เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 61281 ก.ศ.ร. กุหลาบ ชีวิตพิศวง
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 24 มี.ค. 10, 10:02

"คณะกรรมการไต่สวน  เรียกหนังสือที่ให้นายกุหลาบส่งมาพิสูจน์

บางเรื่องก็ไม่เกี่ยวกับประวัติสมเด็จพระสังฆราช

เปนแต่เรียกมาเพื่อพิสูจน์ชื่อเสียงของผู้เรียบเรียงประวัตินั้น

เมื่อเสร็จธุระแล้ว ส่งคืน




เอาไว้แต่หนังสือ ปฐมวงศ์  แลหนังสือที่นายกุหลาบตั้งชื่อว่า  ต้นเหตุข้าราชการผู้น้อยได้รับพระราชทานเครื่องอิศริยยศ

ซึ่งนายกุหลาบส่งในชื่อของตำรามหามุขมาตยานุกูลวงศ์"


?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 25 มี.ค. 10, 09:49

เรื่อง กรมอาษาปราบจาม นั้น   มีอยู่ในหนังสือต้นเหตุจีนสามอย่างพิสดาร
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สยามประเภท  ริมวัดราชบพิธ  ถนลเฟื่องนคร
กรุงเทพ ฯ  ศก ๑๒๙

ก.ศ.ร. เขียนเรื่องนี้เมื่อสูงอายุแล้ว  ข้อความเคลื่อนมาก

ร.ศ. ๑๒๙ = พ.ศ. ๒๔๕๓  ก.ศ.ร.กุหลาบมีอายุ ๒๔๕๓ - ๒๓๗๗ = ๗๖ ปี

ส. ธรรมยศ วิจารณ์ ก.ศ.ร.กุหลาบไว้ว่า

ก.ศ.ร.กุหลาบ ค่อนข้างจะเปรื่องไปทางโลดโผน จะหนีความจริงก็เอา จึงโดนตำหนิมาก งานที่พึงอ่านของ ก.ศ.ร.กุหลาบมีใน "สยามประเภท" ระยะสิบปีแรก ระยะกลางและระยะปลายติดจะฟุ้งไปอยุ่บ้าง จำต้องอ่านอย่างระมัดระวัง

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 25 มี.ค. 10, 10:12

สยามประเภท-สุนทโรวาทพิเศษฉบับแรกออกเมื่อวันศุกร์ที่  ๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ก.ศ.ร.กุหลาบอายุได้ ๖๓ ปี





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 25 มี.ค. 10, 10:31

หน้าต่อมาในอารัมภะวัณณะคาถา (คำนำ) ก.ศ.ร.กุหลาบได้ชี้แจงว่าได้คิดทำหนังสือนี้มาประมาณ ๓๐ ปีเศษแล้ว และก่อนหน้าหนังสือสยามประเภท-สุนทโรวาทพิเศษเล่มนี้  ก.ศ.ร.กุหลาบได้จัดทำหนังสือสยามประเภทเสร็จครั้งแรกจริง ๆ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๕) ก.ศ.ร.กุหลาบอายุได้ ๕๘ ปี



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 25 มี.ค. 10, 18:30

ถ้าไม่เป็นการรบกวนคุณเพ็ญจนเกินไป     ฝากถามหอสมุดแห่งชาติทีว่ามี สยามประเภท กี่เล่ม  มีถึงเล่มไหนได้ไหมคะ


พยายามจากต้นฉบับที่พอมีอยู่บ้าง  ว่า พระจุลปิ่นเกษ  อยู่ตรงไหน  ก็ยังไม่เจอ
เจอแต่เรื่องพระปิ่นเกษ






จะขอเล่าเรื่องขัน ๆ ดีกว่า   ให้ชื่อว่า  เมื่อ ก.ศ.ร. เป็นนักสืบ

ใน สยามประเภท เล่ม ๒  ตอนที่ ๑๗  วันอังคารที่ ๑  สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๘
สารบาญบอกว่า  คำโต้ตอบเบ็ตเล็ดต่างๆ ของ เอดิเตอร์  หน้า ๙๐๔


ในหน้า ๙๐๗

คำโคลงจากสวรรค์

(ของพระใบฏีกาห่วงอาจาริย์โรงเรียนเมืองนครสวรรค์)

หัว       เราะเยาะเล่นทั้งหญิงชาย
ล้าน     ผมหงอกมากหลายจริงแท้
นอก     คอกเพราะห์ติเตียนพระเณรนักปราชเฮย
ครู       แท้ท่านบออดอาจเอื้อมติสงฆ์

     เซ็น   พระใบฎีกาห่วง  เมืองนครสวรรค์


         มีคำร้อยแก้วติดมาข้างท้ายถามเราว่า  เรื่องอยู่คงกะภัณฑ์ชาตรีแทงฟันไม่เข้ายิงไม่ออก
แลทำคุณไสย์  เอาเนื้อหนังในท้องให้คนตายนั้น   จะเท็จจริงเป็นฉันใด   ขอร้องขอให้เราตอบ



        เราขอตอบสั้นๆ ว่า
จะเท็จจริงฉันใดไม่แจ้ง    แต่เรามาตริตรอง และอธิบายตามเข้าใจว่า
ถ้าวิชากะถาเหล่านี้มีจริง   เมืองไทยไปตีเมืองเวียงจันท์  เชียงใหม่  เชียงตุง  เขมรเป็นต้น

เมืองเหล่านี้มีวิชากถาสวดภาวะนาด้วยกันทุกเมือง
เหตุไฉนไม่เอาเนื้อหนังเข้าท้องข้าศึกให้ตายหมดเล่า
เหตุใดจึงยอมให้ข้าศึกตีบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้

ให้มหาชนคิดตริตรองดูเทอญ
(ตอบต่ออีก ๑ หน้า)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 25 มี.ค. 10, 19:14

หนึ่งเดือนต่อมา

ใน สยามประเภทเล่ม ๒  ตอนที่ ๑๙  วันศุกร  ที่ ๑ กันยายน  ร.ศ. ๑๑๘

หน้า ๑๐๑๑

                    โคลงแสดงความบริสุทธื

ขอ   สิ่งศิริสวัสดิ์ได้                     อภิบาล
จง   ศุขเกษมสานต์                     ยิ่งแล้ว
มี    กับท่านอาจาริย์                    กุหลาบ    เถิดเนอ
ศุข  ได้  ไภยคลาดแคล้ว               เคลื่อนพ้นจากพาล

เขียนที่    โรงเรียน  ธรรมฐิติวงศ์พิทยากร      ในวัดโพธาราม   ปากน้ำโพ   เมืองนครสวรรค์

     เจริญพรท่านอาจาริย์ ก.​ศ.​ร. กุหลาบ เอดิเตอร์

อาตมภาพ อ่าน สยามประเภท ............................... พบถ้อยคำของคนพาลสันดานอยาบช้า
ที่ว่าเป็น ของ  พระใบฎีกาห่วง..............

เห็นแล้วสดุ้งใจกลัวว่าท่นอาจาริย์กับชนอื่น.......จะเข้าใจว่า  อาตมภาพผู้ชื่อพระห่วง ของเจ้าคุณ..........
ตั้งอาตมภาพเปนพระวินัยธรรมสอนนักเรียน

และเป็นผู้ตั้งอยู่ในความสุจริตแท้จริง      อยากจะหาความดีความงามที่เปนประโยชน์  แก่ตัวและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ไม่อยากจะกล่าวถ้อยคำไม่พอโสตรของผู้ฟังเลย

....................................................



    เรา(เอดิเตอร์) ได้ตรวจดูลายมือพระวินัยธรรม(ห่วง)ตลอดแล้ว   เห็นว่าผิดกับลายมือในฉบับก่อน ๆ

เราได้ให้ข้าหลวงมณฑลนครสวรรค์  สืบไปรสนีย์บุรุษ  ในมณฑลนั้นได้ความว่า 

หนังสือที่ด่าเรานั้น  เปนหนังสือของพระมหานิกายรูปหนึ่ง  อยู่ในวัดโพธารามปากน้ำโพนั่นเอง
ชื่อ  ม.ก.   อายุศม์  ๓๖ ปี
เปนพระอะลัชชี   ไม่มีหิริโอตัปปะ  ในสาสโนวาทหามิได้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 09:29

ถ้าไม่เป็นการรบกวนคุณเพ็ญจนเกินไป     ฝากถามหอสมุดแห่งชาติทีว่ามี สยามประเภท กี่เล่ม  มีถึงเล่มไหนได้ไหมคะ

เรียนคุณวันดี

หอสมุดแห่งชาติมี สยามประเภท อยู่กี่เล่ม ขณะนี้ไม่อาจทราบได้

แต่หากที่สามารถสืบค้นในอินเตอร์เน็ตได้มีอยู่สองเล่ม

สยามประเภท เล่ม ๑
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2684

สยามประเภท เล่ม ๒
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2685

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 10:03

ภาพ ก.ศ.ร.กุหลาบ และ ก.ห.ชาย จากสยามประเภท เล่ม ๒


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 10:10

เท่าที่เห็นมาด้วยตนเอง  


เล่มหนึ่ง  พิมพ์ซ้ำ สองหน  
หนที่สองพิมพ์ ๑๕๐๐  ฉบับ(สงสัยแจกกระจาย)


เล่มสองมี  สองเล่ม

เล่มสามมี สองเล่ม

เล่มสี่  มีสองเล่ม


ที่  ก.ศ.ร. โฆษณาไว้ มี ๑๒ เล่ม  
เห็นรูปถ่ายที่เซียนขายไปแล้ว  ที่สันปกเขียนไว้ว่า เล่ม ๑๐
นั่นหมายความว่าปีที่ ๑๐


เคยอ้าปากค้างเพราะรับฟังมาว่า เล่ม สาม   มีสามเล่ม
ใครเล่าอะไรก็เชื่อไว้ก่อนเสมอ
อ่านไปอ่านมาไม่สมเหตุผลก็อ่านให้มิตรสหายฟัง
หัวเราะกันกลิ้งเลย


แต่เรื่องโขนกลางแปลงปลายรัชกาลที่ ๓  ก.ศ.ร. เห็นมาเอง
ท่านเล่าครึกครื้นมาก

โขนสมัยรัชกาลที่ ๔   ท่านเป็นหนุ่มใหญ่แล้ว  รายละเอียดน่าสนใจ


เรื่องประวัติขุนนางนั้น  ถ้ามาปลายอยุธยาก็น่าฟัง   ถ้ามาจากอู่ทองก็ตัวใครตัวท่านเทอญ

ก.ศ.ร. ไปเยี่ยมข้าราชการที่บ้านหลายคน  จึงลงประวัติลูก หลาน เหลน เสียยาวไกล
อ่านแล้วพอตรวจสอบได้

รายชื่อของแฟนคลับที่เขียนมาถามนู่นถามนี่  น่าสนใจมากกว่าเรื่องที่ถามอีก
มีอดีตทูตฝรั่งเศสในสยามเขียนมาถามด้วย  ก.ศ.ร. ให้คนเอาไปแปล


เรื่องพระเจ้าลูกยาเธอที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศ  ก.ศ.ร. ก็ชื่นชมยกย่องบูชา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 10:36

ก.ศ.ร.กุหลาบได้จัดทำหนังสือสยามประเภทเสร็จครั้งแรกจริง ๆ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๔๓๕) ก.ศ.ร.กุหลาบอายุได้ ๕๘ ปี

มีร่องรอยของสยามประเภทฉบับแรก ๆ อยู่ในตอนท้ายจดหมายของ ก.ศ.ร.กุหลาบถึงยี อี เยรินี (พระสารสาสน์พลขันธ์) ฉบับลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ.๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕)


คำนับมายังท่านอาจาริย์เยรินีที่รักนับถือของฃ้าพเจ้าได้ทราบ

.............................................................

ฃ้อ ๖ เหตุที่นายชายยังไม่กลับลงมานี้จึ่งยังไม่ได้ลอกตำราที่พราหมณ์สังอย่าง ๑ จึ่งยังไม่ได้เอาสมุดสยามประเภทสองสามเล่มลงไปให้ท่านครูอย่าง ๑ จึงยังไม่ได้เอาเงินสามตำลึงลงไปส่งท่านครูอย่าง ๑ เพราะไม่มีคนไว้ใจใช้ มีแต่เบ่า ไว้ใจไม่ได้เปนแน่เพราะเคยถูกมาแล้ว ราคาบาทก็เอา แต่ข้าพเจ้าขาตขะเนว่านายชายคงจะลงมาใน ๒ วันนี้เปนแน่

..............................................................

K.S.R. Kularb ก,ศ,ร, กุหลาบ


คุณศรัณย์ ทองปาน ผู้เขียนบทความเรื่อง ยี อี เยรินี กับ ก.ศ.ร. กุหลาบ และ “วงวิชาการ” ของสยามในปลายศตวรรษที่ ๑๙ ลงในวารสารเมืองโบราณบอกว่า พบสยามประเภท ปีที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในหอสมุด ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=50

คุณวันดีพอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสยามประเภทฉบับเหล่านี้หรือไม่

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 11:15

รายชื่อของแฟนคลับที่เขียนมาถามนู่นถามนี่  น่าสนใจมากกว่าเรื่องที่ถามอีก

หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม) ผู้เขียนนิราศหนองคายก็เป็นแฟนคลับของ ก.ศ.ร.กุหลาบ คนหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 11:18

คุณศรัณย์ ทองปาน ผู้เขียนบทความเรื่อง ยี อี เยรินี กับ ก.ศ.ร. กุหลาบ และ “วงวิชาการ” ของสยามในปลายศตวรรษที่ ๑๙ ลงในวารสารเมืองโบราณบอกว่า พบสยามประเภท ปีที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในหอสมุด ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณวันดีพอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสยามประเภทฉบับเหล่านี้หรือไม่

สยามประเภท ปีที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในหอสมุด ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ผมเคยไปขอยืมอ่านอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อน  สภาพยังพอใช้ได้  ทางหอสมุดเขาทำฉบับจำลองไว้ให้บริการด้วย  ส่วนฉบับตัวจริงเก็บไว้ไม่ได้เอาออกบริการ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 13:42

สำหรับคุณเพ็ญชมพูสหายผู้รู้ใจ  และคุณหลวงเล็กมิตรใหม่ผู้น่าเกรงขาม    ทั้งสองท่านเปรียบประดุจดาวประกายพฤกษ์แห่งการเรียนรู้

ดิฉันไม่มีอะไรจะปิดบัง  เพราะหนังสือที่น่าอ่านนั้น   ไม่ควรจะเป็นสมบัติของใคร



สยามประเภทรวมเล่ม  เล่ม ๒ นั้น

แบ่งเป็น   ตอนที่ ๑ - ๑๒      ร.ศ. ๑๑๗ - ๑๑๘

หนา ๖๕๖  หน้า


อีกเล่ม คือ ตอนที่ ๑๓ - ๒๔

หนา ๑๒๘๐  หน้า  และ มีส่วนสารบาญ อีก ๙  หน้า



ส่วนที่อ่านเพลิน คือ กระทู้จากคนอ่าน
กระทู้หนึ่ง เขียนต่อว่า เจ้าอนุ  ไม่ได้กินยาตาย  โจนที่สูงตาย
ก.ศ.ร.  มีศักระวาท์ตอบว่า  เจ้าอนุไม่ได้โจนที่สูงตายหรือกินยาตายแน่

อิอิ...มีกลอนถามว่าเรื่องขุนช้างขุนแผนมีครั้งไหน( หน้า ๑๐๒๖)
แหะ ๆ   เกรงคุณเทาชมพูจะเวียนไปด้วย  จึงขอเก็บไว้ก่อน



ถ้าเราจะอ่าน สยามประเภทแบบสนุก  สนุกมากทีเดียวค่ะ
แต่ต้องไปค้นหนังสือประกอบมากมาย  ซึ่งหลายคนไม่ว่างพอจะทำ  หรือมีเพื่อน หรือครูบาอาจารย์
ที่จะหักหาญแนะนำ


ดิฉันอยู่ชมรมนักอ่านหลายกลุ่ม  จึงอ่านผ่านมาโดยการแนะนำสั่งสอนของนักอ่านหลายคน

ทั้งนี้ เรือนไทยก็ใจกว้าง ที่ยอมให้ดิฉันนำเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของ ก.ศ.ร. กุหลาบมาลง
ดิฉันก็ต้องระมัดระวังเลือกเรื่องที่พอจะคุยกันได้

เรื่องราวที่ลึกลับตื่นเต้นเหลือเชื่อนั้นไม่มี  เพราะเรื่องเหล่านี้ไปปรากฎอยู่ในหนังสือบ่อยแล้ว
และลอกต่อ ๆ กันไปโดยมิได้อ้างอิงหรือค้นคว้าเพิ่มเติม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 14:04

เรื่อง เยรินีนั้น  คุยกันได้นาน


เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับก.ศ.ร.นั้น   ก.ศ.ร. ยกย่องว่าเยรินีมีตำราพราหมณ์มากมายหลายร้อยเล่ม

พราหมณ์ที่เข้ามาเมืองไทยสี่สายนั้น ในปัจจุบัน(ของ ก.ศ.ร.) จะมีตำราติดบ้านสักเล่ม หรือ สิบเล่ม ร้อยเล่ม ก็ยาก
สู้อาจารย์เยรินี และคนไทยบางคนที่มีตำรามากมายอีกคนหนึ่ง(!) ก็ไม่ได้(ใครหนอ...)
พวกเขามีกันเป็นพัน ๆ เล่ม




เสียดายก็หนังสือที่ ก.ศ.ร. คัดลอกให้ไป     ก.ศ.ร. เป็น คนหาหนังสือให้เยรินี 

เคยจ้างให้เยรินีแปลโทรเลข  และเขียนบทความในสยามประเภท  ตอนเยรินีตกงานอยู่พักหนึ่ง

นายชายผู้คัดลอกหนังสือ  คงคัดผิดไปบ้างเป็นแน่



อย่าลืมเรื่องการลักลอบนำเข้ากระสุนดินดำ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 26 มี.ค. 10, 15:15

ส่วนที่อ่านเพลิน คือ กระทู้จากคนอ่าน
กระทู้หนึ่ง เขียนต่อว่า เจ้าอนุ  ไม่ได้กินยาตาย  โจนที่สูงตาย
ก.ศ.ร.  มีศักระวาท์ตอบว่า  เจ้าอนุไม่ได้โจนที่สูงตายหรือกินยาตายแน่

นำเสนอให้อ่านเล่นเย็นเย็นใจ

 ยิงฟันยิ้ม





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง