พ.ศ. ๒๕๐๔ จุฬาฯ ทำสัญญาให้บริษัทเอกชนลงทุนสร้างอาคารพาณิชย์ สำเร็จในปี ๒๕๐๗
ช่วงนั้นวังบูรพายังคึกคัก สยามสแควร์เงียบเหงา เสี่ยซัว คุณพิสิฐ ตันสัจจา จากเฉลิมไทยมาสร้าง
โรงหนัง สยาม พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับความสำเร็จ เกินคาดฝัน เสี่ยซัวรุกคืบสร้างลิโด สกาลา
กลายเป็น ๓ ทหารเสือ ใหม่เอี่ยมและทันสมัยสุดๆ ดับรัศมี ๓ ทหารเสือ เจ้าเก่าแห่งวังบูรพาไปโดยพลัน
สยาม มีเสน่หาดึงดูดใจ เพราะเหตุใด
เป็นสถานบันเทิงที่ให้ความรู้สึกสดชื่นรื่นรมย์ เหมาะเป็นที่นัดหมายของเพื่อนฝูงและหนุ่มสาว
มีคอฟฟี่ช็อปบรรยากาศน่าดื่มกิน มีร้านอาหาร เสื้อผ้า เครื่องสำอาง รองเท้า แผ่นเสียง และหนังสือ
มีบันไดเลื่อน แห่งแรกในโรงหนัง เสนอความสะดวกสบายคุ้มค่า
จากสูจิบัตรรายเดือนในเครือเอเพกซ์
สยามสแควร์ คือชื่อคอลัมน์ของ พอใจ ชัยเวฬุ กลายเป็นคำติดปากติดหู
เป็นที่รู้กันว่าได้อิทธิพลมาจาก ไทม์แสควร์
แผ่ไปถึง มะขามสแควร์ ข้างโรงหนังเฉลิมกรุง อัมรินทร์สแควร์ เกษรสแควร์ อินทราสแควร์
แต่ต้นตำรับจริงๆ คือบางลำพูสแควร์ ของ รงค์ วงษ์สวรรค์ (ปี ๒๕๑๕)
พูดถงสยามสแควร์ก็นึกถึงสกาล่า
สมัยเป็นเด็ก โรงหนังต่างๆจะมีโปรแกรมพิเศษรอบเช้าวันอาทิตย์ตอน7โมงเช้า เป็นหนังทั่วไปแต่จัดเพื่อหาทุนสำหรับกิจกรรมของโรงเรียน
ได้ดูThe Impossible แสดงสดก่อนฉายหนังในรอบเช้าพิเศษดังกล่าว จำไม่ได้ครับว่าชื่อหนังอะไร แต่จำได้ว่าที่ดิอิมร้องเพลง "เจ้าพระยา"
ที่จำได้เพราะตอนท้ายของเพลงเขาร้องว่า "หนุ่มสาวไทยรักกุหลาบวัฒนา"
รอบนั้นจัดโดยโรงเรียนกุหลาบวัฒนา(โรงเรียนหญิงล้วน) ซึ่งอยู่ที่วัดกาลหว่าร์ เดี๋ยวนี้ถูกยุบรวมกับ "กุหลาบวิทยา" (โรงเรียนชายล้วน) เพราะนักเรียนหญิงน้อยลง (กลายเป็นโรงเรียนสห)
เหตุที่นักเรียนน้อยลงเพราะความเป็นชุมชนคริสตังค์เดิมในบริเวณนั้นหายไปเพราะทางสังฆมณฑลกรุงเทพนำที่บริเวณโดยรอบและชุมชนละแวกโบสถ์มาทำเป็นคอนโดฯ ครอบครัวเดิมจึงย้ายออกไปหมด (รวมทั้งครอบครัวผมด้วย) คนอยู่อาศัยในปัจจุบันจึงเหลือเพียงคนรุ่นเก่า (ที่เลยวัยเจริญพันธ์ุ) และคนขาจร เด็กเกิดใหม่ในละแวกนั้นจึงน้อยลง
