เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 30022 ธิดา กงศุลเยเนอราลอังกฤษ แฟนนี น้อกซ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 เม.ย. 10, 21:54

รูปนี้ ลงตีพิมพ์ในหนังสือ สกุลบุนนาค  หน้า ๙๓
แถวนั่ง จากซ้ายไปขวา
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์   กงสุลน็อกซ์
แถวยืน จากซ้ายไปขวา
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)  เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ส่วนคนขวาสุดที่เป็นปริศนา
หนังสือระบุว่า "ไม่ทราบนาม"
แต่ดูเค้าโครงหน้า  น่าจะเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ราชทูตไทยคนแรก    ตำแหน่งสุดท้ายคือสมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ    ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๔๗ ปีเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 16:50

ขออนุญาตแยกกระทู้ตั้งแต่มีเรื่องพระยามนตรีฯ เข้ามานะคะ    เพราะเรือออกอ่าวอังกฤษ ไกลมิศแฟนนีไปทุกทีแล้ว
ติดตามเรื่องพระยามนตรีสุริยวงศ์ ได้ที่นี่
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3272.15
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 08:42

คุณนวรัตนได้ค้นคว้าทำให้เราทราบว่าเกิดการผิดพลาดครั้งใหญ่

ขอประทานโทษ ฝรั่งในรูปนั้น คำบรรยายบอกว่าคือราชทูตจากปรัสเซีย นายกอนต์ เอวเลนเบิก (Friedrich Albrect zu Eulenburg) ผู้เข้ามากรุงเทพระหว่างวันที่๒๓ พฤศจิกายน คศ ๒๘๑๖ (คุณนวรัตนแก้ไขภาพหลังเป็น ค.ศ. ๑๘๖๑) ถึง ๓๐ มกราคมปีถัดไป ถ่ายร่วมกับเสนาบดีผู้ใหญ่ฝ่ายไทยระหว่างการเยี่ยมคำนับ

เอาละซี ข้อมูลเดิมที่เคยได้มาว่าฝรั่งที่ว่าเป็นนายน๊อกซ์ กงสุลอังกฤษ (รวมทั้งในเวปต่างๆที่ลอกกันต่อๆมาด้วย) เลยสร้างความเพี้ยนกันใหญ่

หนังสือสกุลบุนนาคเห็นทีจะต้องปรับปรุงคำบรรยายใหม่ก็ด้วยหลักฐานนี้แล

 ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 01 พ.ค. 10, 09:01

เพื่อไม่ให้ลงเรือออกอ่าวไปปรัสเซียไกลเกินเรื่องของแฟนนี่แลบิดา ขออนุญาตเสนอเรื่องของ เฟรียดริช อัลเบรชต์ กราฟ ฟริส ซู ออยเลนเบอร์ก” (Friedrich Albrecht Graf Fritz zu Eulenburg) ทูตพิเศษ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของ ปรัสเซีย และในนามของสหภาพเยอรมัน (German Customs Union) กับโทรคมนาคมแรกเข้าสู่สยาม ในรูปของลิงก์ข้างล่างนี้

http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=190

แต่ดูเถอะครับ รูปนายมิศหนอกอดีตครูผึกแถวทหารวังหน้านี่ก็คล้ายกับท่านทูตปรัสเซียเสียด้วย เพียงแต่เครายาวกว่าหน่อยนึงเท่านั้น

ซ้าย - มิศหนอก  ขวา - ท่านทูตปรัสเซีย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 21:33

ผมมั่นใจว่าเคยมีหนังสือที่เล่าเรื่องของแฟนนี นีอกซ์อยู่ในบ้านมากกว่าหนึ่งเล่ม แต่ก่อนหน้านี้นึกเท่าไรก็นึกไม่ออกว่าเรื่องอะไรอยู่ที่ไหน อยู่ๆวันนี้ไปหยิบขึ้นมาโดยบังเอิญ เป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรมชื่อ “ค้นหารัตนโกสินทร์ สิ่งที่เรารู้ แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด” โดยไกรฤกษ์ นานา เป็นรวมเล่มของสารคดีหลายเรื่องหลายบท และมีเรื่องของพระปรีชากลการและเมียแหม่มที่ชื่อแฟนนีนี่อยู่2บท ให้ชื่อว่า “ฟื้นปริศนาคดีประวัติศาสตร์ นางแฟนนี น็อกซ์แก้ต่างความผิดให้พระปรีชากลการ”

ผมจะทะยอยเอารูปประกอบมาลงไว้พอเป็นหนังตัวอย่าง ท่านที่สนใจกรุณาตามไปหาหนังสือดังกล่าวมาอ่านเอาเองแล้วกันนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 21:37

อาจารย์ไกรฤกษ์ นานาเขียนเล่าว่าไปได้หนังสือเล่มนี้ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนอังกฤษ ชื่อในภาคภาษาไทยคือ “แฟนนีและผู้สำเร็จราชการแห่งสยาม” ในเนื้อเรื่องที่นักประพันธ์ชาวอังกฤษเขียนขึ้นนี้ เป็นเรื่องจริง75เปอร์เซนต์ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่อีก25เปอร์เซนต์นั้น เป็นข้อมูลสำคัญที่สุดที่คนอังกฤษไม่รู้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นางแฟนนีนำไปเล่าให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ฟังในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นอัครราชทูตอยู่ที่ปารีส เพราะหวังว่ารัฐบาลสยามจะสนใจติดตามเงินที่พระปรีชากลการยักยอกหลวงไปลงทุนไว้ในบริษัทฝรั่ง แล้วถูกหุ้นส่วนใช้เล่ห์เหลี่ยมเบียดบังไปเป็นของตนอีกต่อหนึ่ง นางหวังว่าหากนางชี้ช่องให้ทางราชการสามารถติดตามเงินก้อนใหญ่นี้คืนมาได้ นางคงจะได้รับส่วนแบ่งบ้าง

เรื่องดังกล่าวนี้ฝรั่งไม่รู้เพราะเป็นความลับทางราชการอยู่ในหนังสือรายงานที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลถวายมายังเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ฝรั่งจึงเขียนเฉพาะเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นราวกับนิยาย พระเอกนางเอกแหวกม่านประเพณีมารักใคร่แต่งงานกัน จึงถูกคู่แข่งทางการเมืองหาเรื่องไปเพ็ดทูลด้วยความริษยา ทำให้พระเอกได้รับพระราชอาญาถึงประหารชีวิตด้วยการถูกตัดคอด้วยดาบ ส่วนนางเอกก็ต้องหนีตายระหกระเหินไปแผ่นดินพ่อ ผู้แม้จะเป็นถึงกงสุลของประเทศอันยิ่งใหญ่อย่างอังกฤษ ก็ยังช่วยชีวิตบุตรเขยไม่ได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 21:53

แฟนนีมีน้องสาวร่วมบิดามารดาอีกคนหนึ่งชื่อแคโรไลน์ มีรูปถ่ายซะด้วย เธอผู้นี้แต่งงานกับนายหลุยส์ โธมัส ลีโอโนแวนส์ ลูกชายนางแอนนา
ผมดูรูปของเธอแล้ว ตรงลูกตาน่ากลัวชะมัดทั้งแม่ทั้งลูก
แต่นายหลุยส์คงไม่กลัวมั้ง ตามประวัติหมอนั่นเป็นเพลย์บอยตัวฉกาจ ขนาดมีฮาเร็มอยู่ที่เชียงใหม่แน่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 22:05

จวนของพระปรีชากลการสมัยเป็นเจ้าเมืองปราจีน คุมงานทำเหมืองทองที่ในหลวงรัชกาลที่ห้าทรงเชื่อพระทัยลงทุนให้ทำเป็นเงินมหาศาลอยู่ที่กบินทร์บุรี พระปรีชาเองก็เจ้าชู้ไม่เบาหรอก ก่อนนางแฟนนีก็มีภรรยามาแล้วไม่ต่ำกว่า4คน นางแฟนนีจะมาใช้จวนนี้เป็นเรือนหอได้สักเท่าไรกันเชียว ตามเรื่องว่าแต่งงานกันต้นเดือนมีนาคมพอถึงกลางเดือนพระปรีชาก็ถูกจับแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 22:49


เรื่องเกิดที่ปราจิน ก็ต้องไปจบที่ปราจีน

พระปรีชากลการ ถูกนำออกจากที่จองจำในกรุงเทพแต่เช้า ลงเรือล่องไปจนถึงปราจีนบุรีในเวลาบ่ายแก่ๆ และจัดการประหารในเย็นวันนั้น
เมื่อตายแล้ว ชาวบ้านได้ตั้งศาลให้ ใหญ่โตไม่ธรรมดา

ปัจจุบันศาลได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม สถานที่ตั้งกลายเป็นด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรประจำจังหวัด ศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรมของปราจีนบุรีบันทึกไว้ว่า
"เจ้าพ่อสำอาง คือ พระปรีชากลการ เดิมชื่อ สำอาง อมาตยกุล เมื่อปี พ.ศ. 2419 ได้เป็นเจ้าเมืองปราจีนบุรี ได้ทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน จังหวัดปราจีนบุรี เช่น การสร้างถนน สถานที่ราชการ อาคารต่างๆ โรงงานเครื่องจักรสำหรับ ทำทอง บูรณะและสร้างอุโบสถวัดหลวงปรีชากูล และถึงแม้ว่าดวงชะตากรรมของท่าน จะต้องโทษทัณฑ์ด้วยการถูกประหารชีวิต แต่ประชาชนชาวจังหวัดปราจีนบุรีก็ยังเคารพบูชา จนถึงทุกวันนี้"



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 04 พ.ค. 10, 23:17

เมื่อพระปรีชากลการต้องพระราชอาญาถึงประหารนั้น ถูกริบราชบาตร ทรัพย์สินเงินทองต้องตกเป็นของหลวงด้วย รวมทั้งบ้านที่ตนอยู่ในกรุงเทพหลังนี้

อาคารไปรสะนียาคาร เป็นที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศสยามเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426 เดิมคือบ้านของพระปรีชากลการดังกล่าวสร้างเมื่อพ.ศ.2414  ต่อมาในพ.ศ.2525 ถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า

อาคารหลังปัจจุบันในรูปเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิม เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์

ดูจากภาพทั้งสองแล้ว สมควรทึ่งว่าพระปรีชากลการร่ำรวยถึงขนาดนี้ได้อย่างไร นี่ผมยังไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์สินที่นางแฟนนีเปิดเผยกับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นเงินสกุลยุโรปอีกหลายหมื่นปอนด์นะครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 05 พ.ค. 10, 09:59

อ้างถึง
คุณนวรัตนเคยนำข้อมูลด้านการเงิน Fanny@Paris มาแสดง

ชีวิตดั่งนิยาย-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กระดูกสันหลังพระปิยะมหาราช?
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html#11

แฟนนีได้ไปหาหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ที่ปารีสในฐานะอัครราชทูต แล้วไขความลับว่า สามียังมีเงินฝากอยู่ในประเทศอังกฤษอีก ๒ บัญชี ตนเองถอนออกมาไม่ได้ เพราะถูกรัฐบาลไทยอายัตไว้ แต่ถ้าราชทูตมีหนังสือไปแจ้งธนาคารว่ายินยอมให้ถอน ก็คงจะถอนได้ แล้วเอาเงินออกมาแบ่งกัน

ท่านราชทูตจึงรีบเรียกพนักงานมาเป็นพยาน แล้วบันทึกคำให้การของแฟนนี อย่างตรงไปตรงมา หลังจากปรึกษานายธนาคารที่รับฝากเงินไว้ ได้ความว่า ถ้ารัฐบาลไทยทำหนังสือเรียกเงินมา ก็จะจ่ายให้ตามสัญญา จึงทำหนังสือรายงานไปทูลเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ และเสนอความเห็นขอพระมหากรุณาธิคุณให้ลูกแฟนนีที่ยังเล็ก ก็โปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชานุญาตให้ตามที่ขอ

เรื่องราวข้างบนผมเขียนมาจากการรวบรวมพระประวัติของพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ ก่อนได้อ่านหนังสือของอาจารย์ไกรฤกษ์  ใหญ่ๆแล้วก็ไม่มีอะไรผิดหรอกครับ
เรื่องของเรื่องก็คือ พระปรีชากลการ เป็นผู้ที่มีเชื้อสายดี มีความสามารถในเชิงวิศวกรรมเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัว ท่านบิดาเป็นนายโรงกระสาปน์พระปรีชาจึงได้ไปช่วยงานที่นั่นด้วย และคงมีข้อมูลอยู่บ้างว่าแหล่งแร่ที่จะมาทำเหรียญในเมืองไทยนั้นมีอยู่ที่ใดบ้าง เมื่อสำรวจแล้วพบว่าแหล่งทองคำที่กบินทร์บุรีน่าจะมีปริมาณพอที่จะลงทุนเปิดเหมืองเป็นเรื่องเป็นราว เอาทองคำมาผลิตเหรียญเป็นสมบัติของแผ่นดินได้ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อตามนั้น จึงโปรดเกล้าให้พระปรีชาไปเป็นเจ้าเมืองปราจีนบุรี เพื่อดำเนินการเปิดเหมืองทองคำดังกล่าว
แต่วันเดือนปีผ่านไป ความสำเร็จมิได้เกิดตามที่ทุกคนหวัง พระปรีชาเบิกเงินหลวงไปแล้ว15500ชั่ง แต่ส่งทองคำได้เพียง110ชั่งเท่านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 05 พ.ค. 10, 10:04

ผู้ที่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาสอบสวนคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ระหว่างนั้นก็ยังฟันธงมิได้ว่ามีการกระทำทุจริตจริง ก็เกิดประเด็นขึ้นแทรกซ้อน ไม่ทราบว่าพระปรีชาจะพยายามหาภูมิคุ้มกันตัวหรือเปล่าที่ไปสร้างรักกับนางแฟนนี ลูกสาวนายน้อกซ์ กงสุลใหญ่อังกฤษ ทั้งๆที่ตนเองมีเมียคนไทยตั้งหลายคนอยู่แล้ว นางแฟนนีเองก็คงจะเห็นว่าพระปรีชาเป็นบุคคลระดับอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่ง น่าจะคุ้มค่าเนื้อค่าตัวอยู่กระมัง เลยเออออห่อหมกกันไปโดยมีพ่อตาเข้ามาเอี่ยวด้วยอย่างน่าผิดสังเกตุ

การแต่งงานของพระปรีชากับแฟนนีเป็นการท้าทายพระราชอำนาจอย่างโฉ่งฉ่างจนเกินไป พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงไม่ชอบหน้านายน็อกซ์เอามากๆอยู่ เพราะทรงเห็นว่านายน็อกซ์เคยใช้อิทธิพลของอังกฤษ พยายามจะผลักดันวังหน้าให้ขึ้นเป็นกษัตริย์มาแล้วในต้นรัชกาล แต่ไม่สำเร็จ พระปรีชากลการจึงถูกจับจากจวนที่ปราจีนบุรี มาเข้าคุกที่กรุงเทพในข้อหายักยอกฉ้อโกงพระราชทรัพย์ และเป็นไปดังคาด นายน็อกซ์ได้เข้าแทรกแซงข่มขู่พระองค์ โดยกล่าวหาว่าทรงเชื่อสมเด็จเจ้าพระยาจนเกินไปในเกมการเมืองที่พวกบุนนาคพยายามบั่นทอนบารมีของพวกอมาตยกุล ด้วยการยัดข้อหาการกระทำอันเป็นทุจริตให้พระปรีชา แต่ยังหาหลักฐานพิสูจน์ไม่ได้

ผมขอแทรกความเห็นส่วนตัวหน่อยนะครับ การลงทุนทำเหมือง แม้ในปัจจุบันที่ทีเทคโนโลยีสูงกว่าสมัยก่อนมากมาย แต่ก็ยังเสี่ยงที่ขุดไปแล้วไปเจออย่างอื่นที่ไม่ใช่แร่ที่ต้องการอยู่ดี ยิ่งในสมัยโน้น โอกาสที่จะประเมินผิดประเมินถูกมีอยู่มาก การที่ทุนทรัพย์จะละลายไปในดินเป็นความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนจะต้องทำใจกับลูกน้องในข้อผิดพลาดโดยสุจริต(แน่ะ ใช้ศัพท์ทันสมัยซะด้วย)
ฝรั่งตั้งข้อสังเกตุว่า ระบบราชการไทย(ก่อนร.5ท่านจะทรงปฏิรูป) ข้าราชการไม่มีเงินเดือน แต่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานสิทธิ์ในการทำมาหากิน (ระบบศักดินา) ให้ข้าราชการไปหาเงินเลี้ยงชีพและครอบครัวเอาเอง บ้างก็ให้เป็นนายอากร เก็บเงินชาวบ้านแล้วมาแบ่งให้พระคลังตามที่ตกลงไว้ พระปรีชาเบิกเงินหลวงไปทำกิจการ ก็มีสิทธิ์เอาไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวด้วยเพราะไม่มีเงินเดือน จะเอาผิดได้อย่างไร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 พ.ค. 10, 10:59

นายน็อกซ์ได้บังอาจข่มขู่พระองค์ด้วยว่า หากทรงเชื่อสมเด็จเจ้าพระยาเกินไป จะไม่มีฝรั่งผู้ใดสนับสนุนพระองค์อีก  ทรงตีความว่านายน็อกซ์หมายความว่าจะหันไปสนับสนุนวังหน้าให้ขึ้นมาแทนพระองค์ หนำซ้ำ เพื่อเร่งรัดคดีพระปรีชาจะให้จบเร็วๆตามที่ตนต้องการ นายน็อกซ์ได้ทำรายงานไปยังรัฐบาลอังกฤษ ขอเรือรบFoxhoundเข้ามาจอดลอยลำอยู่หน้ากงสุลในกรุงเทพ

พระเจ้าอยู่หัวท่านปริวิตกกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ยิ่งกว่าคราวเกิดวิกฤตวังหน้าสี่ห้าปีก่อนมาก หลังจากปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาผู้โชกโชนในประสพการณ์แล้ว ทรงดำเนินวิเทโศบายด้วยการส่งอัครราชทูตไปอังกฤษเพื่อร้องเรียนว่ากงสุลใหญ่นำเรื่องส่วนตัวมาเป็นเหตุ หาเรื่องแทรกแซงกิจการภายในของสยาม ซึ่งเหตุผลนี้ฟังขึ้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้เรียกกงสุลกลับไปอังกฤษ และมิได้ส่งกลับมาอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 05 พ.ค. 10, 11:01

ส่วนคดีพระปรีชา ก็ใช้ข้อกล่าวหาทางการเมืองเอาผิด ไม่ต้องใช้คดีทุจริตที่พิสูจน์กันยาวกว่าจะตัดสินคดี จำเลยถูกตัดสินประหารชีวิต และดำเนินการอย่างรวดเร็วก่อนการตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษด้วยซ้ำ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 05 พ.ค. 10, 18:13

อ้างถึง
รองอำมาตย์โท หลวงบำรุงรัฐนิกร (บุศย์ เอนกบุณย์) ได้บันทึกเหตุการณ์ก่อนการประหารชีวิตพระปรีชากลการให้เราทราบ ดังนี้

...พระปรีชาฯ เอาผ้าขึ้นเช็ดหน้า แล้วทิ้งลงดิน พูดออกมาอย่างน่าสงสารว่า โบสถ์สร้างขึ้นยังไม่ทันแล้ว เพราะได้เมียฝรั่ง ตัวจึงตาย...

คุณพระโทษว่าสาเหตุคือได้แฟนนี่เป็นภรรยา   ไม่ได้โทษตัวเองว่าฉ้อราษฎร์บังหลวง    เงินมหาศาลที่เอาไปฝากไว้ในยุโรปนั่นแหละคือหลักฐาน
ไม่น่าเป็นพระเอกได้เลย  ทั้งๆชีวิตก็ดราม่าสุดๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง