วัดนี้จะถือเป็นจุดกำเนิดพระพุทธศาสนาในลังกาก็ว่าได้ ทุกวันนี้เจดีย์มะม่วงหรืออัมพสถานถูกซ่อมใหม่แล้ว แต่ก็ยังเป็นปูชนียสถานสำคัญของลังกา เป็นที่แสวงบุญกันแพร่หลาย
และที่สำคัญก็คือเป็นต้นกำเนิดวัดป่ามะม่วง สุโขทัยบ้านเรา!!!

เรื่องปรากฏในจารึกป่ามะม่วง ปีพ.ศ.1890 พญาฤาไทย (ลิไทย มหาธรรมราชาที่1) เสวยราชย์อยู่เมืองศรีสัชชนาลัย สุโขทัยได้ยี่สิบสองข้าว ก็โปรดให้ราชบัณฑิตไปเชิญมหาสามี แต่ลังกาทวีป อันมีศีลาจารคล้ายพระขีณาสพมายังกรุงสุโขทัย ให้มาพักยังเมืองพันในหัวเมืองมอญ จากนั้นพระองค์โปรดให้ปลูกกุฎีวิหารในป่ามะม่วงทิศใต้กรุงสุโขทัย ปราบพื้นให้ราบแล้วประดับประดาข้าวตอกดอกไม้เรียบร้อยงามหนักหนาดังพระพิษณุกรรมมานฤมิตร
แล้วให้อำมาตย์ราชสกุลทั้งหลายไปอัญเชิญมหาสามีมาแต่เมืองพัน มาทางเมืองฉอด เมืองเชียงทอง เมืองบางจันทร์ บางพาร เข้าประตูทางทิศบูรพาไปถึงทิศประจิม ให้กั้นเพดานผ้าไม่ให้แสงตะวันร้อน แขวนพวงมาลัยดอกไม้ ปูลาดผ้าเบญจรงค์ไม่ให้ฝุ่นเปื้อนพระบาท อัญเิชิญมหาสามีเข้าจำพรรษา
เมื่อออกพรรษาก็ทรงกระทำมหาทาน หล่อพระพุทธรูปทองสำริดใหญ่เืท่าองค์พระพุทธเจ้า ประดิษฐานไว้กลางเมืองสุโขทัย
จากนั้นทรงออกบวชเป็นพระภิกษุ ทรงอธิษฐานว่า ผลบุญที่อาตมาออกบวชครั้งนี้ไม่ปรารถนาจักรพรรดิสมบัติ พรหมสมบัติ อินทรสมบัติ อาตมาปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้านำสัตว์ข้ามสังสาร....
พญาิลิไทยทรงพระโอษฐ์ (เมาท์) ต่อว่า เมื่อทรงรับไตรสรณคมแล้ว ชาวบ้านต่างร้องไห้สาธุการบูชา ธรณีไม่อาจรับพระคุณอันหนักของพระองค์ได้ก็สั่นไหว พื้นน้ำก็สะเทือน เมื่อพระองค์ย่างพระบาทลงสัมผัสพื้นดินวัดป่ามะม่วง ธรณีก็ไหว (อีกรอบ) และยังมีปาฏิหาริย์อื่นๆอีก แต่ไม่ทรงเมาท์ต่อ...
ในบริเวณเดียวกันยังมีเจดีย์อีกหลายองค์ ในภาพบนยอดเขาคือ เจดีย์มหินทุเสยะ ครับ ประดิษฐานพระอุณาโลมของพระพุทธเจ้า