เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
  พิมพ์  
อ่าน: 61276 ก.ศ.ร. กุหลาบ ชีวิตพิศวง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 19 เม.ย. 10, 11:28

คุณวันดีเคยในรายชื่อแหม่มที่มาในงานบวชของ ก.ห.ชาย

ชาวยุโหรปหญิง  คือ

แมดำ  เดอร์ฟรางค์  ภรรยาราชทูตฝรั่งเศส  และ บุตรี

มิศซิด การะโด

มิศซิดแฟนิน๊อก  ธิดาราชทูตอังกฤษ น๊อก

และหญิงชาวยุโหรปอีก สี่ นาง


     ทั้งชายหญิงทั่งสิ้น ๒๔ คน  นั่งเก้าอี้หน้าพระอุโบสถ

มิศซิดแฟนิน๊อก เป็นใคร สนิทสนมกับครอบครัว ก.ศ.ร.กุหลาบ เพียงไหน

คุณวันดีได้กรุณาคุ้ยแคะแกะเกาให้ทราบแล้วใน

ธิดา กงศุลเยเนอราลอังกฤษ แฟนนี น้อกซ์
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3248.msg62678;topicseen#msg62678

 ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 23 เม.ย. 10, 12:35


ในเล่มเดียวกัน  หน้า ๓๘๖ - ๓๘๗  นายกุหลาบก็ได้ตอบแก้ความวิมุติสงไสยของนาย (ข.)นั้นรวมทั้งหมด ๖ ข้อ(ประเด็นถาม)  ซึ่งวิธีการเขียนของนายกุหลาบนั้นเป็นลีลาอย่างเดียวกับที่นายกุหลาบได้ใช้ในหนังสือสยามประเภทในกาลต่อมา   พร้อมกันนั้นนายกุหลาบยังได้อ้างอิงที่มาของข้อมูลที่นำมาเรียบเรียงเรื่องตำแหน่งยศท่านเจ้าพระยาเสนาบดี  ๕๔  นาม นี้ตั้งแต่สร้างกรุงเทพฯ  ถึงร้อยปี  จากเอกสารต่างๆ  ที่นายกุหลาบได้อ่านและค้นจากหอพระสมุดวชิรญาณ  แล้วยังได้กล่าวท้าให้คนถามลองมาค้นดูที่หอพระสมุดด้วย   ถ้ามีโอกาสจะนำเนื้อความดังกล่าวมาลงละเอียดต่อไปภายหน้า ยิ้ม


อนึ่ง  เพิ่งนึกได้ว่า มีเรื่องนายกุหลาบในหนังสือสยามไสมยของครูสมิทด้วย   แต่ขอผู้อื่นอย่างคุณวันดีเล่าบ้างจะดีกว่าครับ   เจ๋ง


คงถึงโอกาสที่คุณหลวงจะกล่าวถึงรายละเอียดเรื่องข้างบน และเรื่องในสยามไสมยและกระมัง

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 08:34


ในเล่มเดียวกัน  หน้า ๓๘๖ - ๓๘๗  นายกุหลาบก็ได้ตอบแก้ความวิมุติสงไสยของนาย (ข.)นั้นรวมทั้งหมด ๖ ข้อ(ประเด็นถาม)  ซึ่งวิธีการเขียนของนายกุหลาบนั้นเป็นลีลาอย่างเดียวกับที่นายกุหลาบได้ใช้ในหนังสือสยามประเภทในกาลต่อมา   พร้อมกันนั้นนายกุหลาบยังได้อ้างอิงที่มาของข้อมูลที่นำมาเรียบเรียงเรื่องตำแหน่งยศท่านเจ้าพระยาเสนาบดี  ๕๔  นาม นี้ตั้งแต่สร้างกรุงเทพฯ  ถึงร้อยปี  จากเอกสารต่างๆ  ที่นายกุหลาบได้อ่านและค้นจากหอพระสมุดวชิรญาณ  แล้วยังได้กล่าวท้าให้คนถามลองมาค้นดูที่หอพระสมุดด้วย   ถ้ามีโอกาสจะนำเนื้อความดังกล่าวมาลงละเอียดต่อไปภายหน้า ยิ้ม


อนึ่ง  เพิ่งนึกได้ว่า มีเรื่องนายกุหลาบในหนังสือสยามไสมยของครูสมิทด้วย   แต่ขอผู้อื่นอย่างคุณวันดีเล่าบ้างจะดีกว่าครับ   เจ๋ง


คงถึงโอกาสที่คุณหลวงจะกล่าวถึงรายละเอียดเรื่องข้างบน และเรื่องในสยามไสมยและกระมัง

 ยิงฟันยิ้ม



เมื่อมีผู้เรียกร้อง  ก็คงถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว

วชิรญาณวิเศษ  เล่ม ๑  แผ่น ๓๑ วัน ๑  เดือน ๙  แรม  ๘  ค่ำ ปีจออัฐศก  ๑๒๔๘ หน้า ๓๔๒

แจ้งความ

"...นายกุหลาบเดิมส่งระยะทางไปเมืองจีนเนื้อความยืดยาว   และไม่สู้มีประโยชน์จึงขอให้ส่งเนื้อความมาใหม่  ได้ส่งนามเสนาบดีแต่ปถมรัชกาลจนถึงร้อยปีได้ลงมาแล้ว..."  

หอพระสมุดวชิรญาณ
วัน ๗ เดือน ๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจออัฐศก  ศักราช ๑๒๔๘
วรวรรณากร
สาราณิยกร


วชิรญาณ  เล่มเดียวกัน  หน้า  ๓๔๗ - ๓๔๘

ตำแหน่งยศท่านเจ้าพระยาเสนาบดี
๕๔  นามนี้ตั้งแต่สร้างกรุงเทพฯ  ถึงร้อยปี

รัชกาลที่  ๑

เจ้าพระยารัตนาพิพิธ  (สน)  ที่สมุหนายก ๑
เจ้าพระยามหาเสนา  (ปลี)  ที่สมุหพระกระลาโหม ที่ ๑
เจ้าพระยามหาเสนา  (ปิ่น)  ที่สมุหพระกระลาโหม  ที่ ๒
เจ้าพระยามหาเสนา  (บุญนาก) ที่สมุหพระกระลาโหม  ที่ ๓
เจ้าพระยายมราช  (อิน)  กรมเมือง  ที่ ๑
เจ้าพระยายมราช  (บุญนาก)  กรมเมือง  ที่  ๒
เจ้าพระยายมราช  (บุญมา)  กรมเมือง  ที่  ๓
เจ้าพระยาธรรมา  (บุญรอด)  กรมวัง  ที่  ๑
เจ้าพระยาธรรมา  (ทองดี)  กรมวัง  ที่ ๒
เจ้าพระยาธรรมา   (สุด)  กรมวัง  ที่ ๓
เจ้าพระยาโกษา  (สน)   กรมท่า  ที่ ๑
เจ้าพระยาโกษา   (หน)  กรมท่า  ที่ ๒
เจ้าพระยาโกษา  (กุน)  กรมท่า  ที่ ๓
เจ้าพระยาพลเทพ  (ปิ่น)  กรมนา  ที่ ๑
เจ้าพระยาพลเทพ  (สาคร)  กรมนา  ที่ ๒
เจ้าพระยาพลเทพ  (บุญนาก)  กรมนา  ที่  ๓


รัชกาลที่  ๒

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์  (กุน)  สมุหนายก  ที่ ๑
เจ้าพระยาอภัยภูธร  (น้อย)  สมุหนายก  ที่ ๒
เจ้าพระยามหาเสนา  (บุญมา)  สมุหพระกระลาโหม  ที่ ๑
เจ้าพระยาวงษาสุรศักดิ  (แสง)  สมุหพระกระลาโหม  ที่  ๒
เจ้าพระยามหาเสนา  (บุญสังข์)  สมุหพระกระลาโหม  ที่  ๓
เจ้าพระยายมราช   (น้อย)  กรมเมือง  ที่ ๑
เจ้าพระยายมราช  (น้อย)  กรมเมือง  ที่ ๒
เจ้าพระยาธรรมา  (เทด)  กรมวัง  ที่ ๑
เจ้าพระยาโกษา  (กร)  กรมท่า  ที่ ๑
เจ้าพระยาพระคลัง  (บุญสังข์)  กรมท่า  ที่ ๒
เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิด)  กรมท่า  ที่ ๓
เจ้าพระยาพลเทพ   (ทองอิน)  กรมนา  ที่ ๑

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:02

(ต่อ)

รัชกาลที่  ๓

เจ้าพระยาบดินทรเดชา  (สิง)  สมุหนายก  ที่ ๑
เจ้าพระยามหาเสนา   (น้อย)  สมุหพระกระลาโหม  ที่  ๑
เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิด)  ว่าที่สมุหพระกระลาโหม  ที่ ๒
เจ้าพระยายมราช  (ทองพูน)  กรมเมือง  ที่ ๑
เจ้าพระยายมราช   (แสง)  กรมเมือง  ที่ ๒
เจ้าพระยายมราช  (บุญนาก)  กรมเมือง  ที่  ๓
เจ้าพระยาธรรมราช  (สมบุญ)  กรมวัง  ที่ ๑
เจ้าพระยาพระคลัง  (ดิด)  กรมท่า  ที่ ๑
เจ้าพระยาพลเทพ  (ฉิม)  กรมนา  ที่ ๑


รัชกาลที่  ๔

เจ้าพระยานิกรบดินทร   (โต)  สมุหนายก  ที่ ๑
เจ้าพระยาภูธราภัย  (นุช)  สมุหนายก  ที่ ๒
เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ  (ช่วง)  สมุหพระกระลาโหม  ที่  ๑
เจ้าพระยายมราช  (ทองสุก)   กรมเมือง  ที่ ๑
เจ้าพระยายมราช  (นุช)  กรมเมือง  ที่ ๒
เจ้าพระยายมราช  (ครุธ)  กรมเมือง  ที่ ๓
เจ้าพระยายมราช  (แก้ว)  กรมเมือง  ที่ ๔
เจ้าพระยาธรรมา  (เสือ)  กรมวัง  ที่ ๑
เจ้าพระยาธรรมา  (บุญศรี)  กรมวัง  ที่ ๒
เจ้าพระยาระวิวงษ  (ขำ)  กรมท่า   ที่ ๑
เจ้าพระยาพลเทพ   (เอี่ยม)  กรมนา  ที่ ๑
เจ้าพระยาพลเทพ  (หลง)  กรมนา  ที่ ๒


รัชกาลที่  ๕

เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์   (วร)  สมุหพระกระลาโหม  ที่ ๑
เจ้าพระยายมราช   (เฉย)  กรมเมือง  ที่ ๑
เจ้าพระยาธรรมา   (มั่ง)   กรมวัง  ที่  ๑
เจ้าพระยาภาณุวงษ   (ท้วม)  กรมท่า  ที่ ๑
เจ้าพระยาพลเทพ   (บุญรอด)  กรมนา  ที่ ๑

                                         ตำแหน่งนามยศทั้ง         นามเดิม   ท่านฉฮ
                                         รวมรวบเรียบเรียงเติม       แต่ต้น
                                         ห้าสิบสี่นามเฉลิม           ฉนำนับ  ร้อยนา
                                         กุหลาบเพียรคิดค้น          คัดขึ้นทูลฉลอง

กุหลาบ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 09:15

วชิรญาณวิเศษ  เล่ม  ๑  แผ่น  ๓๒  วัน  ๗  เดือน  ๙  แรม  ๑๔  ค่ำ  ปีจออัฐศก   ๑๒๔๘  หน้า  ๓๕๖ - ๓๕๗


แจ้งความ

ด้วย  ณ  วันอังคาร  เดือนเก้า  แรมสิบค่ำ   ข้าพเจ้าได้รับหนังสือฉบับ ๑  ของผู้ลงชื่อ  (ข.)   ว่าด้วยความวิมุติสงไสย   แลเพิ่มเติมพระนามพระบรมวงษานุวงษซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี   แต่รัชกาลที่ ๒  ถึงรัชกาลที่ปัตยุบันนี้  ขอให้ลงพิมพ์ในเวรข้าพเจ้า   ได้ส่งมาลงพิมพ์ด้วยแล้ว   มีความพิศดารต่อไปนี้   

บรรณารักษ

(หมายเหตุ  เวรประจำวชิรญาณวิเศษ  ฉบับนี้  คือ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ฌธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 12:54

(ต่อ)

ความวิมุติสงไสย

กราบทูลมาในเสด็จแม่กองหนังสือวชิรญาณวิเศศซึ่งจะออกวันเดือนเก้าแรมสิบสี่ค่ำทรงทราบ   ด้วยกระหม่อมฉันได้อ่านหนังสือวชิรญาณแผ่นที่  ๓๑  ว่าด้วยตำแหน่งยศท่านเจ้าพระยาเสนาบดี  ๕๔  นามนี้    ตั้งแต่สร้างกรุงเทพฯ  ถึงร้อยปีของนายกุหลาบนั้น    ที่อ้างว่าเปนเจ้าพระยาทั้งสิ้นนั้น   จะผิดไปบ้างดอกกระมัง   ในรัชกาลที่  ๑  เจ้าพระยาพลเทพฯ  (บุญนาก)  กรมนา  ที่ ๓ ในรัชกาลที่  ๑  นั้น   กระหม่อมฉันได้ทราบความตามที่เล่าสืบมาว่าเปนแต่พระยาเท่านั้น    หาได้เปนเจ้าพระยาไม่    พระยาพลเทพฯ  ผู้นี้เปนโทษต้องประหารชีวิตร   คราวครั้งหม่อมเหมนเปนขบถด้วยกันไม่ใช่ฤา   ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทราบความอยู่ก็คงมี    พอที่จะสืบเอาความจริงได้   อีกประการหนึ่งนามเดิมของท่านเสนาบดีทั้งปวงซึ่งได้ลงพิมพ์มานั้น   เหนว่าประดิษฐเติมเอาตามชอบใจก็มีอยู่หลายชื่อ   เหมือนยังเจ้าพระยามหาเสนา   (บุญสังข์)   สมุหพระกระลาโหม  ที่  ๓ นั้น   กระหม่อมฉันได้ทราบแต่ว่านามเดิมท่านชื่อสังข์เท่านั้นเอง    คำที่เรียกนามท่านเปนสามัญว่าเจ้าคุณโกษาสังข์   นัยหนึ่งว่าเจ้าคุรทหารสังข์   ยังติดปากท่านผู้หลักผู้ใหญ่อยู่   คำบุญเติมน่านั้นมาแต่ไหน   นายกุหลาบจะประดิษฐเดาเอาเองฤาประการใด   กระหม่อมฉันมีความสงไสยนัก     เหมือนท่านเจ้าพระยาพลเทพฯ  เดี๋ยวนี้ก้เหมือนกัน    นามท่านจะไม่อย่างเช่นที่ลงพิมพืว่า  (บุญรอด)  ดอกกระมัง   เหนว่าพอจะสืบถามประกอบเอาความจริงได้

(ยังมีต่อ)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 26 เม.ย. 10, 13:22

(ต่อ)


อีกประการหนึ่งพระบรมวงษานุวงษ   ซึ่งทรงบังคับบัญชาตำแหน่งที่เสนาบดีมีมาหลายรัชกาลแล้ว   ทำไมจึ่งไม่เรียงพระนามลงด้วย   เหมือนในรัชกาลที่  ๒  สมเดจพระสัมพันธวงษเธอ   แต่ใช้ว่าสมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ   เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี   ก็ได้ทรงว่าการกรมมหาดไทยมา    ครั้นสิ้นพระชนม์แล้วพระอนุชาของท่านเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ   ได้ทรงว่าการกรมมหาดไทยสืบมาจนสิ้นรัชกาลนั้น    ในรัชกาลที่  ๔    พระเจ้าบรมวงษเธอ   กรมหลวงวงษาธิราชสนิทร ฯ  ก็ได้ทรงว่าการกรมมหาดไทย   ในเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร ฯ  ชรามากนั้น    แลในแผ่นดินปัตยุบันนี้  สมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ   เจ้าฟ้ามหามาลา   กรมสมเดจพระบำราบปรปักษ ฯ  ซึ่งสำเรจราชการกรมมหาดไทยอยู่เดี๋ยวนี้   จะว่าเปนที่สมุหนายกไม่ได้ฤา    ถ้าเสดจแม่กองทรงเหนควรว่าเปนการชอบแล้ว   กระหม่อมฉันขอเรียงพระนามเติมลงดังนี้

ที่สมุหนายก

กรมหลวงพิทักษมนตรี                รัชกาลที่ ๒
กรมขุนอิศรานุรักษ                    รัชกาลที่ ๒
กรมหลวงวงษาธิราชสนิทร  ฯ      รัชกาลที่  ๔
กรมสมเดจพระบำราบปรปักษ       รัชกาลปัตยุบันนี้

ที่สมุหพระกระลาโหม

กรมหมื่นศักดิพลเสพย   "ภายหลังเปนกรมพระราชวังบวรสฐานมงคล   แผ่นดินพระบาทสมเดจพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "         รัชกาลที่  ๒


ที่กรมท่า

พระบาทสมเดจพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อยังเปนพระเจ้าลูกยาเธอ   กรมหมื่นเจษฎาบดินทร          รัชกาลที่  ๒
กรมขุนวรจักธรานุภาพ             รัชกาลที่   ๔
กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ          รัชกาลปัตยุบัน


ที่กรมพระนครบาล

กรมหมื่นสุรินทรรักษ         รัชกาลที่  ๒
กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร   รัชกาลที่  ๓
กรมขุนวรจักรธรานุภาพ      รัชกาลที่  ๔
กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ    รัชกาลปัตยุบัน


ที่กรมวัง

กรมสมเดจพระบำราบปรปักษ     รัชกาลที่  ๔


ที่กรมนา

กรมสมเดจพระเดชาดิศร           รัชกาลที่  ๓

ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรด 

 เจ๋ง

(ต่อจากนี้  อ่านคำตอบของนายกุหลาบ)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 29 เม.ย. 10, 15:21

รออ่านคำตอบนายกุหลาบมาหลายวันแล้ว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 13:18

นายกุหลาบได้อ่าน "ความวิมุติสงไสย" ของผู้ที่ลงนามว่า "ข" แล้วเขียนคำตอบมาลงในวชิรญาณวิเศษ  เล่ม ๑ แผ่น ๓๖ วัน ๒ เดือน ๑๐  แรม  ๑๕  ค่ำ  ปีจออัฐศก ๑๒๔๘ หน้า ๓๘๖  -  ๓๘๗


แจ้งความ

"...นายกุหลาบขอลงความแก้สงไสยของผู้ลงชื่อ (ข) เรื่องหนึ่ง..."

พระพรหมธิบาล จร  (ผู้เป็นายเวรประจำฉบับนี้)





แก้วิมุติสงไสยในนามท่านเสนาบดี

ข้าพเจ้าสมาชิกผู้มีชื่อในท้ายหนังสือนี้  ขอรับประทานกราบเรียนแต่ท่านกรรมสัมปาทิก  แม่กองเวรนี้ได้ทราบ   ด้วยข้าพเจ้าได้อ่านวชิรญาณวิเสศ เล่ม ๑ แผ่นที่  ๓๒  ลงวัน ๗ เดือน ๙ แรม  ๑๔ ค่ำ  ปีจออัฐศกนั้น   โดยในท่านที่มีนามลงมาว่า (ข) นี้  ท่านสงไสยในนามท่านเสนาบดี  ๕๔  นามนั้น   ว่าผิดแปลกกว่าที่ท่านได้เคยสังเกตได้ยินมาแต่ปากท่านผู้เฒ่า   บัดนี้ข้าพเจ้าขอรับประทานโอกาศ  แต่ท่านสมาชิกทั้งปวงที่จะได้ทราบความแก้นี้ต่อไป   โดยในนามท่านเสนาบดี  ๕๔  นาม  ที่ข้าพเจ้านำมาลงพิมพ์ในเวรข้าพเจ้านั้น   ข้าพเจ้าได้คัดมาจากฉบับพระราชพงษาวดารในหอพระสมุดบ้าง   แลคัดมาจากฉบับพงษาวดารบางช้างบ้าง   คัดมาจากลำดับวงษตระกูลเสนาบดีบ้าง   คัดมาจากฉบับในราชการต่างๆ  บ้าง   จึงได้ส่งมาลงพิมพ์  ซึ่งจะได้เดาทายแลเสิมส่งนั้น   หาเหตุสิ่งที่ควรไม่  บัดนี้จะขอรับประทานแก้วิมุติ  โดยความสัจสุจริตแลความที่มีพยานอยู่ในที่เปนหลักถานราชการควรจะเชื่อได้เปนแน่ดังนี้

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 13:36

ตั้งตาแบบตาตั้ง คอยอ่านเหมือนกันค่ะ


คิดดังๆ ว่า  การรับฟังจากผู้เฒ่า นี่ก็น่าจะมีปัญหาเหมือนกันนะคะ

พระยาไก่  ความจำดีปานกลาง เล่าเรื่องราวที่รู้มาให้ คุณหลวงไข่ ความจำดีปานกลาง
เรื่องก็คงตกหล่นไปบ้างมั๊ง

ไม่ได้จดไว้นี่


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 15:37

แทรกคำถามชวนสันนิษฐานกันหน่อย   อยากให้ท่านผู้ที่อ่านกระทู้นี้  ทายหรือสันนิษฐานว่า ผู้ที่ใช้ชื่อ (ข) นี้ น่าจะเป็นใคร   เป็นเจ้านายหรือเปล่า  หรือเป็นขุนนางตระกูลใหญ่   หรือเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย   เชิญทายได้นะบัดเดี๋ยวนี้ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 30 เม.ย. 10, 16:19

แก้วิมุติสงไสยในนามท่านเสนาบดี (ต่อ)


ข้อ ๑  ซึ่งท่านที่ลงชื่อว่า  (ข)  นั้นท่านสงไสยว่า  เจ้าพระยาพลเทพบุญนากไม่ใช่เจ้าพระยา   ขอชี้แจงให้ทราบทั่วๆ กัน  ว่าได้ความในหนังสือพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๑  กรุงเทพฯ  ซึ่งเปนสมุดขาวมีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณนั้น  มีความว่า  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุญนาก)  ผู้นี้เปนแม่ทัพไปปราบปรามเมืองแขกมาลายูซึ่งเปนขบถ

ข้อ  ๒  ซึ่งท่านที่ลงชื่อว่า  (ข) สงไสยว่าเจ้าพระยาพลเทพ  (บุญนาก) นั้น  ไม่ใช่เจ้าพระยาเปนแต่พระยาเปล่าๆ นั้น  ขอชี้แจงให้ทราบทั่วๆ กันว่า หนังสือราชการสำคัญฉบับ ๑  ชื่อพระประถมบรมราชวงษนั้นมีความว่าดั่งนี้  ในรัชกาลที่ ๑ นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชผู้รักษากรุงเก่าชื่อบุญนาก  เลื่อนตำแหน่งยศเปนเจ้าพระยาพลเทพ ๆ ผู้นี้เดิมแต่ครั้งกรุงธนบุรีมีชื่อว่านายบุญนากบ้านแม่ลา   ซึ่งเปนต้นคิดปราบปรามการจลาจลครั้งกรุงธนบุรี  เพราะเหตุนี้มีความชอบจึ่งได้เปนที่เจ้าพระยาไชยวิชิต  แล้วจึ่งเลื่อนมาเปนเจ้าพระยาพลเทพ  ในปลายแผ่นดินรัชกาลที่ ๑


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 11:13

เจอเรื่องสนุกเข้าในบทละคร น้อยอินเสน พระราชนิพนธ์ใน ร.๖ จึงขอนำมาแบ่งปันกันครับ

.
.
.
หลวงราชภัตติ์      ชะ ๆ ชะ ๆ ตัวแกเองเป็นอะไรมาทีเดียว พ่อแกเป็นขี้ข้าเขาด้วยส่ง แกยังจะมาอวดดี ยกตัวแกสูงกว่าผมอีกหรือ ? ผมน่ะนับเนื่องตระกูลวงศ์ต่อขึ้นไปได้จนถึงกรุงเก่า ไม่เชื่อไปค้นดูในหนังสือมุขมาตยาวงศ์ ของอาจารย์เกศร์ซิครับ
พระสมาน          ผมทราบแล้ว ได้อ่านหนังสือพิมพ์สยามประภาจนตลอด เออคุณจัดการอย่างไรท่านอาจารย์เกศร์จึงได้ลงกูลวงศ์ของคุณหลวงได้ ?
หลวงราชภัตติ์      ไม่ต้องจัดการอะไร แต่ผมนับถือแกเป็นอาจารย์ แกรักผมแกก็อุดหนุนจัดการค้นได้กูลวงศ์ของผมจนตลอด ถ้าหากท่านอาจารย์เกศร์แกไม่อุดหนุน ผมก็คงเลยไม่ได้รู้ว่าผมเองเป็นผู้มีกูลวงศ์เนื่องขึ้นได้ยืดยาวเช่นนั้น
.
.
.

ฉบับเต็มเชิญเปิดดูในตู้หนังสือนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 13:29


หนังสืออนุสรณ์งานศพหลานปู่ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ อยู่แถว ๆ นี้เอง   ลูกของนายชายผู้ต่อมาเป็นทนายความ

ควานเจอจะนำมาฝากค่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 13:31

มาลงชื่อเรียนวิชานี้ด้วยคนค่ะ ติดใจอ่านมาแต่กระทู้เก่า ๆ ในเรือนไทยแล้วค่ะ

ท่าน ก.ศ.ร.กุหลาบ สามารถสร้างความปั่นป่วนให้วงการประวัติศาสตร์ได้ไม่น้อย
หากท่านจะเขียนนิยาย คงไม่มีใครว่าอะไร

อ่านเรื่องของท่านทีไร ดิฉันหวนนึกไปถึง...บุคคล และ หนังสือเหล่านี้ค่ะ
1. นาธาน โอมาน
2. คุณน้ำอบ(เน่า)
3. ลับแล แก่งคอย

จะเชื่ออะไรก็ต้องตรวจสอบข้อมูลกันให้ดี เพราะ โลกเสมือนจริงที่คนเล่าเรื่องจงใจสร้างขึ้นนั้น พาเราออกทะเลไปไกล ๆ ได้

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง