เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 14808 ท่านผู้ใดมีบทสวดคฤหัสถ์?
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 10:28

เพลงชาล (ย่อมาจากคำว่าชาละวัน)  

สมัยก่อน  เป็นบทสวดคฤหัสถ์ที่ใครได้ยิน  ก็จะทราบว่าบ้านนั้นมีงานศพ  เนื้อความไม่มีอะไรมาก เป็นกลอน ๒ บทสั้น ร้องซ้ำไปมา   เข้าใจว่า คงเป็นเพราะฤทธิ์สุราเถื่อน เหล้าขาว หรือ กะแช่ น้ำตาลเมา  คนสวดพอดื่มเข้าไปแล้วนึกคึกขึ้นมา  ไม่รู้จะร้องอะไรก็เลยเอากลอนที่ละครร้องมาร้องซ้ำไปมาเป็นการครื้นเครง  ซึ่งกลอนนี้ไม่แดง  

ชาละวันตัวดำ  (ชะหน่อละน้อยละนอยนอยละน้องเอยฮะเออเอ้ย)  อยู่ในถ้ำตัวเดียว  (ชะเอ่อเอ้ย)
ไอ้ชาละวันตัวเขียว (ชะหน่อละน้อยละนอยนอยละน้องเอยฮะเออเอ้ย) มันอยู่ตัวเดียวในถ้ำ (ชะเอ่อเอ้ย)

 หมายเหตุ  ทำนองลูกคู่อาจจะมีผิดเพี้ยนไปบ้างนะครับ  เพราะฟังเขามาอีกที)

จากนั้นก็ร้องวนเวียนไปจนเบื่อและเปลี่ยนบทร้องใหม่  ตามแต่จะนึกอะไรได้  บางทีก็ออกไปเป็นลำตัด ลิเก เพลงเรือ เพลงฉ่อย  ถ้าเป็นสมัยนี้อาจจะเอาเพลงวัยรุ่น เพลงลูกทุ่ง หมอลำมาใส่สวดกันฮากระจาย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 11:06

อิอิ   ชอบจัง   น่ารักด้วย   

เราชอบชาลวัน



วันหน้าจะซอย ครูแจ้ง มาให้คุณหลวงอ่านบ้าง  อ่ะอ่ะ     
เคยมีนักดนตรีคลาสสิคมาขออ่าน  แล้วร้องสุดเสียงว่า กล้าเขียนอย่างนี้เชียวหรือ

นึกเลยไปว่าครูแจ้งต้องหนีคารมยายมา  แล้วก็อดขำไม่ได้
เพราะแม่เพลงทั้งหลายนั้น  ท่านสูงอายุอยู่ในขั้น ออคโต ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 11:54

เพลงนางญวนรำพัด  (แดงนิดๆ)

บทสวดอันนี้ กระทั่งพวกพิณพาทย์ก็นิยมเอาทำนองไปบรรเลงตามงานเหมือนกัน  จังหวะสนุกดี  เพลงนางญวนเป็นหนึ่งในจำนวนบทสวดที่ออกภาษาต่างๆ ในการสวดคฤหัสถ์ อันได้แก่  แขก ฝรั่ง จีน ลาว มอญ และญวน  

บทร้องมีว่า

ตัวภาษาร้อง   นางญวนรำพัด      นางก็ดัดกายา  (ซ้ำ)
                ยักท้าย (ซ้ำ) ย้ายท่า   ให้ขรัวตาดูของดี  (คนสวดแต่งเป็นนางญวนสะบัดผ้าชะเวิ้บชะวาบให้ ขรัวตาดู...)

บางที่อาจจะร้องท่อนที่ ๒ ว่า ยักซ้าย (ซ้ำ) ย้ายขวา   ให้ขรัวตาดูของดี

ลูกคู่ร้อง   จีกวงฮ่อกวาง  ขวัญเมืองเยื่องฮา
              อั้งโหล่ยอั้งโหล่ยอั้งช้า  แม่หนูมาดูกวาง
              เฮ้ว เฮ้วกวางกะย่อห่อกวาง  (ซ้ำ ๒ ท่อน)
            จี่เอ๋ยจี่ (ซ้ำ)  ทอดแหตรงนี้   ว่าจะมีกุ้งนาง
              เฮ้ว เฮ้วกวางกะย่อห่อกวาง  (ซ้ำ)

ต่อจากตรงนี้จะเป็นออกมุขตลก เช่น
              เฮ้ว เฮ้วกวางกะย่อห่อกวาง  (ซ้ำ)
           จี่เอ๋ยจี่  (ซ้ำ)  มาเล่นวันนี้     ก็หวังจะมีสตางค์
อันนี้คนสวดร้องขอสตางค์จากเจ้าภาพ  ถ้าเจ้าภาพยังไม่ให้  ก็จะร้องวนอยู่ตรงนี้แหละ เป็นต้น
สุดแต่จะด้นกลอนคิดมุขเล่นกันให้ขำกันไป    ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 20:16

ถึงคุณหลวงครับ ขอขอบคุณอีกครั้งครับที่แนะนำหนังสือ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 มี.ค. 10, 10:50

ด้วยความนับถือคุณหลวงเล็ก  ไม่ได้ล้อเล่นเลยนะคะ เพราะหนังสือที่แนะนำมา แจ่ม จริงๆ
และใจกว้างที่ได้เปิดเผยแหล่งค้นคว้า


อ่า...จี่เอ๋ยจี่  ตรงนี้มีกุ้งนาง นั้น  เคยดูละครลิงในงานวัดปากน้ำ
ลิงวิ่งออกมาฝูงหนึ่ง  บางตัวแต่งเป็นคาวบอยขี่สุนัขตัวเล็กๆ 
มีพระเอก นางเอกกระโดดไปมา
แล้วก็มีลิงแบกแหปากเล็กมาทอด  แล้วนายวงก็ร้อง จี่เอ๋ยจี่

ลิงหาปลาก็ทอดแห

ถ้าไม่คิดว่าเจ้าของวงคงหัดลิงและสุนัขด้วยวินัยเหล็ก  คงสนุกมากกว่านี้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 09:41

น้อมรับคำขอบคุณด้วยความยินดี  ความรู้มีเก็บไว้ก็เท่านั้น ต้องแบ่งปันมันถึงจะเกิดประโยชน์ครับ  เอาไว้ได้บทสวดคฤหัสถ์ใหม่ๆ มาจะเอามาเติมกระทู้อีกก็แล้วกัน


ผู้ใหญ่ของผมท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่า  คนสมัยก่อนเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน  ถึงเวลากล่อมให้เด็กนอน  เมื่อคิดถึงบทเพลงที่จะมาร้องกล่อมเด็ก  ก็ติดว่าตนเองไม่มีเพลงกล่อมเด็กในหัว  จะอย่างไรดี  ก็นึกเอาตามถนัดของตน  ถ้าใครชอบดูลิเกก็เอาบทร้องลิเกมาร้องกล่อมลูกหลานไป  ถ้าใครชอบร้องเพลงฉ่อยเพลงอีแซว ก็เอามาร้องกล่อมใส่ทำนองให้พอเป็นเพลงกล่อมเด็ก  หนักที่สุดคือ กระทั่งบทสวดคฤหัสถ์บางบทท่านก็เอามากล่อมเด็กได้  เช่นบทนกกาเหว่า  บทร้องเท่าที่จำได้คือ   ยังมี...(เอื้อน   เอ่อฮะเอ้ย) แม่นกกาเหว่า กาเหว่า กาเหว่า กาเหว่า (อ้อ อ้อ)...   (จำได้เท่านี้ล่ะ  วันหลังจะเอาเติมให้เต็ม)  บทนี้ ภายหลังคนนิยมเอามาร้องกล่อมเด็กกัน  จนกลายเป็นเพลงกล่อมเด็กไป   ทั้งที่เดิมไม่ใช่เพลงกล่อมเด็ก 

ที่เล่ามานี้ก็เพื่อจะแสดงว่า  เพลงการละเล่นพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่นนั้น  อาจจะหยิบยืมเนื้อร้องมาดัดแปลงร้องเล่นกันในเพลงการละเล่นต่างชนิดได้เหมือนกัน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
DekThai
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 เม.ย. 10, 23:27

สวัสดีครับ เป็นสมาชิกใหม่นะครับ ยังไงฝากตัวด้วยนะครับ

นี่คือการสวดคฤหัสถ์ครับ



มีทั้งหมด 6 ตอนนะครับ ถ้าอยากฟังเสียงชัดต้องไปซื้อซีดีที่เค้าอัดไว้อ่ะครับ ผมคยเจอที่ศูนย์หหนังสือ จุฬา ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 เม.ย. 10, 00:04

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ค่ะ   



ไม่คุ้ยเคยกับการนอนเปล  เพราะผู้ปกครองมีงานบ้านที่ต้องทำมากมาย
เสียงกล่อมเด็กที่เคยได้ยินไกล ๆ นั้น ชอบเพลง  โอ้ละเห่  โอ้ละหึก  ตื่นแต่ดึกทำขนมแชงม้า
มีความคิดตั้งแต่จำความได้ว่า  ขนมแชงม้าคงน่ากินมาก เพราะสัญญาว่าจะทำกันแต่ดึก
ตื่นเช้าจะได้กิน
บันทึกการเข้า
overhaul
อสุรผัด
*
ตอบ: 63


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 เม.ย. 10, 15:30

สวัสดีครับคุณdekthai
ขอบคุณครับที่หาlink การสวดคฤหัสถ์มาให้ชม ต่อไปคงได้สนทนากันบ่อยขึ้นนะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
DekThai
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 เม.ย. 10, 22:29

เด่วรอศูนย์สังคีตเปิดบริการหลังช่วงสงกรานต์ 

ผมจะลองไปหาดูอีกนะครับ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม ยังไง คุยกันนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง