เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 127318 สนามหลวงสมัยก่อน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 405  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 16:30

ขอบคุณครับ

และสำหรับเรื่องที่มาของชื่อท่าเตียนนั้น ผมเคยเขียนไว้ในกระทู้เจ้าจอมมารดาเอม เวอร์ชั่นที่ไปออกวิกพันทิป มีเพื่อนในห้องเข้ามาเสวนาต่างไปจากวิกเรือนไทยพอสมควร ถ้าสนใจลองเข้าไปดูได้ครับ ตอนต้นๆจะเหมือนกัน แต่ตอนท้ายๆกระทู้ไม่เหมือน

 ความคิดเห็นที่ 64

“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อเสร็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ทรงมีพระราชดำริว่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับพระราชวังเดิมของกรุงธนบุรี เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเป็นพระมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่แหลมยื่นออกมา มีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์เพราะได้แม่น้ำเป็นคูเมืองทางด้านตะวันตก และด้านใต้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาวิจิตรนาวีกับพระยาธรรมาธิบดีเป็นแม่กอง สถาปนาพระราชวังแห่งใหม่ ณ ที่บ้านพระยาราชาเศรษฐี และหมู่บ้านชาวจีน โดยให้พระยาราชาเศรษฐีนำพวกจีนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ใหม่ในที่สวน ตั้งแต่คลองใต้วันสามปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสำเพ็ง และมีรับสั่งให้ไปรื้อกำแพงและป้อมกรุงศรีอยุธยา เพื่อเอาอิฐมาสร้างกำแพงและป้อมปราการกรุงเทพฯ เพื่อมิให้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่อาศัยของข้าศึก…….”

นักเขียนบทความประวัติศาสตร์ก็คัดลอกกันมาผิดๆ แล้วก็เลยงงตาม ไปมั่วว่าที่ตรงนั้น(ซึ่งเป็นชุมชนจีน)เป็นชุมชนญวนอยู่ร่วมด้วยเพราะชื่อพระยาราชาเศรษฐีนี่เอง ในโลกไซเบอร์นี้ก็ลอกต่อๆกันมาจนเรื่องผิดจะกลายเป็นถูกไปแล้ว

ความจริงบ้านญวนสมัยกรุงธนบุรีอยู่ร่วมกับโปรตุเกศที่บริเวณกุฎีจีน เพราะเป็นคริสตังจากอยุธยาด้วยกัน ต่อมาได้กวาดต้อนครัวญวนหลังสงครามมาตั้งชุมชนแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ คือบ้านญวนในแถบท่าเตียนถึงพาหุรัด พวกนี้เรียกตนเองเป็นญวนฮาเตียน ซึ่งภายหลังเลยเพี้ยนจากฮาเตียนมาเป็น “ท่าเตียน” จนทุกวันนี้  
เมืองฮาเตียนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามติดกับกัมพูชาคนไทยเรียกว่าบันทายมาศบ้าง พุทธไธมาศบ้าง เป็นของไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีมาจนเสียคืนให้เจ้าของไปในสมัยรัชกาลที่สอง ชุมชนญวนนี้ไม่เคยย้ายไปแถวสามเพ็งแต่ขยายตัวต่อเนื่องไปทางบ้านหม้อ พาหุรัด มาจนถึงแผ่นดินรัตนโกสินทร์ คือหลังจากองเชียงลือซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหนีไปกู้ชาติ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงกริ้วมาก และทรงเห็นว่าชัยภูมิแถวท่าเตียน สามารถใช้เรือเดินทางออกจากแม่น้ำได้เร็ว โปรดให้ญวนที่เหลือย้ายไปอยู่ที่สามเสนให้ห่างจากพระนคร เพราะไม่ไว้พระทัย
Navarat.C


จาก

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9839741/K9839741.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 406  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 17:37

ขอแยกซอยออกไปต่อเรื่องญวนสามเสน สักหน่อย ก่อนจะเลี้ยวรถกลับไปสนามหลวงตามเดิม

คนไทยเชื้อสายญวนโยกย้ายไปอยู่สามเสนเรียบร้อยแล้วเมื่อสุนทรภู่มาเห็นเมื่อเดินทางไปสระบุรี  ใน นิราศพระบาท   ตอนนั้นบ้านญวนสามเสนเป็นชุมชนที่คึกคักทีเดียว

“ถึงบ้านญวน ล้วนแต่โรงแลสะพรั่ง
มีข้องขังกุ้งปลาไว้ค้าขาย
ตรงหน้าโรงโพงพางเขาวางราย
พวกหญิงชายพร้อมเพียงมาเมียงมอง”

ญวนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์  รับราชการประจำกองทหารปืนใหญ่ และกองทหารเรือญวน สมัยรัชกาลที่ 1 ญวนอพยพเข้ามาอีกหลายกลุ่ม อาศัยกระจัดกระจายทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองภาคกลาง  มีทั้งจันทบุรี ชลบุรี นครปฐม อยุธยา ฯลฯ
บ้านญวนแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ คือบ้านญวนในแถบท่าเตียนถึงพาหุรัด เรียกวาญวนฮาเตียน ซึ่งภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ท่าเตียน” อย่างที่คุณนวรัตนเล่าไว้แล้วข้างบนนี้
ในรัชกาลที่ 3  ญวนกลุ่มใหม่อพยพเข้ามาอีก เป็นญวนนับถือคริสตศาสนานิกายคาธอลิค  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงทรงโปรดให้ไปอยู่สามเสน รวมกับญวนกลุ่มเดิม   บ้านญวนสามเสนจึงกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  ดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน   
แต่พวกญวนแท้ๆไม่มีอีกแล้ว ด้วยหลายเหตุผล เช่นสมรสกับคนไทยเชื้อสายอื่นๆ   แม้แต่ภาษาญวนก็เกือบจะไม่มีใครพูดกันได้อีก นับแต่ถูกกีดกันด้วยนโยบายวัธนธัมของจอมพลป.พิบูลสงครามที่ห้ามเปิดโรงเรียนสอนภาษาญวน ห้ามสวดภาษาญวน ไม่ให้ใช้ภาษาญวนในการพูดหรือเขียน   จนกระทั่งวัฒนธรรมเดิมจางไปเกือบหมด   เหลือแต่มรดกทางวัฒนธรรมเช่น "แหนมเนือง" ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันอยู่

เริ่มจากชุมชนญวนมาจนลงเอยด้วยของกิน  เห็นจะต้องจบเสียทีละค่ะ  เห็นรูปแล้วหิวก็อย่าเพิ่งมาว่ากัน




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 407  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 19:18

กลับมาสนามหลวงอีกครั้ง
ใครยังจำงานพระราชทานเพลิงพระศพ ครั้งนี้ได้บ้างคะ?


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 408  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 19:31

กระบวนหน้าแต่งกายทหารเรือทั้งนั้นเลยครับ

อาจารย์ NAVARAT.Cพอจะมีข้อมูลเรื่องการนำท้องสนามหลวง ดังนี้หรือไม่ครับ
๑. สนามกอล์ฟ แห่งแรกที่จัดท้องสนามหลวง
๒. เซอร์คัส ครั้งแรกที่สนามหลวง
๓. สนามแรลลี่ ครั้งแรกที่สนามหลวง
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 409  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 20:25

^

มีรูปนี้อยู่ ไม่ทราบว่าจะตรงกับที่ต้องการหรือเปล่าครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 410  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 21:13

^รูปบนโน้น^

ข้อมูลจากหนังสือ “หลวงปู่ศุขและกรมหลวงชุมพร” 

วันที่๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้เสด็จไปพักผ่อนทางใต้โดยเรือรบหลวงเจนทะเล  โดยเจ้าจอมมารดาโหมดซึ่งไม่เคยไปไหนมาไหนด้วยเลย คราวนั้นได้ติดตามพระโอรสไปด้วย ทรงแวะขึ้นฝั่งที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพรหลายวัน แล้วเลยไปสงขลาเพื่อทรงเยี่ยมสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศ ซึ่งทรงเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้อยู่ในขณะนั้น  คืนวันหนึงชาวบ้านจัดหนังตะลุงถวาย ทรงประทับทอดพระเนตรอยู่จนดึก คราวนั้นน้ำค้างแรงมาก หลังจากนั้นจึงทรงประชวร อยู่ได้เพียง๓วันก็สิ้นพระชนม์ ทั้งที่มีนาวาโท หลวงทรงบุณยแพทย์ หมอประจำพระองค์ดูแลรักษาอยู่ และพระมารดา เจ้าจอมมารดาโหมด กับพระธิดาองค์ใหญ่ หม่อมเจ้าหญิงจารุพัตรา ช่วยพยาบาลอย่างใกล้ชิด

เรือหลวงเจนทะเลได้รีบนำพระศพเข้ากรุงเทพ และถ่ายลงเรือหลวงพระร่วง ที่โปรดเกล้าฯให้ลงไปรับพระศพที่ปากน้ำ นายทหารเรือทั้งหลายร้องไห้กันระงม พระศพถูกนำกลับไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่วังนางเลิ้งได้ประมาณ๗เดือนก็ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖ พระชนมายุ ๔๓ เศษ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 411  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 21:45


เรือหลวงเจนทะเลได้รีบนำพระศพเข้ากรุงเทพ และถ่ายลงเรือหลวงพระร่วง ที่โปรดเกล้าฯให้ลงไปรับพระศพที่ปากน้ำ นายทหารเรือทั้งหลายร้องไห้กันระงม พระศพถูกนำกลับไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่วังนางเลิ้งได้ประมาณ๗เดือนก็ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖ พระชนมายุ ๔๓ เศษ


100 คะแนนเต็ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 412  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 21:54

แหะๆ ผมเปิดตำราในห้องสอบน่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 413  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 22:07

รีเอ๊กแซมค่ะ
พระเมรุของเจ้านายพระองค์ไหน
(ออกนอกสนามหลวงไป..ไม่หน่อยละ)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 414  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 22:50

ผมไม่เคยเห็นครับ

ขอเชิญท่านอื่นเข้าสอบต่อไป
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 415  เมื่อ 27 พ.ย. 10, 00:23

แวะมาขอบคุณเรื่อง ญวนห่าเตียนค่ะ สบายใจเยอะเลยที่ "ยักษ์ไม่เกี่ยว"

รูปพระเมรุของ อ.เทาชมพู สุดปัญญาจะเดาค่ะ แต่เป็นพระเมรุที่แปลกนะคะ ไม่สูงใหญ่อย่างที่เห็นในสนามหลวง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 416  เมื่อ 27 พ.ย. 10, 08:01

รีเอ๊กแซมค่ะ
พระเมรุของเจ้านายพระองค์ไหน
(ออกนอกสนามหลวงไป..ไม่หน่อยละ)

อาจารย์เลยสนามหลวงขึ้นไปมาก ขึ้นไปถึงวัดนิเวศธรรมประวัติ ที่พระราชวังบางปะอินเลยครับ ยิงฟันยิ้ม

ในภาพเป็นงานพระเมรุของพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี  กรมขุนสุพรรณภาควดี (เรียกกันลำลองว่า เสด็จพระองค์ใหญ่)
เสด็จพระองค์ใหญ่ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เชิญพระศพไปพระราชทานเพลิงที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานใหญ่ โดยเชิญพระศพโดยทางกระบวนรถไฟไปที่บางปะอิน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 417  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 08:32

พาออกไปนอกสนามหลวงเสียไกลมากๆ  คุณ siamese ยังตามแกะรอยเจอ

รีเอ๊กแซม - ผ่านค่ะ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 418  เมื่อ 30 พ.ย. 10, 08:45

ดึงบรรยากาศกลับมาสนามหลวงเช่นเดิม ...

ถิ่นของคุณหลวงเล็ก ... เริ่มด้วยภาพลายเส้นนะครับ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 419  เมื่อ 03 ธ.ค. 10, 12:05

ภาพตึกแถวริมถนนมหาราชใช่ไหมคะคุณหลวงเล็ก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 26 27 [28] 29 30 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง