เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 20232 เอานาคมาฝาก๑ตัว
ATE
อสุรผัด
*
ตอบ: 6



 เมื่อ 20 มี.ค. 10, 01:29

 อายจังพอดีค้นหนังสือที่บ้านเลยเจอรูป ที่อ.สุดสาคร เขียนให้ตอนเรียนกับท่านเก็บไว้เปนที่รฤกก็เลยเอามาฝากว่า การเขียนของ อ.สุดสาคร นั้นการเขียนมีที่มาอย่างไรไม่ว่าการออกเขี้ยวของนาคมีการออกเขี้ยวอย่างไร ลายกนกที่แบ่งได้อย่างเปนสัดส่วน ก็เอามาให้ชมกันเเก้เบื่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 มี.ค. 10, 01:53

ขอบคุณมากครับ  ผมจะได้เห็นกระบวนลายของครู... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 มี.ค. 10, 08:12

ขอบคุณครับที่นำงานของอ.สุดสาครมาลงให้ดูครับ เห็นภาพแล้ว  ทำให้นึกถึงคำที่ท่านเคยบอกว่ากินงานศิลปะแล้วคายออกมางานศิลปะคือเรียนรู้รสนิยมรูปแบบของงานศิลปะเข้าใจศึกษาแล้วคายออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะของตนเอง  ดูงานแล้วมีอิทธิพลผสมระหว่างงานหัวนาคมหาพิชัยราชกับนาคสำฤทธิ์พุทธบาทสระบุรีดีครับ  อ้อนำช้างมาฝากอีก   ๑  ตัวครับพอดีมีคนไปโพส๖์ไว้ครับ


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 มี.ค. 10, 08:36

รู้จักกับประวัติอาจารย์สุดสาครหน่อยแล้วกันครับพอดีมีคนไปโพสไว้เหมือนกันครับ




"ARS LONGA VITA BREVIS"

"ชีวิตสั้น...ศิลปะยืนยาว" คือคำแปลของวลีข้างบน ขอหยิบยืมมาจากประโยคทองของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี

เพราะจะว่าไปแล้วชายผู้นี้ "สุดสาคร ชายเสม" สร้างงานศิลปะเพื่อให้เป็น "มรดกยืนยาว" ของลูกหลานไทยในอนาคต

ชื่อของสุดสาคร คุ้นเคยกันในแวดวง "ช่าง" โดยเฉพาะช่างในงานศิลปกรรมไทย

ผล งานของอาจารย์สุดสาครเรียงรายไล่ลำดับก่อนหลังแทบไม่ถูก เพราะมากมายก่ายกองเหลือเกิน นับนิ้วดูเฉพาะผลงานชิ้นใหญ่ๆ รู้จักกันอย่างดี อาทิ งานปั้นพระรูปรัชกาลที่ 5 ของโรงพยาบาลเลิดสิน, ผู้จัดสร้างฉากและอุปกรณ์ ช้างเอราวัณสามเศียร เครื่องสูง และโรงพิธี ในการแสดงเฉลิมพระเกียรติ ศึกพรหมาศ ซึ่งเป็นพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่อยากรักษาโขนไว้เป็นมรดกประจำชาติให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น ศึกษา

ยัง มีผลงานประติมากรรมอีกมากมาย รวมทั้งการสร้างเครื่องละครหลวงที่ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีไทย หัวโขนต่างๆ และงานจิตรกรรมที่วัดจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

"สุด สาคร ชายเสม" เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิด บ้านอยู่ย่านเขตติดต่อบางซ่อน ซึ่งแต่เดิมเป็นบ้านสวนริมคลอง สงบ ร่มรื่น ปัจจุบันคลองตื้นเขินแทบไม่มีแล้ว แถมยังมีสิ่งปลูกสร้างให้รกตาใกล้ๆ บ้าน

เป็น ลูกคนสุดท้องจากจำนวน 4 คน ของ ส.อ.ขจร ชายเสม ทหารคนสนิทของหลวงเสนาณรงค์ แต่ลาออกจากราชการทหารมาทำงานช่างที่บริษัทคริสเตียนนี ส่วนแม่-บุญเยี่ยม ชายเสม เป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว

เด็กชายสุดสาครเกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2499 ปัจจุบันอายุ 52 ปี ชั้นมัธยมเรียนที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา แต่ก่อนเป็นสำนักดาบชื่อดังอยู่ตีนสะพานสูง บางซื่อ เดี๋ยวนี้เป็นค่ายมวยไปแล้ว

อาจารย์สุดสาครเป็นคนพูดน้อย หนักไปทางปฏิบัติ มีโลกส่วนตัวตามธรรมดาของศิลปิน ชอบอยู่กับบ้านทำงานเงียบๆ ประเภทปิดทองหลังพระ

บังเอิญว่าทำงานมาถึงวันนี้ ทองด้านหลังของพระกำลังล้นมาด้านหน้า บางส่วนเสี้ยวของชีวิตจึงน่าสนใจอย่างยิ่ง

อย่างไร? จากเด็กไม่เกเรและเรียนไม่เก่ง- -

"หักเหชีวิตมาเป็น "ช่าง" เพชรน้ำงาม-งานศิลปกรรมไทยในปัจจุบัน"

เรียนจบช่างจากไหน?

ผม เข้าเรียนโรงเรียนเพาะช่าง ประโยควิชาชีพ (ปวช.) เมื่อ พ.ศ.2516 จบ ปวช. 3 ปีตรงกับ พ.ศ.2519 จากนั้นไปต่อ ปวส. 2 ปี แต่ผมเรียน 3 ปีถึงจบ เพราะเพื่อนที่กรมศิลปากรชวนไปทำงานบูรณะปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ สมัยหัวหน้าสัญชัย หมายมั่น ซึ่งตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว ไปทำที่บุรีรัมย์อยู่ 4 ปี เป็นช่างศิลป์เขียนแบบให้เขา แต่ไม่ได้อยู่ต่อเนื่องนะ ไปๆ กลับๆ ตามปีงบประมาณ ปีไหนเงินงบประมาณตกมาถึงก็ไปกัน เรียกว่าไปหาความรู้หาประสบการณ์และได้ตังค์ด้วย

ไปอยู่พนมรุ้งปี 2521-2524 อายุราว 20-21 ปีได้ สมัยนั้นเขมรแดงกำลังสู้กับนายพลลอนนอล แล้วพวกเขมรแดงถูกกวาดล้างหนีออกมาอยู่แถวอำเภอกาบเชิง ตาพระยา บ้านกรวด ประโคนชัย เขตแดนติดกับพนมรุ้ง กลางวันเราก็ทำงาน พอกลางคืนยิงกันดังสนั่น เราก็หนีกันหัวซุกหัวซุนลงมา บางทีไปเจอศพของพวกเขมรแดงนอนตายอยู่ในป่า ตอนนั้นถือว่ารุนแรงนะ เข้าไปถึงตลาดนางรอง แต่ถือว่าได้ความรู้เยอะจากพวกกรมศิลปากร เรื่องวิธีทำแบบ วิธีส่องกล้อง

เพาะช่างสมัยนั้นสอบเข้ายากมาก แล้วคนเขาชอบเรียนกัน สมัยนั้นคนมาสอบเยอะแต่รับนิดเดียว ผมโชคดีสอบปีแรกก็ได้เลย




เรียนที่เพาะช่างอยู่คณะ?

เรียก ว่าคณะศิลปะประจำชาติ มีอาจารย์จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ เป็นหัวหน้าคณะ ที่จริงผมตามไปเรียนกับท่าน เพราะเป็นอาจารย์ที่ผมรักมาก ผมเลยตามไปเรียนศิลปไทย เลือกเรียนจิตรกรรมตามอาจารย์ ทั้งที่อาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู บอกว่า ผมทำประติมากรรมได้ดีมาก น่าจะเรียนทางนั้น

แล้วผม มาได้ความรู้ทางด้านโบราณคดีจากอาจารย์สมิทธิ ศิริพัฒน์ ที่เสียชีวิตไปแล้ว อาจารย์สมิทธิมาจุดไฟเรื่องโบราณคดีให้พวกเรา เดิมทีเพาะช่าง อาจารย์จุลทรรศน์ก็พาออกนอกสถานที่ไปดูโบราณสถานอยู่แล้ว เลยสนุกกันใหญ่

รู้ไหม- -ผมเข้าเรียนปี 1 ตรงกับ พ.ศ.2516 พอดี ก็ไปเจอเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ไปร่วมเดินขบวนกับเขา ไปกินนอนอยู่ในธรรมศาสตร์ เด็กเพาะช่างตอนนั้นมีบทบาทในการทำพวกโปสเตอร์ คัตเอ๊าต์ เขียนตัวหนังสือ แล้วแสดงละครใบ้อะไรพวกนี้ ผมไม่ได้ขึ้นเวทีเล่นละครหรอกนะ แต่ตอนที่เดินขบวนไปหน้าวังสวนจิตรลดา ผมนำหน้าเลย ความคิดตอนนั้นมันสนุกดี เสร็จแล้วตำรวจยิงแก๊สน้ำตา พวกเราก็กระโดดข้ามคูน้ำข้างวังสวนจิตรฯ โอ้ย..จะตายเอา วิ่งหนีกลับไปที่ธรรมศาสตร์ อีกฝ่ายเอาเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์ ผมหนีเข้าไปในวัดมหาธาตุฯ พอดีมีพรรคพวกเขาช่วยไว้ หลังจากคืนนั้นผมไปนอนที่วัดมหรรณพาราม เขาฆ่ากันมหาศาล ...ผมก็กลัวนะ แม่นี่ร้องไห้เลย- -ให้ลูกน้าชายไปตามเพราะผมไม่บอกให้แม่รู้ ผมว่านักศึกษาสมัยโน้นเขามีความรับผิดชอบมาก

อย่างอาจารย์นี่เรียกว่าเรียนจบอะไร?

ปริญญา ตรีด้านศึกษาศาสตร์ เรียนครู เพราะไม่มีปริญญาตรง เอกวิจิตรศิลป์ ใช้ว่า ศบ.(ศิลปกรรม) ต้องถือว่านี่เป็นอานิสงส์จาก 14 ตุลาฯ ที่ทำให้โรงเรียนอาชีวะมีระดับปริญญาตรี

จบแล้วก็เป็นครูที่เพาะช่าง นั่นแหละ บรรจุเมื่อปี 2527 ก่อนหน้าจะบรรจุไปเป็นทหารเกณฑ์อยู่ 6 เดือน เป็นครูสอนจิตรกรรมไทยอยู่ 11 ปี พอปี 2538 ก็ลาออก

ทะเลาะขัดแย้ง?

ไม่ ได้มีเรื่องทะเลาะ หรือน้อยใจใคร แต่มันมีความรู้สึกว่า...ความรู้เรายังไม่พอที่จะสอนเด็ก ผมว่าผมเป็นครูไม่ได้ ทดลองมา 11 ปีแล้วรู้สึกว่าเป็นครูไม่ได้ เพราะเป็นครูมันต้องอดทน แต่ผมเป็นคนวูบๆ วาบๆ เกรงว่ามันจะไม่เข้าท่า ก็เลยออก แต่ตลอดเวลาที่สอนก็ทุ่มเทนะ

ออกมาทำอะไร?

ก็เคว้ง คว้างนะสิ เป็นครู 11 ปี ไม่ได้ทำงานอะไรที่เกี่ยวกับปั้นหรือวาดเขียนเลย เคว้งคว้างไปเรื่อย จนกระทั่งอาจารย์สมิทธิได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ ให้ทำโครงการต่างๆ จัดการแสดงรับแขกบ้านแขกเมือง อาจารย์ก็ให้ไปช่วย ที่ทำเยอะมากเป็นตอนทำที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เฝ้าฯรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชอาณาจักร

ตอนนั้นสร้างสิ่ง ของประกอบการแสดง ใหญ่ๆ ทั้งนั้น เรือสุพรรณหงส์ อย่างนี้ แล้วยังทำพญานาคไปแข่งกับมังกรที่เมืองจีน สมเด็จฯท่านโปรด เพราะของไทยเรานิ่มๆ สง่างาม ไม่โฉ่งฉ่างเหมือนของจีน พญานาคตอนนี้ก็ยังอยู่ที่กองศิลปกรรม ท้ายวัง

อาจารย์สมิทธิให้ช่วย งานที่รับพระราชเสาวนีย์มา ผมก็รับใช้มาตลอด ผลที่สุดเข้าไปเป็นครูสอนในศูนย์ศิลปาชีพ วังสวนจิตรลดา สอนจิตรกรรมต้นแบบผ้าปัก ออกแบบภาพ แล้วเวลาสมเด็จฯท่านเสด็จฯทางใต้ก็เอาแบบไปพระราชทานแก่สมาชิกปักผ้า ให้เขาปักตามลายนั้น เสร็จแล้วส่งกลับมาท่านก็พระราชทานสตังค์ให้ นอกจากนี้ เป็นครูสอนพิเศษตามสถาบันต่างๆ แต่ไม่ได้สอนตลอด สอนเป็นคอร์สๆ ไป จนตอนนี้อายุ 52 แล้ว

ได้รับอิทธิพลเรื่องช่างจากใคร?

ผม เป็นคนชอบศิลปะมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพ่อผมเป็นช่าง พ่อผมเป็นคนที่สร้างสะพานนวลฉวีไง สะพานนนทบุรีน่ะ ตอนนั้นพ่อเป็นโฟร์แมนอยู่บริษัทคริสเตียนนี ก็เลยมีพื้นมีสายเลือดมา ผมรักศิลปะไทยๆ และชอบลายกระหนก เขียนมาตั้งแต่เด็กๆ ครูบาอาจารย์เขาบอกว่า...คนที่ชอบพวกนี้ มักจะมีภูมิหลังเกี่ยวข้องกันมา คงเคยทำมา

แล้วทำไมต้องเป็นลายกระหนก

ไม่รู้-รู้แต่ว่าชอบมาก มันเริ่มมาจากตอนเด็กๆ...คือผมมีพี่น้อง 4 คน แล้วพี่ชายผมเขาชอบเขียนรูปลายไทยเขามีเพื่อนที่ชอบเหมือนกัน พวกนี้มาจุดไฟให้กับผม เขาวาดรูปพญานาคที่เป็นตราไม้ขีดไฟน่ะ เคยเห็นไหม? นั่นแหละ วาดเสร็จแล้วเอามาอวดให้ผมดู ก็ เอ..เราก็วาดได้นี่หว่า เลยเอาบ้าง วาดเยอะแยะ กระทั่งจะวาดรูปพระบรมรูปทรงม้า- -วาดไม่ได้ ไม่รู้จะเริ่มยังไง ก็ไปถามพี่ชายให้เขาวาดให้ดู เขาบอกว่าวาดเองสิ ไม่ยอมสอน- -เราก็ เออ..วาดเองก็ได้วะ ก็วาดจนกระทั่งวาดได้ เพราะสมัยนั้นไม่มีครูสอน

ตอนอยู่ประถม 7 พ่อเคยพาไปฝากเพื่อน ผมเรียกว่า "ลุงสู่สยาม" มีพ่อเป็นพระยา ชื่อพระยากำแพงรามภักดี เป็นนักปฏิวัติสมัยรัชกาลที่ 6 ลุงสู่สยามเป็นลูกศิษย์ของ เหม เวชกร พ่อผมจะให้เขาสอนให้แต่ลุงบอกว่า "ให้มันเรียนมันค้นคว้าของมันไป" เพราะเขารู้ว่าเด็กจะสำเร็จหรือไม่มันอยู่ที่การมีระเบียบวินัยในชีวิต ไม่ใช่เรื่องของทฤษฎี เขาจึงสอนเรื่องวินัยมากกว่า นี่แหละที่ทำให้ผมได้พื้นฐานนี้มา

เรื่องการปั้นมีพื้นฐานมาจากไหน?

อัน นี้ต้องยกความดีให้แม่ ตอนเด็กๆ ผมติดแม่มาก จะอยู่กับแม่ตลอด ไม่ห่าง แล้วตอนเด็กๆ ไม่ทำอะไรหรอก เวลาฝนตกเมื่อก่อนเป็นสวนฝรั่ง พ่อเขาขุดดินขึ้นมาพอดินแห้งแล้วโดนฝน มันนุ่มมาก ไปจับมันนุ่มๆ ก็ปั้นสิ ปั้นเป็นตัวนั้นตัวนี้ แม่สอนด้วย ให้ปั้นลูกล้อรถที่ลากเล่นน่ะ (หัวเราะ)

คือ ตอนแรกแม่จะปั้นให้เล่นก่อน พอเล่นเสร็จลูกล้อมันพัง ไปบอกแม่ให้ปั้นให้ใหม่ แม่บอกว่าแหม..ปั้นให้ครั้งเดียวพอแล้วลูก ไปปั้นเองแล้วกัน

เราก็เลยปั้นเอง จากล้อรถพัฒนาขึ้น เห็นอะไรก็ปั้น เห็นพระพุทธรูปก็มาปั้น อูย..เป็นองค์ใหญ่...สนุก สนุกมาก

งานที่ทำอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้าง?

หัว โขนก็ศึกษาอยู่ งานปั้นทำเยอะนะเรื่องประติมากรรมไทย ซึ่งอันนี้ทำเองไม่ได้ เพราะมันมีจารีตแบบแผนของมันอยู่ อย่างสัตว์หิมพานต์ ยักษ์หรืออะไรก็แล้วแต่ มันมีจารีตที่เราต้องศึกษา เพื่อที่จะรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าเราทำเกินจากนี้ไปด้วยอารมณ์ดิบๆ ของเรา มันจะเป็นไพร่ทันที เป็นรูปแบบที่ไพร่เลย ไม่ได้อารมณ์ เพราะฉะนั้นต้องศึกษามาก ที่ไหนมีก็ต้องตามไปดู เป็นอย่างที่เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ท่านว่า "งานเป็นครูของช่าง โรคเป็นครูของหมอ"

อย่าง เคยไปดูที่พระนครหลวง กัมพูชา โอ้โฮ..เจิดจรัสจริงๆ ศิลปะเขมร อย่าพูดเลย พูดแล้วมันยาว..คิดได้ไงคนเรา เขาทำเรื่องมวลเก่งมากๆ อย่างนี้ต้องศึกษา

ศิลปิน ไทยบางคนเดี๋ยวนี้ทำงานออกมาชุ่ยๆ แล้วใช้วิธีการโปรโมต แต่ดูงานแล้วไม่ได้เรื่อง คือคนสมัยนี้พอมีชื่อเสียงหน่อยก็เป็นน้ำชาล้นถ้วย ตัวไม่ศึกษาแล้วยังไปติคนอื่นเขา ศิลปินฝรั่งเขามีนะเรื่องแบบนี้เขาศึกษามาก ดังนั้น คนที่ทำงานจึงต้องใช้ข้อมูลเยอะมาก

มิน่าที่บ้านของเต็มไปหมด

อื้อ..ตอนนี้บ้านไม่พออยู่แล้ว ทั้งของเก่า ตู้ เตียง หนังสือเต็มไปหมด กำลังคิดจะขยับขยายไปเมืองกาญจน์ กำลังไปหาดูที่ทาง

 


ถามเรื่องความรัก?

ผม ยังไม่แต่งงาน อยู่คนเดียวโดดเดี่ยว (เงียบ..).. คือมันไม่มีประโยชน์ มันไม่มีเวลาให้กับคนที่เรารักหรอก (เงียบอีกพัก)... ความรักน่ะมันก็มี้...ไม่ใช่ไม่มี...ก็เฉยๆ...อย่าไปพูดถึงมันเลย

แสดงว่าอกหัก?

ไม่ หักไม่แห็กอะไรหรอก เรื่องประโลมโลก (เงียบไปพักใหญ่)... อยู่คนเดียว..เรื่องมันยาวอย่าเล่าเลย อย่าพูดถึงมันเลย...ไม่เห็นชีวิตคู่มีความสุข ไม่มีประโยชน์ เอาเวลาไปนั่งทำงานดีกว่า จริงๆ แล้วสังคมของช่าง ถ้าไปสัมผัสจริงๆ บางคนแต่งงานแล้วไม่มีลูก แล้วบรรดาคนที่มานั่งทำงานในวงการ ไม่มีลูกไม่มีเมียกัน เราก็มีความรู้สึกเหมือนเกาะกลุ่มกัน ไม่มีใครมีภาระ มันมีเพื่อน มันสนุก มีความรักแล้วมันวุ่นวาย



บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 มี.ค. 10, 08:36

แล้วความสุขของอาจารย์คืออะไร?

ก็ นี่ไง...ลายกระหนก เวลาเซ็งๆ ก็อ่านหนังสือ มีเป็นตั้งๆ ในตู้ ยังบอกลูกศิษย์เลยว่าเสร็จงานนี้แล้วไปค้นเรื่องพญานาคกันดีกว่า พวกลายปูนปั้นตามวัดตามวา ไปดูแล้วถ่ายๆๆ เก็บไว้แล้วมาทำเป็นหนังสือกันดีกว่า เพราะอีกหน่อยมันจะไม่มีแล้ว อย่างนี้สนุกดี

ตอนแก่ๆ จะอยู่ยังไง?

ก็เป็นธรรมดา อะไรมันจะเกิดก็เกิด ไม่ต้องห่วง ปลงแล้ว ไม่ปลงจะได้กลุ้มใจตาย...

อาจารย์ชอบศิลปินคนไหนพิเศษ?

เอ็ก ซเพรสชั่นนิสม์ ผมชอบท่านอังคาร เก่งมาก เป็นคอนเทมโพรารี่ด้วย ท่านอังคารลึกซึ้ง กวีก็เอาเรื่อง เขียนร้อยแก้วก็ดีมากอย่างเรื่องย่า หรือเรื่องสุนัขเน่าน่ะ ดีนะ ไปหาอ่านซะ อ่านแล้วประทับใจมาก นอกจากนี้มีอาจารย์ช่วง มูลพินิจ, อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี, แล้วก็อาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ อาจารย์ของผม ที่อยู่ในดวงใจเป็นผู้ดีสุดสุดก็เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สุดยอดที่สุดแล้ว

ชื่อสุดสาครมาจากเรื่องพระอภัยมณี?

ไม่ช่าย ..ไม่เกี่ยวเลย มาจากตอนที่พ่อเขาดำน้ำลงไปตรวจดูตอม่อสร้างสะพานนวลฉวี พอดำลงไปถึงก้นแม่น้ำ ข้างบนเขาก็โทรศัพท์ลงไปบอกว่า ลูกคลอดแล้วเป็นผู้ชาย พ่อเขาเลยตั้งชื่อว่า "สุดสาคร" คือลงไปสุดแม่น้ำถึงดินดาน มันมีที่มา ไม่เกี่ยวกับสุดสาครในเรื่องพระอภัยมณี

เวลาพักผ่อน

เดี๋ยวนี้นอนน้อย อายุมากแล้ว บางทีนอนไปสักพักสะดุ้งตื่นมาตีสามก็ไม่หลับแล้ว มานั่งอ่านหนังสือ เขียนบันทึก

ใน ชีวิตผมเชื่ออยู่อย่างว่าถ้าคนเราไม่มีสติ ไม่มีการกำหนดจิตตัวเองตลอดเวลาโดยความรู้ทางด้านธรรมะ การเดินไปข้างหน้าเราจะพลาดได้ง่ายมาก คนเรามันไม่เสมอไปหรอก มันมีขึ้นมีลง

"แต่ถ้าเรามีสติที่ดีเยี่ยมคอยกำกับจะช่วยรักษาเราไม่ให้ประมาท ให้เราเดินไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี"
"ARS LONGA VITA BREVIS"

"ชีวิตสั้น...ศิลปะยืนยาว" คือคำแปลของวลีข้างบน ขอหยิบยืมมาจากประโยคทองของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี

เพราะจะว่าไปแล้วชายผู้นี้ "สุดสาคร ชายเสม" สร้างงานศิลปะเพื่อให้เป็น "มรดกยืนยาว" ของลูกหลานไทยในอนาคต

ชื่อของสุดสาคร คุ้นเคยกันในแวดวง "ช่าง" โดยเฉพาะช่างในงานศิลปกรรมไทย

ผล งานของอาจารย์สุดสาครเรียงรายไล่ลำดับก่อนหลังแทบไม่ถูก เพราะมากมายก่ายกองเหลือเกิน นับนิ้วดูเฉพาะผลงานชิ้นใหญ่ๆ รู้จักกันอย่างดี อาทิ งานปั้นพระรูปรัชกาลที่ 5 ของโรงพยาบาลเลิดสิน, ผู้จัดสร้างฉากและอุปกรณ์ ช้างเอราวัณสามเศียร เครื่องสูง และโรงพิธี ในการแสดงเฉลิมพระเกียรติ ศึกพรหมาศ ซึ่งเป็นพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่อยากรักษาโขนไว้เป็นมรดกประจำชาติให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น ศึกษา

ยัง มีผลงานประติมากรรมอีกมากมาย รวมทั้งการสร้างเครื่องละครหลวงที่ถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีไทย หัวโขนต่างๆ และงานจิตรกรรมที่วัดจันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์

"สุด สาคร ชายเสม" เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิด บ้านอยู่ย่านเขตติดต่อบางซ่อน ซึ่งแต่เดิมเป็นบ้านสวนริมคลอง สงบ ร่มรื่น ปัจจุบันคลองตื้นเขินแทบไม่มีแล้ว แถมยังมีสิ่งปลูกสร้างให้รกตาใกล้ๆ บ้าน

เป็น ลูกคนสุดท้องจากจำนวน 4 คน ของ ส.อ.ขจร ชายเสม ทหารคนสนิทของหลวงเสนาณรงค์ แต่ลาออกจากราชการทหารมาทำงานช่างที่บริษัทคริสเตียนนี ส่วนแม่-บุญเยี่ยม ชายเสม เป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว

เด็กชายสุดสาครเกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2499 ปัจจุบันอายุ 52 ปี ชั้นมัธยมเรียนที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา แต่ก่อนเป็นสำนักดาบชื่อดังอยู่ตีนสะพานสูง บางซื่อ เดี๋ยวนี้เป็นค่ายมวยไปแล้ว

อาจารย์สุดสาครเป็นคนพูดน้อย หนักไปทางปฏิบัติ มีโลกส่วนตัวตามธรรมดาของศิลปิน ชอบอยู่กับบ้านทำงานเงียบๆ ประเภทปิดทองหลังพระ

บังเอิญว่าทำงานมาถึงวันนี้ ทองด้านหลังของพระกำลังล้นมาด้านหน้า บางส่วนเสี้ยวของชีวิตจึงน่าสนใจอย่างยิ่ง

อย่างไร? จากเด็กไม่เกเรและเรียนไม่เก่ง- -

"หักเหชีวิตมาเป็น "ช่าง" เพชรน้ำงาม-งานศิลปกรรมไทยในปัจจุบัน"

เรียนจบช่างจากไหน?

ผม เข้าเรียนโรงเรียนเพาะช่าง ประโยควิชาชีพ (ปวช.) เมื่อ พ.ศ.2516 จบ ปวช. 3 ปีตรงกับ พ.ศ.2519 จากนั้นไปต่อ ปวส. 2 ปี แต่ผมเรียน 3 ปีถึงจบ เพราะเพื่อนที่กรมศิลปากรชวนไปทำงานบูรณะปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ สมัยหัวหน้าสัญชัย หมายมั่น ซึ่งตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว ไปทำที่บุรีรัมย์อยู่ 4 ปี เป็นช่างศิลป์เขียนแบบให้เขา แต่ไม่ได้อยู่ต่อเนื่องนะ ไปๆ กลับๆ ตามปีงบประมาณ ปีไหนเงินงบประมาณตกมาถึงก็ไปกัน เรียกว่าไปหาความรู้หาประสบการณ์และได้ตังค์ด้วย

ไปอยู่พนมรุ้งปี 2521-2524 อายุราว 20-21 ปีได้ สมัยนั้นเขมรแดงกำลังสู้กับนายพลลอนนอล แล้วพวกเขมรแดงถูกกวาดล้างหนีออกมาอยู่แถวอำเภอกาบเชิง ตาพระยา บ้านกรวด ประโคนชัย เขตแดนติดกับพนมรุ้ง กลางวันเราก็ทำงาน พอกลางคืนยิงกันดังสนั่น เราก็หนีกันหัวซุกหัวซุนลงมา บางทีไปเจอศพของพวกเขมรแดงนอนตายอยู่ในป่า ตอนนั้นถือว่ารุนแรงนะ เข้าไปถึงตลาดนางรอง แต่ถือว่าได้ความรู้เยอะจากพวกกรมศิลปากร เรื่องวิธีทำแบบ วิธีส่องกล้อง

เพาะช่างสมัยนั้นสอบเข้ายากมาก แล้วคนเขาชอบเรียนกัน สมัยนั้นคนมาสอบเยอะแต่รับนิดเดียว ผมโชคดีสอบปีแรกก็ได้เลย




เรียนที่เพาะช่างอยู่คณะ?

เรียก ว่าคณะศิลปะประจำชาติ มีอาจารย์จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ เป็นหัวหน้าคณะ ที่จริงผมตามไปเรียนกับท่าน เพราะเป็นอาจารย์ที่ผมรักมาก ผมเลยตามไปเรียนศิลปไทย เลือกเรียนจิตรกรรมตามอาจารย์ ทั้งที่อาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู บอกว่า ผมทำประติมากรรมได้ดีมาก น่าจะเรียนทางนั้น

แล้วผม มาได้ความรู้ทางด้านโบราณคดีจากอาจารย์สมิทธิ ศิริพัฒน์ ที่เสียชีวิตไปแล้ว อาจารย์สมิทธิมาจุดไฟเรื่องโบราณคดีให้พวกเรา เดิมทีเพาะช่าง อาจารย์จุลทรรศน์ก็พาออกนอกสถานที่ไปดูโบราณสถานอยู่แล้ว เลยสนุกกันใหญ่

รู้ไหม- -ผมเข้าเรียนปี 1 ตรงกับ พ.ศ.2516 พอดี ก็ไปเจอเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ไปร่วมเดินขบวนกับเขา ไปกินนอนอยู่ในธรรมศาสตร์ เด็กเพาะช่างตอนนั้นมีบทบาทในการทำพวกโปสเตอร์ คัตเอ๊าต์ เขียนตัวหนังสือ แล้วแสดงละครใบ้อะไรพวกนี้ ผมไม่ได้ขึ้นเวทีเล่นละครหรอกนะ แต่ตอนที่เดินขบวนไปหน้าวังสวนจิตรลดา ผมนำหน้าเลย ความคิดตอนนั้นมันสนุกดี เสร็จแล้วตำรวจยิงแก๊สน้ำตา พวกเราก็กระโดดข้ามคูน้ำข้างวังสวนจิตรฯ โอ้ย..จะตายเอา วิ่งหนีกลับไปที่ธรรมศาสตร์ อีกฝ่ายเอาเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์ ผมหนีเข้าไปในวัดมหาธาตุฯ พอดีมีพรรคพวกเขาช่วยไว้ หลังจากคืนนั้นผมไปนอนที่วัดมหรรณพาราม เขาฆ่ากันมหาศาล ...ผมก็กลัวนะ แม่นี่ร้องไห้เลย- -ให้ลูกน้าชายไปตามเพราะผมไม่บอกให้แม่รู้ ผมว่านักศึกษาสมัยโน้นเขามีความรับผิดชอบมาก

อย่างอาจารย์นี่เรียกว่าเรียนจบอะไร?

ปริญญา ตรีด้านศึกษาศาสตร์ เรียนครู เพราะไม่มีปริญญาตรง เอกวิจิตรศิลป์ ใช้ว่า ศบ.(ศิลปกรรม) ต้องถือว่านี่เป็นอานิสงส์จาก 14 ตุลาฯ ที่ทำให้โรงเรียนอาชีวะมีระดับปริญญาตรี

จบแล้วก็เป็นครูที่เพาะช่าง นั่นแหละ บรรจุเมื่อปี 2527 ก่อนหน้าจะบรรจุไปเป็นทหารเกณฑ์อยู่ 6 เดือน เป็นครูสอนจิตรกรรมไทยอยู่ 11 ปี พอปี 2538 ก็ลาออก

ทะเลาะขัดแย้ง?

ไม่ ได้มีเรื่องทะเลาะ หรือน้อยใจใคร แต่มันมีความรู้สึกว่า...ความรู้เรายังไม่พอที่จะสอนเด็ก ผมว่าผมเป็นครูไม่ได้ ทดลองมา 11 ปีแล้วรู้สึกว่าเป็นครูไม่ได้ เพราะเป็นครูมันต้องอดทน แต่ผมเป็นคนวูบๆ วาบๆ เกรงว่ามันจะไม่เข้าท่า ก็เลยออก แต่ตลอดเวลาที่สอนก็ทุ่มเทนะ

ออกมาทำอะไร?

ก็เคว้ง คว้างนะสิ เป็นครู 11 ปี ไม่ได้ทำงานอะไรที่เกี่ยวกับปั้นหรือวาดเขียนเลย เคว้งคว้างไปเรื่อย จนกระทั่งอาจารย์สมิทธิได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ ให้ทำโครงการต่างๆ จัดการแสดงรับแขกบ้านแขกเมือง อาจารย์ก็ให้ไปช่วย ที่ทำเยอะมากเป็นตอนทำที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เฝ้าฯรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชอาณาจักร

ตอนนั้นสร้างสิ่ง ของประกอบการแสดง ใหญ่ๆ ทั้งนั้น เรือสุพรรณหงส์ อย่างนี้ แล้วยังทำพญานาคไปแข่งกับมังกรที่เมืองจีน สมเด็จฯท่านโปรด เพราะของไทยเรานิ่มๆ สง่างาม ไม่โฉ่งฉ่างเหมือนของจีน พญานาคตอนนี้ก็ยังอยู่ที่กองศิลปกรรม ท้ายวัง

อาจารย์สมิทธิให้ช่วย งานที่รับพระราชเสาวนีย์มา ผมก็รับใช้มาตลอด ผลที่สุดเข้าไปเป็นครูสอนในศูนย์ศิลปาชีพ วังสวนจิตรลดา สอนจิตรกรรมต้นแบบผ้าปัก ออกแบบภาพ แล้วเวลาสมเด็จฯท่านเสด็จฯทางใต้ก็เอาแบบไปพระราชทานแก่สมาชิกปักผ้า ให้เขาปักตามลายนั้น เสร็จแล้วส่งกลับมาท่านก็พระราชทานสตังค์ให้ นอกจากนี้ เป็นครูสอนพิเศษตามสถาบันต่างๆ แต่ไม่ได้สอนตลอด สอนเป็นคอร์สๆ ไป จนตอนนี้อายุ 52 แล้ว

ได้รับอิทธิพลเรื่องช่างจากใคร?

ผม เป็นคนชอบศิลปะมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะพ่อผมเป็นช่าง พ่อผมเป็นคนที่สร้างสะพานนวลฉวีไง สะพานนนทบุรีน่ะ ตอนนั้นพ่อเป็นโฟร์แมนอยู่บริษัทคริสเตียนนี ก็เลยมีพื้นมีสายเลือดมา ผมรักศิลปะไทยๆ และชอบลายกระหนก เขียนมาตั้งแต่เด็กๆ ครูบาอาจารย์เขาบอกว่า...คนที่ชอบพวกนี้ มักจะมีภูมิหลังเกี่ยวข้องกันมา คงเคยทำมา

แล้วทำไมต้องเป็นลายกระหนก

ไม่รู้-รู้แต่ว่าชอบมาก มันเริ่มมาจากตอนเด็กๆ...คือผมมีพี่น้อง 4 คน แล้วพี่ชายผมเขาชอบเขียนรูปลายไทยเขามีเพื่อนที่ชอบเหมือนกัน พวกนี้มาจุดไฟให้กับผม เขาวาดรูปพญานาคที่เป็นตราไม้ขีดไฟน่ะ เคยเห็นไหม? นั่นแหละ วาดเสร็จแล้วเอามาอวดให้ผมดู ก็ เอ..เราก็วาดได้นี่หว่า เลยเอาบ้าง วาดเยอะแยะ กระทั่งจะวาดรูปพระบรมรูปทรงม้า- -วาดไม่ได้ ไม่รู้จะเริ่มยังไง ก็ไปถามพี่ชายให้เขาวาดให้ดู เขาบอกว่าวาดเองสิ ไม่ยอมสอน- -เราก็ เออ..วาดเองก็ได้วะ ก็วาดจนกระทั่งวาดได้ เพราะสมัยนั้นไม่มีครูสอน

ตอนอยู่ประถม 7 พ่อเคยพาไปฝากเพื่อน ผมเรียกว่า "ลุงสู่สยาม" มีพ่อเป็นพระยา ชื่อพระยากำแพงรามภักดี เป็นนักปฏิวัติสมัยรัชกาลที่ 6 ลุงสู่สยามเป็นลูกศิษย์ของ เหม เวชกร พ่อผมจะให้เขาสอนให้แต่ลุงบอกว่า "ให้มันเรียนมันค้นคว้าของมันไป" เพราะเขารู้ว่าเด็กจะสำเร็จหรือไม่มันอยู่ที่การมีระเบียบวินัยในชีวิต ไม่ใช่เรื่องของทฤษฎี เขาจึงสอนเรื่องวินัยมากกว่า นี่แหละที่ทำให้ผมได้พื้นฐานนี้มา

เรื่องการปั้นมีพื้นฐานมาจากไหน?

อัน นี้ต้องยกความดีให้แม่ ตอนเด็กๆ ผมติดแม่มาก จะอยู่กับแม่ตลอด ไม่ห่าง แล้วตอนเด็กๆ ไม่ทำอะไรหรอก เวลาฝนตกเมื่อก่อนเป็นสวนฝรั่ง พ่อเขาขุดดินขึ้นมาพอดินแห้งแล้วโดนฝน มันนุ่มมาก ไปจับมันนุ่มๆ ก็ปั้นสิ ปั้นเป็นตัวนั้นตัวนี้ แม่สอนด้วย ให้ปั้นลูกล้อรถที่ลากเล่นน่ะ (หัวเราะ)

คือ ตอนแรกแม่จะปั้นให้เล่นก่อน พอเล่นเสร็จลูกล้อมันพัง ไปบอกแม่ให้ปั้นให้ใหม่ แม่บอกว่าแหม..ปั้นให้ครั้งเดียวพอแล้วลูก ไปปั้นเองแล้วกัน

เราก็เลยปั้นเอง จากล้อรถพัฒนาขึ้น เห็นอะไรก็ปั้น เห็นพระพุทธรูปก็มาปั้น อูย..เป็นองค์ใหญ่...สนุก สนุกมาก

งานที่ทำอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้าง?

หัว โขนก็ศึกษาอยู่ งานปั้นทำเยอะนะเรื่องประติมากรรมไทย ซึ่งอันนี้ทำเองไม่ได้ เพราะมันมีจารีตแบบแผนของมันอยู่ อย่างสัตว์หิมพานต์ ยักษ์หรืออะไรก็แล้วแต่ มันมีจารีตที่เราต้องศึกษา เพื่อที่จะรู้ว่ามันมาอย่างไร ถ้าเราทำเกินจากนี้ไปด้วยอารมณ์ดิบๆ ของเรา มันจะเป็นไพร่ทันที เป็นรูปแบบที่ไพร่เลย ไม่ได้อารมณ์ เพราะฉะนั้นต้องศึกษามาก ที่ไหนมีก็ต้องตามไปดู เป็นอย่างที่เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ท่านว่า "งานเป็นครูของช่าง โรคเป็นครูของหมอ"

อย่าง เคยไปดูที่พระนครหลวง กัมพูชา โอ้โฮ..เจิดจรัสจริงๆ ศิลปะเขมร อย่าพูดเลย พูดแล้วมันยาว..คิดได้ไงคนเรา เขาทำเรื่องมวลเก่งมากๆ อย่างนี้ต้องศึกษา

ศิลปิน ไทยบางคนเดี๋ยวนี้ทำงานออกมาชุ่ยๆ แล้วใช้วิธีการโปรโมต แต่ดูงานแล้วไม่ได้เรื่อง คือคนสมัยนี้พอมีชื่อเสียงหน่อยก็เป็นน้ำชาล้นถ้วย ตัวไม่ศึกษาแล้วยังไปติคนอื่นเขา ศิลปินฝรั่งเขามีนะเรื่องแบบนี้เขาศึกษามาก ดังนั้น คนที่ทำงานจึงต้องใช้ข้อมูลเยอะมาก

มิน่าที่บ้านของเต็มไปหมด

อื้อ..ตอนนี้บ้านไม่พออยู่แล้ว ทั้งของเก่า ตู้ เตียง หนังสือเต็มไปหมด กำลังคิดจะขยับขยายไปเมืองกาญจน์ กำลังไปหาดูที่ทาง

 


ถามเรื่องความรัก?

ผม ยังไม่แต่งงาน อยู่คนเดียวโดดเดี่ยว (เงียบ..).. คือมันไม่มีประโยชน์ มันไม่มีเวลาให้กับคนที่เรารักหรอก (เงียบอีกพัก)... ความรักน่ะมันก็มี้...ไม่ใช่ไม่มี...ก็เฉยๆ...อย่าไปพูดถึงมันเลย

แสดงว่าอกหัก?

ไม่ หักไม่แห็กอะไรหรอก เรื่องประโลมโลก (เงียบไปพักใหญ่)... อยู่คนเดียว..เรื่องมันยาวอย่าเล่าเลย อย่าพูดถึงมันเลย...ไม่เห็นชีวิตคู่มีความสุข ไม่มีประโยชน์ เอาเวลาไปนั่งทำงานดีกว่า จริงๆ แล้วสังคมของช่าง ถ้าไปสัมผัสจริงๆ บางคนแต่งงานแล้วไม่มีลูก แล้วบรรดาคนที่มานั่งทำงานในวงการ ไม่มีลูกไม่มีเมียกัน เราก็มีความรู้สึกเหมือนเกาะกลุ่มกัน ไม่มีใครมีภาระ มันมีเพื่อน มันสนุก มีความรักแล้วมันวุ่นวาย

แล้วความสุขของอาจารย์คืออะไร?

ก็ นี่ไง...ลายกระหนก เวลาเซ็งๆ ก็อ่านหนังสือ มีเป็นตั้งๆ ในตู้ ยังบอกลูกศิษย์เลยว่าเสร็จงานนี้แล้วไปค้นเรื่องพญานาคกันดีกว่า พวกลายปูนปั้นตามวัดตามวา ไปดูแล้วถ่ายๆๆ เก็บไว้แล้วมาทำเป็นหนังสือกันดีกว่า เพราะอีกหน่อยมันจะไม่มีแล้ว อย่างนี้สนุกดี

ตอนแก่ๆ จะอยู่ยังไง?

ก็เป็นธรรมดา อะไรมันจะเกิดก็เกิด ไม่ต้องห่วง ปลงแล้ว ไม่ปลงจะได้กลุ้มใจตาย...

อาจารย์ชอบศิลปินคนไหนพิเศษ?

เอ็ก ซเพรสชั่นนิสม์ ผมชอบท่านอังคาร เก่งมาก เป็นคอนเทมโพรารี่ด้วย ท่านอังคารลึกซึ้ง กวีก็เอาเรื่อง เขียนร้อยแก้วก็ดีมากอย่างเรื่องย่า หรือเรื่องสุนัขเน่าน่ะ ดีนะ ไปหาอ่านซะ อ่านแล้วประทับใจมาก นอกจากนี้มีอาจารย์ช่วง มูลพินิจ, อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี, แล้วก็อาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ อาจารย์ของผม ที่อยู่ในดวงใจเป็นผู้ดีสุดสุดก็เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สุดยอดที่สุดแล้ว

ชื่อสุดสาครมาจากเรื่องพระอภัยมณี?

ไม่ช่าย ..ไม่เกี่ยวเลย มาจากตอนที่พ่อเขาดำน้ำลงไปตรวจดูตอม่อสร้างสะพานนวลฉวี พอดำลงไปถึงก้นแม่น้ำ ข้างบนเขาก็โทรศัพท์ลงไปบอกว่า ลูกคลอดแล้วเป็นผู้ชาย พ่อเขาเลยตั้งชื่อว่า "สุดสาคร" คือลงไปสุดแม่น้ำถึงดินดาน มันมีที่มา ไม่เกี่ยวกับสุดสาครในเรื่องพระอภัยมณี

เวลาพักผ่อน

เดี๋ยวนี้นอนน้อย อายุมากแล้ว บางทีนอนไปสักพักสะดุ้งตื่นมาตีสามก็ไม่หลับแล้ว มานั่งอ่านหนังสือ เขียนบันทึก

ใน ชีวิตผมเชื่ออยู่อย่างว่าถ้าคนเราไม่มีสติ ไม่มีการกำหนดจิตตัวเองตลอดเวลาโดยความรู้ทางด้านธรรมะ การเดินไปข้างหน้าเราจะพลาดได้ง่ายมาก คนเรามันไม่เสมอไปหรอก มันมีขึ้นมีลง

"แต่ถ้าเรามีสติที่ดีเยี่ยมคอยกำกับจะช่วยรักษาเราไม่ให้ประมาท ให้เราเดินไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี"
บันทึกการเข้า
ATE
อสุรผัด
*
ตอบ: 6



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 มี.ค. 10, 20:48

งานชิ้นนี้ผมได้มาตอนที่ไปทำงานร่วมกับท่านตอนนั้นคือ ดั่งตอนที่บทความว่า(ตอนนั้นสร้างสิ่ง ของประกอบการแสดง ใหญ่ๆ ทั้งนั้น เรือสุพรรณหงส์ อย่างนี้ แล้วยังทำพญานาคไปแข่งกับมังกรที่เมืองจีน สมเด็จฯท่านโปรด เพราะของไทยเรานิ่มๆ สง่างาม ไม่โฉ่งฉ่างเหมือนของจีน พญานาคตอนนี้ก็ยังอยู่ที่กองศิลปกรรม) ช่วงปี41 ตอนนั้นมีทั้งทำ วอสีวิกาฯ เรือสุพรรณหงส์ และพญานาค ผมเองก็ยังเรียนเเละเด็กอยู่จึงได้รับรู้ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่วันนี้ความรู้เรื่องสุนทรียศาสตร์ด้านศิลปประจำชาติผมก็ได้รับความรู้มาจากท่านอย่างมาก รวมทั้ง อ.สมปอง อ.วุฒิชัย  อ.อภัย ฯ ที่ให้ความรู้แก่ผม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 มี.ค. 10, 18:26

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง