เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 29995 ธิดา กงศุลเยเนอราลอังกฤษ แฟนนี น้อกซ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 14:09

ได้พยายามตรวจสอบรายชื่อจากสมาคมนักเรียนเก่าของวิทยาลัยเหมืองแร่ในสกอตแลนด์  ไม่พบ
ได้ค้นจากชื่อ   Maud  ด้วย  เพราะ แฟนนีเมื่อแต่งงานกับพระปรีชากลการใช้ชื่อนี้  เชื่อว่าคือชื่อ นาย โหมด บิดา

Maud ไม่พบ  Maude ก็ไม่น่าพบ เพราะใกล้เคียงกัน

ข้อมูลจาก
http://thepeerage.com/p33215.htm#i332146


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 14:27


สนใจคุณหญิงเสมอมานานแล้วเพราะท่านเป็นนักแปลสตรีคนแรกของเมืองไทย
คุณหญิงตระกูล ภูบาลบรรเทิง นั้นพูดอ่านเขียนอังกฤษและฝรั่งเศสได้ เพราะ แฟนนีได้ให้การศึกษาอย่างกุลสตรีแก่คุณตระกูล

คุณหญิงตระกูลเป็นภรรยาพระยาภูบาลบรรเทิง (ประยูร) บุตรพระยาเพชรพิไชย (เจิม)  คุณหญิงตระกูลได้ไปอยู่ต่างประเทศกับแฟนนี่ ภายหลังที่พระปรีชากลการถูกประหารชีวิต คุณหญิงตระกูลสามารถพูดได้หลายภาษา กลับมาเมืองไทยได้ทำหน้าที่เป็นล่ามสตรีคนแรกของกรุงสยาม

ในหนังสือ Fanny and the Regent of Siam (ตัวจึงตายเพราะได้เมียฝรั่ง-จุมพนันท์) แต่งโดย R.J. Minney ได้เขียนเล่าชีวิตตอนปลายของแฟนนี่ไว้ว่า เธออยู่ในกรุงเทพฯ อย่างยากจน ลูกติด ๒ คนของพระปรีชากลการ (คุณตระกูลและคุณอรุณ)ได้ส่งกลับคืนให้ครอบครัวตระกูลอมาตยกุลนำไปเลี้ยงดูต่อไป ส่วนลูกชายที่ชื่อสเปนเซอร์นั้นเป็นคนอายุสั้น ถึงแก่ความตายเมื่ออายุเพียง ๒๑ ปี เธอจึงต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ผู้เดียว เพราะเซอร์โทมัส น็อกซ์ บิดาของเธอก็ได้เดินทางกลับไปประเทศอังกฤษและตายที่นั่น ส่วนแคโรไลน์น้องสาวนั้นแต่งงานกับ หลุยส์ เลียวโนเวนส์ ลูกของนางแอนนา และไปดำรงชีพที่เชียงใหม่ เอาคุณปรางมารดาไปอยู่ด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 15:04

เรื่องย่อจาก  Fanny and the Regent of Siam  โดย R.J. Minney

Fanny Knox was the daughter of an English diplomat and his aristocratic Siamese (Thai) wife. When she grew up, she had a number of suitors for her hand. One was Louis Leonowens, whose mother, Anna, worked at the royal court and wrote the books that inspired the novel Anna and the King of Siam, by Margaret Landon. He eventually married her sister Caroline. In addition, Si Suriyawongse, Regent for the young King Chulalongkorn, wanted Fanny to marry his grandson Nai Dee. Fanny, however, had fallen in love with another Siamese aristocrat, Phra Preecha, and married him in defiance of the Regent, who struck out at the young couple in his wrath. This is more of a biographical novel than a true biography.

น่าสนใจมาก  นายดี หลานสมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นใครในตระกูลบุนนาค?
แต่เรื่องนี้เป็นนวนิยายอิงชีวประวัติเสียมากกว่าจะเป็นชีวประวัติจริงๆ  ก็คงใส่สีใส่ไข่ลงไปบ้าง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 15:26

หนังสือที่น่าอ่าน และมีหลักฐาน  คือ จดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน ปีเถาะ  จุลศักราช ๑๒๔๑


เหมือนอย่างที่เรียนคุณเพ็ญชมพูไว้แล้ว  ว่าดิฉันหาเรื่องแปลกๆ  จากหลักฐาน ที่อ่านแล้ว เข้าใจความสัมพันธ์ ของ ผัวเมียคู่นี้ ที่อยู่ด้วยกันไม่กี่เดือน


หน้า ๙

ร.ที่ ๔/๔๑             มีพระราชหัตถ์สั่งให้ลงพระอาญาว่า พระปรีชากลการประพฤติการกำเริบหมิ่นประมาทหนักไม่มีความยำเกรงต่อผู้ใหญ่
                         ให้พระพิเรนทรเทพย์เอาตัวออกมาเฆี่ยนสียยกหนึ่ง ๓๐ ที
                         อย่าให้ข้าราชการประพฤติตามสืบไป

๕/๔๑                   ได้เอาตัวลงพระราชอาญาที่หน้าโรงทอง


หน้า ๒๓               รับริโปตพระพิเรนทร   ซึ่งพระปรีชาต้องจำ
                         บ่าวมาหา   ว่าแฟนนีใช้ให้มาดู   เขาลือกันว่าพระปรีชากินยาตาย
                         พระปรีชาให้ไปบอกว่า  อย่าตกใจเลย   แล้วเขียนหนังสือไปด้วย
                         ยาใส่แผลที่ให้มาใหม่ดูวันนี้เห็นจะถูกสบาย              

หน้า ๒๖               พระยาภาษจดหมายไปรเวตถวายด้วยเส้นดินสอเข้ามาฉบับ ๑
                         ว่าเมื่อคืนนี้   มีเรือโบตเก๋ง ๔ แจว      ผู้หญิงอยู่ในนั้น  ร้องสักรวา  แจวขึ้นข้างบน
                         ตั้งแต่ปากคลองโอ่งอ่าง  ไปจนหน้าบ้านเจ้าพระยามหินทร
                         แล้วกลับมาอีก           แล้วล่องลงไปล่าง
                         ผู้ฟังเขาจำไว้ได้

                          สงสัยว่าจะเป็น Caroline บุตรสาวมิสเตอร์นอกซ์

                          ความว่า

                          สักรวาวันนี้พระปรีชา
                          ต้องรับอาญาพระเจ้าอยู่หัว
                          กำเริบจิตรคิดการห่ามเกินตัว
                          ทั้งพันพัวราชทรัพย์ก็นับพัน
                          กลับออกไปก็มิได้บังคมบาท
                          ถืออำนาจผู้ใดกระไรนั่น
                          ทรงการุณชุบเลี้ยงถึงเพียงนั้น
                          หรือหมายมั่นพึ่งใครให้ว่าเอย

     นักประวัติศาสตร์ก็มิได้บันทึกที่มาที่ไปของสักรวาเรื่องนี้ไว้


หน้า ๘๓

๕ ตุลาคม ๒๔๒๒

อนึ่ง  วันนี้ได้ข่าวว่า อีแฟนนี คลอดบุตรเป็นชายเช้านี้ ๓ โมง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 15:42

ทรงการุณชุบเลี้ยงถึงเพียงนั้น
หรือหมายมั่นพึ่งใครให้ว่าเอย

มีนัยยะสำคัญนะคะ วรรคสุดท้ายนี้
ทำไมคุณ Caroline  ถึงต้องทำอย่างนี้ด้วยล่ะคะ  ฟังน้ำเสียง ราวกับเป็นปรปักษ์กับพระปรีชา

จำได้รางๆถึงลูกสาวกงสุลน็อกซ์ที่ลือกันว่าเป็นหม่อมห้ามของวังหน้า   คนไหนกันแน่ พี่สาวหรือน้องสาว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 15:49

เมื่อคณะทูตที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นหัวหน้าราชทูต ไปเจรจาความกับรัฐบาลอังกฤษ กลับมาได้ ๘ วัน



จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๔๑
หน้า ๑๑๔   วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๓๒๒        
บันทึกไว้


         "เวลายามหนึ่ง       สั่งให้จำไอ้สำอาง ปรีชา ๕ ประการเต็มที่

เวลาสองยาม  เจ้าพระยามหินธร   พระยามหามนตรี   พระยารองเมือง   และนายพธามรงค์ทหาร
เอาตัวไอ้สำอางไปออกประตูรัตนพิศาล  แลประตูสุนทรทิศ   พาไปออกประตูลงท่าพระ

ลงเรือหาญหักศัตรู

เวลาออกเรือยิงปืนหาญหักศัตรู  ต่อสู้ไพรีทั้งสองลำ   กับเรือราชสีห์ลำหนึ่ง

ผู้ที่ไปนั้น   เจ้าพระยามหินทร   พระยารองเมือง   พระพิเรนทรเทพ   จมื่นวิไชยยุทธ   พระศักดิเสนี
หลวงสุริยามาตย์   นายพธำรงค์   ตำรวจ  ทหาร มาก


เมื่อลงเรือ  เจ้าพระยามหินธร  พระยารองเมืองขัดดาบด้วย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 15:52

หน้า ๒๓               รับริโปตพระพิเรนทร   ซึ่งพระปรีชาต้องจำ
                         บ่าวมาหา   ว่าแฟนนีใช้ให้มาดู   เขาลือกันว่าพระปรีชากินยาตาย
                         พระปรีชาให้ไปบอกว่า  อย่าตกใจเลย   แล้วเขียนหนังสือไปด้วย
                         ยาใส่แผลที่ให้มาใหม่ดูวันนี้เห็นจะถูกสบาย      

จดหมายจากพระปรีชากลการถึงแฟนนี่

"...ด้วยตัวฉันเป็นคนไทย ในหลวงกริ้วลงพระราชอาญาเฆี่ยนแล้ว ก็จะค่อยคลายกริ้วลงทุกที อย่าให้เเฟนนี่วุ่นวายไป ธรรมเนียมไทยก้บธรรมเนียมฝรั่งไม่เหมือนกัน จะเอาเหมือนธรรมเนียมฝรั่งไม่ได้ จะภาฉันมีความผิด ฉันเห็นใจแล้วว่าแฟนนี่รักฉันมาก...."

 เศร้า
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 16:20

เรียนคุณเทาชมพู      เรื่องนายดี



จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ปีเถาะ  จุลศักราช ๑๒๔๑

หน้า ๑๓ 
(หน้า ๑๒ ลงไว้ว่า ๑๑ มีนาคม ๒๕๒๒)

ท้าวแพถวายคำพระยาจำนงษรไตรย    มาแจ้งกับสมเด็จเจ้าพระยา  เรื่องมิศนอกซ์ไปวังหน้า   ว่าด้วยเรื่องพระปรีชา


แล้วแกทูลเรื่องให้ทราบว่า  มิศนอกซ์จะคิดแก้การเรื่องนี้

ด้วยจะให้พระองค์กมลาศแต่งงานกับลูกสาวคนเล็ก            จะให้ขออนุญาตก่อน

สมเด็จเจ้าพระยาท่านให้ทูลว่า    ควรจะยอมให้แต่ง

ด้วยความเรื่องเราทำนี้  จะได้สูงขึ้นเพราะไม่ขออนุญาต


ทรงพระราชดำริว่าควรยอมจริง     แต่เห็นเสียอยู่สองอย่าง

จะล้วงไส้ในวังแห่งหนึ่ง       พวกฟากขะโน้นขอแต่งจะลำบาก    จึงจะให้ทรงมีข้อบังคับ ๓ ข้อ


ร.ที่ ๗/๔๑   มีพระราชหัถต์ถึงสมเด็จเจ้าพระยา   ถึงเรื่องที่จะยอมให้พระองค์กมลาศแต่งงาน  แต่ต้องออกประกาศความ ๓ ข้อ



ความ ๓ ข้อนั้น  จำได้ผ่านตาว่า(ความอาจไม่สมบูรณ์)
เมียและลูกต้องเป็นคนในบังคับไทย
ขุนนางต้องลาออก
เจ้านายต้องไม่รับเงินปี  ห้ามเดินทางไปต่างจังหวัด

เรื่องนี้ก็สงบไป

อยากได้กันเหลือเกิน   ลูกสาวนอกสมรสของ กงสุลเยเนอราล
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 16:22


ข้อมูลที่ได้เกี่ยวกับอิมเปคือ เป็นคนที่พ้นราชการแล้ว(เกษียณ หรือ ลาออก)    ครูอิมเปมาอยู่เมืองไทยหนึ่งปีแล้วก็จากไป
บอกว่าไม่ได้งานที่เหมาะสมกับเกียรติ   ลูกศิษย์ครูมีอยู่สามคนมั๊ง

มีครูเล็ก  ครูกรอบ  ครูเชิงเลิง  หนังสือประวัติกองทัพไทยมีเอ่ยบ้างเหมือนกัน


อิมเป  กับ น้อกซ์  อาจรู้จักกัน  เพราะเป็นทหารราบด้วยกัน
อิมเปอยู่ที่พม่า   ที่เมาะลำเลิงตอนนั้นเป็นเมืองทหารทั้งเมือง
น้อกซ์อยู่อินเดีย


ประวัติเพิ่มเติม นายร้อยเอก อิมเปย์ (Impay) จากหนังสือพระราชนิพนธ์ ตำราปืนใหญ่ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ เมื่อ ๒๕๐๕ แจกในงานไหว้ครู ที่บ้านพลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์  (จากหมายเหตุผนวก  ตำราปืนใหญ่)  

นายร้อยเอกอิมเปย์ เป็นนายทหารนอกราชการของกองทัพอังกฤษ  ประจำการที่อินเดีย   ได้ทราบว่ารัชกาลที่ ๔ โปรดขนบธรรมเนียมฝรั่ง  จึงได้เดินทางเข้ามาเป็นครูฝึกทหาร  รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้จ้างนายร้อยเอกอิมเปย์ไว้  และมอบให้ฝึกทหารในกองอาสาลาวและเขมรในวังหลวง   แต่เพราะครูไม่สันทัดภาษาไทย   การจัดและระเบียบการฝึก เช่น การเรียกชื่อตำแหน่งภายในหน่วย  ยศ  คำบอกแถวได้ใช้เป็นภาษาอังกฤษตลอด   คนภายนอกเรียกทหารหน่วยน้ว่า  ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป  หรือ ทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง    ทหารที่ได้รับการฝึกในคราวนั้นมีมาก  พอจะจัดเป็นกองทหารประจำพระองค์ได้  ๒ กอง คือ  กองทหารรักษษพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม   กับ   กองทหารหน้า   การจัดหมวดหมู่  มีลักษณะอย่างกองทหารปัจจุบัน  กองทหารเหล่านี้  รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่ปันเวนกันรักษาพระราชฐาน  เป็นอย่างทหารรักษาพระองค์อย่างกษัตริย์ในยุโรป     พร้อมกันนนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงทหารรักษาการณ์ขึ้นในวังด้วย

ส่วนนายร้อยเอกโทมัส  ยอร์ช  นอกส์  (Thomas George  Knox)  ซึ่งได้เข้ามาอาสารับราชการเป็นครูฝึกทหารภายหลังนายร้อยเอกอิมเปย์นั้น  รัชกาลที่  ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงรับไปเป็นครูฝึกทหารวังหน้า   ซึ่งกองทหารวังหน้านั้น  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงกำกับดูแลมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ แล้ว  การฝึกทหารของนายร้อยเอกที่วังหน้าก็เหมือนกับของวังหลวง   แม้แต่เพลงที่ใช้คำนับพระเจ้าอยู่หัว ก็ใช้เพลงก็อดเซฟเดอะคิง

การฝึกทหารในระยะนั้นได้ดำเนินมาระยะหนึ่ง  พอถึงปี ๒๓๙๕ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมกองทหารที่ฝึกนั้นจัดเป็นกองทหารใหม่ ๒ กอง  คือ กองรักษษพระองค์อย่างยุโรป (จากกองทหารรักษษพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิมป  กับกองปืนใหญ่อาสาญวน  ญวนพวกนี้เป็นญวนนับถือพุทธ มีบ้านเรือนแถวคลองผดุงกรุงเกษม  กองทหารนี้จัดตั้งขึ้นแทน กองอาสาญวน ผเข้ารีต) ที่โอนไปอยู่กับวังหน้า เมื่อนายร้อยเอกนอกส์ เข้ามารับราชการเป็นครูฝึกที่วังหน้า   ทหารทั้ง - หน่วยนนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงเดิมเป็นผู้บังคับบัญชา มีชื่อที่พอค้นได้ คือ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง  เพ็ญกุล)  กับพระยาพิชัย (ดิศ)  


อนึ่ง  นายร้อยเอกนอกส์นั้นได้มีโอกาสนำทหารที่ฝึกแบบใหม่นี้ไปร่วมเข้าตีเมืองเชียงตุง เมื่อ ๒๓๙๕  ในบานะหน่วยพิเศษ  ได้ทำการรบเพื่อช่วยเหลือกำลังส่วนใหญ่ในตอนถอยทัพออกจากเมืองเชียงตุง  กองทหารอย่างใหม่นี้ยังได้ทำหน้าที่อย่างตำรวจในการปราบปรามอั้งยี่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในมณฑลปราจีนและเมืองชลบุรีด้วย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 16:33

ค.ห.ที่ 22 ของคุณวันดี  ดิฉันยังอ่านไม่รู้เรื่องค่ะ
นายดีเกี่ยวอะไรด้วยกับพระองค์เจ้ากมลาส และการแต่งงาน
ลูกสาวนอกสมรสของกงสุล คือใคร?
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 16:39

ขอบคุณคุณเพ็ญเรื่องจดหมายค่ะ

นึกอยากได้อยู่พอดี   เหมือนรู้ใจกัน


หนังสือของ วิมลพรรณ  ปีตธวัชชัย เรื่อง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  หน้า ๘๑
สรุปความไว้เหมาะสม

(ชอบคุณติ๋ม วิมลพรรณมากเพราะเธอทำงานละเอียด   เขียนง่าย กระจ่าง  ภาษาไทยดี ไม่เยิ่นเย้อ และมีข้อมูลมหาศาล)



"แต่การแสดงอำนาจบาตรใหญ่โดยแอบอ้างอำนาจของรัฐบาลอังกฤษมาข่มขู่รัฐบาลไทย

และความยะโส  อวดดี  ไม่รู้ที่ต่ำที่สูงของกงสุลน็อกซ์       ก็น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่ง  ที่ทำให้คดีพระปรีชา ฯ  ถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ      

และในท้ายที่สุด   คดีทุจริตกับคดีฆ่าคนตายก็ได้กลายเป็นประเด็นที่นำไปสู่การพิจารณาพิพากษาประหารชีวิตพระปรีชากลการ

แฟนนีและบุตรชาย  เดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๒๒"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 16:49

ใน คคห ที่ ๑๗   นวนิยาย เล่าว่า     นายดี อยากแต่งงานกับลูกนอกซ์

ดิฉันก็ยก จดหมายพระชกิจรายวันมาว่า  สมเด็จเจ้าพระยา อยากให้แต่งกับพระองค์กมลาส



ลูกสาวของนอกซ์ทั้งสองคนนั้น  กระทรวงต่างประเทศอังกฤษ  ถือว่า นอกสมรส  จะเอ่ยถึงยังกระมิดกระเม้น เพราะเป็นเรื่องไม่สมควรกราบบังคมทูลควีนวิคตอเรีย
ถ้าไปบันทึกการสมรสในโบสถ์เสีย  เหมือนฝรั่งทั้งปวงเขาทำกัน ใน เมาะลำเลิง  ทั้งเกิด ตาย และ แต่งงาน  เรื่องนี้ก็จบ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 17:14

ความ ๓ ข้อ

สมเด็จเจ้าพระยา/ณัฐวุฒิ/ หน้า ๙๖๖ - ๙๖๘


"ฉันต้องขอเจ้าคุณแลท่านเสนาบดี    ช่วยตริตรองการซึ่งฉันจะว่าไปข้างล่างเพื่อรักษาอำนาจ 
แลป้องกันอันตรายแผ่นดินในการคราวนี้  แลการต่อไปภายหน้าให้ตกลงตลอดไปตามความที่ฉันคิดก่อน   
ฉันจึงจะยอมรับให้แต่งงานได้"


(ย่อความเล็กน้อย)

๑.   ต้องแจ้งให้ฉันแลเสนาบดีทราบก่อน  เมื่อเห็นว่าไม่เป็นการขัดข้องกับการแผ่นดิน  ยอมให้แต่งจึงแต่งได้
ถ้าเห็นเป็นการขัดข้อง  จะห้ามเสียก็ห้ามได้

๒.   รับราชการต้องออก
เจ้านายเข้าเฝ้าได้ตามบรรดาศักดิ์
ผลประโยชน์จากราชการ  ต้องขาด
ขุนนางต้องออกจากบรรดาศักดิ์

๓.  แต่งแล้วก็เป็นคนในบังคับ สยาม  ลูกเมียก็เป็น    ผิดก็รับโทษตามกฎหมายสยาม


"ความสามข้อนี้  จะต้องตั้งเป็นกฎหมายสำหรับแผ่นดิน  เหมือนกฎหมายสัญญาปับลิก  สัญญาไปรเวตที่ได้ตั้งไว้แล้ว   

ต้องให้กงสุลต่างประเทศทราบด้วย


ฉันเห็นการดังนี้  เห็นว่าจะบังคับไปได้ตลอด         ด้วยประเพณีบ้านเมืองอื่น ๆ  ก็มีอยู่ด้วยกันโดยมาก


ขอให้ท่านเจ้าคุณแลท่านเสนาบดีตริตรองดูเภิด

ควรจะเพิ่มเติมแก้ไขประการใดบ้างก็ตาม



ถ้าการนี้พูดไปไม่ตลอด   ฉันจะยังยอมไม่ได้"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 17:17

เข้าใจแล้ว

ในค.ห. ๑๗  นวนิยายไม่ได้บอกว่านายดีอยากแต่งงานกับแฟนนี่  แต่บอกว่า  สมเด็จเจ้าพระยาอยากให้แฟนนี่แต่งงานกับหลานปู่ของท่าน คือนายดี  
แต่ในพระราชกิจรายวัน บอกคนละอย่าง ว่ากงสุลน็อกซ์จะให้พระองค์เจ้ากมลาศแต่งงานกับลูกสาวคนเล็ก    ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาท่านไม่ขัดข้อง เห็นว่าควรจะยอมให้แต่ง
แต่พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย   ความไม่เต็มพระทัยเห็นได้พระราชหัตถเลขา  ทรงตั้งเงื่อนไขในทำนองขัดขวางเอาไว้หลายอย่าง  จนเรื่องนี้ยกเลิกไปเอง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 17:31

นายกรัฐมนตรีอังกฤษนั้น  เวลากราบทูลควีนวิคตอเรีย   มิได้กล่าวว่า

กงสุล เยเนอราลของเรา หรือของอังกฤษ     ประจำสยาม

เอกสารเขียนไว้ว่า    กลสุล เยเนอราลของยัวมาเจสตี้

อ่านดูก็ขบขันในสำนวนกระทบกลาย ๆ


     เจ้าสำนวนประจำใจคือ วินสตัน เชอรชิลล์      เมื่อได้ปลุกใจทหารให้ออกไปรบแล้ว
เขอรชิลล์ถอนหายใจว่า  ลูกชายของแม่อังกฤษกี่คนจะได้กลับมากอดแม่ของเขาอีก
เก็บหนังสือของเชอร์ชิลไว้หลายเล่ม  ไม่ทราบว่าจะมีเวลาได้ถอดความหรือไม่

     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง