มีข้อมูลเพิ่มเติมจากจดหมายเหตุโหรของจมื่นก่งศิลป์ (หรุ่น) เกี่ยวกับวันประหารพระปรีชากลการดังนี้
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๒๔๑ ณวัน ๕๕ ค่ำ เพลาบ่าย ๔ โมงเศษ จับนายสำอางเปนที่พระปรีชา ลงเหล็กจำไว้ณคลังวิเศษ ว่าฉ้อเงินฉ้อทองหลวง ว่าเปนขบถ ณวัน ๗๑ ค่ำ เพลา ๑๑ ทุ่มเอานายสำอางลง เรือไฟไปเมืองประจิม ณวัน ๒๑ ค่ำ ถึงเมืองประจิมเพลาเช้า ๔ โมง เพลาบ่าย ๔ โมงสำเร็จโทษนายสำอาง ณวัน ๔๑ ค่ำ เพลา ๔ ทุ่มเศษเรือไฟมาถึง กรุงเทพ ฯ
เรื่องปีและเวลาพอเข้าใจ แต่เรื่องวันนี้ต้องให้คุณหลวงเล็กช่วยอธิบายว่ามีรหัสในการตีความอย่างไร
อ่านจากประวัติพระปรีชาฯ ณ วันสำเร็จโทษ ๒๑ ค่ำ ปีเถาะ จ.ศ. ๑๒๔๑ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๒

ถ้าอ่านตามที่คุณเพ็ญไปคัดลอกมาอย่างนี้ บอกได้คำเดียวคือ งง เพราะเลขวัน ข้างขึ้นข้างแรม และเดือนจันทรคติ ดูไม่ออกเลย เป็นต้นฉบับที่ใช้ยาก ต้องเอาฉบับพิมพ์มาสอบ ถึงจะอ่านรู้เรื่อง
ขอปรับแก้เป็น
ปีเถาะ จ.ศ. ๑๒๔๑ ณวัน
๕ฯ๕ ค่ำ เพลาบ่าย ๔ โมงเศษ จับนายสำอางเปนที่พระปรีชา ลงเหล็กจำไว้ณคลังวิเศษ ว่าฉ้อเงินฉ้อทองหลวง ว่าเปนขบถ ณวัน
๗ฯ๑ ค่ำ เพลา ๑๑ ทุ่มเอานายสำอางลง เรือไฟไปเมืองประจิม ณวัน
๒ฯ๑ ค่ำ ถึงเมืองประจิมเพลาเช้า ๔ โมง เพลาบ่าย ๔ โมงสำเร็จโทษนายสำอาง ณวัน
๔ฯ๑ ค่ำ เพลา ๔ ทุ่มเศษเรือไฟมาถึง กรุงเทพ ฯ
ณวัน
๕ฯ๕ ค่ำ ปีเถาะ ยัง จ.ศ. ๑๒๔๐ (วัน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๒๒) เพลาบ่าย ๔ โมงเศษ จับนายสำอางเปนที่พระปรีชา ลงเหล็กจำไว้ณคลังวิเศษ ว่าฉ้อเงินฉ้อทองหลวง ว่าเปนขบถ ตรงกันกับข้อความในพระราชกิจรายวัน ว่า "...ตำรวจไปหาตัวพระยากระสาปน์พระปรีชาเข้ามาในวัง..."
ณวัน
๗ฯ๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๑ (วัน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๒๒ ) เพลา ๑๑ ทุ่มเอานายสำอางลง เรือไฟไปเมืองประจิม ปีเถาะ ตรงกับความในพระราชกิจรายวัน
ณวัน
๒ฯ๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๑ (วัน ๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๒๒) ถึงเมืองประจิมเพลาเช้า ๔ โมง เพลาบ่าย ๔ โมงสำเร็จโทษนายสำอาง ตรงกับข้อความในพระราชกิจรายวันว่า "...วันนี้ที่เมืองปราจิณประหารชีวิตร อ้ายสำอาง ปรีชา..."
ณวัน
๔ฯ๑ ค่ำ จ.ศ. ๑๒๔๑ (วัน ๔ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๒๒) เพลา ๔ ทุ่มเศษเรือไฟมาถึง กรุงเทพ ฯ ตรงนี้ไม่ตรงกับในพระราชกิจรายวัน เข้าใจว่า คนเขียนจดหมายเหตุเขียนตามข้อเท็จจริงที่เรือขุนนางที่ไปจัดการประหารอ้ายสำอางที่ปราจีนกลับมาถึง แต่พระราชกิจรายวันคงจดวันตามที่ขุนนางที่ไปนั้นได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานการประหารอ้ายสำอางในวันรุ่งขึ้นหลังจากเดินทางกลับมาถึงแล้ว คือ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๒๒ (วัน ๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ จ.ศ.๑๒๔๑)
ฉะนั้นหลักฐานทั้ง ๒ ไม่ขัดกันแต่อย่างใด ใช้ได้ทั้งสองเล่ม (เอาไดอะรี่ปกหนังไปคืนพี่ที่ดูแลจัดเก็บก่อนได้)
