงสังเวยอดีตมหาราช และโปรดให้สร้างปราสาทจตุรมุขขนาดย่อม ก่อขึ้นบนโคกพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทองค์ ๑ ดำริจะโปรดให้จารึกพระปรมาภิไธยพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ภายในปราสาท เพื่อเป็นที่สักการะระลึกถึงพระเดชพระคุณ แต่กาลค้างอยู่เพียงก่อผนังยังหาทันยกเครื่องบนไม่
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 10:11

ถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ก็ได้เสด็จขึ้นไปสังเวยอดีตมหาราช และต่อๆมาก็เสด็จประพาสอีกหลายคราว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้ขุดตรวจค้นแผนผังฐานปราสาทราชฐานทั่วทั้งพระราชวังขึ้นรักษาไว้ ให้เห็นเป็นพยานประกอบพงศาวดารว่า ประเทศไทยได้ตั้งเป็นปึกแผ่นมั่นคง มีความเจริญรุ่งเรืองมาแล้วช้านาน แต่ยังหาได้มีการขุดค้นตรวจสอบถวายไม่

มาจนถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา แต่ครั้งยังเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ข้าหลวงมหาดไทย เลื่อนขึ้นเป็นข้าหลวงรักษาราชการกรุงเก่า และปีต่อมาก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตัวผู้รักษากรุง

พระยาโบราณราชธานินทร์ได้ทราบพระราชประสงค์ ในเวลาวันหยุดราชการก็ออกเที่ยวตรวจค้นหาสถานที่ ซึ่งมีชื่อมาในพงศาวดารและในกฏหมายกับทั้งจดหมายเหตุ และโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บรรดาที่กวีชั้นกรุงศรีอยุธยาแต่งไว้ ที่พรรณนาถึงภูมิฐานพระนครศรีอยุธยา แต่ในเวลานั้นเป็นการยากอย่างยิ่งในการตรวจค้น ด้วยในพระราชวังล้วนแต่เป็นโคกเป็นเนิน มีต้นไม้ปกคลุมอยู่ประดุจป่าทึบมิใคร่จะเห็นอะไร ที่ยังเห็นสูงอยู่ก็แต่ผนังรักแร้พระที่นั่งสุริยามรินทร์

แต่ภายหลังมาเมื่อจับเค้าเงื่อนได้จึงได้ลงมือลองขุดเข้าไปจากที่ต่ำด้านหน้าวังทางตะวันออก เป็นร่องตรงไปทางตะวันตกก็ได้พบรากกพแพงพระราชวังทั้ง ๒ ชั้น เมื่อพิสูจน์ได้ระดับพื้นดินเดิมแล้ว จึงขุดตรงเข้าไปจนถึงแนวกำแพงแก้วหน้าพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทสาย ๑ และขุดที่นอกกำแพงวังด้านเหนือตอนริมน้ำตรงเข้าไปทางข้างพระที่นั่งสุริยามรินทร์ก็พบมุมฐานพระที่นั่ง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง