Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 120 เมื่อ 24 มี.ค. 10, 22:37
|
|
อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 121 เมื่อ 24 มี.ค. 10, 22:39
|
|
จิตรกรรมสมัยนี้เป็นช่วงคลาสสิคทีเดียวครับ ก่อนสุโขทัยเล็กน้อย ต่อมาช่วงลังกาจะเขียนได้แต่อะไรแข็งๆไม่มีชีวิตชีวา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 122 เมื่อ 24 มี.ค. 10, 22:43
|
|
จิตรกรรมสมัยแคนดี้ครับ ที่ถ้ำดัมบูละ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 123 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 00:07
|
|
ภาพในคคห.117 สวยมากครับ ขอไฟล์ภาพใหญ่ได้ไหมอ่ะพี่กุ สุดยอด 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 124 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 09:25
|
|
ตาแหลมนะเนี่ย มาขอรูปที่พี่ไม่ได้ถ่าย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 125 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 12:16
|
|
มนุษยนาคของลังกา ร่วมสมัยสุโขทัย แต่ซ่อมทาสีใหม่ ดูสง่างามดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 126 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 12:21
|
|
มนุษยนาคหรือนาคแปลง ในชั้นแรกของลังกาเป็นนาคจริงๆ ตัวเป็นงู ชั้นหลังจึงทำนาคแปลง เป็นมนุษย์ด้านหลังมีศีรษะพังพานนาค ถือหม้อปูรณกลศ หรือหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ ยืนอยู่หน้าวัด คอยรักษาศาสนาและให้พรคนมาไหว้พระ
ของบ้านเรานาคแปลงมักสวมชฏานาคแบบละคร ซึ่งเป็นของรุ่นหลังที่เห็นกันชินตา ก็สวยงามตาดี แต่มีของรุ่นแรกๆในสุโขทัยที่ทำอย่างลังกาเหมือนกัน ที่วัดเจดีย์สี่ห้อง ส่วนเครื่องทรงปนเขมรเข้าไปมากแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 127 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 12:26
|
|
พิศดูเครื่องทรงเขามากมายนักหนา ที่เด่นๆคือสวมการัณฑมงกุฏ หรือมงกุฏเป็นชั้นๆ สำหรับเทพชั้นรอง มีอุทรพันธะคาดเอว (แบบอินเดียใต้)
นุ่งผ้าเป็นชั้นๆคล้ายต้นคริสต์มาส คาดผ้าและเข็มขัดจำนวนหลายเส้น ชักไปชักมาพริ้วเล่นลมเีวียนหัวยิ่งนัก แบบอินเดียใต้อีกแล้ว
ก็สงสัยอยู่ว่า พุทธคยาจำลองที่วัดเจ็ดยอด ไปจำลองอินเดียเหนือมา ไหงประติมากรรมเทพชุมนุมแต่งตัวเป็นลังกาอินเดียใต้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 128 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 12:31
|
|
อีกองค์ครับ องค์นี้สวมการัณฑมงกุฏชัดเจน บางองค์ก็มีสร้อยรัดเอวด้วย แต่ผมว่าบ้านเรางามกกว่าลังกานัก หน้าก็สวยกว่า ดูอ่อนหวานยิ้มแย้มแบบคนเหนือ ไม่เป็นแขกดำ
อย่างไรก็ตาม ล้านนาเองก็ติดต่อกับลังกาโดยตรงอยู่แล้ว พระเถรเณรตุ๊ทั้งหลายท่านก็ลงเรือไปเที่ยวเกาะแก้วลังกากันวุ่นวาย จนมีปัญหาลังกาเก่าลังกาใหม่วีนกันทั้งวัดป่าแดง วัดสวนดอก ต่างฝ่ายต่างหาว่าอีกฝ่ายไม่เป็นพระ เพราะบวชไม่สมบูรณ์ (ซะงั้น)
สมัยเจ้าสามพระยา ก็ปรากฏว่าพระญาณคัมภีร์แกล่องเรือไปลังกา สมัยพระเจ้าติโลกราชท่านก็อุดหนุนนิกายวัดป่าแดงลังกาใหม่ จึงคิดว่าไม่แปลกถ้าจะเอาศิลปะลังกามาปั้นปูนประดับเล่นที่วัดเจ็ดยอด และศิลปะลังกาเหล่านี้ก็ยังคงติดอยู่ในเทวดาล้านนาจนถึงสมัยเจ้าเจ็ดตนนั่นเทียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 129 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 12:34
|
|
เทวัญลังกาที่วัดลังกาดิลก มีคนเสนอว่าวัดนี้เหมือนวัดเจ็ดยอดที่สุด ผมก็ว่าเหมือน เสียดายไม่ได้ถ่ายเพราะขึ้นนั่งร้านกันอุบาทว์ตา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 130 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 12:41
|
|
พระแขกหน้าตาน่ากลัว พระคนชาติไหนก็หน้าเหมือนคนชาตินั้น  (เมื่อวานไปอยุธยามา เจอตาลุงคนนึงหน้าเหมือนพระอยุธยาปลายเลย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
asia
มัจฉานุ
 
ตอบ: 78
|
ความคิดเห็นที่ 131 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 20:01
|
|
ศิลปะเมืองลังกา งดงามถึงเพียงนี้เชียว ฤ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 132 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 22:57
|
|
ไอ้ตัวพี่นี่ยุ่งหนักหนา ไม่มีเวลามาเสพศิลป แต่ที่สงสัยมานานว่า ไอ้ศิลปะสมัยโน้นที่มันมาคล้ายคลึงกันนั้นอย่างที่ลังกากับสุโขทัย มาถึงสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น มันไปลอกเลียนกันตอนไหน แล้วไปๆมา ไหงของเราดันสวยกว่า(เข้าข้างตัวเองไว้ก่อน)อย่างที่ว่าเข้ามาเผยแผ่ศาสนาก็น่าจะเป็นพระ พระรูปนั้นก็น่าจะเป็นศิลปินด้วย อย่างพระสงฆ์ไทยที่เป็นช่างก็มีหลายรูป แต่ฝ่ายเราที่รับทำไมมันเรียนรู้เร็วจริง ไอ่เราเองน่าจะวาดของเราเป็นอยู่ก่อนบ้างนะ ไม่ใช่อะไรก็เอาแบบเค้ามาหมด ดูอย่างลายบ้านเชียงนั่นปะไร คิดอีกที ไอ้ที่เราเห็นว่าคล้ายกับอย่างลังกา ช่างลังกามาเขียนเองรึเปล่าใครจะไปรู้ เฮอะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 133 เมื่อ 25 มี.ค. 10, 23:55
|
|
ขุดภาพเทวดาปูนปั้น วัดเจ็ดยอด เมื่อสมัยไปทำงาน งานพืชสวนโลก ครั้งกระนู้นนนนนน
ของเราเอามา สวยกว่า อ่อนหวานกว่าเยอะเลย
ในภาพข้างบน คือ เทวดาตัวข้างบนซ้าย ใช่ไหม ....
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 134 เมื่อ 26 มี.ค. 10, 00:23
|
|
น่าจะใช่องค์นั้นนะครับพี่แพร ต้องเล่นโฟโต้ฮั้นท์ซะแล้ว หมู่นี้ยิ่งตาไม่ค่อยจะดีอยู่ด้วย
สวัสดีครับพี่ยีนส์ เรื่องช่างลังกาเขียนเองนั้น น่าจะเป็นไปได้สูงครับ เพราะในจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม หลวงพ่อศรีศรัทธาแกเมาท์ว่า มาแต่สิงหลทวีป...เอาฝูงคนดีแบกอิฐแต่ต่ำมากระทำพระมหาธาตุ... แกไปลังกามา ได้ลูกศิษย์ลูกหามากมาย เพราะท่านขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ไปไหว้พระธาตุ ก็มีพระธาตุเสด็จลงมาในมือแก ฝูงลังกาห้าบ้านแถวแม่น้ำมหาวาิลิก ถึงกับขุดเอาดินใต้ฝ่าเท้าแกไปบูชา กลับมาสุโขทัยคงได้ช่างมาด้วยแน่
ในอยุธยาก็มีอิทธิพลลังกาอยู่ไม่น้อยครับ เช่นประภามณฑลพระพุทธรูปปูนปั้น (ไม่แน่ใจว่าวัดพระรามหรือวัดราชบูรณะ) ในกรุวัดราชบูรณะก็มีพระพุทธรูปลังกาและอินเดียใต้ ที่วัดพระนอนจักรสีห์ก็มีพระพุทธรูปลังกา (นัยว่าหลวงพ่อศรีศรัทธาแกเอามาตอนบูรณะวัดพระนอนจักรสีห์แถบรัตนกูดาสทิงคลองพลับหรือเปล่า)
และเชื่อว่าอยุธยาคงรับผ่านลังกามาโดยตรงด้วยซ้ำ ไม่ได้ผ่านทางสุโขทัย เพราะอยุธยาออกทะเลง่ายกว่า ตอนพระธรรมคัมภีร์ท่านลุกมาแต่เมืองเชียงใหม่ จะล่องเรือไปลังกา ก็ต้องผ่านอยุธยา ขากลับทวนน้ำขึ้นเหนือ ก็ผ่านอยุธยาอีก เป็นที่โปรดปรานของ"พระเป็นเจ้า" มหาราชเจ้าสามพระยายิ่งนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|