เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 61271 ก.ศ.ร. กุหลาบ ชีวิตพิศวง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 09:58

ก.ศ.ร.กุหลาบแย้มถึงประวัติตนเองเล็กน้อยในสยามประเภทเล่ม ๒ ตอนที่ ๑๗  วันอังคารที่ ๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๘ กล่าวในเชิงประชดประชันว่าตนเองอยู่ในวงศ์ตระกูล R.H.P.L.

 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 10:21

อ่านแล้วก็เหมือนมีที่มา    เหมือนใครสักคนคงจะกล่าวหานายกุหลาบว่าทำตัวเป็นผู้ดีมีเชื้อมีสาย  หรืออะไรทำนองนั้น
นายกุหลาบคงเจ็บใจ  เลยประชดว่าตัวเองเป็นไพร่ของแท้
เน้นด้วยว่า อย่าหาว่าถ่อมตัว   ก็คือคงมีคนเข้าใจว่านายกุหลาบมีเชื้อสายสูงศักดิ์มาก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 11:33

อาจารย์ชาญวิทย์  เกษตรศิริกล่าวว่า

งานของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ที่น่าสนใจคือ การเขียนชีวประวัติหรือเรื่องของสาแหรกและวงศ์ตระกูล ซึ่งสะท้อนเรื่องราวทั้งในด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ทำให้ ก.ศ.ร.กุหลาบมักมีปัญหากับทางราชสำนัก และถูกกล่าวหาว่ากล่าวเท็จ หรือเป็น “บ้าบอ” หรือใกล้ “เสียสติ” เป็นต้น  การที่ ก.ศ.ร.กุหลาบเป็นนักอ่าน สะสมหนังสือ และเป็นผู้มีภูมิความรู้จากทั้งโลกเก่าและโลกใหม่ของสยาม ทำให้งานเขียนจำนวนมากของเขาออกสู่สาธารณชน แต่ในฐานะ “คนนอก” ของราชสำนัก  ซึ่ง ก.ศ.ร.กุหลาบมีเป้าหมายที่จะให้ชนชั้นนำในสยามที่มีการศึกษาดีได้รับรู้ข้อมูลและเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยความ “สิวิไล” ทั้งยังต้องการสื่อความคิดของเขาถึงผู้ปกครองหรือราชสำนักอีกด้วย  

ก.ศ.ร.กุหลาบสรุปว่าการดำรงเอกราชของบ้านเมืองนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ศาสนา (พุทธ) อาณาจักร (กษัตริย์) การปกครอง (รัฐบาลที่ดี) และประชาชน (ที่ดี)




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 15:26

เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับก.ศ.ร.นั้น   ก.ศ.ร. ยกย่องว่าเยรินีมีตำราพราหมณ์มากมายหลายร้อยเล่ม

พราหมณ์ที่เข้ามาเมืองไทยสี่สายนั้น ในปัจจุบัน(ของ ก.ศ.ร.) จะมีตำราติดบ้านสักเล่ม หรือ สิบเล่ม ร้อยเล่ม ก็ยาก
สู้อาจารย์เยรินี และคนไทยบางคนที่มีตำรามากมายอีกคนหนึ่ง(!) ก็ไม่ได้(ใครหนอ...)
พวกเขามีกันเป็นพัน ๆ เล่ม

ก.ศ.ร.กุหลาบดูจะ "เป็นปลื้ม" เยรินีเอามาก ๆ

 ยิงฟันยิ้ม






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 29 มี.ค. 10, 16:04

คำอธิบายของนายกุหลาบ ฟังจับแพะชนแกะพิกล     ขออภัยถ้าไม่ถูกใจผู้ที่เห็นว่านายกุหลาบเป็นปัญญาชนสยาม
ลำดับตั้งแต่ตอนแรก
1  บ้านเมืองที่เป็นเอกราช
เอกราช= อินดีเพนเดน   (independent)  ไม่ขึ้นแก่ใคร   คำนี้แปลถูกต้อง
2  จัตุเทวาภิบาล 4 องค์   พระซื่อเมือง  พระทรงเมือง  พระหลักเมือง  พระกาลเมือง   
พระซื่อเมือง คือพระพุทธศาสนา
พระทรงเมือง  คือ kingdom หรือ empire   พระราชกำหนดบทพระอัยการ  กฎหมาย
3 พระหลักเมือง  คือ เสวกามาตย์ ราชบริพาร ที่สำหรับพิพากษาอรรถคดี  เสนาบดีมุขมนตรี   รัฐมนตรีและองคมนตรี (government)
หรือ ราชาธิปไตย (สะกดว่าราชาธิปตัย)
หรือ ราชะอธิปติ  (ราชะอธิบดี)
4  พระกาลเมืองคือจตุรงคเสนามาตย์  คือช้าง ม้า เกวียน ระแทะ ไพร่ราบ

แล้วเอาไปเทียบกับธาตุทั้งสี่ในกายมนุษย์ คือดินน้ำลมไฟ   เรียกว่าภูตทั้งสี่ ที่รักษาร่างกายมนุษย์

คำอธิบายทั้งหมดนี้ดิฉันสงสัยว่านายกุหลาบคิดเอง



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 30 มี.ค. 10, 06:27

คุณเพ็ญชมพูคะ

     ลิ้งค์ที่นำมาฝาก  บอกว่าคุณเพ็ญใจดีมาก
เลยนำไปเล่าต่อในงานหนังสือ

     มีหลักฐานบางอย่างที่ว่า สยามประเภท เล่ม ๗  มีจริง

อือม์...สารบาญชีเล่ม ๓ กับเล่ม ๔    ท่านผู้ครอบครองสบสายตากับสายตาอันกระหายและหิวโหย
ของดิฉันก็ใจอ่อน  ว่าจะถ่ายเอกสารมาให้
ท่านทำมือสูงเป็นคืบ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 30 มี.ค. 10, 11:47

คุณเพ็ญชมพูคะ

ลิ้งค์ที่นำมาฝาก  บอกว่าคุณเพ็ญใจดีมาก เลยนำไปเล่าต่อในงานหนังสือ

ดีใจที่คุณวันดีชมว่าใจดี   ยิงฟันยิ้ม



ขอจับความเนื้อความตามท้องเรื่อง จัตุเทวาภิบาล

คุณเทาชมพูเคยอธิบายไว้ว่าทั้ง ๔ องค์เป็นเทวดาซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมือง

พระหลักเมืองเป็นเทวดาดั้งเดิมตามความเชื่อของคนไทยก่อนพระพุทธศาสนาจะเข้ามา ประจำอยู่ที่เสาหลักเมือง

ส่วนพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร คุณเทาชมพูไม่ได้แจ้งไว้

สุดท้าย พระกาฬไชยศรี (พระกาลเมือง) เป็นเทวดาอินเดีย บริวารของพระยม

http://vcharkarn.com/reurnthai/lark_mung.php

ประวิติที่มาของพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง นี้มีการพูดถึงอยู่เนือง ๆ แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดแจ้ง

ครั้งหนึ่งได้เคยถกเรื่องนี้กันกับคุณโฮและคุณม้าในห้องสมุด พันทิป มีความเห็นต่อเทวดาทั้งสองนี้หลายหลาก
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7677216/K7677216.html

คุณเพ็ญเริ่มก่อน

พระเสื้อเมือง อาจจะมาจากคำว่า พระเชื้อเมืองอันหมายถึงว่าเป็นผีเชื้อสาย หรือเทวดาที่คุ้มครองรักษาเมืองตามลัทธิของไทยโบราณที่นับถือผีบรรพบุรุษปู่ย่าตายาย ตามความเห็นของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

คุณโฮมีความเห็นกลับตรงกันข้ามคือ คำว่าพระเชื้อเมืองก็อาจมาจากพระเสื้อเมือง ก็ได้

"เสื้อ" น่าจะเป็นคำไทเดิม ที่ตรงกับคำว่า "เสื้อ (ผ้า)" คือ สวมใส่ หรือ สถิต หรือ สิง ปกป้องอะไรบางอย่าง เช่น เสื้อผ้า ก็ปกป้องร่างกาย เสื้อเมืองก็ปกป้องเมือง

ผีเสื้อเมือง พระทรงเมือง ก็คือ ดวงวิญญาณของผี ที่ปกป้องเมือง (สังเกตว่า พระเสื้อเมือง และ พระทรงเมือง น่าจะเป็นการเปลี่ยนคำให้ดูเป็นทางการมากขึ้น คือ เปลี่ยนจาก ผี เป็น พระ และ เปลี่ยนจาก เสื้อ เป็น ทรง)


คุณม้าเห็นด้วยกับคุณโฮ

แต่คุณเพ็ญมีความเห็นแตกแขนงมาจากคุณโฮ

มีเรื่องล้อเล่นกันอยู่เสมอว่า เมื่อมีพระเสื้อเมืองแล้วจะมีพระกางเกงเมืองด้วยหรือเปล่า ถ้าหากคำว่า "เสื้อ" ใน พระเสื้อเมืองมาจาก "เสื้อผ้า" อย่างที่คุณโฮว่าแล้ว คำว่า "ทรง" ในคำว่า "พระทรงเมือง" ก็เป็นไปได้ว่ามาจากคำว่า "ซง หรือ ส่ง" (ในภาษาผู้ไทและไทยอีสาน) ซึ่งเป็นคำไทเก่า ที่แปลว่า กางเกง

คนไทยเรียกชาวไทดำว่า ลาวโซ่ง โซ่งนั้นมีการสันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำว่า ซ่วง หรือ ซ่ง ซึ่งเป็นภาษาไทดำ แปลว่ากางเกง เพราะว่าชาวไทดำเหล่านี้สวมกางเกงสีดำ  ปัจจุบันเรียกคนเหล่านี้ว่า ชาวไทยโซ่ง หรือ "ไทยทรงดำ"


สรุปแล้ว พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เป็นใคร หรือ อะไร มาจากไหนกันแน่

รออ่านความเห็นของคุณเทาชมพู

 ฮืม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 30 มี.ค. 10, 12:46

คำอธิบายของนายกุหลาบ ฟังจับแพะชนแกะพิกล     ขออภัยถ้าไม่ถูกใจผู้ที่เห็นว่านายกุหลาบเป็นปัญญาชนสยาม
ลำดับตั้งแต่ตอนแรก
1  บ้านเมืองที่เป็นเอกราช
เอกราช= อินดีเพนเดน   (independent)  ไม่ขึ้นแก่ใคร   คำนี้แปลถูกต้อง
2  จัตุเทวาภิบาล 4 องค์   พระซื่อเมือง  พระทรงเมือง  พระหลักเมือง  พระกาลเมือง  
พระซื่อเมือง คือพระพุทธศาสนา
พระทรงเมือง  คือ kingdom หรือ empire   พระราชกำหนดบทพระอัยการ  กฎหมาย
3 พระหลักเมือง  คือ เสวกามาตย์ ราชบริพาร ที่สำหรับพิพากษาอรรถคดี  เสนาบดีมุขมนตรี   รัฐมนตรีและองคมนตรี (government)
หรือ ราชาธิปไตย (สะกดว่าราชาธิปตัย)
หรือ ราชะอธิปติ  (ราชะอธิบดี)
4  พระกาลเมืองคือจตุรงคเสนามาตย์  คือช้าง ม้า เกวียน ระแทะ ไพร่ราบ

แล้วเอาไปเทียบกับธาตุทั้งสี่ในกายมนุษย์ คือดินน้ำลมไฟ   เรียกว่าภูตทั้งสี่ ที่รักษาร่างกายมนุษย์

คำอธิบายทั้งหมดนี้ดิฉันสงสัยว่านายกุหลาบคิดเอง


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยประทานคำอธิบายเรื่องนี้ในเชิงสัญลักษณ์

ให้ความหมายของเสื้อเมืองไว้ว่ามิลลิตารีเพาเวอร์ ทรงเมืองเป็นซิวิลเพาเวอร์ และหลักเมืองเป็นจูดิคัลเพาเวอร์ เพื่อออปท์กับโมเดินไอเดีย 

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=14-05-2007&group=11&gblog=15

อ่านดูแล้วแทบจะครอบคลุมความหมายของ จัตุเทวภิบาล ตามความเห็นของ ก.ศ.ร.กุหลาบ เพียงแต่สลับหัวข้อกันเท่านั้น

 เจ๋ง


อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้วิจารณ์ความคิดเห็นทางการเมืองของ ก.ศ.ร.กุหลาบไว้ในหนังสือ ชีวิตและงานของเทียนวรรณและ ก.ศ.ร.กุหลาบ ว่า

แม้ว่างานเขียนส่วนใหญ่ของ ก.ศ.ร.กุหลาบจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจารณ์สังคมและการเมืองเช่นงานของเทียนวรรณก็ตาม แต่มีงานบางชิ้นซึ่งสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของเขาว่าการปกครองในอุดมคติ หรือการปกครองที่ดีนั้นควรเป็นการปกครองซึ่งยึดถือความยุติธรรมเป็นหลัก ความยุติธรรมตามความหมายของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ได้แก่การปฏิบัติตามธรรมของพุทธศาสนา และการนำคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการปกครองและการบริหารราชการทุกระดับ

ตามความเห็นของ ก.ศ.ร.กุหลาบ นั้น พระซื่อเมืองเป็นหลักใหญ่ของการปกครองบ้านเมือง เพราะธรรมเป็นที่มาของกฎหมาย ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการปกครองอีกทีหนึ่ง ความคิดนี้ไม่ใช่ความคิดใหม่ แต่ ก.ศ.ร.กุหลาบ หยิบยืมมาจากหลักการปกครองสมัยโบราณที่ปรากฏในพระพิไชยเสนาและเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การขุนหลวงประดู่ทรงธรรม ความคิดเกี่ยวกับจัตุเทวาภิบาลนี้ได้รับอิทธิพลจากความคิดทางฮินดู ซึ่งเห็นว่าสังคมประกอบด้วยองคาพยพต่าง ๆ แต่ความคิดนี้ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นของไทยโดยการให้ความสำคัญต่อหลักธรรมของพระพุทธศาสนา กล่าวคือตามทฤษฎีองคาพยพของฮินดูนั้นพระมหากษัตริย์เป็นองคาพยพที่สำคัญที่สุด แต่ความคิดของไทยซึ่งเป็นการผสมผสานความคิดฮินดูกันพุทธนั้นได้ให้ความสำคัญแก่หลักธรรมหรือพระไตรปิฎกว่าเป็นองคาพยพที่มีความสำคัญมากกว่าองคาพยพอื่น ๆ

ดังนั้นตามความคิดเห็นของ ก.ศ.ร.กุหลาบ หลักเมืองได้แก่รัฐบาลซึ่งประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และเสนาบดีเป็นหลักของอาณาจักร แต่ที่สำคัญไปกว่านี้ได้แก่หลักธรรม ซึ่งเป็นที่มาของกฎหมายทั้งปวงและเป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองคือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระซื่อเมืองเป็นที่มาของพระทรงเมือง (กฎหมาย) ซึ่งใช้บังคับคดีทางโลกและไม่ไพร่พลเป็นพื้นฐานสำคัญในการป้องกันราชอาณาจักร เอกราชของบ้านเมืองจึงต้องมีปัจจัยสี่นี้ประกอบกัน จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดหาได้ไม่ ถ้าปราศจากพระซื่อเมืองแล้ว พระทรงเมือง (ตัวบทกฎหมาย) จะยึดหลักของความยุติธรรมจากสิ่งใด และถ้าพระหลักเมืองคือเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ไม่มีหลักธรรมแล้ว การปกครองจะเป็นอย่างใด







บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 31 มี.ค. 10, 10:14

เพื่อเป็นการคลายเครียด ขอเชิญเพื่อน ๆ แวะไปอ่านพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่อง "รายงานการประชุมปาลิเมนต์สยาม" ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือทวีปัญญา ล้อเลียน ก.ศ.ร.กุหลาบ (นายเกศร์) และเทียนวรรณ (นายทวน) อย่างสนุกสนาน

 ยิงฟันยิ้ม

เรียนถามคุณ V_Mee เรื่องพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2664.msg62281;topicseen#msg62281

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 31 มี.ค. 10, 12:29

เปรียบเทียบการตีความ เทวดารักษาเมืองทั้ง ๔ องค์ ระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนายกุหลาบ
๑  พระเสื้อเมือง
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ =   มิลลิตารีเพาเวอร์  (กองกำลังทางทหาร  กลาโหม)  
นายกุหลาบ              =   พระพุทธศาสนา
๒ พระทรงเมือง
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ =   ซิวิลเพาเวอร์     (กองกำลังพลเรือน  มหาดไทย)
นายกุหลาบ              =   kingdom หรือ empire   พระราชกำหนดบทพระอัยการ  กฎหมาย
๓ พระหลักเมือง
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ =  จูดิคัลเพาเวอร์   (อำนาจตุลาการ  เช่นกฎหมาย  บทพระอัยการฯลฯ)
 นายกุหลาบ               =   เสวกามาตย์ ราชบริพาร ที่สำหรับพิพากษาอรรถคดี  เสนาบดีมุขมนตรี   รัฐมนตรีและองคมนตรี (government)
๔ พระกาลเมือง  
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ =  ไม่ได้ระบุว่าคืออะไร
นายกุหลาบ                 = จตุรงคเสนามาตย์  คือช้าง ม้า เกวียน ระแทะ ไพร่ราบ

คนละเรื่องกันเลยค่ะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 31 มี.ค. 10, 13:21

เปรียบเทียบการตีความ เทวดารักษาเมืองทั้ง ๔ องค์ ระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนายกุหลาบ

คนละเรื่องกันเลยค่ะ

ในเรื่องนี้ของทั้ง ๒ ท่านมีความเหมือนกันอยู่ ๒ ประการ คือ

๑. นำของเก่ามาตีความใหม่

๒. ความที่ตีออกมาแล้วอยู่ในเรื่องเดียวกัน เพียงแต่สลับหัวข้อกันเท่านั้น

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ           ก.ศ.ร.กุหลาบ
                          
มิลลิตารีเพาเวอร์  (พระเสื้อเมือง)     =     จตุรงคเสนามาตย์  คือช้าง ม้า เกวียน ระแทะ ไพร่ราบ (พระกาลเมือง)

ซิวิลเพาเวอร์       (พระทรงเมือง)    =     เสวกามาตย์ราชบริพาร    (พระหลักเมือง)

จูดิคัลเพาเวอร์     (พระหลักเมือง)    =     พระราชกำหนดบทพระอัยการ  กฎหมาย (พระทรงเมือง)  ซึ่งมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา  
                                               (พระซื่อเมือง)  

 เจ๋ง      

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 31 มี.ค. 10, 13:53

คนละเรื่องค่ะ
ตีความอย่างนายกุหลาบ เรียกว่าเหวี่ยงแหในวงกว้าง   ยังไงมันก็มีส่วนถูกเข้าจนได้  จะเรียกว่าสลับหัวข้อหรืออะไรก็ตาม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 เม.ย. 10, 10:47

เนื้อหาในสยามประเภทนอกจากเกี่ยวกับพงศาวดาร, เหตุการณ์ประวัติศาสตร์, ประวัติบุคคล และความคิดเห็นเรื่องการบ้านการเมืองบ้างแล้ว สิ่งหนึ่งที่ ก.ศ.ร.กุหลาบ พยายามทำคือเผยแพร่ความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้แก่ประชาชนเพื่อจะได้พ้นจากความเชื่อแบบโบราณ อันเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของสังคม

เรื่อง "กะถากันไฟไหม้ได้" ดูจะเป็นตัวอย่างอันดีสำหรับเรื่องนี้

 ยิ้มเท่ห์





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 01 เม.ย. 10, 10:58

หน้าสุดท้าย


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 01 เม.ย. 10, 11:40

ท้ายประวัติ

นายชายเมื่ออายุ ๑๓ ปี  ได้บรรพชา ๔ เป็นสามเณร ในวัดนรนารถสุนทริการาม อยู่ ๔ พรรษา

ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่เวรศักดิ์ 
ทำงานเป็นผู้สืบข่าว  วิจินานุการี(ริโปศเตอร์) ของสยามออบเซอเวอร์ ๔ ปีเศษ

หุ่นมารดาเสียชีวิตไปก่อนนายชายบวช

ก.ศ.ร. จัดการบวช แต่สังเขปกับกำลังจะทำได้ เมื่อวันที่ ๑๙  กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑ค  เวลา บ่ายสองโมง
ที่วัดราชาธิราช(สมอราย)


 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง