เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 184591 แวบวาบความคิดยามวิกฤตบ้านเมือง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 25 ม.ค. 14, 14:21

เพลงชาติ



ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง           แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง        จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 25 ม.ค. 14, 20:07

กรุงศรีอยุธยา -  ๔๑๗ ปี - กบฏ  ๒๔ ครั้ง
กรุงธนบุรี - ๑๕ ปี -  กบฏ  ๒  ครั้ง
กรุงเทพ -  ๒๓๑ ปี -  กบฏ  ปฏิวัติ  รัฐประหาร  ปฏิรูป  ฮืม  ครั้ง รูดซิบปาก
ย้ายเมืองหลวง - เปลี่ยนชื่อประเทศ - เปลี่ยนธงชาติ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 31 ม.ค. 14, 10:43

Blowin' in the Wind



How many roads must a man walk down
Before you call him a man?

Yes, 'n' how many deaths will it take till he knows
That too many people have died?

The answer, my friend, is blowin' in the wind,
The answer is blowin' in the wind.




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 09 ก.พ. 14, 11:36



กลิ่นรวงทอง



อย่าดูถูกชาวนาเห็นว่าอับเฉา               มือถือเคียวชันเข่า เกี่ยวข้าวเลี้ยงเราผ่านมา
ความหวังเอยของเราชาวนา                 สักวันหนึ่งเมฆร้ายเคลื่อนคลา ชาวนาสุขสันต์รื่นรมย์





บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 10 ก.พ. 14, 16:03

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพูที่เคารพยิ่ง เรียนคุณศิลาเจ้าของกระทู้ รวมถึงท่านสมาชิกเรือนไทยทุกท่านครับ

   ผมจดๆจ้องๆ จะเข้าร่วมกระทู้นี้มาหลายครั้ง แต่ยังกล้าๆกลัวๆอยู่ วันนี้ สลัดความกลัวออกแล้วครับ

   จะว่าไป นายกหญิงคนแรกของเรา ก็ก่อแรงบันดาลใจให้ผม คนตาบอดตัวเล็กๆ นำไปเขียนงานได้จำนวนหนึ่งครับ ผมขออนุญาตนำบางส่วน มาบันทึกไว้ ณ เรือนไทยหลังงามหลังนี้ ในฐานะพลเมือง ซึ่งมีสิทธิ์ มีเสรีภาพแสดงความเห็นทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ขอเริ่มด้วยงานชิ้นนี้ก่อนครับ

ยุคเน่า
กาพย์โกสุม ๒๔ กลบทกบเต้นต่อยหอย

   “ดีแต่กู้”         ดูตอนเก่า
เพียรด่าเขา         เผาโดยคำ
เมื่อนี้ขัน         มันน่าขำ
ทวยโลนส่ำ         ทำเลวทราม
   ยกพจน์แช่ม      แย้มเพื่อฉล
“กู้” เสียป่น         กลสัตว์ปาม
โจรรุมหลั่ง         จังไรหลาม
ตั้งเหล่าห่าม         ตามล้อมฮือ
   ชาติทรุดท่าว      ชาวสาไถย
เมืองบาปไล้         ไม่บันลือ
ครานายทุน         ครุ่นนึกถือ-
ทรัพย์รวยอื้อ         ซื้อรัฐเอา
   ใช้สินจ้าง      ช่างสรรจ่าย
คึกเล่ห์นาย         ขายลำเนา
ผู้ใดค้าน         พาลด่าเขา
เช่นนี้เล่า         เฉานักแล
   ชลเต็มนัยน์      ใช้แต่หนี้
หมดสุขดี         มีโศกแด
มวลอาธรรม์         มันอ้างแถ
ยุคเน่าแท้         แย่หนอไทย

(๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖)

หมายเหตุ:
๑.   กลบท “กบเต้นต่อยหอย” มีปรากฏอยู่ทั้งในวรรณคดีไทยเรื่อง
“ศิริวิบุลกิตติ์” รจนาโดย ท่านหลวงศรีปรีชา (เส้ง)
แหละหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ครับ
ผมอาศัยศึกษาแบบอย่างจากหนังสือสองเล่มดังกล่าว ร่วมกับท่วงทำนอง ร่ายจัดทัพ จากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช
สำนวนพระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ควบคู่ไปกับหนังสือกวีนิพนธ์ร่วมสมัย อาทิ
กฎบนกลบท, เรียงถ้อยขึ้นร้อยถัก ของท่านอาจารย์คมทวน คันธนู
รอยทราย ของท่านอาจารย์วันเนาว์ ยูเด็น ครับ
๒.   “กาพย์โกสุม ๒๔” เป็นฉันทลักษณ์ซึ่งท่านอาจารย์คมทวน คันธนู ประดิษฐ์ขึ้น สำแดงผ่านงานกวีของท่านหลายชิ้น ครับผม
 
บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 10 ก.พ. 14, 16:12

ส่วนงานชิ้นนี้ ขอมอบแด่ชาวนาทุกท่านที่กำลังประสบความลำเค็ญ แหละต่อสู้อย่างบากบั่นอดทนครับ

พลังชาวนา
เปษณนาทฉันท์ ๑๖

   สมัยชาวนาชะตาแค้นหนัก
ระงมยิ่งนักปะพรรคหน้าหนา
ริ “จำนำข้าว” เขรอะคาวค้างคา
ระยำมารยามุสาย่ำยี

   ประมวลขื่นขมระบมเกินขาน
สะเทือนถิ่นฐานสะท้านทุกที่
โขยงนายทุนสถุลท่าที
ขยันสร้างหนี้กลีไหลนอง

   ละชาวนาให้ฤทัยแห้งหาย
สตางค์ค้างจ่ายขมายมุ่งจ้อง
ขโมยโกงกินถวิลทรัพย์กอง
เคราะห์ชาวนาต้องตริตรองตรอมตาย

   ฉะนั้นเราไยไฉนนิ่งอยู่
ระดมแรงสู้มิรู้สิ้นสาย
ประหนึ่งน้ำท้นประจญท้าทาย
เขยื้อนเคลื่อนย้ายขยายเหยียดยาว

   ฉกาจยืนยันฉกรรจ์โต้แย้ง
พลังเก่งแกร่งแสดงกล้ากร้าว
ตะโกนกราดเกรี้ยวประเดี๋ยวกริวกราว
อุบาทว์ต้องหนาวเพราะชาวนาเนือง

   กระจายเข้าเข่นประเคนคนคด
ระทมต้องปลด ระทดต้องเปลื้อง
จะซื้อขายข้าวมิร้าวรานเคือง
ประเทศบรรเทืองเมลืองรวงทอง

(๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗)

หมายเหตุ:
   “เปษณนาทฉันท์ ๑๖” นี้ เป็นรูปแบบฉันทลักษณ์ซึ่งท่านอาจารย์สุภร ผลชีวิน ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ครับผม


   


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 09:03



จดหมายจากชาวนา



จดหมายชาวนาฉบับนี้                เขียนที่บ้านป่าดงดอน
เขียนถึงผู้อยู่ในนคร                  อันความเดือดร้อนชาวนายิ่งใหญ่

ทำนาก็พอได้ข้าว                     พอขายข้าวก็ต้องเสียใจ
ยากแค้นอดอยากยากไร้              ถูกโกงข้าวไปฉันขอลาตาย


บันทึกการเข้า
Neepata
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 21 ก.พ. 14, 02:12

ตอนนี้หนูสงสารประเทศไทยจับใจ เนื่องจากป่วยหนักมีทั้งน้ำเลือดทั้งน้ำหนองไหลออกมาไม่หยุด กินยาเท่าไหร่ก็ไม่หายเพราะคาดว่าได้ยาไม่ถูกตามโรค ให้ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีดก็แล้ว  เซล์ต่างๆเริ่มค่อยๆตายไปทีละนิดจากเดินได้ก็ต้องนอนกับที่ ขยับอะไรก็ลำบากเหลือเกินเพราะเดี๊ยวเลือดไหล เดี๋ยวหนองไหล   อยากได้หมอวิเศษมารักษาเร็วๆจังเลย หมอที่ตั้งใจเต็มใจรักษาและอดทนกับอาการป่วยของประเทศไทย  หนูหวังว่าคุณหมอใจดีจะรีบมาทันเวลานะคะ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 24 ก.พ. 14, 11:09



ปณิธานกวี

แย่งแผ่นดินอำมหิตคิดแต่ฆ่า      เพราะกิเลสบ้าหฤโหดสิงซากผี
ลืมป่าช้าคุณธรรมความดี          เสียศรีสวัสดิ์ค่าแท้วิญญาณ

อังคาร กัลยาณพงศ์




บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 25 ก.พ. 14, 10:37

ตอนนี้หนูสงสารประเทศไทยจับใจ เนื่องจากป่วยหนักมีทั้งน้ำเลือดทั้งน้ำหนองไหลออกมาไม่หยุด กินยาเท่าไหร่ก็ไม่หายเพราะคาดว่าได้ยาไม่ถูกตามโรค ให้ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาฉีดก็แล้ว  เซล์ต่างๆเริ่มค่อยๆตายไปทีละนิดจากเดินได้ก็ต้องนอนกับที่ ขยับอะไรก็ลำบากเหลือเกินเพราะเดี๊ยวเลือดไหล เดี๋ยวหนองไหล   อยากได้หมอวิเศษมารักษาเร็วๆจังเลย หมอที่ตั้งใจเต็มใจรักษาและอดทนกับอาการป่วยของประเทศไทย  หนูหวังว่าคุณหมอใจดีจะรีบมาทันเวลานะคะ  ร้องไห้

ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าคนไข้ป่วยหนัก อาการตรีทูตแล้ว จะยื้อไว้ ก็ทำให้คนไข้ทรมานกว่าเดิมนะครับ บางทีเพราะความหวังดีของเรา อาจจะกลายเป็นประสงค์ร้ายก็ได้ครับ

ถึงหมอจะวิเศษแค่ไหน แต่ถ้าถึงกาลแล้วล่ะก็ อย่างไรเสียก็ต้องตายอยู่ดีล่ะครับ ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้หรอก

อาการไข้แบบนี้ ก็ไม่ใช่จะเพิ่งจะปรากฏรอบแรก แต่มันก็มีมาให้เห็นตั้งหลายร้อยปีผ่านมาแล้ว คนอื่นเขาก็เป็นกันมาก่อน เพราะฉะนั้นวิธีการรักษามันก็มีหลากหลาย

ในเมื่อญาติคนไข้บางส่วน เลือกที่จะรักษาแบบนี้ ก็ถือว่าช่วยไม่ได้ล่ะครับ เป็นกรรมของคนไข้กันเองล่ะหนอ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 25 ก.พ. 14, 10:47

                 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
                        ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
                                    เถรีคาถา ฉักกนิบาต
                              ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในฉักกนิบาต
                                 ๑. ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา
                                     สุภาษิตระงับโศก


พระปฏาจาราเถรีแสดงธรรมด้วยคาถา ความว่า


[๔๕๑]                      ท่านไม่รู้ทางของผู้ใดซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว แต่ท่านก็ยังร้องไห้ถึงคนนั้น
                          ซึ่งมาแล้วจากไหนว่า บุตรของเราๆ ถึงท่านจะรู้จักทางของเขาผู้มาแล้ว
                          หรือไปแล้วก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาเลย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็น
                          ธรรมดา เมื่อเขามาจากปรโลก ใครๆ ไม่ได้อ้อนวอนเลย เขาก็มาแล้ว
                          เมื่อเขาจะไปจากมนุษยโลก ใครๆ ก็ไม่ได้อนุญาตให้ไป เขามาจากไหน
                          ก็ไม่รู้ พักอยู่ที่นี้ ๒-๓ วันแล้วไปก็ดี มาจากที่นี้สู่ที่อื่น ไปจากที่นั้นสู่
                          ที่อื่นก็ดี เขาละไปแล้วจักท่องเที่ยวไปโดยรูปมนุษย์ มาอย่างไรก็ไป
                          อย่างนั้น การร่ำไห้ในการไปของสัตว์นั้นจะเป็นประโยชน์อะไร.

พระภิกษุณี ๕๐๐ รูปกล่าวว่า

                                 ท่านได้ช่วยถอนขึ้นซึ่งลูกศร ที่บุคคลเห็นได้ยาก อันเสียบแทงอยู่ใน
                          หทัยของเราแล้ว เมื่อเราถูกความโศกถึงบุตรครอบงำ ท่านได้บรรเทาเสีย
                          แล้ววันนี้ เรามีลูกศร อันถอนขึ้นแล้ว หมดความหิว ดับรอบแล้ว
                          เขาขอถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์
                          ว่าเป็นสรณะ.
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 25 ก.พ. 14, 10:49

อ่านประวัติ พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคมหาเถรีเลิศทางผู้ทรงวินัย

     ผู้สูญเสีย    "บุตร ๒ คน ตายเสียแล้ว สามีของเราก็ตายเสียที่ทางเปลี่ยว
                       มารดาบิดาและพี่ชายก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน"     

       http://www.dharma-gateway.com/bhikunee/pra-pata-jara.htm


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 25 ก.พ. 14, 17:11

                พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
                        ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
                                    เถรีคาถา ฉักกนิบาต
                              ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในฉักกนิบาต
                                 ๑. ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา
                                     สุภาษิตระงับโศก


พระปฏาจาราเถรีแสดงธรรมด้วยคาถา ความว่า


[๔๕๑]                      ท่านไม่รู้ทางของผู้ใดซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว แต่ท่านก็ยังร้องไห้ถึงคนนั้น
                          ซึ่งมาแล้วจากไหนว่า บุตรของเราๆ ถึงท่านจะรู้จักทางของเขาผู้มาแล้ว
                          หรือไปแล้วก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาเลย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็น
                          ธรรมดา เมื่อเขามาจากปรโลก ใครๆ ไม่ได้อ้อนวอนเลย เขาก็มาแล้ว
                          เมื่อเขาจะไปจากมนุษยโลก ใครๆ ก็ไม่ได้อนุญาตให้ไป เขามาจากไหน
                          ก็ไม่รู้ พักอยู่ที่นี้ ๒-๓ วันแล้วไปก็ดี มาจากที่นี้สู่ที่อื่น ไปจากที่นั้นสู่
                          ที่อื่นก็ดี เขาละไปแล้วจักท่องเที่ยวไปโดยรูปมนุษย์ มาอย่างไรก็ไป
                          อย่างนั้น การร่ำไห้ในการไปของสัตว์นั้นจะเป็นประโยชน์อะไร.

พระภิกษุณี ๕๐๐ รูปกล่าวว่า

                                 ท่านได้ช่วยถอนขึ้นซึ่งลูกศร ที่บุคคลเห็นได้ยาก อันเสียบแทงอยู่ใน
                          หทัยของเราแล้ว เมื่อเราถูกความโศกถึงบุตรครอบงำ ท่านได้บรรเทาเสีย
                          แล้ววันนี้ เรามีลูกศร อันถอนขึ้นแล้ว หมดความหิว ดับรอบแล้ว
                          เขาขอถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ กับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์
                          ว่าเป็นสรณะ.

ขอเสริมด้วย อรรถกา ที่เกี่ยวข้องกันครับ

                                              
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี วรรคที่ ๕


                                                 อรรถกถาสูตรที่ ๔     ประวัติพระปฏาจาราเถรี  

                      
                                                        น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย       น ปิตา นปิ พนฺธวา
                                                         อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส           นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา.
                
                                                       ไม่มีบุตรจะช่วยได้ บิดาก็ไม่ได้ พวกพ้องก็ไม่ได้
                                                       เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำแล้ว หมู่ญาติก็ช่วย
                                                      ไม่ได้เลย.

                    
                        
                                                          เอตมตฺถวสํ ญตฺวา       ปณฺฑิโต สีลสํวุโต
                                                         นิพฺพานคมนํ มคฺคํ           ขิปฺปเมว วิโสธเย.

                    
                                                       บัณฑิตรู้ความจริงข้อนี้แล้ว สำรวมในศีล
                                                       พึงรีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว.


                                               http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=150&p=4


 ซึ่งก็ตรงกับพระราชดำรัส ที่ทรงตรัสแก่อดีตยสกุลบุตร คราวที่รำพึงว่า

                                          
                              ยสกุลบุตร : เปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า  ท่านผู้เจริญ  ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ.

                              พระพุทธองค์ : ดูกรยส ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง  มาเถิดยส  นั่งลง  เราจักแสดงธรรมแก่เธอ.

                   จากนั้นพระองค์ทรงแสดงธรรมต่อจาก อนุปุพพิกถา ว่า : "...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา...."

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=576&Z=666            
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 27 ก.พ. 14, 09:09

ความตาย



ชีวิตคนนั้นมีมาก แต่เป็นคนยากหนักหนา
ตายเพื่อประชา หนักกว่าภูผา ชีวาสูงค่า
มวลประชา เทิดไว้ความดี

แต่บางคน ใจอำมหิต กดขี่คน ขูดรีดประชา
ตายอย่างขนนก เบากว่าแรงใด ชีวาไร้ค่า
ปวงประชา จะเอาขึ้นศาลลงทัณฑ์



บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 27 ก.พ. 14, 13:43

                                                                           


                                                                                 จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 20 คำสั่ง