เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17580 สีโบราณในงานจิตรกรรม
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



 เมื่อ 13 มี.ค. 10, 21:16

สวัสดีครับผมของใจเรื่องการใช้สีของโบราณอะครับ.. ฮืม
เพราะกรรมวิธีที่กว่าจะได้มาของแต่ละสีอันได้จากธรรมชาตินั้น  นับวันจะหล่อยหลอขาดคนสนใจเพราะมีสีสมัยใหม่ใช้กันโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน  ผมเคยเห็นอาคนรู้จักเขียนรูปสีสวยมาก สอบถามได้ความว่าเป็นสีจากธรรมชาติเอาใบแคไปหมักจนได้สี มีทั้งสีจากดินจากเปลือกหอย(จำไม่ได้แล้วงะ) อาบอกเป็นเคล็ดลับของแต่ละสกุลช่างบอกกรรมวิธีไม่ได้ แต่อาเขาก็เล่าให้ฟังคร่าวๆ... เศร้า......

มีท่านใดที่เจนจัดเรื่องสีโบราณ...ช่วยแนะนำด้วยนะครับถือเป็นวิทยาทาน อย่าได้มองว่าเป็นของแต่ละสกุลช่างเลย เชื่อว่าหลายคนที่ได้อ่านคงนำไปใช้ในทางที่เกิดประโยชน์อนุรักษ์สืบสาน หาไม่แล้ววิชาจะขาดการงอกเงย 

......................ขอบคุณคร๊าฟ..... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 มี.ค. 10, 23:39

ก็แนะนำให้ไปถามพี่ยุทธกะพี่ยีนส์ดูครับ รับรองได้คำตอบชัวร์
แต่คงต้องอ้อนหน่อยครับ พี่เขางานเยอะ

 ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 มี.ค. 10, 10:45

ต้องเข้าใจว่ากระบวนการทำสีโบราณนั้นมีได้ยุ่งยากจนเกินไปครับเพียงแต่ว่าในปัจจุบันบางทีมีสีทดแทนได้ครับแต่จะใช้สีโบราณในบางสีที่ยังต้องใช้อยู่ครับเนื่องจากยังหาสีที่มีคุณสมบัติทดแทนไม่ได้ครับ
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเรื่องส่วนประกอบของสีโบราณเสียก่อนนะครับ   คือ ๑.จุลสีหรือผงสีที่ได้จากธรรมชาติไม่ว่าจากสัตว์หรือพืชก็ตาม    ๒.  ตัวทำละลายส่วนใหญ่เป็น น้ำ และแอลกอฮออล์(ใช้ในกรณีที่จุลสีไม่สามารถละลายด้วยน้ำ  ๓. กาวที่ใช้ยึดติดส่วนมากใช้ยางไม้จากธรรมชาติ  เช่นยางมะตูม   ยางกระฐิน
วิธีการผลิตสี   คือนำจุลสีที่บดแล้วกรองอย่างละเอีบดแล้ว  ยิ่งละเอียดได้มากเท่าไหร่สียิ่งติดนานเท่านั้น   มาบดกับตัวทำละลายจนละเอียด  หลังจากตัวจุลสีละลายจนละเอียดแล้วนำมาผสมกับกาวซึ่งละลายน้ำด้วยวิธีการต้มแล้วค่อยๆผสมให้เข้ากัน   ทีละนิดแล้วทดสอบด้วยการเขียนลงบนกระดาษ หรือ ผ้าใบที่ใช้เขียนรอแห้งเอามือถูดูถ้าไม่หลุดก็ใช้ได้ครับ  ถ้าเป็นมันที่ผิวแสดงว่าแก่กาวเกินไปให้ผสมตัวทำละลายเพิ่มครับ เวลาผสมใช้ผสมในโกร่งบดยาครับเวลาใช้ไปบดไปทำให้สีละเอียดขึ้นครับ
วัสดุที่นำมาใช้ทำสี    ชาด ได้ สีแดง  (ใช้ละลายกับเหล้าขาวบดยากมากกว่าจะละเอียดแต่เป็นสีแดงตัวเดียวที่ตัดเส้นบนทองแล้วทำให้เส้นขาดจมลงในทองไม่ลอยอยู่บนทองเหมือนสีสมัยใหม่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน               ดินแดง ได้สีแดง  มาจากดินอยู่ที่แร่ธาตุแต่ละพื้นที่คือถ้ามีออกไซด์มากจะเป็นสีแดง 
                       สนิมเขียวหรือสีตังแช  ได้จากสนิมของทองแดงโดยหมักด้วยกรดซัลฟูลิคกับทองแดงจนขึ้นสนิมเขียว
                       ยางจากต้นรงค์  ได้สีเหลือง ใช้ผสมน้ำบดแล้วใช้ได้เลยไม่ต้องผสมกาวเนื่องจากยางไม้มีความเหนียวในตัว
                       ครามได้สีน้ำเงิน  ไม่ได้เอาครามมาเขียนนะครับเขาเอาครามมาหมักกับปูนขาวจนปูนกลายเป็นสีครามแล้วนำเอาปูนที่หมักมาใช้ครับ
                       เขม่า  หมึกจีน  ได้สีสีดำนำมาผสมตามสูตร
                       ขาว จากเปลือกหอยเผา  อย่าทำเลยลำบากพี่ลองมาแล้ว
                       ขาวจากดินขาว
                       นำ้ตาลจากดิน
                       เสนได้สีส้มแดงหาซื้อตามร้านขายยา(อันนี้ไม่แน่ใจมีเพื่อนนำมาให้ต้องรอถามพี่ยินส์ครับ)
                       ใบแคได้สีเขียว  ต้องหมักและใช้สารเคมีทางวิทยาศาสตร์สกัดเอาจุลสีออกมาครับ
เอาคร่าวๆแล้วกันครับถ้าอยากรู้ละเอียดเดี๋ยวมาคุยกันอีกที  แต่ผมอยากแนะนำว่าปัจจุบันมีสีที่ใช้เขียนจิตรกรรมได้ดีและสวยเหมือนสีโบราณยกเว้นสีเดียวคือสีแดงชาดต้องใช้อยู่ใช้ตัดเส้นบนทอง
คือใช้วิธีการผสมแบบโบราณ  เพียงแต่จุลสีหรือผงสีที่นำมาใช้ให้ใช้สีชอล์กแท่งของแลมบรันเนี่ยแหละครับ เวลาซื้อให้เทียบสีกับสีไทยแล้วเลือกใช้ตามใจชอบครับนำมาบดเป็นผงและ ผสมตามสูตรก็ใช้ได้เหมือนกันครับดีและสะดวกกว่าครับ  ส่วนความรู้ที่ละเอีบดกว่านี้ต้องถามพี่ยีนส์ครับเพราะเขาทำเป็นอาชีพ ครับ


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 มี.ค. 10, 20:41

...ขอบคุณพี่ยุทธมากมายครับ...ว่าแต่สีโบราณที่ใช้กันมีทั้งหมดกี่สีอะคับ แล้วมีข้อจำกัดของการใช้สีหรือปล่าว.. ฮืม
...ว่าแต่ช่วงนี้ไม่มีทริปที่ไหนหรอคับ เผื่อผมจะได้ชมภาพศิลปกรรมสวยๆ จากพี่ๆบ้าง ผมจะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลป์จากข้อมูลของชมรมอะคร๊าฟ....ว่าแต่พี่เนมีรูปงานเขียนของครูสุดสาคร(เพาะช่าง) ไหมอะคับอ๊อฟอยากเห็นไว้ศึกษาเป็นแนวทางงะ... ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

..........แล้วช่วงนี้พี่แพรคนสวยไปไหนน้า... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 มี.ค. 10, 22:57

เรื่องรูปงานเขียนของอาจารย์ท่าน ก็คงต้องคุยกับคนอื่นอีกล่ะครับ คือ..
เอาเป็นว่าผมมีแต่รูปถ่ายน่ะครับที่คุณออฟจะพึ่งพาได้ 55555
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 01:29

เข้ามาต้อนไก่ในห้องนี้อีกตัว

น้องออฟ กุ๊กๆๆๆๆๆ

ภูมิปัญญาไทย สุดยอดจริงคะ อยากเห็นเวลาผสมสีจริงจังเลย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 14:17

เสน่ห์ของงานช่างเขียนของไทยจับใจเหลือเกินว่าไหมครับ แค่เรื่องสีก็พิศดารพอแรงยิ่งเส้นสายลายเขียนก็พริ้วไหวดุจต้องลม อ่อนช้อยแลดูมีชีวิตชีวา
....เชิญท่านผู้รู้ ได้แสดงทัศนะอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์

(ว่าแต่พี่แพรจะตอนไก่อะไรอะคร๊าฟฟฟ...หุหุ ยิ้มเท่ห์)
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 14:44

แหม๋เล่นเรื่องยากๆ สีโบราณปัจจุบันคงหาทำยายากยิ่ง เพระแต่ละตัวราคาแพงริบริ้ว อย่างชาดนี่โคตรละแพง กรรมวิธีในการใช้ก็ยุ่งยาก การใช้ฝุ่นสีสำเร็จในปัจจุบัน ในฐานะคนเขียนรูปสีฝุ่นอยู่อย่างโบราณ ก็ถือว่าใช้ได้ดีและใกล้เคียงของเดิม ส่วนผสมสำคัญจะอยู่ที่ตัวทำละลายมากกว่า โดยเฉพาะกาว พี่ใช้กาวกระถิน ตอนนี้โลละเหยียบพันบาทแล้ว ปัจจุบัน ช่างเขียนคงกันไปใช้สีอะคริลิคกันหมดแล้ว เรื่องสีโบราณแท้ๆคงไปหาดูได้ที่วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี ที่ญาติของช่างเขียนสมัยร.3เก็บเอาไว้ น่าจะยังอยู่ ทริปที่อยากจัดต่อไปก็ที่สุพรรณบุรีนี่แหละ 555555555555555
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 15:22

อุ๊ย... ทำไมคุณยีนส์ขำน่ากลัวจัง
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 19:04

ลองอ่านผลงานของอาจารย์ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ์ ดูครับ ทำเรื่องการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังไว้พอสมควร แต่ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ โดยเก็บตัวอย่างชั้นสีโบราณมาวิเคราะห์ว่า แต่เดิมเขาใช้อะไรกันบ้าง

บทความเท่าที่ค้นคว้ามาได้บางส่วนครับ ลองเสิร์ชดูตามเวปห้องสมุดมหาวิทยาัลัยต่างๆ จะรวมอยู่ในวารสารหลายๆเล่มครับ

-จิตรกรรมฝาผนังไทยโบราณกับขบวนการวิทยาศาสตร์.

- เทคนิคและวัสดุของจิตรกรรมฝาผนังไทยแบบดั้งเดิม.

- ผงสีและโครงสร้างของจิตรกรรมฝาผนังที่วัดป่ารวก นครหลวงพระบาง : ศึกษาเปลียบเทียบกับจิตรกรรมฝาผนังของไทย.

-ผงสีและโครงสร้างชั้นของจิตรกรรมฝาผนังที่โบสถ์วัดใหม่เทพนิมิตร ธนบุรี.

-ผงสีและโครงสร้างชั้นสีของจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์ วัดมหาธาตุ ราชบุรี = Pigments and paint layer structures of the murals at Phra Prang of Wat Mahathat in Ratchaburi

-รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาผงสีและโครงสร้างชั้นสีของ จิตรกรรมฝาผนังในภาคตะวันตกของประเทศไทย = Study of pigments and stratified structures of the wall paintings is Western Thailand

-เรื่องของปูน : เทคนิคการเตรียมปูนและปูนปั้นแบบประเพณีของภาคเหนือ และจังหวัดเพชรบุรี.
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 19:29

งืมๆ..ขอบคุณมากมายคาบ..การใช้สีโบราณคงจะยากมาก เศร้า เศร้า
ผมกำลังจะเตรียมตัวเรียนช่างเขียนอะครับพร้อมตั้งใจว่าจะศึกษาแบบเทคนิคโบราณเพื่อการอนุรักษ์ เผื่อต่อไปจะหาช่างเขียนสีโบราณไม่ได้ เพราะหันมาใช้ของใหม่เสียหมด หากปล่อยไว้สืบไปเบื้องหน้าวรรณะสีโบราณคงเหลือเพียงตำนาน แล้วเราจะเหลือภูมิปัญญาเชิงช่างของบรรพบุรุษใดเล่าไว้สืบลูกสอนหลาน ผมจึงอยากรวบรวมองค์ความรู้นี้ไว้....
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 20:42

สีโบราณสามารถทำได้ไม่ยากเกินไปหรอกครับ  อาจจะทำยากเป็นบางสีบ้างแต่เมื่อทำไว้ใช้แล้วจะใช้ได้นานจนลืมเลยทีเดียวครับ  อย่างทีี่พี่ยินส์บอกสีที่แพงคือชาด จำได้ว่าเมื่อก่อนซื้อมาครึ่งโล ๓๐๐๐บาทแต่ใช้ได้นานมากเลยครับ  ส่วนสีอื่นๆจำพวกดินเนี่ยอยู่ที่แร่ธาตุในดินแต่ละพื้นที่ครับบางทีเป็นหินก็มีครับเวลาทดสอบเอาไปขีดบนพื้นปูนหรือหินถ้ามีสีออกก็ใช้ได้เหมือนกันครับ มีทั้งสีเหลือง  สีแดง  สีน้ำตาลนำมาบดมากรองและผสมกับกาวกระถิน(อันนี้บางแห่งอาจไม่ต้องซื้อครับเพราะมีต้นกระถินในพื้นที่มีกาวตกผลึกเกาะตามต้นเอามาต้มละลายน้ำก็ใช้ได้ครับ)ถ้าเป็นกรุงเทพก็ซื้อที่ร้านนานาภัณฑ์ท่าพระจันทร์ครับ   นอกนั้นก็ตามที่บอกครับ  แต่อย่างที่บอกนะครับว่าสีชอล์กแท่งของแลมบรานด์ นำมาบดเป็นผงก็ใช้ได้เช่นกันได้อารมณ์โบราณเหมือนกันแต่ง่ายกว่าที่ไม่ต้องหาตัวสีให้ยุ่งยากครับ  สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้ก็คือ  แม้สีจะทำได้แบบโบราณได้ แต่รูปแบบและเทคนิคการเขียนภาพก็สำคัญครับ  ควรฝึกและสังเกตงานครูให้มากครับ  มีรูปงานที่ดีของเพื่อนที่เขียนด้วยสีฝุ่นมาให้ดูครับเป็นงานแบบรัชกาลที่๓ครับลองดูความงามและความละเอียดในทีพู่กันครับ  สำหรับเพื่อนคนนี้เคยอาศัยอยู่บ้านอาจารย์ด้วยกันและเป้นคนที่เขียนจิตรกรรมไทยเก่งดีสุดในรุ่นผมเลย ลองศึกษางานแกให้ดีๆครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 มี.ค. 10, 02:56

ภาพที่พี่ยุทธโพสต์เส้นบางเหมือนลมหายใจจริงๆครับ
ยิ่งถ้าลองเอามาปรับแสงใหม่ให้เส้นชัดขึ้นก็จะยิ่งงามมากครับ



ขออนุญาตเอาภาพที่ลองปรับแสงแล้วมาลงให้ชมกันนะครับ
ผมปรับได้เท่านี้ ถ้าสมาชิกท่านอื่นกรุณาแก่ผมได้มากกว่าก็จะขอบพระคุณมากครับ



.


บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 มี.ค. 10, 11:23

ขอคุณมาครับพี่ยุทธ งานเขียนสวยมากครับผมจะจำไว้เป็นแนวทาง  ว่าแต่อาจารย์ที่พี่ยุทธกล่าวถึงนี่คือท่านใดครับ... ฮืม
บันทึกการเข้า
offzaa
ชมพูพาน
***
ตอบ: 80



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 มี.ค. 10, 11:40

พี่ๆครับ...ออฟสงสัยอีกแล้ว   ฮืม ฮืม

"สีบัวโรย" ทำจากอะไรครับมีกรรมวิธีการผสมอย่างไรบ้างผมเห็นในกระทู้ภาพพระบฎของพี่ยุทธ
สวยมากกกกกกกกกก...... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง