เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6331 เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 มี.ค. 10, 11:26

อ้าวยังไม่ไปลังกาอีกหรือครับคุณกุนึกว่าไปแล้วเสียอีก ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 20:13

ภาพของพี่กุนี่ฐานสิงห์ของแท้เลยนะครับ 555

ถามต่อสักนิดครับว่า เรื่องการนั่งบนหลังสิงห์นี้มีแนวคิดมาจากอะไรดีครับ
เพราะการนั่งหลังสิงห์นี้ก็ความนิยมในหลายท้องที่ ถึงแม้การใช้ขาสิงห์คดๆมาประดับ
ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องการนั่งบนหลังสิงห์ เพราะอาจเกิดจากการลงลายประดับ
ในฐานบัวคว่ำเฉยๆ แล้วค่อยมาเรียกว่าขาสิงห์ที่หลังก็เป็นไปได้ เพราะมีความหมายดีและพ้องกัน
แต่การเรียกสิงห์กับที่นั่งปรากกฏหลายที่ เช่น สีหบัญชร สิงหาสนบัลลังก์ พุดตานกาญจนสิงหาสน์ ฯลฯ
เลยไม่รู้ว่าแนวคิดแบบนี้จะมีทางที่มาจากไหนได้บ้าง เพราะเห็นอินเดียก็นิยมรูปสิงห์มากๆเหมือนกัน

เอาภาพนี้มาใช้อีกรอบ เพิ่งเห็นว่ามีจารึกอยู่ด้วย



บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 มี.ค. 10, 00:28

Hi there

According to your consequence question about the concept of The seat with lion image decorated.

Someone said The Gautama Buddha can be identified as the Singha of Sakkaya clan, but this concept is too old fasion and nowaday there are only less people agree with this thought. If you notice the throne of the king in any part of the world, there are large numbers of them decorated with lion, it's an international concept, suggesting the power and authority of the king which can be compare with the Lion. exampli gracia as India, China even in Thailand that never found lion in native.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 มี.ค. 10, 02:47

ขออนุญาตแทรกเล็กน้อยครับ เพราะคิดว่ามี 3 เรื่องที่ต้องเรียนให้ทราบ

1.) เรื่องแรกสิ่งที่เจ้าของกระทู้เริ่มต้นถามมา ถ้าจะเรียกรวมๆคงต้องเรียกว่า 'ลวดบัว'
การจัดลำดับและระเบียบ(order) ของลวดบัว อย่างน้อยในศิลปะอียิปต์ก็พบมาแล้ว
แต่เอกสารลายลักษณ์อักษรที่พบในปัจจุบันว่าเก่าที่สุดเป็นของศิลปะช่วง classic ของกรีก
และยังมีหลักฐานว่าศิลปะอื่นๆในโลก เช่น อินเดียและเปอร์เชีย
มีเอกสารที่อธิบายถึงการจัดลำดับแบบนี้เหมือนกันในสมัยต่อๆมา

ถ้าคิดซะว่าปักกิ่งต่างกับฉางอานตรงที่ปักกิ่งติดวัฒนธรรมมุสลิมมากกว่ามาก
เพราะก่อนจะตั้งราชวงศ์หยวนได้ ท่านข่านทั้งหลายแกทิ้งกระโจมไปอยู่ในเมืองแขกมาก่อน

ผมเชื่อว่าความเป็นแขกเหล่านี้ไม่น่าจะเริ่มต้นกันจริงจังในสมัยราชวงศ์หมิง
แต่อาจเกิดการแพร่กระจายตัวออกไปมากในช่วงราชวงศ์หมิงตอนต้นหรือก่อนหน้า
เพราะรูปแบบพวกนี้น่าจะเป็นที่คุ้นเคยของผู้ดีจงหยวนบางส่วน เช่น ปักกิ่งมาก่อนแล้ว




2.) ชื่อเรียกส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆในวัฒนธรรมไทยมักแยกได้ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก คือ ชื่อที่ปรุงคำขึ้นตามหน้าที่ของส่วนประกอบนั้นๆ
กลุ่มที่ 2 คือ ชื่อที่ช่างใช้เรียกให้เข้าใจกันไปตามรูปร่างรูปทรง
โดยชื่อทั้ง 2 กลุ่มอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้

เช่น บันแถลง (บรรพ์แถลง) อาจจะหมายถึงกลีบขนุนบนองค์ปรางค์
หรือ ซุ้มรังไก่ที่ประดับยอดมณฑปก็ได้

ถ้าดูกันเท่านี้ก็มีคำนึงเป็นคำตามหน้าที่ อีก 2 คำเป็นคำตามรูปร่าง




3.) สิงหาสน์ที่มีฐานเป็นตัวสิงห์ กับฐานสิงห์ที่เป็นลวดบัว
อาจจะเกี่ยวกันหรือไม่เกี่ยวกันก็ได้ครับ เช่น อาจจะเกี่ยวกันโดยชื่อ หรือความหมาย
แต่ไม่ได้เกี่ยวกันเลยโดยการออกแบบลวดลาย หรือลักษณะทางกายภาพ เป็นต้น





หมดประเด็นเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 มี.ค. 10, 10:47

ขอบคุณที่มาอธิบายเพิ่มเติมครับ ทั้งสองคคห.เลย
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 มี.ค. 10, 21:50

เรียนคุณติบอทราบ
           ทั้งนี้ต้องขอบพระคุณคุณติบอในการอธิบายเรื่องฐานสิงห์ให้ข้าพเจ้าทราบ
           เรื่องการที่จีนรับอิทธิพลจากแขก ไม่ว่าแขกที่ว่าจะเป็นแขกแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแขกอินเดีย หรือเปอร์เซีย ไม่ได้เริ่มกระจายตัวเข้ามาในจีนช่วงราชวงศ์หมิงแต่อย่างใด หากเข้ามาก่อนหน้านั้นเป็นเวลานานนักหนา อาจก่อนราชวงศ์ฮั่นอีก ก็เป็นได้ แต่ที่ค้นพบเยอะแยะเลยนั้นเริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น โดยเข้ามาพร้อมๆกับศาสนาพุทธส่วนหนึ่ง เห็นได้จากการแกะสลักถ้ำต่างๆ
           อย่างไรก็ตามที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ในคราก่อน หมายถึงแต่เพียงว่า เครื่องเรือนในสมัยราชวงศ์หมิง นำเอาศิลปะการก่อสร้างอาคารมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องเรือน มิได้หมายความว่าในยุคดังกล่าวเริ่มรับศิลปะอินเดีย หรือจากเมืองแขกไม่ว่าจะแขกนับถือพุทธ ฮินดู หรืออิสลามเข้ามาแต่อย่างใด ขออภัยถ้าข้าพเจ้าเขียนไม่ใคร่กระจ่าง
          จริงๆชื่อกระทู้ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพิมพ์ผิดตั้งแต่ต้น ด้วยความประสงค์แรกคือจะตั้งว่า "เครื่องเรือนแบบราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลต่อฐานสิงห์หรือไม่" แต่เมื่อพิมพ์ผิดไปก็เลยตามเลย เพราะข้าพเจ้าเองอยากรู้เหมือนกันว่าฐานสิงห์แบบอินเดียมีลักษณะอย่างไร จะได้เทียบกับที่อยู่ในจีนที่เขาว่ารับมาจากอินเดียอีกที
          ทั้งนี้ เรื่องที่คุณติบอว่าศิลปะแบบปักกิ่งต่างจากฉางอาน ด้วยติดอิทธิพลแบบมุสลิม อันเป็นผลเนื่องจากปฐมราชวงศ์เคยไปอยู่แถบเมืองแขกมุสลิม จึงได้รับอิทธิพลมุสลิมมา ข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ขอออกความคิดเห็น เนื่องจากยังไม่ได้ค้นคว้า
         ข้าพเจ้าขอเสนอความคิดเล็กน้อยว่า ศาสนาอิสลามเข้ามาจีนมานานพอควร ในสมัยราชวงศ์ถังอันมีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน นอกจากศาสนาพุทธจะถูกเชิดชูอย่างยิ่งแล้วเป็นหลังของแผ่นดิน ศาสนาอิสลามก็ตั้งมั่นอยู่ดีมีสุขอยู่ในเมืองฉางอาน ขณะที่ศาสนาอื่นๆถูกกดเสียแบบราบ อิทธิพลแบบเอเชียกลางต่างๆเข้ามาสู่จีนในช่วงดังกล่าวเป็นจำนวนมาก (แม้จะไม่ใช่อิสลามไปเสียทั้งหมด) ดังนั้นจะว่าในแง่ดังกล่าว ศาสนาอิสลามจะเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ศิลปะแบบมุสลิมในฉางอานมาก่อนก็อาจเป็นได้ และเมืองฉางอานอาจมีอิทธิพลแบบมุสลิมไม่น้อยกว่าเมืองอื่นก็ได้ (ในที่นี้ควรเจาะจงสักนิดว่าสมัยราชวงศ์ถัง หรือราชวงศ์อื่นใด เพราะฉางอานเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อนหน้านี้ แต่เดาว่าน่าจะหมายถึงราชวงศ์ถัง)
        ทางเมืองปักกิ่ง ปฐมกษัตริย์แม้จะเคยอยู่ในดินแดนที่เป็นมุสลิม ถ้าข้าพเจ้าจำไม่ผิด บรรดาปฐมวงศ์ทั้งหลายไม่ได้เป็นมุสลิม ภายหลังราชวงศ์หมิง และชิงยิ่งหากไกลความเป็นมุสลิม เพราะสองราชวงศ์นี้เป็นพุทธ ยิ่งราชวงศ์ชิงแล้วยิ่งเป็นพุทธอย่างเคร่งครัด สิ่งก่อสร้างหลายอย่างในปักกิ่งใช่ว่าจะตกทอดมาจากสมัยราชวงศ์หยวน หากแต่สร้างครั้งราชวงศ์หมิงและชิงก็เยอะไป ก่อนสมัยราชวงศ์หยวนแถบเมืองปักกิ่งเคยเป็นอาณาจักรหลายแห่ง ซึ่งล้วนนับถือพุทธศาสนา ดังนั้นจะว่าศิลปะเมืองปักกิ่งจะเป็นอิทธิพลมุสลิมมากกว่าฉางอานอาจเป็นไปได้ยาก (ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าเดาว่าคุณติบอคงหมายถึงราชวงศ์หยวนเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงราชวงศ์อื่นอันได้แก่ หมิง และชิง)
        อย่างไรก็ตามนี้คือข้อเสนอของข้าพเจ้าผู้อยู่ในระหว่างช่วงเตรียมสอบและไม่ได้อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ข้อมูลยังไม่ค่อยแน่ชัดจึงขอเสนอไปก่อนตามข้างต้น ได้ความอย่างไรจะมาตั้งกระทู้เล่าอีกที
         สวัสดี
         
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 มี.ค. 10, 21:53

good day khun Tibo (Chinese guy)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 มี.ค. 10, 00:37

ขอบคุณ คุณ han_bing สำหรับคำอธิบายครับ
เรื่องการติดต่อระหว่างจีนกับแขกเป็นเรื่องใหญ่ในการค้าโลกมากต่อมากครับ
เพราะที่จริง จิตรกรรมจีนสมัยราชวงศ์ถังก็มีภาพนักบุญสวม rosary(สร้อยกางเขน)ให้เราได้เห็นกันแล้ว
จะรออ่านต่อเรื่องน่าสนใจที่คุณนำมาเสนอครับผม เจ๋ง




P.S. G'day black belly guy hehe.
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 14 มี.ค. 10, 00:13

ขอให้การสอบเป็นไปด้วยดีครับผม คุณhan_bing ยิงฟันยิ้ม

แต่ยังไงผมขอดูตัวอย่างขาสิงห์ของเปอร์เซียที่พูดถึงในลักษณะที่ว่าได้ไหมครับ ถ้ารับจากอินเดียอย่างหนึ่ง
ถ้าเปอร์เซียจะเป็นอย่างไรอยากได้คำแนะนำครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง