Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 07:07
|
|
ลายก้านขดออกหัวกนกผักบุ้ง (ใช่ป่าว) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 106 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 07:10
|
|
สิงห์ัลังกา ลายข้างบนกระบวนคล้ายๆขาสิงห์เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 07:13
|
|
กนกไทย จากวัดราชบูรณะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 07:13
|
|
กนกลังกา เอามาเทียบกันครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 12:13
|
|
กลายเป็นว่าได้หลักฐานที่มาของ กนกของไทยชิ้นใหม่เลยนะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
yutthana
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 13:02
|
|
ไม่ได้ชอบหรอกครับงานประติมากรรม แต่ตูบ้าเลยละ ขอบคุณคุณกุครับที่ให้เปิดหูเปิดตาจริงๆ ศิลปะนี่ได้รับอิทธิพลไปเต็มๆเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 13:47
|
|
สงสัยเราจะเอาลายจากศรีลังกานี่มาปนเขมรอีกที ก่อนที่จะพัฒนาการเป็นลายไทยอย่างสมบูรณ์แบบต่อมา ?? ไม่รู้ว่าลังกาทิ้งระบบลายแบบนี้ไปเมื่อไหร่ หรือเขาพัฒนาไปอีกรูปแบบครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 112 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 13:55
|
|
เรื่องระบบลายพวกนี้มองดูก็น่าชื่นใจ แสดงว่าระดับความสัมพันธ์ของไทยกับลังกานี่มีมาก คงเป็นจุดเริ่มต้นที่เรา รับรูปแบบศาสนาและศิลปะจากเขา ต่อมาเขาก็มารับจากเราในสมัยอยุธยา การยักย้ายถ่ายเททางด้านศาสนา และวัฒนธรรม ถ้าไม่มองในเรื่องของเขาของเราอย่างเอาเป็นเอาตาย ก็แสดงว่าเรากับเขาก็พลัดกันล้มพลัดกันยืน เติบโตมาด้วยกัน
สงสารก็แต่ศรีลังกาเคยถูกต่างชาติมายุให้รำตำให้รั่ว จนทำให้ตอนนี้ก็ยังแตกกันเป็นบาดแผลลึกของคนในชาติที่แสนเจ็บปวด เมืองไทยเองดูเหมือนก็จะเจริญรอยตามศรีลังกาไปอีกครั้ง และเจ็บปวดไม่แพ้กัน เพราะคงไม่อาจลดเหตุผลที่มีมากมาย ในใจของแต่ละคน
..... สิงห์สุโขทัยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 113 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 13:57
|
|
สามสิงห์ ... เห็นแล้วนึกถึงแมว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 21:10
|
|
ศิลปะสุโขทัยเติบโตขึ้นมาจากรอยครูเก่า คือ เขมร และำพุกาม ขณะเดียวกัน ก็ได้รับแนวความคิดของศาสนาใหม่มาจากลังกา เนื่องจากศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์เดิมสูญสิ้นไป ในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในพุทธศตวรรษที่ 18
ถ้าเรามองประวัติศาสตร์เอเซียโดยภาพรวม จะเห็นว่า ราชวงศ์หยวนมองโกลปราบได้ทศทิศ พระเจ้าหงวนสีโจ๊วทรงวีนเมืองพุกามล่มจมไปแล้ว ขณะที่เมืองพระนครของขอมล่มไปเพราะไม่สามารถจัดการกับระบบชลประทานขนาดมหึมาได้ พุทธศาสนาหินยานเก่าฝ่ายมรัมวงศ์จึงสิ้น ขณะที่มหายานของเขมรก็ล่มสลาย
ที่สำคัญคือ ศาสนาอิสลามเริ่มแพร่เข้าสู่อินเดีย วีนราชวงศ์ปาละ-เสนะ และพุทธคยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพุทธศาสนาจนล่ม พระอินเดียแตกกระเจิงไปอยู่ทิเบตบ้าง พม่าบ้าง
เช่นเดียวกับอาณาจักรพุทธ-ฮินดูในชวากำลังระส่ำระสายเพราะการขยายตัวของอิสลาม
สถานการณ์พุทธศาสนาขณะนั้น กำลังย่ำแย่สุดขีด เหลือเพียงศรีลังกาแห่งเดียว ที่พุทธศาสนายังเหลือรอด แต่ก็ย่ำแย่เต็มที หากพระเจ้าวิชัยพาหุและปากรมพาหุมิได้กู้กรุงจากน้ำมือทมิฬสำเร็จ ศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์สมัยนั้น จึงเลื่อนจากคยา ไปอยู่ที่ศรีลังกา จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมใครต่อใครจึงไปลังกากันวุ่นวายนัก
เหนมีคนอยากดูสิงโตลังกา ชิ้นนี้อายุร่วมๆกับสุโขทัยอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 21:18
|
|
จากวัดลังกาดิลก กรุงโปลนนารุวะครับ งามนักหนา เขาว่าเป็นชิ้นเอก เลยดูแปลกตากว่าสุโขทัยนิดๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 23 มี.ค. 10, 21:34
|
|
สิงห์พูเดิ้ลแบบบ้านเราบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 24 มี.ค. 10, 22:03
|
|
จิตรกรรมที่ลังกาดิลก โปลนนารุวะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 24 มี.ค. 10, 22:08
|
|
ดูวัดศรีชุมบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kurukula
|
ความคิดเห็นที่ 119 เมื่อ 24 มี.ค. 10, 22:33
|
|
ลังกาก็เหมือนบ้านเราแถวๆนครศรีธรรมราชครับ คือฝนตกชุก พืชพรรณก็คล้ายๆกัน ต้นมะพร้าว มะม่วงเยอะแยะ เพราะอากาศชื้น ฝนตกบ่อย ดังนั้นก็เลยมีปัญหาเหมือนเราด้วย คือจิตรกรรมเก่าๆไม่เหลือมากแล้ว ส่วนใหญ่เป็นของใหม่สมัยแคนดี้
อันนี้ที่เหลือก็น้อยเหลือเกิน แต่ก็ละม้ายคล้ายสุโขทัย โดยเฉพาะเทวดาใส่การัณฑมงกุฏ (มงกุฏปล้องๆชั้นๆสำหรับเทพชั้นรอง) และอุทรพันธะ สายรัดพุงแบบอินเดียใต้ ลองนึกถึงเทวดาวัดเจ็ดยอดครับ เหมือนกันเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|