เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8844 สะพานเฉลิมในรัชกาลที่ ๕
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 07 มี.ค. 10, 11:47

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อสร้างสะพานเพื่อเป็นอนุสสรณ์แห่งการครองราชสมบัติในรัชกาลของพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่การสัญจรเดินทางของประชาชน และได้พระราชทานนามสะพานแต่ละแห่งไว้ ดังนี้


พระราชทานนามสพานเฉลิม

   ด้วยสพานเฉลิมซึ่งเรียกตามเลขปีแห่งพระชนม์พรรษานั้นสำเหนียกยาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามตามบาญชีต่อไปนี้

ที่ ๑ - ถนนสามเสน ข้ามคลองบางขุนพรม ชื่อสพานเฉลิมศรี ๔๒
ที่ ๒ - ถนนหัวลำโพงนอก ข้ามคลองริมถนนสนามม้า ชื่อสพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓
ที่ ๓ - ปลายถนนสาทรฝั่งใต้ ข้ามคลองหัวลำโพง ชื่อสพานเฉลิมเกียรติ ๔๔
ที่ ๔ - ถนนวรจักร ข้ามคลองวัดพิเรนทร์ ชื่อสพานฉลิมยศ ๔๕
ที่ ๕ - ถนนเยาวราช ข้ามคลองตรอกเต๊า ชื่อสพานเฉลิมเวียง ๔๖
ที่ ๖ - ถนนอุนากรรณ์ ข้ามคลองสพานถ่าน ชื่อสพานเฉลิมวัง ๔๗
ที่ ๗ - ถนนเจริญกรุง ข้ามคลองวัดจักรวรรดิ ชื่อสพานเฉลิมกรุง ๔๘
ที่ ๘ - ถนนเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ข้ามคลองสาทร ชื่อสพานเฉลิมเมือง ๔๙
ที่ ๙ - ปลายถนนสุรวงษ์ ข้ามคลองหัวลำโพง ชื่อสพานเฉลิมภพ ๕๐
ที่ ๑๐ - ถนนเฟื่องนคร ข้ามคลองสพานถ่าน ชื่อสพานเฉลิมพงษ์ ๕๑
ที่ ๑๑ - ถนนประทุมวัน ข้ามคลองริมถนนสนามม้า ชื่อสพานเฉลิมเผ่า ๕๒
ที่ ๑๒ - ถนนเจิญกรุง ข้ามคลองวัดสามจีน ชื่อสพานเฉลิมพันธุ์ ๕๓
ที่ ๑๓ - ถนนเจริญกรุง ข้ามคลองสีลม ชื่อสพานเฉลิมภาคย์ ๕๔
ที่ ๑๔ - ถนนราชดำริห์ แลประแจจีน ข้ามคลองบางกะปิ ชื่อสพานเฉลิมโลก ๕๕

อนึ่ง สพานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเปิดในการเฉลิมพระชนม์พรรษาภาคที่ ๒ พฤศจิกายนน่า ที่ถนนพญาไทข้างคลองบางกะปินั้น จะพระราชทานนามว่า สพานเฉลิมหล้า (๕๖)

อ้างถึง - ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ น่า ๑๑๗๙ วันที่ ๒๙ สิงหาคม รศ ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒)



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 มี.ค. 10, 12:00

สะพานเฉลิมเผ่า ๕๒ สภาพปัจจุบัน อยู่ที่ทางออกของสยามพารากอนกับรั้วของวัดปทุมวนาราม หลังป้อมตำรวจ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 มี.ค. 10, 12:02

ที่ตรงวินมอเตอร์ไซค์นั่นเอง


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 มี.ค. 10, 12:31

การเปิดสพานเฉลิม ๕๒

พระราชทรัพย์ ซึ่งทรงบริจาคพระราชทานในคราวเฉลิมพระชนมพรรษา รัตนโกสินทร ศก ๑๒๓ นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ จัดการรื้อสพานเก่าที่ตำบลสระประทุมวันซึ่งชำรุดทรุดโทรมออกเสีย ก่อสร้างซ่อมแปลงขึ้นใหม่คือเปลี่ยนเปนรอดเหล็กทั้งหมด และพนักในร่วมก็ทำด้วยเหล็กมีลวดลาย พนักแข็งก่ออิฐถือปูนใหม่พร้อมเสร็จแล้ว

วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องครึ่งยศ ทรงประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์เสด็จอกประทับรถพระที่นั่ง ที่หน้าพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท  เสด็จพระราชดำเนินเปนกระบวนรถม้าพระที่นั่ง ออกประตูวิเศษไชยศรี เลี้ยวถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ลงถนนเจริญกรุงไปออกถนนหัวลำโพง เลี้ยวถนนสนามม้า ประทับพลับพลายกปลายถนนบำรุงเมืองริมสระประทุมวัน พระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการ และชาวต่างประเทศที่ได้รับเชิญแต่งครึ่งยศเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทพร้อมกันแล้ว พระยาสุริยาวัตร เสนบดีกระทรวงโยธาธิการอ่านรายงานการก่อสร้างสพาน กราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว มีพระราชดำรัสตอบขอบใจพอสมควรแล้ว เสด็จลงจากพลับพลาไปประทับบนสพาน ทรงตรึงหมุดสพานด้านเหนือเปนอันแล้วสำเร็จด้วยพระหัตถ์ และทรงตัดแถบแพรซึ่งผูกปิดสพานไว้ให้ขาดออก พระราชทานามว่าสพานเฉลิม ๕๒ พระสงฆ์วัดสระประทุมวัน มีพระธรรมวิโรจ์เปนประธานสวดชยันโต เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ฆ้องไชยพิณพาทย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาประทับรถพระที่นั่งที่หน้าพลับพลายก เสด็จพระราชดำเนินเปนกระบวนข้ามสพานเฉลิม ๕๒ นั้นเปนประถมฤกษ์ไปตามถนนบำรุงเมือง เลี้ยวถนนกรุงเกษมไปข้ามสพานเทวกรรมรังรักษ์ ไปตามถนนตลาด เลี้ยวถนนคอเสื้อ เลี้ยวถนนฮก ประทับวัดเบญจมบพิตรในการขึ้นกุฏีใหม่เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับวังสวนดุสิต แล้วเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง เปนเสร็จการ ฯะ

อ้างถึง - ราชกิจานุเบกษา เล่ม ๒๒ หน้า ๗๕๙ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน รศ ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)

หมายเหตุ - ใน รจ นี้กล่าวถึงถนนตลาด ถนนคอเสื้อ ถนนฮก ซึ่งปัจจุบันคือถนนอะไร ?

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 16:09

มีสะพานเฉลิมอีกสะพานหนึ่ง  แต่รัชกาลที่ ๕ ไม่ทันได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดเนื่องจากเสด็จสวรรคตเสียก่อน  สะพานนั้นชื่อสะพานเฉลิมเดช ๕๗ เชื่อมถนนประทุมวันบรรจบกับถนนหัวลำโพง ข้ามคลองหัวลำโพง  รัชกาลที่ ๖ เสด็จฯ ไปทรงเปิดสะพานเฉลิมเดช ๕๗ เมื่อ วันที่ ๑๕ พ.ย. ๑๒๙ (๒๔๕๓)  ไม่รู้ว่าเด๊ยวนี้ยังอยู่หรือเปล่า??
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 17:24

มีรูปสะพานเก่า มาแจมกระทู้ค่ะ
ในภาพบรรยายว่าชื่อสพานเฉลิมพันธุ์ ๕๓  แต่บอกว่าอยู่ที่สาทร  ไม่ยักใช่
ถนนเจริญกรุง ข้ามคลองวัดสามจีน
http://premium.tarad.com/product/detail/ของสะสมและของเก่า/4366-2791222.html


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 18:07

สะพานชุดเฉลิมสะพานสุดท้าย คือ สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘  ซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ไว้ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๐  กันยายน  ๒๔๕๓  แต่ยังมิทันได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยให้สร้างที่ใดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน  กรมศุขาภิบาลจึงนำความกราบบังคมทูลล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างขึ้นที่ปลายถนนสี่พระยา  และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่  ๒๓  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 16:22

ผมรบกวนถามเพราะว่าสงสัย ชื่อสพานที่มีเลขทายนะครับ อย่างเช่น สพานเฉลิมศรี ๔๒  หมายเลข ๔๒ นั้นแสดงถึงอะไร

โดยผมสังเกตุว่าสะพานแรกที่พระองค์สร้าง ที่ ๑ - ถนนสามเสน ข้ามคลองบางขุนพรม ชื่อสพานเฉลิมศรี ๔๒ ทำไม่ไม่ได้ชื่อว่า สพานเฉลิมศรี ๑ ละครับอยากสอบถามท่านผู้รู้เพื่อความกระจ่างนะครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 มี.ค. 10, 18:24

ตัวเลขต่อท้ายชื่อสะพานชุดเฉลิม และเจริญนั้นคือ ปีพระชนมายุในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เช่น สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘  เลข ๕๘ คือปีพระชนมายุ ๕๘ พรรษาที่พระราชทานพระราชทรัพย์สร้างสะพาน  หรือ
สะพานเจริญรัช ๓๑ คือปีที่พระราชทานเงินสร้างสะพานนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระชนมายุ ๓๑ พรรษา

การนับปีพระชนมายุนับเรียงตามปีนับแต่พระราชสมภพ  เช่น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชสมภพ พ.ศ. ๒๓๙๖  ก็เริ่มนับ ๑ ตั้งแต่ปีนั้นต้นมา
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 10:14

ผมมีรูป สะพานมาให้ดูเพิ่มอีกนะครับ
สะพานเฉลิมหล้า ๕๖ หรือที่รู้จักกันนามสะพานหัวช้าง


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 10:17

อีกรูปเป็นสะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 10:25

อีกรูปเป็นสะพานที่ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระชนมายุ ๓๑ พรรษา
ชื่อสะพานเจริญรัช ๓๑ ผมเห็นคุณV_Mee เอ่ยชื่อขึ้นมาผมก็เอารูปมาฝากครับ


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 16:26

มาเพิ่มอีกสะพานครับ
สพานเฉลิมโลก ๕๕


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 20:58

มึนๆกับภาพสะพานสวยงามในอดีต  เมื่อพยายามโยงกับภาพปัจจุบัน     บางแห่งก็ไม่มีเค้าเหลือ   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 มี.ค. 10, 20:59

.


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง