เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6929 สงสัยเรื่องทรงพระเกศา
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


 เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:47

 ยิ้ม สมาชิก ท่านผู้สันทัดกรณีทุกท่านครับ ผมมีข้อสงสัยอีกแล้วครับ
                         ในปัจจุบันนักวิชาการสันนิษฐานว่า พระบรมวงศานุวงศ์ชายสมัยอยุธยาจะทรงไว้พระเกศายาว แล้วมวยไว้บนพระเศียรมีเครื่องทองครอบ
                         ผมสงสัยครับว่าแล้วทำไมพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ชายของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่ทรงไว้พระเกศายาว แล้วมวยแบบอยุธยาครับ ก็ในเมื่อจะรักษา ทำทุกอย่างให้เหมือนตอนบ้านเมืองยังดีมิใช่หรือ?
                         ผมมีข้อสังเกตว่า เป็นเพราะเจ้านายท่านติดธรรมเนียมที่เคยเป็นขุนนางมาก่อน(ใช่รึไม่) หรือเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมไม่ให้เหมือนกับเจ้าวงศ์ก่อน
                            ท่านผู้สันทัดกรณีช่วยไขข้อสงสัยด้วยครับผม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 18:21

เรียนท่านผู้ตั้งกระทู้ทราบ
               เออ...ฟังดูมันก็น่าคิดนะ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าคงไม่ใช่มีเหตุมาจากเจ้านายชั้นกรุงรัตนโกสินทร์แต่เดิมเป็นขุนนางมาก่อน แล้วขุนนางไว้ผมสั้นจึงติดการไว้ทรงพระเกศาสั้นๆมา หรือจากเหตุที่ว่าไม่อยากไปเลียนแบบเจ้านายครั้งกรุงเก่าก็ดูไม่เห็นสม เพราะเราดูจะเลียนแบบกรุงเก่ามาแทบสิ้น
               ข้าพเจ้าสงสัยว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงทางทรงผมหรือไม่ จำได้ว่าครั้งกรุงเก่าการไว้ผมยาวอ่านเป็นช่วงต้นกรุงก็ได้ เพราะช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกลุ่มขุนนางที่ไปฝรั่งเศสไว้ผมสั้นกัน รูปพระนารายณ์ที่บรรยายไว้ก็ไม่ได้บรรยายถึงพระเกศายาวมุ่นมวยไว้แต่อย่างใด (หรือบรรยายแล้วข้าพเจ้าลืมไปก็ไม่รู้) คงเปลี่ยนไปตามสมัยนิยมกระมัง ไม่เชื่อดูเด็กๆสมัยนี้กับคนสมัยเรา (กล่าวคือ ๓๐ ขึ้นหากใครไม่ถึงก็ขออภัย) แต่งตัวสิ ต่างกันจะตาย
               สวัสดี
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 20:45

สวัสดีครับ

ไม่ใช่ผู้สันทัดกรณีแต่อ่านสนใจเหมือนกันครับ ว่าทำไมเจ้านายสมัยรัตนโกสิทร์ตอนต้นไม่ทรงไว้พระเกศายาว ค่อนข้างจะเห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า อาจจะทรงชินกับการไว้พระเกศาสั้น ตั้งแต่ครั้งทรงเป็นขุนนางก็ได้ และก็ช่วงนั้นก็มีศึกสงครามบ่อย ร.1 ตลอดจนพระบรมวงศ์ก็ทรงเป็นนักรบ หากไว้พระเกศายาวอาจจะไม่สะดวก เท่าที่สังเกตุ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ไม่ทรงไว้พระเกศายาวตามเจ้านายกรุงเก่า แต่จะด้วยเหตุใดก็พ้นวิสัยที่จะคาดเดา ท่านใดมีข้อมูลอย่างไร โปรดให้ความรู้ด้วยครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 20:59

อ้างถึง
ในปัจจุบันนักวิชาการสันนิษฐานว่า พระบรมวงศานุวงศ์ชายสมัยอยุธยาจะทรงไว้พระเกศายาว แล้วมวยไว้บนพระเศียรมีเครื่องทองครอบ
นักวิชาการคนไหน และอ้างจากหลักฐานอะไรคะ

เอาภาพทรงผมชายไทยสมัยอยุธยาตอนกลางและปลายระยะต้นมาฝาก
http://www.era.su.ac.th/Mural/nonthaburi/chum3_pic.html


บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 21:09

 ยิ้มกว้างๆ ถึงบางอ้อแล้ว...ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 08:07

ในปัจจุบันนักวิชาการสันนิษฐานว่า พระบรมวงศานุวงศ์ชายสมัยอยุธยาจะทรงไว้พระเกศายาว แล้วมวยไว้บนพระเศียรมีเครื่องทองครอบ

นักวิชาการคนไหน และอ้างจากหลักฐานอะไรคะ

คงจะเป็นนักวิชาการที่อ่านกฎมณเฑียรบาลในกฎหมายตราสามดวงกระมังครับ  เพราะมีข้อความกล่าวถึงเครื่องศิราภรณ์อยู่ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 09:49

เรื่องตัดผมสั้น น่าจะมีมานานแล้วนะครับ ผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าอ่านมาจากไหน (ขออภัยอย่างสูง) ว่า
มีบันทึกของชาวต่างชาติเรื่องการตัดผมสั้นของชายไทย ถ้าจำไม่ผิดจะประมาณช่วงอยุธยาตอนต้นหรือก่อนหน้านั้น

เรื่องชนชั้นสูงในอยุธยา ไว้ผมยาวเกล้ามวย ประดับเกี้ยวหรือศิราภรณ์แบบต่างๆ นั้น มีระบุอยู่ในกฎมนเทียรบาล
แต่จะมาเปลี่ยนตัดผมสั้นเมื่อใด ไม่ทราบแน่ชัด

ตามความเห็นของผมคิดว่า  ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีอากาศร้อนชื้น ไม่เหมาะกับการไว้ผมยาว โดยเฉพาะชาวบ้าน ที่ต้องตากแดดทำนา
ดังนั้นในระดับประชาชนทั่วไป น่าจะไว้ผมสั้นมานานพอควร

ส่วนชนชั้นสูงนั้น  สามารถไว้ผมยาวได้  เพราะสามารถดูแลรักษา ทำความสะอาด ซึ่งอาจถือเป็นเครื่องแสดงฐานะว่าเป็นชนชั้นสูงในสังคมด้วย
เหมือนอย่างประมาณสมัยรัชกาลที่ ๔  ชายชั้นสูงไทยจะไว้เล็บยาว  ซึ่งผู้ใช้แรงงานทั่วไปคงไว้เล็บยาวไม่ได้เป็นแน่

การโกนหรือตัดผมข้างๆ สั้น  น่าจะสัมพันธ์ กันการไว้จุกตอนเด็กๆ  ที่จะโกนผมข้างๆ ไม่โกนบนกระหม่อม  หรืออยางผู้หญิงปลายอยุธยา ก็ไว้ผมยาวประบ่า  แต่มีการกันผมเป็นแนวตามที่เคยไว้จุกเดิม 

การตัดมหาดไทย มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่สมัยพระนารายณ์เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม เคยอ่านว่ามีผู้สันนิษฐานว่า ตัดสั้นมาตั้งแต่สมัยพระไชยราชาบ้าง พระมหาจักรพรรดิบ้าง  หรือพระนเรศวรบ้าง ในช่วงที่รบกับพม่า
เพื่อความสะดวกในการรบ  และให้แตกต่างจากชาวพม่า
บ้างก็ว่า ชนชั้นสูงในสมัยพระนารายณ์ ตัดผมมหาดไทยแบบชาวบ้าน เพื่อให้เหมือนชาวตะวันตก (ฝรั่งเศส) ที่ตัดผมสั้นเพื่อใส่วิก

โดยส่วนตัวคิดว่า  ชนชั้นสูง เชื้อพระวงศ์อยุธยา ตัดมหาดไทยสมัยพระนารายณ์  แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเพราะอะไร
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 09:59

ลองค้นดูในเน็ต  ได้ลิงค์นี้มา น่าสนใจดี  มีรูปด้วย

http://store.tkc.go.th/tkcteam/flash/p04010601/index.html
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 เม.ย. 10, 19:35

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ มีจุดที่น่าคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่อยากลองแสดงความคิดเห็นดูก็คือ
งานเครื่องทองจากกรุวัดราชบูรณะชิ้นนี้ ซึ่งน่าจะใช้ใส่ครอบมวยพระเกศาของกษัตริย์ ซึ่งคงไว้
ผมยาวอย่างที่คุณoverhaul ว่าไว้ เพียงแต่งา่นลักษณะนี้ไม่แน่ใจว่ามีในสมัยอยุธยาตอนกลาง
ถึงปลายลงมาหรือเปล่า? ผมไม่แน่ใจเพราะยังไม่เคยเห็นหลักฐาน เพียงแต่ตามภาพเขียนงาน
จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ภาพกษัตริย์ก็จะมีแต่รูปที่ทรงมงกุฏยอดแหลมมีเชือกผูกใต้คาง



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 เม.ย. 10, 19:39

ซึ่งสมัยอยุธยาตอนปลายพระมหากษัตริย์อาจจะทรงเลิกไว้กระเกศายาวๆแล้ว?? เพียงแต่ไม่รู้ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยไหน
เพราะรอยต่อคืองานสมัยอยุธยากลาง ผมยังไม่เคยเห็นหลักฐาน คงต้องพึ่งท่านอื่นๆต่อไปสำหรับเรื่องนี้ครับ



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 เม.ย. 10, 19:45

สำหรับอีกส่วนหนึ่งที่พบก็คือ ชฎา-ศิราภรณ์ ลักษณะนี้ ผมคิดเห็นว่าอาจได้รูปแบบมาจากรูปแบบเก่า
อย่างงานจากกรุวัดราชบูรณะ?? หรือได้จากแบบที่เก่ากว่านั้นไปอีก?? โดยเปลี่ยนพัฒนารูปแบบเรื่อยมา



บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 เม.ย. 10, 13:16

สวัสดีครับคุณเทาชมพู
ขออภัยครับที่มาเขียนล่าช้า
เรื่องหลักฐานนั้น ผมสังเกตจากเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ และรูปในแฟ้มภาพลายเส้นของ carlo maratta ,1688 ซึ่งนำมาใช้ประกอบหนังสือ siam and the vatican in the seventeenth century
(ถ้าหากผมคลาดเคลื่อนอย่างใดก็ขออภัยครับ) ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง