เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 61488 ก.ศ.ร. กุหลาบ ชีวิตพิศวง
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 09:44

ขอบคุณค่ะคุณเพ็ญ  เรื่องที่ลงในราชกิจจาก็อยู่ในหนังสือ  จดหมายเหตุเล่มนี้



หน้า (ซ)

นายกุหลาบถูกไต่สวนเรื่องแต่งหนังสือเท็จในรัชกาลที่ ๕ ถึง ๔ ครั้ง

รายงานฉบับนี้เป็นแต่ครั้งเดียวและครั้งที่ ๓

ครั้งที่ ๑  พระปิ่นเกษและพระจุลปิ่นเกษ
นายกุหลาบรับสารภาพว่าหามีหลักฐานอันใดไม่  เป็นแต่คิดประดิษฐขึ้นเองทั้งสิ้น



ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓   อธิบายระเบียบการพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่องานพระเมรุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
นายกุหลาบสารภาพว่า  หามีตำหรับตำราอันใดไม่  เป็นแต่คิดแต่งขึ้นอวดผู้อื่น
มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๘ หน้า ๕๓  ออกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙


เรื่องที่ ๔ คือใบปลิวพบต้นฉะบับกฎหมายพระเจ้าท้ายสระ
เรื่องนี้ก็ได้มีเล่าไว้ในหนังสือหลายเล่มแล้ว

  
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 10:15

หนังสือสารภาพของนายกุหลาบ  ยื่นเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม



         การที่ได้เรียบเรียงประวัติสมเด็จพระสังฆราชนั้น     ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ตั้งจิตรคิดเจตนา
มุ่งหมายจะกล่าวเท็จหามิได้เลย   เปนความสัตย์ความจริงขิงข้าพระพุทธเจ้า


บัดนี้คณะกรรมการได้ทรงไต่สวนข้าพระพุทธเจ้า    ข้าพระพุทธเจ้าจึงรู้สึกด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ว่าข้าพระพุทธเจ้ามีความผิดพระราชอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ  ๕ ประการคือ

๑     ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ส่งต้นร่างไปถวายอธิบดีกรมราชเลขานุการ  ขอรับพระราชทานบรมราชานุญาตก่อน

๒     ข้าพระพุทธเจ้าเปนคนหยาบใจเบาโง่เขลา   หลงเชื่อตำราเก่าที่คัดลอกต่อกันมาหลายชั่วคน   กล่าวถึงต้นวงศ์เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์(อู่)
       นำมาต่อเปนต้นวงศ์สมเด็จพระสังฆราชด้วย         เพราะได้ทราบที่สมเด็จพระสังฆราชบอกว่า  เจ้าพระยาชำนาญ ฯ  เปนตาสมเด็จพระสังฆราช

๓     ข้าพระพุทธเจ้าเปนคนใจเบา  เชื่อคำบอกเล่าซึ่งบัดนี้ล่วงชนม์ชีพไปแล้ว         ไม่มีหลักฐานพยานมั่นคงอันใด
       นำมาลงไว้ในประวัติสมเด็จพระสังฆราช    จึงมีความผิดซึ่งไม่ควรจะเชื่อถือได้

๔     ข้าพระพุทธเจ้าเชื่อคำบอกเล่าคนเก่าและญาติของสมเด็จพระสังฆราชบอกให้ฟังอย่างไร  ก็เก็บมาเรียบเรียงในประวัติ

๕     ข้าพระพุทธเจ้าหาได้สืบถามตามพระเณร  ซึ่งมีชีวิตอยู่เดี๋ยวนี้ไม่   ข้อความยังคลาดเคลื่อนบกพร่องอยู่หลายประการ


         ข้าพระพุทธเจ้าอาศัยเหตุ ๕ ประการนี้   มาเรียบเรียงเปนประวัติสมเด็จพระสังฆราชนั้น    รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่า   ข้าพระพุทธเจ้ามีความผิดด้วยทางราชการ  พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   ขอเดชะ



คณะกรรมการเห็นว่า  นายกุหลาบหาได้สารภาพด้วยน้ำใจอันจริงไม่  เพราะยังอำพรางปิดบังความจริงอยู่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 10:32

จึงเรียกนายกุหลาบมาชี้แจงให้เข้าใจ
นายกุหลาบขอถอนคำนั้น  ว่าจะไปเรียงมาใหม่


หนังสือสารภาพที่นายกุหลาบยื่นเมื่อ ๒๔ มีนาคม


๑    นายกุหลาบอ้างพยานที่ยังมีตัว  มีนายเทียนวรรณเปนต้น
พยานเบิกความเปนปฎิปักษ์แก่คำของนายกุหลาบบ้าง   เบิกความไม่ถึงบ้าง
นายกุหลาบก็มิได้ซักกรรมการรเห็นว่าพยานพิรุธ

ข้อที่นายกุหลาบอ้างพยานไม่ได้จริงเช่นนี้   จะให้กรรมการเข้าใจว่าอย่างไร   นอกจากนายกุหลาบจงใจกล่าวเท็จ

๒   ข้อที่นายกุหลาบอ้างตำรา  กรรมการได้ให้นายกุหลาบส่งตำรามาพิสูจน์  
ตำราของนายกุหลาบเองกลับเปนปฏิปักษ์แก่คำของนายกุหลาบ

นายกุหลาบอ้างตำราไม่ได้จริงเช่นนี้   จะให้กรรมการเข้าใจว่ากะไร   นอกจากนายกุหลาบจงใจกล่าวเท็จ

๓   เมื่อความปรากฎว่านายกุหลาบจงใจกล่าวเท็จเช่นนี้แล้ว   คำที่.....................................
............................จะฟังว่าเปนความจริงอย่างไร

นายกุหลาบสารภาพพอเปนที  มิได้สารภาพตามนำ้ใจอันจริง   ยังปิดบังไว้

จึงคืนคำสารภาพฉบับนี้ให้นายกุหลาบ  ไม่ยอมนำถวาย

วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 10:45

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓   อธิบายระเบียบการพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่องานพระเมรุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
นายกุหลาบสารภาพว่า  หามีตำหรับตำราอันใดไม่  เป็นแต่คิดแต่งขึ้นอวดผู้อื่น
มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๘ หน้า ๕๓  ออกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙
  

เอ...คุณวันดี ข้อมูลของผมค้นได้ เป็น รายงานเสนาบดีกระทรวงวัง  ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๗ ตั้งแต่หน้า๗๗๐ ถึงหน้า๗๗๓ ออกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙  นะครับ ลังเล ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 11:25

ขอบคุณค่ะ   คุณหลวง ถูก   อิฉันพลาด
หมึกพิมพ์ของดิฉันเลอะเลือน



เป็นเพราะดิฉันนึกเรื่อยไปถึง เมื่อสมเด็จพระบรมสวรรคต
ราขกิจจา เล่ม ๑๑  แผ่น(ตอนที่) ๔๑  วันที่ ๖ มกรา ร.ศ. ๑๑๓  หน้า ๓๒๘
(อ่านมาจาก พระภรรยาเจ้า ของ นายแพทย์ จิรวัฒน์  อุตตมะกุล)


และงานพระเมรุมาศ

ราชกิจจา เล่ม  ๑๗    แผ่น(ตอน)ที่ ๔๔ วันที่ ๒๗ มกราคม ร.ศ. ๑๑๙  หน้า ๖๒๓ - ๖๒๔
(อ่านมาจาก อ้างอิงข้างบน)



พยายามจะนึกว่า ก.ศ.ร.   เติมอะไรเข้ามาหนอ
(ตอนรัชกาลที่ ๓  ท่านเติมเรื่องงานพระเมรุอยู่เหมือนกัน  แปลกดี)
ว่างจะไปหามาดวลดาบสองมือกับคุณหลวงอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 12:16

คุณวันดี ว่าตามคำนำ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ในหนังสือจดหมายเหตุไต่สวนนายกุหลาบใช่ไหมเอ่ย

 ในคำนำนั้นว่า  "แจ้งอยุ่ในเล่ม ๑๗ หน้า ๕๓ ซึ่งออกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓)"

ผมสงสัยว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ จะทรงอ้างจากราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ยังไม่ได้เย็บเล่มรวมปี หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 12:54

เมื่อหลวงนายสิทธิ์ ออกเรือไปเมืองแขก จีน และญี่ปุ่น เพื่อซื้อของมาทำการพระเมรุพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
นายกุหลาบก็ติดเรือไปด้วย

แขกในที่นี้คงหมายถึงแขกมลายู

ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ในหนังสือ "ข้าหลวงไปจัดซื้อสิ่งของต่าง ๆ ณ เมืองกวางตุ้ง" เล่ม ๑ และเล่ม ๒ ไม่เคยเห็นต้นฉบับ แต่ในหนังสือของคุณมนันยาว่าไปแวะที่สิงคโปร์ ไซง่อน ฮ่องกง ส่วนอาจารย์เครกว่าแวะญี่ปุ่นด้วย จุดหมายปลายทางก็คือประเทศจีน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 15:11

สำเนาพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระยายามราช (ปั้น สุขุม) ทรงตำหนิ ก.ศ.ร.กุหลาบ

จากหนังสือพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 15:46

พระราชวิจารณ์เรื่อง "ตากุ"

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 17:01

เรื่องขนบธรรมเนียมราชประเพณี
ถวายพระเพลิง
พระบรมศพพระมหากษัคริย์และพระมหาอุปราชย์กรุงเทพ  ในระหว่าง ๑๑๙ ปี

อ่านมาจาก สยามประเภทเล่ม ๔  รวมเล่ม

พระพิทักษ์โยธาหาญ(เผือก) ถามว่า อาจาริย์ได้เห็นงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
สมเด็จพระบรมโอรสา สยามมงกุฎราชกุมาร ผิดแปลกกว่าแต่ก่อนประการใดบ้าง


ก.ศ.ร. ได้ทีบอกว่า  จะตอบตามตำราราชการในกรุงเทพทั้ง ๕ รัชกาล
มีอยู่ในสมุดไทย ๖๕ หรือ ๗๐ เล่ม

พัลวันอยู่บ้าง 

บางครั้งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นพระเมรุพร้อมกับกรมพระราชวังบวร  ถวายพระเพลิงก่อน
แล้วพระราชวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองพระบาททั้งหลาย จึงถวายพระเพลิงเป็นลำดับไป

นักอ่านทั้งหลายไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ถึงจะเป็นตระกูลขุนนางน้อยก็โยงความเข้าใจได้


เรื่องที่จำได้ตลอดมาเพราะแปลกประหลาดมาก ก็ งานพระราชทานเพลิงพระบรมศพ กรมพระราชวังบวรที่ ๓
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 23 มี.ค. 10, 17:31

จุลศักราช ๑๑๙๕ ปีมะเสง เบญจศก   ณ วันศุกร์เดือน ๕  แรมสองค่ำ
เป็นวันพระราชทานเพลิงพระบรมศพ  พระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์  กรมพระราชวังบวร ฯ
ในรัชกาลที่ ๓  กรุงเทพ

วันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรขัดพระเพลา  จะเสด็จพระราชดำเนินก้าวพระบาทขึ้นอัฒจันทร์ถานปูน
ไปพระราชทานเพลิงไม่ได้

จึ่งพระราชทานธูปเทียนให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศร์รังสรรค์

กรมขุนอิศเรศร์รังสรรค์รับธูปเทียนจากพระหัตถ์ไปจะพระราชทานเพลิงแทนพระบาทสมเด็จพระพระจ้าวอยู่หัว

กรมหลวงรักษ์รณเรศร์  คลานเข้าไปกระซิบที่พระกรรณ  กรมขุนอิศเรศร์ ว่าดั่งนี้

"เธอเปนผู้แทนสมเด็จพระจ้าวอยู่หัว  เมื่อจะจุดไฟนั้น  เธออย่าถวายบังคมพระบรมศพ
เมื่อจุดไฟแล้ว  เธอจึ่งออกมา  ถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นพอแล้ว"




ในงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  
พระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ เปนผู้ทรงรับฉันทะถวายธูปเทียนถวายพระเพลิง
ทรงคุกเข่าถวายบังคมสามครั้ง
เพราะสมเด็จพระบรมทรงพระเดชานุภาพ พระอิศริยศใหญ่กว่าพระบรมราชวงศานุวงศ์ทั้งหลาย


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 24 มี.ค. 10, 05:44

เรื่อง กรมอาษาปราบจาม นั้น   มีอยู่ในหนังสือต้นเหตุจีนสามอย่างพิสดาร
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สยามประเภท  ริมวัดราชบพิธ  ถนลเฟื่องนคร
กรุงเทพ ฯ  ศก ๑๒๙

มาซื้อเองที่โรงพิมพ์ราคา ๔๐ สตางค์
ส่งทางไปรสนีย์ ราคา ๕๐ สตางค์

ได้เห็นต้นฉบับและคัดลอกไว้

หนังสือบาง  มีแค่ ๖๐ หน้า
มีโฆษณา  ๔ หน้า


ก.ศ.ร. เขียนเรื่องนี้เมื่อสูงอายุแล้ว  ข้อความเคลื่อนมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 24 มี.ค. 10, 08:18

จดหมายเหตุ เรื่องไต่สวนนายกุหลาบนั้น    มีเรื่องของนายวรรณ พยาน หลายตอน  น่าอ่านมาก
เพราะเรื่องนี้ พยานโดนเต็ม ๆ


นายวรรณ​เป็นลูกของลูกผู้น้องของสมเด็จพระสังฆราช(สา)


ประวัติสมเด็จพระสังฆราชชั้นโยมผู้หญิงของท่านนั้น   นายกุหลาบให้การว่า  ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง  ถามและทราบมาจากนายวรรณเป็นพื้น

รายงานการสอบสวน ๔๗ หน้า  พูดเรื่องนายวรรณ ๗ หน้า

คณะกรรมการเห็นว่า คำของนายวรรณมีพิรุธ  จึงไม่ควรฟังเอาเป็นจริง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 24 มี.ค. 10, 08:29

วันนี้ คุณหลวงเล็ก ไม่อยู่ในค่าย   มีภาระกิจเกี่ยวกับหนังสือเก่า ที่กระทรวงยุทธนา

สั่งดิฉันว่าถ้ามีมีศึกมา  ก็ให้ปะทะไปพลาง   ท่านจะกลับมา ๐๘๐๐ วันประหัส



ดิฉันคำนับรับคำ แล้วจึงแขวนป้าย พักรบ  ในพงศาวดารจีนเรียกว่า เหมียนเจียนป้าย  ตามที่ ขุนนางไทย บันทึกไว้







บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 24 มี.ค. 10, 09:44

หนังสือของนายกุหลาบ  มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ   ๒๙ เล่ม เป็นตัวเขียนทั้งสิ้น


พงศาวดารแขกชาติซันดาวิช   
คัดมาจากหนังสือบางกอกรีคอเดอ


อ่าน ซันดาวิชมาจาก สยามประเภท  อ่านอยู่ตั้งนานกว่าจะทราบว่า
เป็นประวัติ หมู่เกาะ ฮาวาย



วงษ์ตระกูลฝ่ายมารดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ

วงษ์ตระกูลเจ้าพระยาภูธราภัย


และอื่น ๆ อีก

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง