เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 12208 พระยศ เจ้านายทางเหนือ
pomsang
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 26 มี.ค. 10, 17:30

ไม่ทราบว่า ตำแหน่งเจ้านายทางฝ่ายเหนือ มีหลักเกณฑ์อย่างไร
เช่น พอเป็นเจ้าชาย แม่เป็นคนธรรมดา ลูกจะออกมามียศอะไร
หรือแม่เป็นเจ้าหญิง แต่งงานกับ พ่อที่เป็น เจ้า(ไม่ใช่เจ้าชาย)แล้วลูกจะมียศอะไร
รวมทั่งพ่อเป็นเจ้า(ไม่ใช่เจ้าชาย)แต่งกับ แม่เป็นสามัญชนนะคร้าบ
(สงสัยตั้งนานแล้ว พอดูทัดดาวบุษยา เลยอยากถามขึ้นมาคร้าบ)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 18:41

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จว่า

พ่อเป็นเจ้านคร แม่เป็นเจ้า หรือเป็นสามัญชน  ลูกเป็นเจ้า
 พ่อเป็นเจ้า  แม่เป็นเจ้า  ลูกเป็นเจ้า  เช่น เจ้ากอแก้วประกายกาวิล  ณ เชียงใหม่  ซึ่งบัตรประชาชนจะระบุเป็นเจ้าตามฐานันดรยศ  เหมือน หม่อมราชวงศ์  หม่อมหลวง
พ่อหรือแม่เป็นเจ้า  อีกฝ่ายเป็นคนธรรมดา  ลูกเป็น คนธรรมดา  บัตรประชาชนจะระบุเป็น นาย  นาง หรือนางสาว แล้วแต่กรณี  แต่ระยะหลังเจ้าเหลือน้อยเต็มที  อีกประการขาดคนที่รู้ธรรมเนียมจริงๆ  จึงพากันยกให้พวกนี้เป็นเจ้ากันไปหมด  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มี.ค. 10, 18:57 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
pomsang
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 16:54

แล้วตำแหน่งเจ้าเนี้ยคร้าบ เป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิง หรือว่าเป็นเจ้า (หมายถึงลูกของเจ้านครนะคร้บ)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 19:00

ลูกเจ้านครเป็น "เจ้า" ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง  คงเรียก "เจ้า" เหมือนกันหมด
แต่ถ้าเป็นชายที่เคยบวชเณะ  ก็จะเรียก เจ้าน้อยแล้วต่อด้วยชื่อ  เช่น เจ้าน้อยเลาแก้ว
ถ้าเคยบวชเป็นพระก็จะเรียกเจ้าหนานแล้วต่อด้วยชื่อ  เช่น เจ้าหนานบุญทวง
ถ้าเจ้าผู้ชายไม่มีคำว่า น้อยหรือหนาน แสดงว่าผู้นั้นไม่เคยบวชเรียน  เจ้าแก้ว หรือเจ้าแก้วนวรัฐฯ
คำว่าน้อยใช้เรียกคนที่เคยบวชเณร  หนานคือผู้ที่เคยขวชพระ  ตรงกับ "ทิด" ในภาคกลาง
บันทึกการเข้า
pomsang
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 22:46

ขอบคุณคร้าบบบ
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 มี.ค. 11, 21:17

ลำดับชั้นยศราชวงศ์ล้านนาหรือเจ้านายฝ่ายเหนือมีดังนี้ครับ

๑. เจ้าหลวงผู้ครองเมือง
 
๒. เจ้าอุปราช
 
๓. เจ้าราชวงศ์
 
๔. เจ้าราชบุตร
 
๕. เจ้าบุรี
 
๖. เจ้าสุริยวงศ์
 
๗. เจ้าภาติวงศ์
 
๘. เจ้าราชภาคินัย
 
๙. เจ้าราชดนัย

๑๐.เจ้าราชประพันธวงศ์

๑๑.เจ้าประพันธวงศ์

๑๒.เจ้าไชยสงคราม

๑๓.เจ้าราชญาติ

๑๔.เจ้าวรญาติ

๑๕.เจ้าราชญาติ

๑๖.ไชยวรเชษฐ์

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 มี.ค. 11, 07:00

ลำดับยศเจ้านายล้านนาตามความเห็นที่ ๕ นั้นเป็นบรรดาศักดิ์ที่รัฐบาลสยามเป็นผู้แต่งตั้งครับ  เริ่มมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ คราวล้านนามาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ

บรรดาศักดิ์ชุดแรกมีเพียง ๓ ตำแหน่งที่เรียกกันว่า "พระเป็นเจ้าทั้งาม"  ประกอบพระยานครต่อมาเปลี่ยนเป็นเจ้าหลวง  พระยาอุปราช  ต่อมาเปลี่ยนเป็นเจ้าอุปราช  ส่วนตำแหน่งที่สามซึ่งเทียบเท่าวังหลัง  ทางเชียงใหม่เรียกว่า พระยาเมืองแก้ว  ต่อมาเปลี่ยนเป็นเจ้าบุรีรัตน  ส่วนทางเมืองลำปางและลำพูนเรียกว่า พระยาราชวงศ์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเจ้าราชวงศ์

ต่อมาจึงมีการเพิ่มบรรดาศักดิ์พระยาราชบุตร  และอื่นๆ มาตามลำดับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 มี.ค. 11, 15:28

อันที่จริง สมัยก่อนนั้นเจ้านายทางฝ่ายเหนือ มิใช่ "เจ้า" เลยทั้งสิ้น
มียศเป็นเพียง "พระยา" เท่านั้น เว้นแต่บางท่านที่มีคุณความดีความชอบมากมาย
จึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "เจ้า" หรือ "พระเจ้า" เช่น พระเจ้าเชียงใหม่ (กาวิละ) พระเจ้าลำพูน (บุญมา)
เพิ่งจะมาเลื่อนสถาปนาขึ้นเป็น "เจ้า" ในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้เอง
ดังปรากฏในพงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองลครลำปาง เมืองลำพูนไชย
ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 3 แต่งโดยพระยาศรีสหเทพ (หรุ่น) ว่า

"จึงมีพระบรมราชโองการปรึกษาด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ แลท่านอัครมหาเสนาธิบดี ว่าเมืองลาวพุงขาว เมืองแขก เมืองเขมร
ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชเชื้อวงศ์เป็นเจ้า ก็ได้ทรงพระมหากรุณาตั้งขึ้นเป็นเจ้าทุกๆ เมือง แต่ลาวพุงดำเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง
เมืองลำพูน ตั้งแต่พระเจ้าเชียงใหม่กาวิละ พระเจ้านครลำปางดวงทิพ พระเจ้าลำพูนไชยบุญมา ถึงแก่พิราไลยแล้ว
ตั้งเจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ เมืองแก้ว ครั้งใด ก็ตั้งเป็นพระยาทุกๆ ครั้ง ครั้งนี้จะทรงพระมหากรุณาตั้งเจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์
ราชบุตร เมืองแก้ว  ขึ้นเป็นเจ้าทั้ง ๓ เมือง  ให้สมควรที่ได้ยกขึ้นเป็นเมืองประเทศราชอันใหญ่ แต่เจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์
ราชบุตร เมืองแก้ว เมืองขึ้นนั้น ให้คงเป็นพระยาอยู่ตามเดิม พระบรมวงศานุวงศ์แลท่านอัครมหาเสนาธิบดี
ก็เห็นชอบด้วยดังกระแสพระราชดำริทุกประการ "
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 มี.ค. 11, 18:42

เมื่อมีประกาศพระบรมราชโองการยกเชื้อวงศ์เจ้าเมืองเชียงใหม่  ลำปาง  ลำพูน และน่าน เป็นเจ้า  ดังที่คุณ art47 ได้กรุณาหยิบยกประกาศพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๔ มาให้อ่านกันแล้วนั้น  นับแต่นั้นมาลำดับยศผู้ครองเมืองประเทศราชในหัวเมืองล้านนาซึ่งเดิมมีเพียง พระเจ้าประเทศราช  และพระยาประเทศราช  ก็เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ชั้น คือ พระเจ้าประเทศราช  เจ้าประเทศราช  และพระยาประเทศราช

พระเจ้าประเทศราชนั้นเดิมทรงแต่งตั้งจากพระยาประเทศราชที่มีอาวุโสสูงสุดใน ๕ หัวเมือง มีนามตามลำดับดังนี้
๑) พระบรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์อินทรสุรศักดิ์  สมญามหาขัตติยราชชาติราไชยสวรรย์ เจ้าขัณฑสีมา พระนครเชียงใหม่ราชธานี  (พ.ศ. ๒๓๔๕ – ๒๓๕๖)
๒) พระเจ้านครลำปางดวงทิพ  (พ.ศ. ๒๓๖๖ – ๒๓๖๘)
๓) พระเจ้านครลำพูนบุญมา  (พ.ศ. ๒๓๖๙ – ๒๓๗๐)
๔) พระเจ้ามโหตรประเทศ  ราชาธิบดินทร  นพีสินทรมหานคราธิษฐาน  ภูบาลบพิตร์  สถิตในอุดมชิยางคราชวงษ์  พระเจ้านครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๙๖ – ๒๓๙๗)
๕) พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์  ดำรงนพิสีนคร  สุนทรทศลักษณเกษตร  วรฤทธิเดชศรีโยนางคดไนยราชวงษาธิบดี  เจ้านครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๔๐๔ – ๒๙  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๔๑๓)
๖) พระเจ้าอินทวิชยานนท์พหลเทพภักดี  ศรีโยนางคราชวงศาธิตัย  มโหตรพิสัยธุระสิทธิธาดา  ประเทศ
ราชานุภาวบริหาร  ภูบาลบพิตรสถิตชิยางคราชวงศ์  พระเจ้านครเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๔๒๖ – ๒๓  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๔๐)
๗) พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช  กุลเชษฐมหันต์  ไชยนันทบุระมหา  ราชวงษาธิบดี  สุจริตจารีราชานุภาว
รักษ์  วิบุลยศักดิกิตติไพศาล  ภูบาลบพิตร์  สถิต ณ นันทราชวงษ์  พระเจ้านครเมืองน่าน (๑๘  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๔๖ – ๕  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๖๑)

เจ้าเมืองแพร่นั้นคงมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาประเทศราชมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ จึงได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์จากพระยาพิริยเทพวงศ์ เป็น เจ้าพิริยเทพวงศ์  แต่การสถาปนาเจ้าพิริยเทพวงศ์คราวนั้นเป็นการสถาปนาเฉพาะตัวเจ้าเมืองแพร่  ไม่รวมไปถึงเชื้อวงศ์อื่นๆ ในสกุลวงศ์เมืองแพร่  ซึ่งการสถาปนายศครั้งนี้ต่างไปจากการสถาปนาเชื้อวงศ์อีก ๔ หัวเมืองโดยสิ้นเชิง  นอกจากนั้นตำแหน่งยศสำหรับเชื้อวงศ์เมืองแพร่เมื่อเทียบกับเจ้านายอีก ๔ หัวเมืองที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในระดับชั้นเดียวกัน  วง์เมืองแพร่ก็มีตำแหน่งยศตำกว่า ๑ ขั้นเสมอ  เช่น ตำแหน่งเมืองนครเยงใหม่เป็นเจ้าราชบุตร  ตพแหน่งเมืองแพร่ก็เป็นได้เพียงพระยาราชบุตร  หรือตำแหน่งเมืองลไปงเป็นพระยาไชยสงคราม  ตำแหน่งเมืองแพร่ก็เป็นได้เพียง พระไชยสงคราม  เป็นต้น  การที่มีตำแหน่งยศต่ำกว่าอีก ๔ หัวเมืองนั้นอาจจะเป็นชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง