เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4923 บรรดาศักดิ์ทางการดนตรีในรัชกาลที่ ๖ ขอนามเดิม
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 04 เม.ย. 10, 22:52

เรียนขออนุญาต  ตอบคำถาม ในข้อความส่วนตัว       อย่างเปิดเผยในกระทู้


เพื่อให้ท่านที่นับถือทั้งปวง(คุณเงิน ปุ่นศรี คือเป้าหมายใหญ่)  เข้ามาแก้ไข ตามสมควร

เพราะหนังสืออ้างอิงของดิฉันก็มีเพียงเล่มเดียว
ผิดพลาดได้


ขอเริ่มตอบจากรายชื่อ ด้านล่างขึ้นมา

ท่านผู้ถาม คง ทราบแล้วว่า หนังสือที่ ดิฉันใช้ คือ  พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔
(ออกมาในต้นปี ๒๔๗๕  แล้วโดนทำลายทันที เพราะ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง)

ข้อมูลที่ทันสมัย ก็คือ ข้อมูลใน ๒๔๗๔ เท่านั้น

ท่านที่ไม่มีชื่อ  ไม่ใช่ว่าตกสำรวจ  เป็นเพราะ ท่านไม่มีตัวตนในเวลานั้นแล้ว  ขออภัย



คนธรรพประสิทธิ์สาร (แตะ  กาญจนผลิน)

ตันตริการเจนจิต   (สาย   ศศิผลิน)

ตันตริกิจปรีชา   (นาค  พาทยาชีวะ)

ไพเราะเสียงซอ     (อุ่น  ดุริยชีวิน)

บรรเจิดปี่เสนาะ   (เทียม  สาครวิลัย)

บรรจงทุ้มเลิศ   (ปลั่ง  ประสารศัพท์

ฉลาดฆ้องวง   (ส่าน ดูระยาชีวะ)

ชาญเชิงระนาด   (เงิน   ผลารักษ์)

ประคมเพลงประสาน   (ใจ   นิตยผลิน)

ประไพเพลงผสม   (เอิบ  นฤมิตร)


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 23:07



ดุริยางค์เจนจังหวะ      (แช่ม  สุนทรมณฑล)    

สังเคราะศัพท์สอาง     (แฟ้ม   โกศัยเนตร)

สังคีตศัพท์เสนาะ     (ปลื้ม  วีณิน)  

พิไรรมยา     (ภักดิ์   รัตนภาณุ)

ภิรมย์เร้าใจ     (ทำ  อัมภผลิน)                                                                                    

                                                                                 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 23:46

สำเริงชวนชม     (กู๋   พูลผลิน)

สำเนียงชั้นเชิง     (มล    โกมลรัตน)

สมานเสียงประจักษ์     (เถา   สินถุนาคร)

สนิทบรรเลง     (จง  จิตตเสวี)    (บรรดาศักดิ์ ในหนังสือฉบับนี้ไม่มี การ  ค่ะ)

บำเรอจิตรจรุง     (ห่อ   คุปตวาทิน)

บำรุงจิตรเจริญ     (ธูป     สาตรวิลัย)



อันตรายในการตรวจสอบก็คือว่า  สายตาจะพลัดไปจับ  ราชทินนามที่คุ้น
แล้วเผลอหลอกตนเองว่าจำได้  อิอิ
อ่านต่อไป  อ้่าว!  ไม่ใช่สักหน่อย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 00:06

บรรเลงเลิศเลอ     (กร   กรวาทิน)

สร้อยสำเนียงสนธิ์     (เพิ่ม   วัฒนวาทิน)

พวงสำเนียงร้อย     (นาค   วัฒนวาทิน)(เผลอไปค่ะ  นึกว่ารู้จักอีกแล้ว  เพิ่งพิมพ์ไปหยก ๆ)

สิทธิวาทิน     (สาย  อังสุวาทิน)

ศรีวาทิต     (อ่อน   โกมลวาทิน)



รายชื่อที่ไม่ปรากฎ  เหมือนที่ได้เรียนไว้ข้างบนค่ะ 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 17:51

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 19:48

เมื่อมีข้อมูลที่อ้างอิงได้   ยินดีตรวจสอบให้ค่ะ
เรื่องเล็กน้อยแค่นี้   มิเป็นไร


พยายามหาข้อมูลข้าราชการวังหน้าอยู่  ไม่ค่อยปะติดปะต่อค่ะ

เหมือนเราญาติมิตรไพ่ไทยไงคะ    นั่งล้อมวง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 20:06

สะดุดชื่อ ประไพเพลงผสม  (เอิบ นฤมิตร)  เพราะจำได้ว่าเป็นชื่อผู้ประพันธ์เพลงของวงดนตรีสุนทราภรณ์
ไปหาประวัติมาได้จากเว็บสุนทราภรณ์

เอิบ ประไพเพลงผสม


ครูเอิบเป็นลูกคนสุดท้อง โดยมีพี่สาวอีก 2 คน บ้านเดิมอยู่บางขุนเทียน เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) จนกระทั่งจบชั้นมัธยมปีที่ 6 หลังจากนั้นครูเอิบก็หัดดนตรีไทยในวงปี่พาทย์ โดยเรียนพร้อมๆ กับศาสตราจารย์มนตรี ตราโมท เนื่องจากเป็นลูกพี่ลูกน้อง ซึ่งก็ตระเวนไปด้วยกันตลอด

ต่อมาหลวงพินิจฯ อดีตผู้บัญชาการเรือนจำบางขวาง ซึ่งเป็นลูกของอา ได้นำครูเอิบมาฝากที่กรมมหรสพ และรับราชการเป็นมหาดเล็กในวงปี่พาทย์หลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 และได้ตามเสด็จไปทุกแห่ง เมื่ออยู่ที่กรมมหรสพ ครูเอิบก็ได้เปลี่ยนมาเล่นดนตรีสากล โดยเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์พระเจนดุริยางค์ และหลวงดนตรีไพเราะ และก็ได้เล่นดนตรีในวงดุริยางค์สากลของพระเจนดุริยางค์มาโดยตลอด จนกระทั่งกรมมหรสพได้เปลี่ยนมาเป็นกรมศิลปากรก็ยังรับราชการต่อไป

หลังจากรับราชการในกรมศิลปากรมาเป็นเวลาถึง 36 ปี จึงได้ขอลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2497 โดยตำแหน่งสุดท้ายคือข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 1 ชั้น 190 บาท ในตำแหน่งหัวหน้าแผนก แผนกดุริยางค์สากล กองการสังคีต

เมื่อออกจากราชการรับบำนาญ ก็มิได้ประกอบอาชีพอื่นนอกจากเล่นดนตรีและแต่งเพลงในบางครั้ง เมื่อมีคนมาขอร้องให้แต่งเท่านั้น ไม่เคยแต่งไปเสนอขายห้างแผ่นเสียงต่างๆ เลย ครูเอิบได้แต่งเพลงมาตั้งแต่สมัยอยู่กรมศิลปากร เมื่อทางการได้จัดการประกวดแต่งเพลงขึ้น ครูเอิบได้รับรางวัลที่ 1 เป็นถ้วยทองคำ และ รางวัลที่ 2 เป็นเงินถึง 3,000 บาท ซึ่งนับว่ามากในสมัยนั้น

ผลงานที่แต่งก็มีร่วมกับ ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูเวส สุนทรจามร เนื่องจากสนิทสนมคุ้นเคยเพราะรับราชการอยู่ในกรมมหรสพด้วยกัน และต้องแยกจากกันเมื่อครูเวสกับครูเอื้อโอนไปรับราชการต่อที่กรมโฆษณาการในปี 2482 แต่เพราะเคยร่วมงานกับครูเวสมาก่อนด้วยผลงานเพลงทางละครวิทยุคณะจามร จึงได้ร่วมงานกันต่อมาเรื่อยๆ ผลงานที่ร่วมกับครูเวส สุนทรจามร ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ได้แก่เพลง "แสนวิโยค" , "ครวญสวาท" , และ "ห้วงน้ำลึก" ทั้งหมดนี้ มัณฑนา โมรากุล ขับร้อง เพลง "ทาสน้ำเงิน" ซึ่ง วินัย จุลละบุษปะ ขับร้อง และเพลง "สนต้องลม" ซึ่ง มัณฑนาและรวงทอง เคยร้องไว้

ผลงานที่ร่วมกับครูเอื้อได้แก่เพลง กรรมเอ๋ยกรรม , น่าน้อยใจ , น่าเพลินใจ ซึ่งวินัยเป็นผู้ร้อง เพลงเย็น เย็น เป็นการขับร้องประสานเสียงของนักร้องหญิง คือ มัณฑนาและชวลี และเพลงครวญรัก ซึ่งขับร้องโดยครูเอื้อ

สำหรับนอกวงสุนทราภรณ์ ครูเอิบ มีผลงานร่วมกับ สมาน กาญจนผลิน (ศิลปินแห่งชาติ) หรืออีกนัยหนึ่งครูสมาน ก็คือลูกศิษย์ของครูเอิบนั่นเอง ได้แก่เพลง "สาวสะอื้น"

ครูเอิบเป็นผู้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เพราะท่านเป็นนักดนตรีถึง 4 รัชกาล (รัชกาลที่ 6, 7, 8 และ 9) ท่านถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ( ชาตะ พ.ศ. 2445 ) ที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อไปผ่าตัดลำไส้แล้วเกิดอักเสบ อีกทั้งท่านมีอาการของโรคหัวใจด้วย ท่านได้รับพระราชทานเพลิงศพที่ วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม มีอายุรวม 73 ปี
 
ขอถามคุณวันดีว่า ราชทินนาม ประไพเพลงผสม  มีบรรดาศักดิ์เป็นอะไร  เข้าใจว่าเป็นขุน ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 20:37

หมื่นค่ะ

รองเสวกตรี   ประจำเครื่องสายฝรั่ง   กระทรวงวัง
(หน้า ๑๐๔๐)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 เม.ย. 10, 04:51

ราชทินนามของศิลปินในราชสำนัก

อ่านมาจาก ปกิณกะแดนสยาม  ของ ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
สำนักพิมพ์บรรณกิจ  ๒๕๔๙

หน้า ๑๗๘ - ๑๘๐

"กรมพิณพาทย์หลวง  เดิมมีราชทินนามเพียง ประดิษฐไพเราะ  เสนาะดุริยางค์ และสำอางดนตรี"

ราชทินนามที่พระราชทานชุดใหญ่ มี  ๕๑  รายการ


"กองเครื่องสายฝรั่งหลวง  มีราชทินนามพิเศษ อีก ๔ ชื่อ

เจน                เจนดุริยางค์
จัด                 จัดดุริยางค์
ถนัด               ถนัดดุริยางค์
ถนอม             ถนอมดุริยางค์"


"กรมใหม่ คือ กรมมหรสพ  พระราชทานราชทินนามเป็นแบบกวีพจน์

รำถวายกร
ฟ้อนถูกแบบ
แยบยิ่งคง
ยงเยี่ยงครู
ชูกรเลิศ
เชิดกรประจง

ศิลปินผู้ใหญ่  คือ

ระบำภาษา
นัฎกานุรักษ์
พำนักนัจนิกร
สุนทรเทพระบำ
นัฎกรรมขยัน
ดึกดำบรรพ์ประจง
ดำรงวิธีรำ
ภรตกรรมโกศล"

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง