เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13]
  พิมพ์  
อ่าน: 61513 ก.ศ.ร. กุหลาบ ชีวิตพิศวง
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 27 ส.ค. 10, 14:46


ท่าน ก.ศ.ร.กุหลาบ สามารถสร้างความปั่นป่วนให้วงการประวัติศาสตร์ได้ไม่น้อย
หากท่านจะเขียนนิยาย คงไม่มีใครว่าอะไร

จะเชื่ออะไรก็ต้องตรวจสอบข้อมูลกันให้ดี เพราะ โลกเสมือนจริงที่คนเล่าเรื่องจงใจสร้างขึ้นนั้น พาเราออกทะเลไปไกล ๆ ได้


ในยุคสมัยของนายกุหลาบนั้น  คนรู้มีน้อยกว่าคนไม่รู้   และความรู้มักจำกัดอยู่ในหมู่เจ้านาย พระ และขุนนางสูงศักดิ์    นายกุหลาบได้คบหาสมาคมกับผู้รู้ทั้งหลายเหล่านั้น จนได้ความรู้มา  สิ่งนายกุหลาบเขียนและพิมพ์เผยแพร่นั้น เกิดแต่ความตั้งใจที่จะให้ความรู้ผู้คนทั่วไป (แต่คนทั่วไปคงไม่มีเงินจะเป็นสมาชิกรับหนังสือของนายกุหลาบดอก) เพราะถ้านายกุหลาบไม่พิมพ์หนังสือเองแล้ว คงจะได้เหลือเงินให้ลูกหลานตั้งตัวต่อมาได้ไม่น้อย  เรื่องนี้สหายสองคนโอบย่อมทราบดี  อาจจะเล่าได้อย่างพิสดาร (หรือไม่ก็ไปย้อนอ่านกระทู้ใหม่ตั้งแต่ต้นก็ได้)

สิ่งที่นายกุหลาบเขียนย่อมมีที่เกินจริงบ้าง  แต่สิ่งเหล่านั้นตรวจสอบได้  เช่นถ้าเป็นเอกสารพงศาวดาร   ก็ดูสอบกับเอกสารประชุมพงศาวดารที่พิมพ์โดยหอพระสมุดก็จะรู้ที่ผิดถูก  หรือจะไม่จุจิตจุใจก็เอาไปเทียบเคียงกับหนังสือหรือเอกสารอื่นก็ได้

เรื่องต้นตระกูลนั้น  นายกุหลาบเขียนและสอบถามมาจากคนในสายตระกูลน้อยนั้น  ถ้ามีที่ผิดพลาด   ก็น่าจะมีคนทักท้วงกันบ้าง   เพราะแต่ละตระกูลที่นายกุหลาบชักสาขาญาติมาแจงสี่เบี้ยนั้น มีที่เป็นขุนนางไม่น้อย เจ้าจอมฝ่ายในก็มาก  ก็ถ้าอะไรที่นายกุหลาบยกไปถึงสมัยสุโขทัย อยุธยาตอนต้น  หรือบางทีร้ายกว่านั้นยกโยงไปถึงเมืองรามราชในอินเดีย  เห็นสุดวิสัยจะเชื่อได้   ก็อย่าได้เชื่อ เลือกเอาแต่ที่ใกล้กาลปัจจุบันดีกว่า  เหมือนมะพร้าวนั่นล่ะครับ   เมื่อจะเอามาทำแกงทำขนม  ต้องปอกต้องเกลาเปลือกออก ขูดเอาแต่เนื้อมะพร้าวมาคั้นเป็นกระทิ  จึงทำแกงรับประทานได้   


แต่จะเชื่อหรือไม่ว่า   หลังจากสมัยของนายกุหลาบแล้วอีกหลายสิบปีต่อมา   นักเขียนหลายท่านที่มีงานเขียนเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วหย่อมย่านบ้านเรือน   ต่างก็พากันลอกงานเขียนของนายกุหลาบมาเป็นงานของตัวกันเฉย ๆโดยไม่อ้างถึงนายกุหลาบสักแอะ  หนักกว่านั้น  บางคนลอกมาทั้งดุ้นเลย  ตัดออกสัก ๒-๓ คำ  อันนี้ผู้เคยอ่านงานของนายกุหลาบมาสองสามเข่งท่านเทศน์แจงให้ฟัง    คนไทยเรานี่ก็แปลก  เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลซดน้ำแกงกันให้พรืดๆ   
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 31 ก.ค. 19, 22:03

"...เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ มีงานฉลองอายุพระนครครบ ๑๐๐ ปี ในงานนั้นมีการแสดงพิพิธภัณฑ์ เรียกกันในสมัยนั้นตามภาษาอังกฤษว่า “เอ๊กซหิบิเชน” สร้างโรงชั่วคราวเป็นบริเวณใหญ่ในท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ตลอดจนคฤหบดีที่มีใจจะช่วย ให้จัดของต่างๆ อันควรอวดความรู้และความคิด กับทั้งฝีมือช่างของไทยมาตั้งให้คนดู จัดที่แสดงเป็นห้องๆ ต่อกันไปตามประเภทสิ่งของ ครั้งนั้นกรมหลวงบดินทร์ฯ ทรงรับแสดงหนังสือไทยฉบับเขียน เอาสมุดในหอหลวงที่มีมาแต่โบราณมาตั้งอวดห้องหนึ่ง นาย ก.ส.ร. กุหลาบรับอาสาแสดงหนังสือไทยสมัยเมื่อแรกพิมพ์ห้องหนึ่ง อยู่ต่อกับห้องของกรมหลวงบดินทร์ฯ ด้วยเป็นของประเภทเดียวกัน ฉันเคยไปดูทั้ง ๒ ห้อง และเริ่มรู้จักตัวนายกุหลาบเมื่อครั้งนั้น..." (นิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

พระนิพนธ์ตรงนี้มีความคลาดเคลื่อนนิดหนึ่ง เพราะมีหลักฐานว่านายกุหลาบไม่ได้มีห้องจัดแสดงเป็นของตัวเอง หากแต่ว่า นาย ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นพนักงานประจำห้องจัดแสดงของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณเสียเองครับ

ในหนังสือ Bangkok Centennial Held At Bangkok, Siam, 1882 ซึ่งเนื้อหาของหนังสือนี้บันทึกเกี่ยวกับการจัดงานนาเชนแนลเอซฮิบิเช่อน ได้พูดถึงห้องหมายเลข 17 ของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ และว่าห้องที่ต่อจากของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ (ห้องหมายเลข 18) เป็นห้องของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่ไม่มีห้องจัดแสดงของนายกุหลาบเลยสักห้องเดียวในงาน

เมื่อเปรียบเทียบกับหลักฐานร่วมสมัย ในจดหมายเหตุสยามไสมย เล่ม ๓ แผ่นที่ ๔๔ ของหมอสมิท กล่าวว่า

"...จดหมายเหตุฝรั่งโบราณตั้งแต่คฤศตะศักราช ๑๕๑๑ ปี ตรงกับปีมีจุลศักราช ๗๗๒ ปี ข้าพเจ้าครูสมิทได้คัดลอกเนื้อความเรื่องนี้มาแต่ฉบับของเสมียนกุหลาบ ซึ่งตั้งไว้ในห้องที่ ๑๗ โรงเอกซฮิบิเชอน ณ ท้องสนามหลวง เมื่อการสมโภชพระนครบันจบครบรอบร้อยปี มาลงพิมพ?ไว้..."

และในจดหมายเหตุสยามไสมย เล่ม ๓ แผ่นที่ ๕๒ ว่า

"...ข้าพเจ้า เอไดตอร ได้คัดลอกเนื้อความกลอุบายศึกมาจากฉบับของเสมียนกุหลาบ ซึ่งตั้งไว้ในห้องที่ ๑๗ โรงเอซฮิบิเช่อน ณะ ท้องสนามหลวง..."

หลักฐานที่แสดงว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นพนักงานในห้องจัดแสดงหนังสือของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ยังมีปรากฏอยู่ใน บาญชีหนังสือไทยต่างๆ ๑๕๐ เรื่อง ตั้งในการนาเชนแนลเอกซฮิบิเช่อน ณ ท้องสนามหลวงในการเฉลิมพระนคร ตั้งแต่สร้างกรุงเทพมหานคร บรรจบครบรอบร้อยปี ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ อีกด้วย

จากหลักฐานเหล่านี้ทำให้ทราบว่า กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณทรงรับผิดชอบห้องจัดแสดง ห้อง 17 ซึ่งมี ก.ศ.ร. กุหลาบเป็นหนักงานรับผิดชอบห้อง และยังมีหนังสือของนายกุหลาบเองแสดงในนั้นด้วย ซึ่งหมายความว่าบุคคลทั้งสองควรที่จะรู้จักกันจนกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณทรงมีความไว้ใจหมอบหมายให้ ก.ศ.ร. กุหลาบ ให้รับผิดชอบห้องจัดแสดงของพระองค์หรือไม่?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 01 ส.ค. 19, 06:21

ห้องหมายเลข ๑๗ หรือ หมายเลข ๑๘ ?

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4752.msg93290#msg93290
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง