เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 84469 ตระกาลงานดอกไม้เครื่องสด
tian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 138



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 มี.ค. 10, 21:11

ลองดูตามร้านหนังสือนะครับจะพอมีอยู่บ้าง...หรือถ้าสนใจจริงๆ ผมก็พอจะแนะเป็นแนวทางได้บ้าง
ว่าแต่อยากจะทำอะไรละครับ...ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงผมยินดีอย่างยิ่งนะ...
แต่ถ้าอยากเรียนเป็นกิจลักษณะก็ค่อยว่ากันอีกทีครับ

....พุ่มครับ..อันนี้ผมใช้เป็นส่วนประกอบยอดบายศรีครับ เป็นพุ่มแต่งกลีบศรีสวัสดิ์ไล่สีใบตองอ่อน(ถ้าจำไม่ผิดทำตอนสมัยเรียน ปวช.อาชีวศึกษานครราชสีมาครับ)

อยากเรียนแกะสลักผลไม้และผัก  ตอนเด็กเคยทำมาบ้างแล้ว
แต่ไม่สำเร็จเพราะใจร้อน  ตอนนี้ใจเย็นขึ้นมาก และมีเวลา
เคยซื้อหนังสือมาทำตาม แต่ทำไม่ได้  อยากทราบว่า
เขามีสอนมั้ยค่ะ  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 12:47

ที่โชติเวชก็มีสอนนะครับ...เป็นหลักสูตรระยะสั้น ลองติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ดูนะครับ
ที่ www.rmutp.co.th  (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)

หรือถ้าอยากเรียนนอกหลักสูตรผมก็รับสอน...แต่จะจัดเวลาลำบากนิดนึงอะครับ
ผมคิดว่าคุณ tian คงจะเรียนรู้ได้เร็ว เพราะมีความชอบเสมอด้วยใจรัก
เมื่อก่อนผมสอนเด็กระดับประถมปลายและมัธยมต้น เขาก็ทำกันได้ดีนะครับ...หุหุเคยสอนแต่เด็กๆ งะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ลองดูลายพื้นฐานครับ ลายดอกรักแร่และดอกบานชื่นมีใบไม้ด้วยแล้วค่อยๆฝึกดูนะครับ


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 09:07

....การประดิษฐ์กระทงแต่งกลีบบัว 
การเลือกดอกบัวนั้นต้องสดกลีบไม่ช้ำ  การพับกลับต้องมือเบาไม่บีบจนช้ำมือหากเป็นคนมือร้อน(อุณหภูมิร่างกายสูง) ให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำเย็นไว้คอยซับมืออยู่เสมอขณะพับกลับ
..ปล. หัวใจสำคัญก็มีอยู่เท่านี้ละคับที่เหลือก็เป็นเรื่องของประสบการณ์และฝีมืออันละเมียดละมัยของท่านๆ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 09:12

ประทานโทษนะคับข้ามขั้นตอนไปนิดหนึ่งอะคับ....การไล่ระดับค่าสีของกลีบบัวจะต้องเด็ดกลีบแยกสีไว้ตามที่กำหนด แล้วจึงค่อยเริ่มแต่งกลีบกระทง


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 09:18

ต่อจากนั้นจึงทำการพับกลับแต่งกระทงโดยไล่ระดับสีอ่อนไปหาเข้ม ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ



บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 09:26

กระทงแต่งกลีบบัวหลวง ด้วยเทคนิคการพับกลีบสุพรรณิการ์


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 09:40

พลูบายศรีแบบภาคอิสาน เน้นความโดดเด่นด้วยการใช้ใบตองอ่อนแต่งยกนมที่นิ้วบายศรี


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 09:51

พลูบายศรีที่มีการออกแบบตกแต่งด้วยภูมิปัญญาของคนอิสานบ้านเฮา
...งามอีหลี เป็นตาออนซอนเด้





บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 14 พ.ค. 10, 22:09

งานเครื่องสดของไทย เป็นอัตลักษณ์ที่น่าทึ่งอย่างหนึ่ง และเป็นความประณีตที่บุบสลายได้
ในเวลาไม่ช้า สะท้องความคิดของชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างมีคุณค่า และเสื่อมลงได้ในเวลาไม่นาน
เป็นมรดกที่น่าภาคภูมิใจ และดีใจที่ทุกวันนี้เรายังรักษางานด้า่นนี้เอาไว้ได้ดีครับ ไม่ว่าใคร
จะว่าอย่างไรก็ตาม ....
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 พ.ค. 10, 12:27

ว้าวววว ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  พี่เนเข้ามาทักทาย เจ๋ง
.................
เป็นไงบ้างคับพี่ฝีมือผมพอใช้ได้ป่าว ผมไม่ใช่แค่ชอบงานศิลปกรรม(ยิ่งต้องเป็นอยุธยาด้ายแล้วละก็...หุหุ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์)อย่างเดียวนะคาบ งานดอกไม้เครื่องสดก็เป็นอีกศาสตร์ที่ผมพยายามจะสืบสานไว้สอนลูกสอนหลาน ....พี่เนคับว่าแต่เราพอจะมีหลักฐานทางด้านเครื่องสดสมัยอยธยาบ้างไหมเนี่ย  ไม่แน่นะครับมันอาจจะสอดแทรกตามงานจิตรกรรม ปติมากรรมปูนปั้น ที่เราลืมสังเกตไปก็ได้นะคับ บางทีผมอาจได้รูปแบบเครื่องสดราชสำนักมาใช้ประกอบการศึกษาก็เป็นได้นะคับพี่เน
ปล. ไงก็ขอข้อมูลบ้างนะพี่ถ้าหากมี....ขอบคุณคร๊าฟฟฟฟฟ ยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 พ.ค. 10, 13:41

สวยครับ เก่งมากๆ   ยิ้มเท่ห์

ภาพงานเครื่องสดในจิตรกรรมนั้น ยอมรับว่าก็ไม่ทันได้สังเกตถี่ถ้วนจริงๆ
มาไล่ภาพดู ก็พบว่าเขามักไม่ค่อยเขียนกัน เพราะเขาชอบเขียนดอกไม้เป็นช่อๆ
หรือเป็นดอกเป็นก้านกันมา แต่ฉากไหนที่จำเป็นต้องมีเขาก็เขียนครับ แต่ก็จะ
ก็ดัดแปลงไปให้เหมาะกับงานจิตรกรรม
เป็นเรื่องที่น่าสนใจเหมือนกันครับ เพราะที่จริงชาวไทยก็ใช้งานเครื่องสดแบบนี้มากๆ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 พ.ค. 10, 13:45

มีพวกดอกไม้อีกแบบที่ อขาทำแขวนไว้ที่กรอบหน้าต่าง อันนั้นก็สวยดี
รู้สึกว่าถ้ามีบ้านเรือนไทยก็อยากแขวนบ้าง แต่คงไม่มีปัญญาไปซื้อมาแขวนทุกวัน
นึกถึงในราชสำนักโบราณ ของพวกนี้คงมากมายหอมฟุ้งเต็มวัง




บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 พ.ค. 10, 13:47

อันนี้ไม่รู้ว่าอะไร เกี่ยวกับงานเครื่องสดดอกไม้หรือเปล่าครับ



บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 11:56

ครับผม... ยิ้มกว้างๆ
พี่เนครับ ออฟว่าอันที่แขวนอยู่ที่พี่พูดถึงอะ ผมว่ามันน่าจะเป็นโคมไฟหรือเรียกว่า "โคมหวด" ซึ่งก็มีในลักษณะของเครื่องสดด้วย หากเป็นงานดอกไม้สดนั้นจะประดิษฐ์ด้วยการร้อยตาข่ายขึ้นโครงเป็นรูปโคม ด้านบนเป็นดาวหกแฉกประดับด้วยเครื่องแต่งตัว คือ เฟื่อง. อุบะไทยทรงเครื่อง. ทัดหู เป็นต้น
...แต่ลักษณะที่เห็นในงานจิตรกรรมนี้โคมหวดน่าจะเป็นเครื่องแก้ว ตามที่เห็นกันทั่วไปในวัดวาปราสาทราชวัง
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 12:09

โคมหวด.........ครับผม....... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
เป็นเครื่องแขวนไทยที่มีมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มีลักษณะโครงสร้างตัวโคมเป็นรูปหวดนึ่งข้าว ปากหวดเป็นรูปดาว 6 แฉก พร้อมฝาถักตาข่ายดอกพุดที่โครงสร้างรูปหวด ถักตาข่ายห้อยอุบะตุ้งติ้ง ส่วนบนใช้ดอกรักประดับ ตามมุมห้อยอุบะไทย ตกแต่งด้วยเฟื่องกนกมน ติดทัดหูกลม ส่วนล่างประดับด้วยดอกรัก ห้อยชายด้วยอุบะไทยทรงเครื่อง และรัดข้อมาลัยซีก



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง