เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7137 ถนนราชดำริและสีแยกราชประสงค์
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 16 เม.ย. 10, 09:34

ขออิงการเมืองนิดๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ครับ เรื่องที่ นปช คนเสื้อแดงเข้ายึดพื้นที่ถนนราชดำริและสี่แยกราชประสงค์และลามเข้าถนนพระรามที่ ๑ แลถนนเพลินจิตเป็นที่มั่นสุดท้าย เกิดเป็นรูปทรงกากะบาดซึ่งคิดว่าโบราณท่านว่าเป็นอัปมงคล คือท่านใช้สำหรับมัดนักโทษคดีอุจฉกรรจ์หรือศพนักโทษที่ถูกยิงตายครับ

คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเคยเขียนว่า นปช คิดผิดที่ใช้พื้นที่นี้เป็นที่มั่น เพราะว่าเป็นพื้นที่อาถรรพ์ มีเทพเจ้าของทางฮินดูหรือพราหมณ์ถึง ๕ องค์ ดูแลพื้นที่ อีกท่านหนึ่งบอกว่าที่บริเวณนี้เคยเป็นทางสี่แพร่งสำหรังประหารนักโทษเมื่อสมัยโบราณ

พาเที่ยวรอบเมืองแล้วหนึ่งรอบ ก็ขอวกเข้าสู่คำถามครับ คือถนนราชดำริ และสี่แยกราชประสงค์ มีประวัติความป็นมาอย่างไร ผมเข้าใจว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕
ทราบเพียงว่าสถานที่เก่าที่ใกล้เคียงที่สุดคือประตูน้ำในคลองแสนแสบใกล้สะพานเฉลิมโลกครับ และคงจะพัวพันไปถึงถนนราชปรารภด้วยนะครับ


 เจ๋ง     จุมพิต


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 เม.ย. 10, 13:17

ไปเจอจากวิกิ

ถนนราชดำริเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ใน พ.ศ. 2445 การสร้างถนนราชดำรินี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กำหนดขนาดถนนที่จะสร้างในรัชสมัยของพระองค์ โดยคำนึงถึงความสำคัญของถนนในอนาคตด้วย เพื่อว่าเมื่อธุรกิจก้าวหน้าขึ้น ประชาชนที่มากขึ้นและนิยมเดินทางด้วยถนนมากขึ้นจะทำให้ถนนคับแคบไปดังเช่นถนนเจริญกรุง เมื่อแรกสร้างประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ว่ากว้างเกินไป แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนเจริญกรุงกลับแคบเล็กไปทำให้เกิดอุบัติเหตุเสมอ

ถนนที่จะตัดขึ้นใหม่นั้น ควรจะได้วินิจฉัยเสียก่อนว่าจะเป็นถนนขนาดใด แล้วให้ปักเขตถนนไว้และห้ามมิให้ปลูกสร้างตึกเรือนที่ถาวรลงในเขตถนนที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการเตรียมการไว้แต่แรก เจ้าหน้าที่จะได้ไม่ลำบากในการรื้อถอนเมื่อต้องการจะขยายถนน และโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มที่ถนนราชดำริเป็นต้นไป การตัดถนนและขุดคลองตั้งแต่ศาลาแดงไปถึงบางกะปิโดยโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงธรรมการเป็นผู้ดำเนินการ และมีเจ้าพนักงานในการสุขาภิบาลเป็นนายงานทำการขุดคลองและถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนและนามคลองในคราวเดียวกันเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2445 ว่า "ถนนราชดำริห์" และ "คลองราชดำริห์" และมีพระราชกระแสให้ปลูกต้นไม้ เช่น ต้นขี้เหล็ก หรือต้นจามจุรี หรือต้นประดู่ เพื่อให้รากของต้นไม้ยึดขอบถนนไว้ด้วย แต่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้กราบบังคมทูลว่าท่านได้ปลูกต้นยางอินเดียและต้นมะพร้าวสลับกันไปแล้ว ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้คงไว้ตามเดิม

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 เม.ย. 10, 17:17

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูครับที่ได้ค้นหาประวัติของถนนราชดำริให้
ผมไปเสาะหาในราชกิจจานุเบกษาถนนราชดำริ ถนนราชปรารภ สี่แยกราชประสงค์ ก็ยังไม่พบ พบจากวิกิว่าถนนเพลินจิตสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖
ก็ได้แต่เพียงภาพของถนนราชดำริมาฝากครับ ผมได้มาจากหนังสือสามเกลอเล่ม ๑ ของท่าน พล.ต.ต. พีระพงษ์ ดามาพงษ์ แฟนพันธุ์แท้ของสามเกลอท่านหนึ่งที่ได้ค้นคว้าเรื่องราวไว้มากมาย
แผนที่นี้ท่านระบุว่าเป็นแผนที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหารบก ปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ ครับ
จากภาพจะเห็นว่าคลองราชดำริจะอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของถนนหรือทางด้านอาคาร worldtrade จากคลองแสนแสบไปเชื่อมคลองหัวลำโพงที่ศาลาแดง
ถนนพระรามหนึ่งจะมีคลองขุดขนานกับถนนทางด้านทิศใต้ คือด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และถนนเพลินจิต (เพลินจิตร์) จะมีแนวคลองทั้งสองฟากของถนน



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 เม.ย. 10, 17:31

กับภาพถ่ายทางอากาศอีกภาพหนึ่งบริเวณสะพานเฉลิมโลก ต้นสายถนนราชดำริ
สังเกตว่ายังไม่มีถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่งผมจำได้แบบไม่ค่อยแน่ใจว่าก่อสร้างหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ยุคต้นของสงครามเวียดนาม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง