เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 17177 สงสัยว่าแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใด?
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 เม.ย. 10, 20:44

       
       อาหารดั้งเดิมของคนในหมู่เกาะคือ มันเทศ เผือก และศีร์ษะเท้ายายม่อม  นำมาต้มกินกับเนื้อสัตว์สี่เท้า
สองเท้าแลปูปลาหอย

เกลือก็ใข้เกลือโป่งเกิดจากใต้ดิน

ประเทศไม่มีข้าวและไม่รู้เรื่องทำนาทำไร่

มีผลไม้เกิดเองเต็มในป่าและในเมือง  คือ ต้นสาเก  ต้นตาลโตนด  ต้นหมาก 
ต้นมะพร้าวต่ำเตี้ยคล้ายหมากลิง ผลเท่าส้มเกลี้ยงมีเสมอทั้งปี

ข้าวโภชน์ ข้าวฟ่างเป็นกอต่ำ ๆ รวงสั้น  เขาเรียกข้าวนกกิน

ใบกล้วยใช้นุ่งห่มอยู่กับบ้าน  ออกจากบ้านจึงนุ่งห่มด้วยผ้าด้ายผ้าไหม

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 เม.ย. 10, 20:56

       ต่อมามีสำเภาจีนชัดเข้าไป   ชาวเกาะเก็บของต่าง ๆ จากเรือมี ถั่วต่าง ๆ  หัวหอม  หัวกระเทียม  ผักกาดเหลือง  ผักกะหล่พ  สัปรศ  ส้ม  องุ่น


ตอนแรกที่มิศเตอร์กุกพบแผ่นดินซันดาวิศ  สัตว์สี่เท้ามีแต่สามอย่างคือ  หมูป่า   หนู  จิ้งจก


มีไก่ป่าเป็ดป่า

สัตว์ร้ายไม่มี     งู ตะขาบไม่มี       จรเข้ เสือไม่มี

มีแต่แมลงป่อง แมลงมุมเท่านั้นที่มีพิษ

นกมีนกเค้าแมว     นกกาลิงมีมาก  มีแต่สีแดงแก่กับสีเหลือง  กับนกกาลางนั้นมีน้อยหายาก

นกกาลิงกับนกกาลางสองอย่างนั้น  ขนมีราคา


ภายหลังชาวกาลีฟอเนีย  เอาสัตว์ ๗ อย่างมาขายให้  เช่น  ม้า  ลา  โค  กระบือ  แพะ  แกะ  อุฐ


จำนวนประชากรทั้ง ๑๐ เกาะ มี สี่แสนคน

๔๓ ปีหลังจากกับตันกุก  พวกมิชชันนารีก็บุก


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 08:13

จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าคุณกรมท่า   แสดงให้เห็นว่ากิงกาลกวัวเสด็จประพาสรอบโลกและเสด็จฯ มาทรงเยือนสยาม  น่าจะเป็นเพราะกิงมีพระราชประสงค์จะหาพันธมิตรต่างชาติไว้คานอำนาจกับอเมริกา   เนื่องจากการเสด็จประพาสรอบโลกของกิงกาลกวัวนี้เกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนประเทศรอบโลกของเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีแกรนต์)ของสหรัฐอเมริกา     เป็นไปได้ว่า  กิงกาลกวัวกำลังระแวงอำนาจของอเมริกาที่จะมาครอบงำหมู่เกาะฮาวายต่อไป

อย่างไรก็ตาม  รัชกาลที่ ๕ เอาพระทัยใส่กับการผูกไมตรีต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าหมู่เกาะฮาวาย   สังเกตได้จากรัชกาลที่ ๕  มีรับสั่งให้เชิญเยเนราลแกรนต์เดินทางจากเกาะสิงคโปร์มาเยือนสยามอย่างกระทันหัน  ทั้งที่สยามไม่ได้อยู่ในแผนการเดินทางของเยเนราลแกรนต์มาตั้งแต่ต้น   ในขณะที่การเสด็จฯ มาทรงเยือนสยามของกิงกาลกวัวนั้นได้กำหนดไว้ในแผนทางเดินทางแล้วตั้งแต่ต้น   

กระนั้นรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ทรงแสดงพระราชดำริบางประการที่สื่อให้เห็นว่า   ที่กิงกาลกวัวเสด็จฯ มาทรงเยือนประเทศไทยเพื่อหาพันธมิตร   ทั้งที่ฮาวายไม่เคยมีการติดต่อค้าขายกับไทยมาก่อน   และถึงมีก็คงมีน้อยมาก   การขอตั้งกงสุลในกรุงเทพฯ  ยิ่งไม่เห็นว่าจะเป็นการส่งเสริมการค้าขายแก่สองประเทศ   แต่จะกลายเป็นการส่งเสริมให้คนที่เป็นกงสุลฮาวายมีอำนาจหาคนมาเป็นสับเยกต์และตั้งศาลในสยาม  ทำให้สยามปกครองบ้านเมืองด้วยความลำบากยิ่งขึ้น  เหมือนกับที่ชาติอื่นๆ ที่เข้ามาขอตั้งกงสุลในสยามแล้วเกิดปัญหาคดีความต่างๆ กับสยามมากมาย  และสยามเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการทำสัญญากับชาติเหล่านั้นมาก   จนรัชกาลที่ ๕ มีพระราชดำริที่จะขอแก้ไขสัญญากับทุกๆ ชาติที่ได้เคยทำไว้   และยังทรงมุ่งหมายจะเริ่มทำสัญญาแบบใหม่กับฮาวายเป็นชาติแรก  เพื่อเป็นตัวอย่างในการแก้ไขสัญญากับชาติอื่นๆ ต่อไป

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 09:04

จากพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ถึงเจ้าคุณกรมท่า   แสดงให้เห็นว่ากิงกาลกวัวเสด็จประพาสรอบโลกและเสด็จฯ มาทรงเยือนสยาม  น่าจะเป็นเพราะกิงมีพระราชประสงค์จะหาพันธมิตรต่างชาติไว้คานอำนาจกับอเมริกา   เนื่องจากการเสด็จประพาสรอบโลกของกิงกาลกวัวนี้เกิดขึ้นหลังการเดินทางเยือนประเทศรอบโลกของเยเนราลแกรนต์ (ประธานาธิบดีแกรนต์)ของสหรัฐอเมริกา     เป็นไปได้ว่า  กิงกาลกวัวกำลังระแวงอำนาจของอเมริกาที่จะมาครอบงำหมู่เกาะฮาวายต่อไป

กิงกาลกวัวนี่แหละเป็นต้นความคิดเรื่อง วงไพบูลย์แห่งเอเซีย - league of Asian countries พระองค์ทรงเสนอความคิดนี้ต่อกษัตริย์เมจิ โดยให้ญี่ปุ่นเป็นผู้นำ แต่ครั้งนั้นกษัตริย์เมจิทรงปฏิเสธ

ความคิดนี้ไม่ได้สูญหายไป โดยญี่ปุ่นนำมาปรับใช้ภายหลังเป็น วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา - The Greater East Asia Co-Prosperity Sphere

During his visit to Tokyo, Kalakaua also secretly discussed with the Emperor the possibility of forming a league of Asian countries to oppose the domination and oppression of European countries. Kalakaua said that he would propose the league to the leaders of China, Siam, India, and Persia on his world tour, if Meiji would agree to head the league. Meiji was understanding, but pointed out that China wouldn't join if Japan was leading the league; but he would consider the King's proposal and send a response. After conferring with his cabinet, Meiji declined the offer of leadership for the initiative. (Emperor of Japan: Meiji and his World, 1852-1912 by Donald Keene [New York: Columbia University Press, 2002].)

http://pvshawaii.squarespace.com/display/ShowGallery?moduleId=600535&galleryId=56779
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 09:06

ได้เห็นเกาะทั้ง ๑๐ ปรากฎ      จึ่งตั้งชื่อหมู่เกาะนั้นว่า แผ่นดินเกาะซ้นดาวิศ    เป็นนามเดิมของมิศเตอร์กุกกับตัน

หมอบรัดเลก็พลาดได้เหมือนกัน

 ยิงฟันยิ้ม


๔๓ ปีหลังจากกับตันกุก  พวกมิชชันนารีก็บุก

เคยได้ยินเรื่องตลกเรื่องหนึ่งเล่าว่า

ฝรั่งนำศาสนาเข้าไปสู่ชาวเกาะ เมื่อชาวเกาะหลับตาสวดมนต์ฝรั่งก็ขโมยเกาะไปเป็นของตน

ฮาวายก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ เกาะเหล่านั้น

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 09:32



อาจจะเป็นามเดิมที่กับตันกุกตั้งให้หมู่เกาะ  แต่หมอบลัดเลเล่าแบบฝรั่งพูดไทย

Cook named the archipelago the "Sandwich Islands" after the fourth Earl of Sandwich, the acting First Lord of the Admiralty.



เรื่องโบราณนี่ต้องสามัคคีเฮโลสาระพาค่ะ  คือช่วยกันผลัก  ช่วยกันดึง   ของหนัก
บางทีพูดน้อยไปนิด  ก็ยังดี     

แหะ ๆ  เคยไปนั่งฟังท่านผู้เชี่ยวชาญคุยกันเรื่องนักประพันธ์ท่านหนึ่ง  แล้วเลยเถิดเลื่อนเปื้อนไปอีกท่านหนึ่ง
ว่าท่านเลิกเขียนเพราะไม่ชอบภาษาไทยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ท่านผู้นำก็ไม่ถูกกับนักเขียนผู้นี้
อพิโธ่!    สมัยสงครามโลก  นักเขียนท่านนี้ตระเวณขายรูปปั้นท่านผู้นำในสถานที่ราชการต่างจังหวัด  ท่านเล่าไว้เอง
ชายดีด้วยค่ะ



จะหางานของบลัดเลในเรื่องอื่นมาฝากคุณเพ็ญชมพูอีก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 10:44

อย่างไรก็ตาม  รัชกาลที่ ๕ เอาพระทัยใส่กับการผูกไมตรีต่อสหรัฐอเมริกามากกว่าหมู่เกาะฮาวาย   สังเกตได้จากรัชกาลที่ ๕  มีรับสั่งให้เชิญเยเนราลแกรนต์เดินทางจากเกาะสิงคโปร์มาเยือนสยามอย่างกระทันหัน  ทั้งที่สยามไม่ได้อยู่ในแผนการเดินทางของเยเนราลแกรนต์มาตั้งแต่ต้น   ในขณะที่การเสด็จฯ มาทรงเยือนสยามของกิงกาลกวัวนั้นได้กำหนดไว้ในแผนทางเดินทางแล้วตั้งแต่ต้น  

พระราชหัตถเลขาพระราชทานแด่นายพลแกรนท์ ในหนังสือ Around the world with General Grant  หน้า ๒๖๖

http://books.google.co.th/books?id=z_yhBLJgUz0C&pg=PA255&lpg=PA255&dq=L.T.+Gen.+Grant's+Tour+Around+The+World




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 11:32

สุนทรพจน์ของนายพลแกรนท์ที่กรุงเทพฯ หน้า ๑๑๗ - ๑๑๘

http://books.google.co.th/books?id=3zBLjHeAGB0C&pg=PA117&lpg=PA117




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 28 เม.ย. 10, 14:08

กิงกาลกวัวและประธานาธิบดีแกรนท์ก็เคยพบกันครั้งหนึ่งแล้วที่ทำเนียบขาวในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๘๗๔


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 29 เม.ย. 10, 15:19

ย้อนกลับไปอ่านคำถามของคุณ overhau

ผมพบพงศาวดารเรื่อง แขกซันดาวิศ จึงสงสัยแขกซันดาวิศคือแขกชาติพันธุ์ใดครับ ยิ้มกว้างๆ

ถามคุณวันดี

คนที่เรียกชาวพื้นเมืองฮาวายว่าเป็น "แขก"

หมอบรัดเลฤๅไฉน

 ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 29 เม.ย. 10, 17:12

คว้า สยามประเภทเล่ม ๔ ฉบับถ่ายเอกสาร ๘๕๔ หน้ามาดู



หมอบลัดเลไม่ได้เรียกแขกสักคำตอนต้น



ย่อหน้าที่สอง ใหน้า ๕๙๒

      " นักปราชญ์ประชุมพร้อมกันเห็นว่า  เดิมพืชพันธ์มะนุษย์จะแตกแยกมาจากแขกมะลายู   ด้วยหน้าตารูปกาย
แลผิวหนังก็คล้ายแขกมะลายู

ภาษาพูจก็ถูกต้องตรงกับภาษามะลายูหลายคำ

แต่จารีตคล้ายพราหมณ์อินเดียไป

อักษรก็อักษรต่างหากจากพวกพราหมณ์และแขก    แต่รูปอักษรคล้ายแขกกาลิง

พงศาวดารของเขากล่าวย่อ ๆว่า มีกษัตริย์สืบประเพณีมา ๗๐ องค์  คิดเปนปีกว่าพันปีมาแล้ว
แต่เดิมเห็นจะเปนเกาะเล็กเกาะน้อย


       พวดมิศชันนาเรอาเมริกันได้ไปตรวจดูของสำคัญ  พยานที่จะเปนหลักฐานบ้านเมือง  คือวัดแลเจดีย์วังบ้าน
ตึกไม่มี   ด้วยเขาเปนคนป่า         หารู้จักทำหินแลปูนอิฐไม่ได้          มีแต่ไม้เปนของผุพัง   เห็นแต่คลองเปนพยานได้  มีมาก"

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 09:34

ย่อหน้าที่สอง ใหน้า ๕๙๒

      " นักปราชญ์ประชุมพร้อมกันเห็นว่า  เดิมพืชพันธ์มะนุษย์จะแตกแยกมาจากแขกมะลายู   ด้วยหน้าตารูปกาย
แลผิวหนังก็คล้ายแขกมะลายู

ภาษาพูจก็ถูกต้องตรงกับภาษามะลายูหลายคำ

เปรียบเทียบภาษามาเลย์และฮาวาย
http://sunzi.lib.hku.hk/hkjo/view/26/2602273.pdf



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 10:12

ความรู้เพียบเลยค่ะ   คุณเพ็ญชมพู
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง