เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6317 เรื่องของฐานภาค ๒ - เครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง มีอิทธิพลของฐานสิงห์หรือไม่
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:09

จากเรื่องของฐานที่ข้าพเจ้าเคยตั้งกระทู้ถาม ผลคือมีผู้เข้ามาตอบมากมายเป็นที่ชื่นใจแก่เจ้าของกระทู้เป็นที่ยิ่ง แต่ข้าพเจ้ายังติดใจสงสัยอยู่เช่นเคยว่าฐานสิงห์ในไทย คืออะไร เพราะข้าพเจ้าเองยังงงๆอยู่ ด้วยไม่ทราบว่าคำว่าฐานสิงห์หมายรวมถึงส่วนบัวคว่ำบัวหงาย อะไรต่ออะไรที่อยู่เหนือฐานสิงห์ขึ้นไปด้วย หรือนับเพียงแค่บริเวณที่เป็นขาของฐาน ที่ดูคล้ายๆขาสิงโต หากได้ความแล้วว่าฐานสิงห์ในหลักสถาปัตยกรรมไทยคืออะไรแล้ว การพิจารณาที่มาของฐานสิงห์จะง่ายขึ้น ว่าได้รับอิทธิพลจากฐานอาคาร หรือฐานเครื่องเรือน
เรื่องฐานสิงห์นี้ในจีนสำหรับงานสถาปัตยกรรมมีมานานเท่าไรข้าพเจ้าไม่ทราบเหมือนกัน เพราะยังไม่ได้ไปแอบอ่านหนังสือที่ร้านต่อจนหมดบท  ไว้ไปแอบอ่านรอบสองแล้วจะรีบกลับมาเล่า (เยี่ยม...แอบเลวได้อีก)
แต่ที่แน่ๆ เครื่องเรือนจีนที่มีลักษณะหน้าตาคล้ายฐานสิงห์เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. ๑๓๖๘ – ๑๖๔๔) กล่าวคือ ตั่งที่มีลักษณะใหญ่ๆยาวๆ ท้องเครื่องเรือนโค้งๆคดๆ ขาหดๆสั้นๆ แบบฐานสิงห์เริ่มมีในยุคดังกล่าวเป็นครั้งแรก เรียกว่า "คังจี" (炕几: Kang ji) นึกไม่ออกให้นึกถึงตั่งไทยธรรมดาๆทั่วไป ไม่มีอะไรแตกต่าง (ภาพที่ ๑)
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:21

ภาพที่ ๑ ภาพตั่งแบบ “คังจี” ในสมัยราชวงศ์หมิง
ที่มา: http://image.baidu.com


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:24

       นอกจากจะเกิดการสร้างตั่งยาวๆดังกล่าวเป็นครั้งแรกแล้ว เครื่องเรือนในสมัยราชวงศ์หมิง ยังมีลักษณะต่างๆที่โดยเด่นผิดจากยุคอื่นหรือเริ่มมีมาก่อนยุคอื่นอีก ได้แก่
         ๑.   การนำเอาลักษณะลายเส้นโค้งที่รูปลักษณ์คล้ายๆพวยกา ภาษาจีนเรียกว่า "หูเมิน" (壶门:
hu men) ที่ปกติจะเป็นลวดลายที่ใช้ประดับตบแต่งอาคารสำคัญ อาทิ ฐานอาคารแบบสุเมรุอาสน์ (须弥座:xu mi zuo) ซึ่งเป็นฐานพระพุทธรูป หรือเจดีย์เป็นต้น มาใช้กับเครื่องเรือนในบริเวณท้องเครื่องเรือน(ภาพที่ ๒) ถ้าจำไม่ผิดคนไทยเรียกส่วนดังกล่าวว่าท้องสิงห์ บริเวณลายดังกล่าวนี้ภาษาทางช่างจีนเรียกว่าลายฟัน (牙子:ya zi ) นอกจากนี้ในสมัยราชวงศ์หมิงยังใช้ลวดลายอื่นๆอีกมากมาย (ภาพที่ ๓)
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:26

ภาพที่ ๒ การใช้หูเมิน (壶门:hu men)
ที่มา: http://www.dolcn.com/data/cns_1/article_31/essay_312/eind_3121/2003-11/1069520657.html


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:29

ภาพที่ ๓ ลวยลายบริเวณท้องเครื่องเรือนลายฟัน (牙子:ya zi )  แบบต่างๆ ด้านขวามือคือแบบราชวงศ์หมิง ด้านซ้ายมือคือแบบราชวงศ์ชิง
ที่มา: http://www.allart.com.cn/jianshi/mingqingjiaju/200602/2527.html


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:34

๒.   ยุคดังราชวงศ์หมิง นอกจากจะนำหูเหมินมาใช้ ยังนำเอาการเว้าเข้าไปตรงกลาง ของฐานอาคาร
ที่เรียกว่า “ซู่เยา” (束腰:shu yao) มาใช้กับเครื่องเรือน เป็นครั้งแรก และดูจะเป็นยุคเดียวที่ใช้ เพราะหลังจากนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป ส่วนดังกล่าวไม่ทราบว่าศัพท์ทางช่างไทยเรียกว่าอะไร บัวหรือ...คงไม่ใช่ มันเป็นอะไรสักอย่างที่เชื่อระหว่างบัวคว่ำบัวหงาย ใครรู้วานบอกที (ภาพที่ ๔)
๓.   ขอบของแผ่นไม้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นเครื่องเรือนและ ตัวส่วนเว้า หากนึกภาพ
ส่วนดังกล่าวตามไม่ออกจริงๆ ขอให้นึกถึงบัวหงายตามฐานเจดีย์...นั้นแหละใช่เลย พอเห็นภาพแล้วใช่ไหม
ชิ้นส่วนดังกล่าวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ปิง พาน หย่าน” (冰盘沿:bing pan yan) แปลตรงๆว่า “ขอบจานน้ำแข็ง” บางที่แผ่นไม้ดังกล่าว ช่างอาจย่นย่อรวมกันกับซู่เยา หากมีลักษณะดังกล่าวเรียกว่า “เตี๊ยเซ่อ” (叠涩:die se)
อันคำว่า “เตี๊ยเซ่อ” หากผู้ใดไม่เคยอ่านกระทู้เรื่องของฐาน หรืออ่านแล้วจำไม่ได้ ส่วนดังกล่าวจะหมายถึงส่วนที่ยื่นยาวออกมาเป็นขั้น คล้ายๆชั้นฐานที่ซ้อนกันไม่กันมาของอาคารไทยโบราณ
นอกจากนี้แผ่นไม้ดังกล่าวช่างอาจจะผสมๆสลักๆตัดให้กลมกลืนหายไปเลย กับพื้นไม้ของเครื่องเรือนและตัวขาของเครื่องเรือนให้ดูเก๋ไปอีกแบบ (ภาพที่ ๔)

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:38

ภาพที่ ๔ การใช้ซู่เยา (ส่วนล่างสุดที่เป็นขอบเล็กๆ) และ ปิงพานหย่าน (ส่วนที่อยู่อยู่ตรงกลาง)
ที่มา: http://china.cfhot.com/news/27487_3.htm


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:40

๔.   ขาของเครื่องเรือนในสมัยราชวงศ์หมิงมีหลาย อาทิ แบบที่เรียกว่า “ขากีบม้า” (马蹄足:
ma ti zu) ในบทความที่ข้าพเจ้าเก็บความมาไม่ได้บอกว่ามีใช้ครั้งแรกในสมัยใด แต่ว่าลักษณะของขาเครื่องเรือนแบบขากีบม้าในสมัยราชวงศหมิงจะมีเพียงโค้งเข้ามาเพียงวงเดียว ไม่โค้งเข้าโค้งออกเป็นรูปตัว “S” (ภาพที่ ๕)
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:45

ภาพที่ ๕ ลักษณะขาเครื่องเรือนแบบ “ขากีบม้า” ในสมัยราชวงศ์หมิง
ที่มา: http://www.dolcn.com/data/cns_1/article_31/essay_312/eind_3121/2003-11/1069520657.html


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:52

ส่วนขาแบบอื่นดัง ดังขาคดโค้งคล้ายรูปตัว “S” ได้ปรากฏเช่นกัน เรียกว่าขาแบบ “สามโค้ง” (三弯脚:san wan jiao) ดูไปคล้ายฐานสิงห์เป็นที่สุด (ภาพที่ ๕)

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 20:57

ภาพที่ ๕ ขาคดโค้งแบบสามโค้ง(三弯脚:san wan jiao)
ที่มา: http://image.baidu.com


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 21:03

    แสดงให้เห็นว่าแต่ดั้งเดิมขาของเครื่องเรือนจีนอาจเป็นรูปอื่นได้ มิต้องเป็นรูปหัวสิงห์แบบมีตามีหูมองหน้าแยกเขี้ยวใส่เราได้เสมอไป
     จากลักษณะพิเศษของเครื่องเรือนสมัยราชวงศ์หมิง สันนิษฐานได้ว่าเครื่องเรือนของจีนในยุคราชวงศ์หมิง ได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบการสร้างอาคารของจีนในอดีต ส่วนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับไทยหรือไม่อย่างไรขอให้ท่านทั้งหลายมาพิจารณากันเอง เพราะข้อนี้ข้าพเจ้าไม่ทราบ
     อย่างไรก็ตามมีเพื่อนชาวเรือนไทยท่านหนึ่งเสนอว่าเราอาจได้รับผ่านมาจากเขมรอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเขมรอาจรับมาจากจีนอีกทีหนึ่งก็เป็นได้ โดยอ้างหลักฐานว่าเจียวต้ากวน ทูตชาวจีนได้พบเครื่องเรือนจีนในเมืองพระนครสมัยพระนคร
    ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานว่าเขมรอาจรับอิทธิพลจากจีนอีกทอดหนึ่งก่อนจะเข้าสู่ไทย อย่างไรก็ตามรูปแบบขาสิงห์ที่ถกกัน คงไม่ได้รับในสมัยพระนครช่วงที่เจียวต้ากวนเข้าไปชมเป็นแน่ ด้วยช่วงที่เจียวต้ากวนไปเมืองพระนครเป็นช่วงที่ตรงกับราชวงศ์หยวน (ค.ศ. ๑๒๗๖ – ๑๓๖๘) ของจีน ซึ่งราชวงศ์ก่อนราชวงศ์หมิง และลักษณะเครื่องเรือนดังกล่าวเริ่มเกิดในสมัยราชวงศ์หมิง
ดังนั้นหากไทยรับมาจากเขมรคงรับมาจากสมัยพระนครช่วงท้ายๆ ประมาณคริสตวรรษที่ ๑๕ เพราะ ด้วยตอนนั้นเครื่องเรือนแบบดังกล่าวคงเกิดขึ้นแล้ว หากคิดเป็นพุทธศตวรรษคงราวๆพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ดังนั้นลักษณะของอาคารหรือเครื่องเรือนแบบฐานสิงห์จะเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเชียงใต้เมื่อใด จะเข้ามาโดยนิมิต หรือเป็ดห่านบินคาบมา หรือว่านายพ่อค้านำมาขายฤาไฉน ข้าพเจ้ามาสุมไฟเรียบร้อยแล้ว โปรดเทน้ำมันตามมากันให้เยอะๆ เพราะข้าพเจ้าเองอยากรู้เหมือนกัน
   สวัสดี ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 21:09

บรรณานุกรม
ข้อมูลทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าเก็บความจากหนังสือเรื่อง “木样年华:中国古代家具”และจากเว็ปไซด์ดังนี้ คือ
๑.   http://www.allart.com.cn/jianshi/mingqingjiaju/200602/2527.html
๒.   http://image.baidu.com
๓.   http://www.dolcn.com/data/cns_1/article_31/essay_312/eind_3121/2003-11/1069520657.html เป็นบทความวิชาการชื่อว่า“明式家具的含蓄性: The connotation of Ming furniture”
๔.   http://china.cfhot.com/news/27487_3.htm
๕.   http://images.google.com/imgres?imgurl=http://show.artxun.com
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 มี.ค. 10, 08:49

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ แต่ผมยังอ่อนด้วยเรื่องสถาปัตย์ ตอนนี้มีเปอร์เซียมาแจมอีก สงสัยคงต้องหาเพื่อนที่อยู่แถวๆ
ตุรกี อิหร่านอีกสักคน
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 มี.ค. 10, 09:01

สวัสดีครับคุณ Han-bing
 ยิงฟันยิ้ม

เอารูปฐานสิงห์แบบอินเดีย อายุพุทธศตวรรษที่ 6-8 มาให้ชมกัน เป็นฐานสิงห์แท้ๆเลย อาจมาจากเปอร์เซียก็ได้

ที่มา : http://huntington.wmc.ohio-state.edu/public/index.cfm?fuseaction=showThisDetail&ObjectID=6726&detail=large


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง