เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4764 สอบถามเรื่องพระและลูกนิมิตร วัดสาขลา
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
 เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:35

วัดสาขลา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙ บ้านสาขลานาเกลือ  หมู่ที่ ๑๙ ตำบลนาเกลือ
อำเภอพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

พระปรางค์เอน เขื่อนย่อ เสมาบิด
คือ ปริศนาธรรมที่คนเก่าแก่ในหมู่บ้านสาขลา พยายามแก้ไขปัญหาสภาพพื้นที่รอบวัดมาแต่โบราณ ทั้งนี้เพราะตลอดระยะเวลานับแต่การก่อตั้งวัดสาขลาในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ (ข้อมูลสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)ชาวชุมชนแห่งนี้ต้องสละทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ เพื่อบูรณะ ศาสนะสถานต่างๆ ภายในวัด ไม่ให้จมหายไปกับผืนดินที่ทรุดลงทีละน้อย ด้วยเพราะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งบนแนวสันดอนดินเลนปากแม่น้ำเจ้าพระยา

พระปรางค์เอน ก็คือ การเอนลงขององค์พระปรางค์แต่ไม่ล้ม
เขื่อนย่อ คือ การทรุดตัวของแผ่นดิน ทำให้โบสถ์ วิหาร หอ ศาลา ยุบตัว
เสมาบิด เป็นความเชื่อ ที่ใบเสมาหลังโบสถ์หันออกนอกทิศ ไม่ว่าจะแก้ไขกี่ครั้ง ก็จะบิดตัวอยู่ตลอด
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:37

พระปรางค์เอน


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:38

เขื่อนย่อ


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:41

เสมาบิด เป็นใบเสมาด้านหลังโบสถ์
(ภาพนี้เพิ่งแก้ไขให้ใบเสมาตั้งตรงเมื่อต้นปี ๒๕๕๒)



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:55

ช่วงต้นปี ๒๕๕๒ ทางวัดได้ร่วมมือกับชาวบ้านบูรณะพระอุโบสถ โดยพยายามดีดให้สูงเพื่อหนีน้ำ
(คำว่า ดีด เป็นการขุดใต้คาน แล้วยกตัวขึ้นโดยตั้งเสาใหม่ค้ำไว้)

ระหว่างการขุดฐานโบสถ์ พบเศียรพระโผล่ขึ้นจากใต้ดิน
พอขุดต่อไปก็ค้นพบพระพุทธรูป วัตถุมงคลจำนวนมาก และพบลูกนิมิตรที่มีลักษณะแปลก
จึงอยากเรียนถามท่านผู้รู้ ๒ ข้อ ดังนี้
๑. พระพุทธรูปที่ค้นพบ น่าจะเป็นพระในสมัยใด
๒. ลูกนิมิตรที่ไม่เป็นทรงกลม มีความหมายใด

ภาพที่ ๑


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:56

ภาพที่ ๒
เป็นพระคู่ด้านหลังเชื่อมติดกัน


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 16:58

ภาพ ๓ พบนับสิบองค์


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 เม.ย. 10, 17:03

ลูกนิมิตร มีภาพในความคิดเห็นที่ ๓ ตั้งอยู่หน้าใบเสมา
ภาพต่อมา ค้นพบอยู่ตำแหน่งใต้พระประธาน
ภาพล่างสุด ค้นพบตำแหน่งหน้าโบสถ์



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 เม.ย. 10, 08:29

ระหว่างการขุดฐานโบสถ์ พบเศียรพระโผล่ขึ้นจากใต้ดิน
พอขุดต่อไปก็ค้นพบพระพุทธรูป วัตถุมงคลจำนวนมาก และพบลูกนิมิตรที่มีลักษณะแปลก
จึงอยากเรียนถามท่านผู้รู้ ๒ ข้อ ดังนี้
๑. พระพุทธรูปที่ค้นพบ น่าจะเป็นพระในสมัยใด
๒. ลูกนิมิตรที่ไม่เป็นทรงกลม มีความหมายใด

ขอแสดงความเห็นเฉพาะคำถามข้อที่ ๒  การผูกพัทธสีมาอุโบสถแต่เดิม  ท่านไม่ได้กำหนดว่า  ต้องใช้ก้อนหินเป็นนิมิตรเขตพัทธสีมาเพียงอย่างเดียว  ท่านกำหนดให้ใช้ ต้นไม้ใหญ่ สระน้ำ  ภูเขา จอมปลวก คูน้ำ  ฯลฯ เป็นิมิตรสีมาได้ด้วย  แต่ภายหลังเข้าใจว่า  นิยมใช้ก้อนหินเป็นนิมิตรมากกว่าสิ่งอื่น   ทีนี้ที่ว่า  ทำไมลูกนิมิตรที่วัดสาขลาไม่กลมอย่างลูกนิมิตรในปัจจุบันนั้น  ในชั้นดิน  การกำหนดสีมาด้วยก้อนหิน ท่านไม่ได้กำหนดว่า ก้อนหินที่เอามาทำนิมิตรนั้น  ต้องมีรูปร่างอย่างไร  แต่จำได้ว่ากำหนดว่าต้องมีขนาดใหญ่เพียงใดจึงจะถือว่าเป็นนิมิตรของสีมาได้   เช่นเดียวกับนิมิตรอื่น อย่าง สระน้ำ ก็ต้องเป็นสระน้ำที่มีน้ำตลอดทุกฤดู  จึงจะให้เป็นนิมิตรสีมาได้  เป็นต้น    และท่านก็ไม่กำหนดว่าก้อนหินนั้นต้องมีรูปร่างอย่างไร   โบราณท่านจึงเอาก้อนหินตามที่จะหาได้   การเกลาหินให้กลมอย่างลูกนิมิตรปัจจุบันน่าจะเริ่มในราวสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕  (อันนี้เดานะครับ)  เคยไปงานปิดทองฝังลูกนิมิตรวัดเก่าๆ ที่ขยายพัทธสีมาเขตอุโบสถเดิม  ลูกนิมิตรก้อนหินเดิมที่เขาขุดขึ้นมาให้ปิดทองนั้น ก็รูปร่างอย่างหินนี้   ขรุขระ  ไม่ได้กลมเกลี้ยงอย่างในปัจจุบัน   ขนาดราวลูกมะพร้าวขนาดกลาง  เห็นอย่างนี้มาหลายวัด   

ถ้าอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสีมา ขอแนะนำให้อ่านหนังสือสีมากถาครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 เม.ย. 10, 09:01

ขอบคุณ คุณ luanglek มากครับ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 เม.ย. 10, 06:59

พระพุืทธรูปที่พบเป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ครับ เท่าที่เคยได้ยินมา มีคติการฝังพระพุทธรูปลงไปใต้ฐานพระอุโบสถแพร่หลายเหมือนกัน แต่ยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริงครับ ส่วนเสมานั้น เป็นเสมาพื้นบ้าน น่าจะมีอายุช่วงอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปได้ว่าช่างอาจมีความนิยมสืบต่อกันมาก็เป็นได้

ส่วนเสนาสนะทั้งหลายในวัด ทั้งพระปรางค์ พระเจดีย์ มีลักษณะเป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น น่าจะมีิอายุหลังรัชกาลที่ 3 ลงมาครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 เม.ย. 10, 07:18

ขอบพระคุณ คุณ kurukula มากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง