เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 61484 ก.ศ.ร. กุหลาบ ชีวิตพิศวง
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 06:46

สวัสดีค่ะคุณ  Bhanumet


     ขอเชิญร่วมวงไพบูลย์  คุยกันบ้าง

     เหมือนอย่างที่ว่าไว้ก่อนหน้านี้  คือการเล่าเรื่องจะพยายามนำเสนอแต่ ข้อมูล ที่ไม่ซ้ำกับท่านผู้อื่น


     เพิ่งได้พงศาวดารจีนหายากมาเล่มหนึ่ง คือ บิ๊ดแชฮวย  พิมพ์ ๒๔๖๕  งานการทั้งปวงก็เกิดทำไม่ไหวขึ้นมา
     อ่านเสร็จแล้วก็ต้องหาเรื่องอื่นๆที่พิมพ์ในสยามราษฎร์มาอ่านต่อ


กระทู้นี้ถือว่าคุยกันแก้ร้อน

เสนอข้อมูลแปลก ๆ        ไม่ทราบจะรอดไปถึงเมื่อตอนที่ท่านพิมพ์สยามประเภทหรือไม่



ท่านที่อยากจะด่า ก.ศ.ร.นั้น  คงขอความกรุณาให้คอยก่อน  เพราะได้จดคำด่าไว้หลายคำแล้ว
เป็นคำกระทบกระเทียบ  ประชด  ด่าตรงๆ  ด่าว่าไอ้หัวล้านยังมี

ก.ศ.ร. ยังไม่ได้พิมพ์หนังสือเลยค่ะ



สำหรับท่านที่เคารพนับถืออ่านต้นฉบับหนังสือเล่มอื่น ๆ ของ ก.ศ.ร. กุหลาบมาบ้าง (ที่ไม่ใช่อานามสยามยุทธ  สยามประเภท  มหามุขมาตยานุกูลวงศ์)
ขอเชื้อเชิญมาปาดกระทู้  เป็นความรู้ให้กับนักอ่านหนังสือเก่าสืบไป

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 11:46

หลังจากนายกุหลาบสึกออกมา  เสด็จประทาน


แหวนเพชร ๑ วง  เพชรนั้นใหญ่เท่าเม็ดข้าวโพดขนาดใหญ่ 

แหวนทับทิมหลังเบี้ย  ๑ วง    ทับทิมนั้นโตเท่าเม็ดมะขามขนาดใหญ่  หรือผลบัวแก่ผ่าสองซีก

แหวนพลอยนิลตับตะโก  ๑ วง   นิลนั้นกว้างเท่าองคุลีนิ้วก้อย เป็นรูปหลังเบี้ย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 12:02

นายกุหลาบกลับไปทำราชการในรัชกาลที่ ๔  กรุงเทพ     รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ สามตำลึง
เป็นสมุหบัญชีอยู่ใน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ากินรีหลายปี



จะขอคืบไปเล่าเรื่องลูกเมียของกุหลาบก่อนที่จะเล่าเรื่องการทำงานกับฝรั่งและไปเป็น แอชุแตนท์ให้ตำรวจน้ำ


ภรรยาไม่ได้แต่งงาน  ชื่อ พุ่ม(ตาเหล่)
เป็นข้าหลวงในพระจ้าวราชวรวงศ์เธอพระองค์จ้าวกินรี
มีธิดาชื่อ พ่วง


ภรรยาไม่ได้แต่งงานชื่อหม่อมหลวงปริกในกรมหลวงจักรเจษฎา
มีธิดา  ถึงแก่กรรมตั้งแต่เล็ก   ไม่มีชื่อ


นี่คือลูกและเมียก่อนมาแต่งงานกับ หุ่น

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 13:51

จะว่าไปแล้วตรุศเป็นคนมีฐานะ   บ้านก็เป็นของตน  นาก็เป็นของตนอีกนั่นแหละ  บ่าวไพร่ที่ใช้ทำนาก็หลายคน
ท้องแก่แท้ๆ  ยังต้องไปคุมคนทำนา   เลยไปคลอดในโรงนา  พาลูกแดงๆนั่งเรือชะล่าท้องแบนออกมา

นางตรุศ - ตรุษ เป็นคนมีเชื้อสายเป็นกรมการเมืองนครราชสีมาสมัยกรุงศรีอยุธยา นามสกุลพระราชทานให้มหาดเล็กวิเศษนัดดา ครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวง บุตรนายชาย หลานก.ศ.ร.กุหลาบ - ตรุษฯนนท์ ก็ได้จากชื่อนางตรุษนี้เอง

ก.ศ.ร.กุหลาบบันทึกประวัติตนในวันที่เกิดว่า

ตนคลอดที่โรงนาของท่านตรุศผู้เป็นมารดา ซึ่งตั้งอยู่ที่ “ตำบลบ้านบางพรหม ใกล้เคียงวัดประดู่ เนื่องแนวแถวเดียวกันกับบางระมาท เปนแขวงกรุงเทพฯ”

เมื่อท่านตรุศมารดาคลอดนายกุหลาบที่โรงนาแล้วนั้น เปนเวลาบ่ายจวนเย็น ด้วยไปดูผู้คนบ่าวไพร่ให้ทำการนา  ครั้นคลอดแล้วจึ่งพานายกุหลาบทารกนั้นลงเรือชะล่าบันทุกทารกมาเพื่อจะได้กลับไปบ้านของตน

ขณะบ่าวไพร่พายเรือกันมายังไม่ทันถึงบ้าน ก็เกิดเหตุที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนคือ มีนกแร้งตัวหนึ่งบินโผลงมาจับที่กราบเรือ แร้งนั้นก้มลงมาดม ๆ ทารกน้อย ทั้งมารดาและคนที่อยู่ในเรือก็พากันตกตะลึง  พอมารดาได้สติก็เจริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอให้ทารกรอดตาย แล้วแร้งนั้นก็บินร่อนไป

เรื่องนี้ต่อมาทราบถึงหมู่ญาติของท่านตรุศ ทุกคนพร้อมใจกันลงเนื้อเห็นว่า “ทารกนั้นเปนบุตรอุบาทว์ แต่พาศนาบิดามารดาสาขาคณาญาติเลี้ยงไม่ได้เปนแน่ เว้นเสียแต่ท่านผู้มีวาศนาบรรดาศักดิ์สูง........”

พี่สะใภ้ท่านตรุศซึ่งเคยเข้าออกวังเป็นประจำจึงรับภาระพาทารกกุหลาบไปถวายพระองค์เจ้ากินรี พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ ทรงอุปการะเลี้ยงดู ทำให้นายกุหลาบเติบโตในที่อันดี ได้ร่ำเรียนมีความรู้จนมีโอกาสไปถึงเมืองนอกเมืองนา


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 15:13

ครั้นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์แล้ว     นายกุหลาบได้มาอาศััยอยู่ที่ตำหนัก หม่อมเจ้าหญิงน้อยหน่า
พระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าฟ้ากรมหลวงกรมหลวงจักรเจษฎา

ตำหนักนั้นตั้งอยู่ในวังกรมหลวงจักรเจษฎา  ที่หน้าป้อมสุเมรุราช ปากคลองบางลำภูบน   ในกำแพงพระมหานครกรุงเทพ ฯ



ในระหว่างนี้  ได้ไปเป็นศิษย์ท่านสังฆราชฝรั่งเศส  ดง. ยวง. ปาเลอกัว  บิฉบ   ที่วัดอาซัมซัน บางรัก



เรื่องการเรียนกับขุนสารประเสริฐ(นุช) ปลัดกรมอาลักษณ์ในรัชการที่ ๔  บ้านอยู่ริมวัดหงษ์รัตนาราม
และเรียนวิชากฎหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ กับ ขุนศักดิ์พลแสน(คล้อย)  ตุลาการศาลรับสั่งฎีกานั้น
มีการเขียนไว้หลายแห่งแล้ว 

ขอผ่านไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 15:29

ก.ศ.ร. เล่าว่า

"พระจ้าวลูกเธอ พระองค์เจ้ากินรี  ทรงพระปราโมทย์ยินดี  มีพระมหากรุณาธิคุณอดุลยดิเรกอะเนกานุประการ
ทรงรับทารกนั้นไว้แล้ว     ทรงพระกรุณาทำนุกบำรุงปลูกเลี้ยงไว้   เพื่อพระประสงค์จะได้บวชเปนภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

ทรงรับนายกุหลาบทารกเลี้ยงไว้ตั้งแต่อายุ ๔ เดือนโดยเต็มพระไทย์(เหมือนบุตรบุญธรรม)"

ตรงนี้ไม่ตรงกับข้อมูลในหนังสือของคุณมนันยา

"พระองค์เจ้ากินรีได้ทรงขอนายกุหลาบไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่อายุ ๔ ปี"

สี่เดือนหรือสี่ปี                   อย่างแรกนี้ดูอ่อนวัย
สีปีดีกว่าไซร้                    เดินพูดได้ไม่งอแง

เพื่อนเพื่อนเชื่อข้างไหน         ตอบมาได้ไม่เชือนแช
อย่างไหนใครถูกแน่            จริงแท้หนอขอขอบคุณ

 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 15:52

เรียนคุณเพ็ญชมพู  สหายผู้ร่วมใจนั่งในห้องสมุด


เหมือนอย่างที่พูดไว้แล้วนะคะ    ดิฉันเล่าเฉพาะเอกสารต้นฉบับที่ถืออยู่ในมือ   อาจจะบวกกับข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จดไว้จากสยามประเภทที่พอมี
หรือมหามุขมาตยานุกูลวงศ์


ขนาดสยามประเภทนี้นะคะ  ยังไม่มีท่านผู้ใดพูดออกมาได้ว่ามีกี่เล่ม


ก.ศ.ร. บอกว่าตั้งใจจะพิมพ์ ๑๕ เล่ม(หมายความว่า ๑๕ ปี)

มีประกาศขายหนังสือว่า ออกแล้วจ้า  ๑๒ เล่ม  ๔๘ บาทนะคะคุณเพ็ญ
โฆษณาไว้หน้าหลังของ หนังสือพระราชประวัติพระจ้าวตาก(สิน) พิมพ์ ๑๐๐๐ ฉบับ   ร.ศ. ๑๒๘
เล่มที่อยู่ในมือ ท่านเจ้าของ เซ็นไว้ว่า  บำรุงราชบริพาร   วันที่ ๗ ตุลาคม  รัตนโกสินทรศก ๑๓๐



หลายคนก็อ้่างข้อมูลนี้ที่ดิฉันเขียนทิ้งไว้ที่เวบขายหนังสือเก่าแห่งหนึ่ง  แต่ไม่สามารถเล่าเรื่องหรือที่มาที่ไปได้


ดิฉันเคยเห็นรูปถ่ายชุดสยามประเภทที่เซียนเสื้อดำขายไปหลายปีแล้ว  มีถึงเล่ม ๑๐ ค่ะ  ตัวจริงไม่เห็น
การโฆษณานั้น  นักอ่านและนักสะสมทราบดีว่า  ไม่อาจถือเป็นจริงได้


ดิฉันไม่โต้แย้งกับท่านผู้ใด  ใช้แต่ข้อมูลใหม่(ที่จริงเก่า)ของตนเอง

จะพยายามเล่าเรื่องครอบครัวต่อไป  และงานที่ทำด้วย   
ก.ศ.ร.ท่านเก่งและบันทึกไว้ละเอียดมากค่ะ


ที่ท่านพลาดก็มีมาก    ท่านเผลอคุยไว้สามแห่งสี่แห่งแล้วไม่ต่อข้อมูลก็มีค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 16:10

สังฆราชสั่งสอนให้เรียนอักษรโรมัน(หนังสือฝรั่ง) จนอ่านเขียนได้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว

แล้วสอนภาษาลาตินภาษาอังกฤษฝรั่งเศสบ้าง  อย่างละเล็กๆ น้อยๆ  ค่อยรู้เป็นงู ๆ ปลา ๆ

จะได้รู้ภาษาต่างประเทศในชั้นแรก  ก็เพราะท่านสังฆราชฝรั่งเศสเป็นปะฐะมาจาริย์  เป็นพื้นวิชาทำมาหาเลี้ยงชีพ

เป็นเสมียนอยู่ตามห้างฝรั่งตลอดมาเป็นเวลา ๒๐ ปีเศษ

จนคนทั้งหลายเรียกว่า  เสมียนกุหลาบ   บางทีก็เรียกเสมียนกุหลาบฟันขาว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 16:28

ทำงานกับฝรั่ง


ห้างมิศกิง(มิสเตอร์ แต่ฝรั่งพูดเร็วลงลูกคอไป  ไทยฟังไม่ทัน) ตั้งอยู่หน้าพระราชวังเดิม

เป็นเสมียนรองพระปรีชาชาญสมุทร   บ้านอยู่หน้าวัดตองปุ



ต่อมามาทำงานที่ห้างมิศเตอร์ เปลก  ชาวอเมริกัน   เจ้าของโรงสีข้าวกลไฟ

ต่อไปคือห้างมิศเตอร์ปิกกินเปก  ชาวเยอรมัน

ห้างต่อมาคือ โรงสีไฟของ มิศเตอร์เอ มาก วอลแอนด์กำปะนีชาวเยอรมัน

ทั้งสี่แห่งนี้เริ่มเงินเดือนจาก ๒๖ บาท  มา  ๓๐,  ๔๐,  ๖๐,  ๑๐๐,  ๑๒๐  และ  ๑๕๐ บาท


รวยอึ่ดทึด     ถ้าไม่ไปพิมพ์หนังสือจนหมดสตังค์เสีย


ที่ก.ศ.ร. ทำงานอยู่นานที่สุดคือ ห้างวิลด์เซอร์เรศลิกแอนด์กำปะนี     อยู่ที่นี่ ๑๕ ปี
มีรายละเอียด  ๘ หน้า  แต่ขอเก็บไว้เขียนหนังสือเล่มบ้าง  อิอิ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 16:28

โดยหลักพิจารณา  ความน่าเชื่อถือระหว่างสิ่งที่นายกุหลาบเจ้าของประวัติเขียนเอง  กับประวัติที่คุณมนันยา  ซึ่งเป็นอนุชนในสายสกุลของท่าน  เขียนหลังจากนายกุหลาบตายไปหลายปี และไม่มีโอกาสเห็นหน้านายกุหลาบผู้เป็นบรรพบุรุษเลย  ความน่าเชื่อถือย่อมตกอยู่กับสิ่งที่นายกุหลาบเขียนเอง   ส่วนคนอื่นแม้เป็นสายสกุลก็นับว่าเป็นข้อมูลชั้นรอง  ความน่าเชื่อถือย่อมลดลงบ้างเป็นธรรมดา  

จริงๆ มีคำถามต่อไปว่า  คุณมนันยาใช้ข้อมูลจากไหนมาเขียนประวัตินายกุหลาบบ้าง   ใช้หนังสือของนายกุหลาบแน่นอน  แต่ใช้กี่เล่ม  อีกประการหนึ่งข้อเขียนของคุรมนันยาผ่านการเรียบเรียงและกรองวิเคราะห์ใหม่แล้ว  ซึ่งมีบางส่วนที่อาจจะพลาดก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 16:30

สงสัยว่าทำไมพระองค์เจ้ากินรีจึงรับนายกุหลาบเป็นบุตรบุญธรรม   มีเชื้อสายเกี่ยวข้องกันทางเจ้าจอมมารดาของท่านหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 17:11

นางหนิ หรือ เหมน  ภรรยา ขุนศรีสงคราม(เกษ) ต่อมาได้เลื่อนเป็นว่าที่หลวงราชเสวกเจ้ากรมรักษาพระองค์  รัชกาลที่ ๓  กรุงเทพ

เป็นเชื้อแขกตานี  เป็นข้าหลวงเดิม ในกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์  แต่ยังประทับอยู่ในพระราชวังเดิม   



(หน้า ๒๒)  พระประสงค์จะทรงเลี้ยงไว้บวชเป็นการกุศล


(หน้า ๓๕)  ภายหลังเสด็จทรงปรารภว่า

มีพระประสงค์ให้นายกุหลาบเล่าเรียนพระปริยัติธรรม  คัมภีร์พระไตรปิฎก   ให้เชี่ยวชาญชำนาญพิเศษ

เมื่อถึงปีมีอายุจะได้อุปสมบทกรรมเมื่อใด    จะได้เข้าไล่เป็นมหาเปรียญ  จะได้มีชื่อเสียงปรากฎว่า   

เป็นพระมหาเปรียญของพระองค์ที่ทรงเลี้ยงมา  จนได้เป็นเปรียญในพระพุทธศาสนา

โดยพระประสงค์ของท่านนั้น  จะให้นายกุหลาบเป็นเปรียญ  เหมือนเช่น พระมหาเหรียญ เปรียญ วัดอรุณราชวราราม

ผู้เป็นพระของ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระเชษฐภคินีของพระองค์เจ้ากินรี



(การคาดคะเน((ของก.ศ.ร.)) ดูเหมือนว่า  ที่เสด็จทรงปรารภนั้น   จะเป็นการแข่งขันให้เป็นคู่ กับ พระมหาเหรียญ  ของกรมหมื่นอัปสราุดาเทพนั้นบ้าง

พระมหาเหรียญนั้น  ภายหลังสึกออกมาได้เป็นหลวงโกษา)


หมดความแต่เพียงนี้ค่ะ

อ่านถึงหลวงโกษาก็อกขำไม่ได้

ก.ศ.ร. ลูกเมียเยอะค่ะ  แถมเก็บหนังสือตำราที่วังจักรเจษฎามาเป็นตั้งด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 17:13

ทำงานกับฝรั่ง

ข้อมูลจากบทความเรื่อง The Case of K. S. R. Kulap : A Challenge to Royal Historical Writing in Late Nineteenth Century Thailand. โดย Craig J. Reynolds ตีพิมพ์ในวารสารสยามสมาคม ( J.S.S.) Vol. 61 Part 2: 63-90, July 1973.

ก.ศ.ร. กุหลาบได้ทำงานห้างฝรั่งต่อเนื่องกันเป็นเวลา ๑๕ ปี  มีรายนามห้างฝรั่งที่ ก.ศ.ร. กุหลาบทำงานด้วยดังนี้

๑. แฟรงคลิน เบล็ค (Franklin Blake) ผู้จัดการบริษัทอเมริกัน สตีมไรซ์มิลส์ (American Steam Rice Mill) ซึ่งตั้งเมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๐๑

๒. พิคเกนแพค (Pickenpack) แห่งบริษัท Pickenpack Thics and Co., ซึ่งตั้งเมื่อเดือนมกราคม ๒๔๐๑

๓. เอ. มาร์กวอลด์ ( A. Markwald) ผู้จัดการโรงสีมาร์กวอลด์ของเยอรมัน ตั้งเมื่อปี ๒๔๐๑

๔. เอ. เรดลิค (A. Redlich) หุ้นส่วนบริษัทวินเซอร์ แอนด์โก (Windsor and Co.,)  ซึ่งตั้งเมื่อปี ๒๔๑๓

ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ที่ทำงานกับนายจ้างอังกฤษ, อเมริกัน และเยอรมัน ความรู้ด้านภาษาอังกฤษของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยที่มีนิสัยเป็นคนคุยสนุก เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสนใจขวนขวายหาความรู้ จึงเป็นที่สบอัธยาศัยของนายจ้าง และได้รับการเลื่อนเงินเดือนขึ้นเป็นลำดับจากเดือนละ ๒๐ บาท จนได้ถึงเดือนละ ๒๕๐ บาท นอกจากนั้นนายจ้างยังได้พาเดินทางไปติดต่อค้าขายยังประเทศใกล้เคียงหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์, ปีนัง, สุมาตรา, มนิลา, ปัตตาเวีย, มาเก๊า, ฮ่องกง, กัลกัตตา และเคยไปถึงยุโรป คือ ประเทศอังกฤษ ครั้งหนึ่งด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 มี.ค. 10, 17:28

ตามอ่านอาจารย์เครคมาพักหนึ่งแล้วค่ะ

เมื่อไม่นานมานี้ที่ร้านหนังสือเก่าริมสะพานอรุณอมรินทร์มี วารสารสยามสมาคมหลุดมาเป็นร้อยเล่ม ยอมแบ่งขายด้วย
เพื่อนฝรั่งร้องเฮ้ยแล้วเลือกไปสองเล่มด้วยความชำนาญ  ตีอกชกหัวด้วยความดีใจจ่ายไปเล่มละร้อยกว่าบาทเอง
ไอ้เราจะเข้าแย่งหรือก็กระไร

อันที่จริงในการหาหนังสือเก่านั้น  ไม่มีมิตรค่ะ   ใครมาก่อนก็ได้ไป

แต่จะมาดึงออกจากกองที่เลือกไว้แล้ว  ไม่ยอมค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 มี.ค. 10, 06:35

หุ่น   ภรรยาแต่งงานของ ก.ศ.ร.


หุ่นเป็นลูกสาวของนายคง พระพี่เลี้ยงของเสด็จ   ตั้งบ้านเรือนอยู่ใต้วัดราชาธิวาศ(สมอราย)


เสด็จรับสั่งให้ หลวงแม่เจ้่า(แสง)เป็นเฒ่าแก่ไปสูขอ


ได้ทรงจัดการงานวิวาหมงคลแต่งงานขันหมากเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๒(พ.ศ. ๒๔๐๓)ปีวอก  โทศก

มีเรือนหอฝากระดานสามห้อง  ปลูกในบริเวณบ้านบ้านพ่อตา

เจ้าสาวอายุ ๑๗   เจ้าบ่าวอายุ ๒๕


เสด็จประทานเงินกองทุน และสิน และผ้าไหว้

เงินกองทุนนั้นเข้าใจ
ผ้าไหว้ ก็เข้าใจได้เพราะทุกวันนี้ก็มีธรรมเนียมนี้อยู่
แต่  สิน  ในที่นี้   คืออะไร    สินสอดหรือ

เสด็จยังประทานการทำบุญแต่งงานขันหมาก   เงินประทานซื้อที่บ้านปลูกเรือนหอ
(แสดงว่าได้แบ่งซื้อที่จากพ่อตา มาปลูกเรือนหอ  จึงมีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินนั้นสมบูรณ์)

ช่วยบ่าวทาสชายหญิงสามครัว(รายชื่อ ก.ศ.ร. บันทึกไว้ละเอียด   ขอผ่าน)

ประทานเครื่องแต่งเรือน เครื่องเรือน  เครื่องภาชนะต่าง ๆ   
ไม่ให้ใช้สอยของทางฝ่ายหญิงปนเป

ประทานเครื่องเพ็ชรพลอย  และของมีค่าอื่นๆและแพรผ้า(ก.ศ.ร.บรรยายไว้ยาวยืด)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง