Wandee
|
อ่านมาจาก หนังสือชื่อ ลืมไม่ลง ของคุณ ส. พลายน้อย สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ๒๕๔๕ โครงการอนุรักษ์วรรณกรรมเก่าและหายาก
คุณลุงอาจิณ จันทรัมพร บรรณาธิการ ในคำนำของสำนักพิมพ์ เล่าว่า ผลงานหลายชิ้นได้เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือนิตยสารต่าง ๆ มาแล้ว
แต่กระจัดกระจายหาอ่านได้ยากมาก
แต่ละเรื่องได้ซ่อนเร้นความน่ารู้และน่าศึกษา พอจะนำมาอ่านให้เกิดความบันเทิง และประดับสติปัญญาได้เป็นอย่างดี อีกสักครั้ง หรือหลาย ๆ ครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 13:16
|
|
คุณ ส. พลายน้อยชอบอ่านเบ้งเฮ็ก ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
ท่านว่าสนุก และเป็นเหตุให้ท่านติดตามอ่านหนังสือของ คุณคึกฤทธิ์ ต่อมา
ตอนนั้นคุณสมบัติอายุราว ๑๙ - ๒๐ ท่านว่าประสบการณ์ก็น้องเพราะเป็นคนบ้านนอก
เมื่ออ่านหนังสือที่ให้ความรู้ก็ติด
เพราะนอกจากจะได้ความรู้แล้วก็ยังได้ความสนุกอีกด้วย
ท่านขยายความว่า ท่านอยากจะยกตัวอย่างสักเรื่องสองเรื่องเพราะบางคนอาจลืมไปแล้ว
สามก๊ก ของ เจ้าพระยาพระคลังหน เป็นหนังสือที่ท่านว่าสนุกนัก
แล้วท่านก็ตามอ่าน สามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ อ่านหมดทุกเล่มเลย
แล้วไปอ่านสามก๊กฉบับนายทุน
ฉบับเจ้่าพระยาพระคลังหนนั้น อ่านไม่น้อยกว่าสามเที่ยว จนกลัวคนจะไม่คบ
ฉบับวณิพกอ่านไม่ต่ำกว่า ๒ เที่ยว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 13:33
|
|
"ประหลาดที่ผมข้ามคำที่ไม่ควรจะข้ามไปคำหนึ่ง คือคำว่า "ตีนกะเป๋ง"
ขอถามหน่อยเถิดท่านที่อ่าน สามก๊ก เคยสะดุดคำนี้บ้างไหม
หลายคนยอมรับว่าไม่เคยได้ยิน
ได้ยินแต่ ลูกกะเป๋ง ได้ยินกันหนาหู
ฟังกันด้วยหูของคนภาคกลาง "ตีนกะเป๋ง" ก็คือขอบล่างของภาชนะสังกะสีที่ใช้ตักน้ำ
มีขนาดใหญ่กว่า และปากผายออกเล็กน้อย
แต่ที่จริงไม่ใช่ภาชนะอย่างที่กล่าว
ในหนังสือ สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) พรรณาไว้ว่า
ลุดตัดกุดนั้นมีพละกำลังเป็นอันมาก สูงวาสามศอก กินเนื้อสัตว์เป็นแลผลไม้ต่างอาหาร
แล้วก็มีวิชาคงทนสารพัดอาวุธซึ่งจะเข้าสู่สงครามนั้นเข้มแข็งสามารถ
เอาหวายแช่น้ำมันไว้หกเดือนมาถักทำเป็นเกราะ
แม้ถึงทางกันดารจะข้ามน้ำก็ลอยตัวข้ามฟากไปได้
ถึงถูกอาวุธ ธนู เกาฑัณฑ์ก็มิได้เข้าเป็นอันขาด จึงเรียกทหารเหล่านี้ว่า ตีนกะเป๋ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 13:48
|
|
ยาขอบ ซึ่งได้ชื่อว่าถี่ถ้วนในเรื่องใช้คำใน สามก๊ก ก็ไม่หยิบคำนี้ขึ้นพิจารณา
เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ผู้รจนาก็ไม่บอกให้ชัดเจนว่า ตีนกะเป๋ง ภาษาจีนแปลว่าอะไร
เมื่อซินแสแปลถ่ายออกมาว่า ตีนกะเป๋ง
ท่านก็เขียนตามเสียงนั้นลงไป
แต่สามก๊กฉบับนายทุน ตีความลงไปทันทีว่า "ที่จีนเรียกทหารไทยเหล่านี้ว่า ทหารตีนกะเป๋งจะเป็นอื่นไปไม่ได้แล้ว นอกจาก ทนกระพัน หรือ คงกระพันอย่างที่เราเรียกอยู่ในปัจจุบัน"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 14:07
|
|
นักอ่านหนังสือเก่า ยิ้มสดชื่นเพราะชอบชื่อ ตัดกุด...อ่า..ลุดตัดกุด
พลิกสารานุกรมของ โกวิท ตั้งตรงจิตร หน้า ๓๓๐
ชื่อของหัวหน้าโจรชื่อดังในแคว้น ออโกก๊ก(อูเกอโกวะ) อยู่ในมณฑลยูนนาน
ลุดตัดกุดรูปร่างสูงใหญ่ ใจเหี้ยมหาญ ของโปรดคืองูเป็น ๆ ไปไหนขี่ช้าง ไม่ขี่ม้า ทหารในกองทัพสวมเกราะหวายแช่น้ำมัน มีเกาทัณฑ์และกระบี่เป็นอาวุธประจำกาย
เสียชีวิตพร้อมทหารสามหมื่นนายที่หุบเขามรณะจัวปัวสัก เส้นทางไปสู่เมืองลำกั๋ง เมื่อขงเบ้งจุดไฟเผา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 14:15
|
|
หนังสืออนุสรณ์ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ พิชัยสงครามสามก๊ก ของ สังข์ พัธโนทัย
หน้า ๒๐๔
เวลาข้ามน้ำ ถอดเกราะนั่งไปไม่เปียก
อาวุธใด ๆ ก็ยิงหวายไม่ทะลุ
เรียกว่า กองทัพหวาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 14:22
|
|
สามก๊กเล่ม ๒ ฉบับศิลปาบรรณาคาร พิมพ์
ปีพิมพ์ไม่บอก
ผู้พิมพ์โฆษณา ๒๕๑๖
หน้า ๖๓๓
"จึงเรียกทหารเหล่านั้นว่า ตีนกะเป๋า"
ไอ๊ย่า!..........ตีนกะเป๋า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 14:40
|
|
นักอ่านหนังสือโบราณ ไม่ไว้ใจหนังสือเสียแล้ว ความเชื่อมั่นในท่านผู้อาวุโสมิมีวันที่คลอนแคลน
ยื่นกรงเล็บเหล็กไปตะครุบ สามก๊กฉบับแปลใหม่ เล่ม ๒ ของ วรรณไว พัธโนทัย มาจากตู้ สามก๊กข้างประตู ฝุ่นฟุ้ง
สำนักพิมพ์ ธรรมชาติ พิมพ์ครั้งที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๑
หน้า ๑๓๒๔ - ๑๓๒๕
ตั้วไหล(จะเป็นใครก็ชั่งเขาเถอะนะคะ) ว่า
"ห่างจากที่นี่ไปทางตะวันออกเฉียงใต้เจ็ดร้อยลี้ มีชุมชนก๊กหนึ่ง เรียกว่า ออโกก๊ก
หัวหน้่าชื่อ ลุดตัดกุด ร่างสูงหนึ่งจั้งสองฉือ ไม่กินธัญญาหารเป็นอาหาร ชอบกินงูเป็น ๆ แลสัตว์ร้ายเป็นอาหาร
ชอบสวมเกราะเกร็ดลื่น กระบี่และเกาทัณฑ์มิอาจยิงทะลุได้
ทหารใต้บังคับบัญชาแต่ละคน ก็สวมเกราะหวาย หวายนั้นเกิดระหว่างเขาแลลำธารเกี่ยวกับกะแพงหิน
คนในก๊กนี้ไปเก็บมาแช่ไว้ในน้ำมันถึงครึ่งปีจึงเอาออกมาตากแดด ตากจนแห้งสนิท หวายหลายสิบเส้นสามารถทำเกราะได้เกราะหนึ่ง
เรียกว่า ทหารเกราะหวาย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 14:53
|
|
ตีนกะเป๋ง หรือ ตีนกระเป๋า เอ่ย ?!!?
แงะ สามก๊กฉบับคนขายชาติ ของ เรืองวิทยาคม ออกจากกล่องกระดาษ เล่ม ๕ หน้า ๕๔๐
"....แม้ถึงทางกันดารจะข้ามน้ำ ก็ลอยตัวข้ามฟากไปได้ .....................จึงเรียกทหารเหล่านั้นว่า ตีนกะเป๋ง หรือ กองทัพเกราะหวาย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 15:04
|
|
เมื่อได้อ่านหนังสือแล้ว ไม่จบเป็นไม่หยุด
เทกล่องไม้ บรรจงเลือก เล่ม ๓ ของ วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรกฏาคม ๒๕๔๓ หน้า ๒๐๔๖
"ที่โอคอก๊ก(ก๊กหอกดำ) เจ้านครชื่อว่า อุ๊กตุ๊กกุก(ลุดตัดกุด)
ร่างสูงสองตึ้ง ไม่กินธัญเบญจก ร่างเป็นหนังคล้ายกระดองเป็นเกร็ด กองทัพชื่อ เสื้อเกราะหวาย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 15:22
|
|
พยายามจะผิวปากเพลง โป้ยกิมเหล็ง ให้เข้ากับบรรยากาศ แต่ไม่สำเร็จ จึงฮัมเพลง หากรู้สักนิดว่าเธอรักฉัน แทน
หยิบ สามก๊กเล่มเล็กปกอ่อน ของคุรุสภาออกมา ปี ๒๕๑๔ ซื้อลดราคามาด้วยค่ะ เล่มละ ๘ บาท
หน้า ๑๕๗
"จึงเรียกทหารเหล่านั้นว่า ตีนกะเป๋ง"
ที่เล่าเรื่องแปลกๆในสามก๊กมา เพราะเห็นท่านทั้งปวงก็ทราบเรื่องราวอยู่เป็นส่วนมาก
ดิฉันอ่านไปค้นไปด้วยความเคารพนับถือ คุณสมบัติ พลายน้อย ที่มีงานวันคล้ายวันเกิด ๘๐ ปี ไปเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมานี้ที่งานหนังสือ สหาย เม้ม หนังสือแจกซึ่งลงรายชื่อหนังสือทั้งหมดของท่านไว้เผื่อ ๑ เล่ม(ถ้าเป็นสมัยก่อน เขาจะหยิบเล่มเดียว)
งานใหญ่มาก นักเขียนมากันมากหน้าหลายตา ลูกศิษย์ก็แออัดยัดเยียดเข้าแถวไปขอพร
นักอ่านหนังสือเก่า กราบมาด้วยความรัก เคารพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 18:43
|
|
ทหารเกราะหวายในสามก๊กภาษาจีนเรียกว่า 藤甲兵
อ่านแบบจีนกลางว่า เถิงเจี่ยปิง
ฮกเกี้ยน (หมิ่นหนาน) อ่านว่า ตี๊นกะปี๊ง เห็นได้ชัดว่า สำเนียงนี้เป็นที่มาของ ตีนกะเป๋ง ครับ
ซตพ.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 18:56
|
|
อ่านตามค.ห.ของคุณวันดีมาเรื่อยๆ เดาในใจว่า ตีนกะเป๋ง เป็นภาษาจีน ไม่ใช่คำไทย เพียงแต่ไม่รู้ว่าภาษาเดิมออกเสียงว่าอะไร มาพบในคำเฉลยของคุณม้า อยากจะถามว่า ชื่อ ลุดตัดกุด (ซึ่งเดาว่าเป็นฮกเกี้ยน) จีนกลาง และแต้จิ๋ว ออกเสียงว่าอะไรคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 20:10
|
|
ขอบคุณ คุณเทาชมพูที่แวะมาอ่านค่ะ
ขำคุณสมบัติ พลายน้อย ที่ท่านว่าท่านอ่านหนังสือคุณคึกฤทธิ์ มาตั้งแต่ท่านหนุ่มน้อย แป๊บเดียว เวลาก็ผ่านไป ๖๐ ปี
เลยพยายามหาอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ มาพูดถึง เพราะทราบว่าท่านยังอยากอ่านพงศาวดารจีนบางเล่มอยู่
ขอบคุณคุณ CrazyH0rse ที่กรุณา อธิบายค่ะ
ในเวลาบ่ายที่ร้อนระอุอย่างนี้ อ่านพงศาวดารจีนแล้ว มีสมาธิค่ะ
ที่จริงตรวจสอบหนังสือในตู้ว่ายังอยู่กันครบหรือไม่
พยายามจะจัดหนังสือให้ดูเป็นหมวดหมู่ แต่ก็ไม่มีเนื้อที่ในตู้อีกแล้วค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 03 เม.ย. 10, 22:26
|
|
คุณวันดีมีหนังสือสามก๊กหลายสำนวนหลายฉบับพิมพ์ น่าจะจัดนิทรรศการเรื่องประวัติการพิมพ์หนังสือสามก๊กฉบับภาษาไทยนะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|