เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 17326 พระยาโบราณราชธานินทร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 พ.ค. 10, 11:47

อ่านถึงตรงนี้แล้ว   เดาว่าเจ้าคุณท่านคงเป็นนักปกครองที่สุขุมเยือกเย็น   และเห็นอกเห็นใจราษฎรอยู่มาก    เมื่อเกิดเรื่องเดือดร้อนเฉพาะหน้า  คือชาวบ้านหลบหนีเกณฑ์ทหารกันมากมาย     แทนที่จะสั่งยุติด้วยการไล่จับตัวกันอย่างเฉียบขาด  ปราบปรามกันให้เห็นอำนาจพระราชบัญญัติ   รู้หมู่รู้จ่ากันลงไป     ท่านก็ผ่อนปรน ยอมยืดเวลาให้ชาวบ้านได้สติกันเสียก่อน   พอตั้งสติได้แล้ว  ปัญหาก็สงบราบคาบกันไปเอง
แบบนี้ถึงจะมองว่า ตอนแรกเดือดร้อนวุ่นวาย เกณฑ์ทหารไม่ได้ผล   เสียเครดิตพระราชบัญญัติ   แต่ในระยะยาว  กลับเป็นผลดีกว่าจะสร้างแรงกดดันกับราษฎรเสียแต่แรก  ซึ่งอาจจะมีผลเสียหายยาวนานตามมา

เทศาฯบางท่านที่นิยมให้พระเดช มากกว่าพระคุณ   คงเห็นตรงกันข้ามกับพระยาโบราณฯ   ข้อนี้อาจเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้ชีวิตราชการของพระยาโบราณฯใช่ว่าจะราบรื่นนัก    ถ้าไม่มีบารมีเจ้านายคุ้มครองอยู่   ท่านเห็นจะเดินกระเผลกอย่างพระยาสัจจาภิรมย์ไปหลายหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 พ.ค. 10, 10:32

สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงประเมินฝีมือของพระยาโบราณราชธานินทร์ไว้ว่า
"...ถึงกระนั้นความสามารถของพระยาโบราณฯ  ในการปกครองบ้านเมืองก็ยังมีเทศาฯ มณฑลอื่นพอเปรียบได้    แต่ความสามารถด้วยรอบรู้โบราณคดีของมณฑลอยุธยา  ข้อนี้ไม่มีผู้อื่นเปรียบได้ทีเดียว"
ข้อนี้น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า เหตุใดท่านจึงไม่ได้เลื่อนขึ้นถึงเจ้าพระยา     แต่ถ้าเปรียบเทียบกับพระยาที่สังกัดมหาดไทยด้วยกัน  เจ้าคุณโบราณฯก็ต้องถือว่าอยู่แถวหน้า     ถ้าเป็นนักเรียนก็ต้องเรียกว่าเกรด A

ความโดดเด่นเฉพาะตัว ทำให้ชื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ยังเป็นที่จดจำกันมาได้ในกลุ่มนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีจนทุกวันนี้
เมื่อพิจารณาคุณสมบัติด้านนี้  เรียกได้ว่าตรงตามอิทธิบาท ๔  ครบทุกข้อ 
๑  ฉันทะ   ความพอใจรักใคร่
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าว่าพระยาโบราณฯ เป็นคนรักประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก   เมื่อเป็นนักเรียน ก็ชอบอ่านหนังสือพงศาวดาร   
ความสนใจมาตั้งแต่เรียน ก็เป็นพื้นฐานที่แน่นสำหรับท่านจะต่อยอดต่อไปเมื่อรับราชการที่อยุธยา
๒  วิริยะ  ความพากเพียร
เมื่อท่านไปรับราชการที่อยุธยา    ก็เที่ยวดูโบราณสถานตามที่ต่างๆ  ตามที่ระบุไว้ในพระราชพงศาวดาร   แห่งไหนไม่ปรากฏ ท่านก็ไม่ละความพยายาม  เที่ยวค้นหาเพื่อจะให้เจอ
มีเวลาว่างเมื่อใด ท่านก็ชวนชาวบ้านบุกป่าฝ่าดงค้นหาโบราณสถานที่ซ่อนอยู่ในป่ารก    ซึ่งแน่นอนว่ายากลำบากไม่น้อย
เราคงจะนึกออกว่าในรัชกาลที่ ๕   อยุธยาไม่ได้เป็นเมืองมีเทศบาลจัดระเบียบ ตัดถนนให้เราขับรถไปไหว้พระ ๙ วัดในวันเดียวอย่างสะดวกเหมือนสมัยนี้     
แต่เป็นเมืองเก่าที่ล้อมด้วยป่า มีซากโบราณสถานมากมายซ่อนอยู่ในความรกทึบ    จะหาแผนที่บอกทางก็ไม่มี     เจ้าเมืองที่บุกป่าฝ่าดงอาศัยแค่คำบอกเล่าของชาวบ้าน ไปดูซากเจดีย์ซากวัดเก่าแก่  นอนกลางดินกินกลางทราย  ถ้าไม่มีวิริยะจริงๆคงทำไม่ไหว
เจ้าคุณโบราณฯ ท่านบุกป่าฝ่าดงสำรวจอยู่หลายปี ตั้งแต่เป็นคุณหลวงหนุ่มจนเป็นพระยาวัยกลางคน  ท่านก็ยังไม่ลดหรือเลิก   ทั้งๆหน้าที่เจ้าเมืองและเทศาฯ  ก็ยังมีอยู่เต็มมือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 พ.ค. 10, 12:56

๓  จิตตะ  จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่
ตั้งแต่เป็นคุณหลวงอนุรักษ์ฯ จนเป็นพระยาโบราณราชธานินทร์    เจ้าคุณท่านก็ไม่เคยเบื่อหน่ายห่างเหินไปจากโบราณคดีที่ท่านรัก      ถ้าไม่รักจริงคงไม่ทำได้ต่อเนื่องอยู่ได้ยาวนานหลายสิบปี    ออกภาคสนามตลอด ไม่ใช่แค่อ่านตำรา    ตัวช่วยต่างๆอย่างห้องสมุดก็ไม่มี   แต่ท่านก็ค้นหาหนังสืออ่านเท่าที่จะหาได้

สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงกล่าวถึงเจ้าคุณโบราณฯ กับหนังสือเอาไว้ ตามนี้
"บรรดาหนังสือซึ่งมีความเนื่องถึงพระนครศรีอยุธยา จะเป็นในพงศาวดารก็ดี    จดหมายเหตุก็ดี  กฎหมายก็ดี   ดูเหมือนพระยาโบราณฯจะได้อ่านหมดไม่มีเว้น   และจำความไว้ได้ด้วย"

๔   วิมังสา  สอดส่องให้ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นไป  ด้วยปัญญา

ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จบางปะอิน   ทรงลงเรือพระที่นั่ง  โปรดเกล้าฯให้พระยาโบราณฯตามเสด็จในเรือด้วย     เรือผ่านพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ กลางสระ   ตรัสถามว่า
"ปราสาทครั้งกรุงเก่า ยอดประดับกระจกหรือไม่?"
พระยาโบราณฯทูลตอบทันทีว่า "ประดับ"
พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า "ทำไมเจ้าถึงรู้ว่าประดับกระจก"
พระยาโบราณฯกราบทูลว่า
"ในหนังสือพระราชพงศาวดารแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง   ว่าครั้งหนึ่งพระนารายณ์ราชกุมาร เล่นอยู่บนปราสาท   อสุนีบาตลงต้องยอดปราสาท  จนกระจกตกปลิวลงมาต้องพระองค์ พระนารายณ์ก็หาเป็นอันตรายด้วยสายฟ้าไม่"
พระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า "เออ จริงแล้ว"
บรรดาผู้ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งก็พากันชมความทรงจำของพระยาโบราณฯ กับทั้งที่คิดขึ้นได้ว่องไวด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 พ.ค. 10, 22:00

ในเมื่อพระยาโบราณฯ  ออก" ภาคสนาม" ไปทั่วทุกหัวระแหง เป็นประจำในอายุราชการยาวนานของท่าน    นอกจากท่านจะคุ้นกับป่าดงและหมู่บ้านต่างๆในอยุธยา ที่ท่านไปสำรวจโบราณสถานแล้ว    ท่านก็พลอยคุ้นเคยกับชาวบ้านเป็นอันดีด้วย
จนกระทั่งได้รับตำแหน่งที่ชาวบ้านเลือกตั้ง  คือตำแหน่ง"ผู้ใหญ่บ้าน" ที่ตำบลหอรัตนไชย   นอกเหนือไปจากตำแหน่งเจ้าเมืองและสมุหเทศาภิบาล   เวลาเขาประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านกัน   ท่านก็ไปนั่งประชุมในฐานะผู้ใหญ่บ้านด้วย
เพราะฉะนั้นทุกข์สุขชาวบ้านเป็นยังไงท่านก็เลยรู้  ดูแลสอดส่องได้ทั่วถึง   เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน  พระสงฆ์องค์เจ้าก็เชื่อถือ ถึงกับขอให้เป็นมรรคนายกวัดถึง ๓ วัดด้วยกัน   คือวัดสุวรรณดาราราม  วัดมณฑป และวัดพุทไธสวรรย์

ความสามารถพิเศษของพระยาโบราณฯอีกอย่างคือ เก่งภาษาอังกฤษ      เราคงจำได้ว่าท่านเป็นนักเรียนหัวดีมาแต่อายุสิบกว่าขวบ      เมื่อตัดสินใจจะศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อจะได้อ่านตำราฝรั่งรู้เรื่อง  ท่านก็ลงมือศึกษาด้วยตัวเอง
จนกระทั่งอ่านประวัติศาสตร์อยุธยาที่ฝรั่งแต่งไว้ ในสมัยโบราณได้   เวลาแขกเมืองที่เป็นฝรั่งมาเที่ยวอยุธยา ท่านก็เจรจาเป็นไกด์พาชมโบราณสถานได้   
แต่ความรู้ข้อนี้ พระยาโบราณฯท่านถ่อมตัว  ไม่ค่อยจะบอกใคร    ถือว่าท่านยังรู้น้อย   รู้เพียงแค่ศึกษาประวัติศาสตร์ได้เท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 พ.ค. 10, 10:19

ด้วยใจรักทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี  ทำให้พระยาโบราณฯ สร้างผลงานไว้เป็นอนุสรณ์แก่ประเทศชาติไว้อีกเรื่องหนึ่ง  คือตอนที่ท่านเดี่ยวดั้นด้นบุกป่าฝ่าดง   เจอโบราณวัตถุถูกทิ้งอยู่กลางป่าไม่มีใครเหลียวแลอีกมาก
ท่านก็พิจารณาว่าชิ้นใดควรแก่การเก็บรักษาไว้  (คือจะเก็บหมดทุกชิ้นก็ไม่ไหว)  ท่านก็ให้คนขนเอามาเก็บไว้ที่วังจันทรเกษม   แทนที่จะทิ้งไว้ตามบุญตามกรรม จนชำรุดสูญหายไปตามกาลเวลา
เก็บได้มากเข้า  ท่านก็จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แบบสมัยใหม่    ทันสมัยกว่าพิพิธภัณฑสถานในกรุงเทพเสียอีก   ทำให้คนชอบไปดูกันมาก
แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็โปรดที่จะเสด็จไปทอดพระเนตร

มีพระราชโทรเลข ถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  เมื่อเสด็จยุโรปครั้งหลัง พ.ศ. ๒๔๕๑  เมื่อเสด็จถึงเมืองฮอมเบิร์กในเยอรมนี  ว่า
" มิวเซียมที่นี่เหมือนมิวเซียมกรุงเก่า    ออกคิดถึงพระยาโบราณฯ    ฉันจะแต่งหนังสือเรื่องมิวเซียมนี้"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 18:57

พระยาโบราณฯ ถือว่าพระราชโทรเลขนี้ เป็นเหมือนบำเหน็จรางวัลความเหนื่อยยากในการรวบรวมและตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา     ท่านก็มีวิริยะและอุตสาหะที่จะจัดพิพิธภัณฑ์ต่อไปไม่ย่อท้อ
พระราชวังโบราณที่อยุธยา ที่ท่านขุดและตกแต่ง กับมิวเซียมแห่งนี้ ก็เลยกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ที่แขกบ้านแขกเมือง เมื่อไปถึงอยุธยาแล้วจะต้องไปเยี่ยมชม
ทำให้พระยาโบราณฯได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศหลายอย่างด้วยกัน  เช่นตราเดนะโบรคชั้นที่ ๒ ของประเทศเดนมาร์ก    ตรานกอินทรีแดงชั้น ๒ ของประเทศปรัสเซีย   ตรามงกุฎอิตาลีชั้น ๒ของอิตาลี  และตราเฮนรีธีไลออนของบรันสวิค

ส่วนผลงานและเกียรติยศอื่นๆที่ท่านได้รับ  นอกเหนือจากตำแหน่งงานของมหาดไทย ก็คือ
๑   เป็นกรรมการสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ   ชุดเดียวกับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ   กรมพระสมมติอมรพันธุ์   พระยาประชากิจกรจักษ์ (แช่ม บุนนาค ผู้แต่งหนังสือตำนานโยนก)
๒   เลขานุการโบราณคดีสโมสร
๓   กรรมการสัมปาทิกวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลที่ ๖
๔   อุปนายกแผนกโบราณคดี  ของราชบัณฑิต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 10:47

ในยุคที่พระยาโบราณฯ รับราชการที่อยุธยา    วัดร้างมีมากมาย  ยังไม่ได้บูรณะกัน   ชาวบ้านก็เข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน  ทำไร่ ทำป่าฟืน  รื้ออิฐรื้อเจดีย์เอาไปใช้ประโยชน์   เท่ากับบุกรุกโบราณสถานไปด้วยโดยปริยาย     
พระยาโบราณฯ ท่านก็ให้ตรวจนับวัดร้างอย่างเป็นทางการ   ได้ถึง ๕๔๓ วัด     ได้จำนวนมาแล้วก็สำรวจ  พบว่าชาวบ้านเข้าไปอยู่ในเขตวัด โดยไม่ได้เสียภาษี  เพราะรัฐไม่เก็บภาษีวัด  ท่านก็มาจัดระเบียบเสียใหม่  ทำเรื่องเสนอทางการว่า
๑  ควรเก็บค่าเช่าจากชาวบ้าน    เป็นรายได้ของรัฐ   ชาวบ้านก็ไม่รังเกียจเพราะเท่ากับได้สิทธิ์ในการทำมาหากินบนผืนดินของตน  ไม่มีใครแย่ง
๒  ห้ามรื้อซากโบราณสถานเอาอิฐไปใช้ อย่างเด็ดขาด
๓  เงินค่าเช่าที่ได้มา รวมรวมไว้เป็นเงินพระราชกุศล สำหรับไว้ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน
๔  รวบรวมเงินหลวงที่เรียกว่า เงินกัลปนา  คืออากรเก็บจากที่ดินบางแห่งสำหรับเอาไว้รักษาวัด มารวมไว้กับข้อ ๓
๕  เงินค่าเช่าเรือแพจอดตามหน้าวัด   เมื่อก่อนไวยาวัจกรของวัดเก็บตามอำเภอใจ    รัฐก็เข้าคุม เก็บให้เป็นระเบียบ
ก็ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต   และเป็นแบบของการเก็บภาษีในมณฑลอื่นๆด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 13:18

ผลงานด้านอื่นของพระยาโบราณ ฯ ก็คือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคต   ท่านก็เป็นตัวตั้งในการชักชวนชาวบ้านบริจาคเงินสร้างถาวรวัตถุเป็นอนุสรณ์  คือโรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ เป็นโรงพยาบาลแผนปัจจุบันแห่งแรก     ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
นอกจากนี้ก็สร้างโอสถศาลาไว้อีก ๑ แห่งที่สระบุรี ชื่อโอสถศาลาปัญจมาธิราชอุทิศ

พระยาโบราณราชธานินทร์รับราชการมาจนเกษียณ   เมื่อพ้นจากหน้าที่แล้วก็กลับมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนคร   อยู่ที่ตรอกน้อมจิตร  ถนนนเรศ บางรัก
ท่านยังรับตำแหน่งในราชบัณฑิตยสภาเรื่อยมา แต่ก็เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะอย่างคนสูงอายุ  มีอาการคล้ายอัมพาตอย่างอ่อนๆ   สามวันดีสี่วันไข้จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุ ๖๔ ปี
ได้รับพระราชทานโกศประกอบลอง ๘ เหลี่ยม  เสมอเจ้าพระยา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 พ.ค. 10, 13:22

ด้านส่วนตัว   ท่านสมรสกับน.ส.จำเริญ  ธิดาหลวงเทเพนทร์ (ถนอม อินทุสูต)กับนางนวม   ตั้งแต่ยังเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์   คุณหญิงจำเริญได้รับพระราชทานเครื่องราชจุลจอมเกล้าชั้นตติยจุลจอมเกล้าฯ
มีบุตรธิดาด้วยกัน ๕ คน
นอกจากนี้ท่านยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่นๆอีกรวม ๑๑ คน   ทุกคนใช้นามสกุล เดชะคุปต์
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 เม.ย. 17, 10:12

วันนี้นสพ. บางกอกโพสท์เซ็คชั่น LIFE มีสกู๊ป 

Conserving the Old Capital

Visitors have a new way to explore Ayutthaya by following in the footsteps of a great conservationist 

http://www.bangkokpost.com/travel/in-thailand/1231920/conserving-the-old-capital.

      เล่าเรื่องราว ตามรอยนักสำรวจรุ่นแรกบุกเบิกสู่การอนุรักษ์กรุงเก่าของเราแต่ก่อน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 13 เม.ย. 17, 10:14

รูปประกอบ, พระยาโบราณราชธานินทร์อย่างเท่


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง