เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 127701 สนามหลวงสมัยก่อน
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 19:29


อาคารที่ในเวป 14 ตุลา อ้างว่าเป็นภาพกรมประชาสัมพันธ์ถูกเผานั้นที่แท้จริงคืออาคาร กตป. หัวมุมแยกคอกวัว ยังจำภาพในหนังสือพิมพ์ที่ชายคนหนึ่ง(อาจเป็นคนวางเพลิงจากภายใน??) ไม่ยอมกระโดดลงจากระเบียงอาคาร..จนกระทั่งไฟคลอกตาย

ขอบพระคุณและขออภัยคุณศรีสยาม

อาคาร กตป. จริง ๆ ด้วย

อาคารอีกหลังหนึ่งที่ถูกเผาเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ คืออาคารกองบัญชาการตำรวจนครบาลสมัยนั้น และเป็นที่ตั้งของศูนย์วิทยุตำรวจ ๑๙๑ ที่ใช้นามเรียกขานว่า "ผ่านฟ้า" นั่นแหละครับ
อยู่ตรงหัวถนนราชดำเนินนอกตัดถนนนครสวรรค์ ปัจจุบันคือสถานที่ตั้งกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
ส่วนอาคาร กตป ที่สี่แยกคอกวัว เขาเล่ากันว่าพื้นที่นี้มีอาถรรพ์ อาคารหลังแรกที่ก่อสร้างยุบตัวลงดินไปทั้งหลัง อาคารหลังที่สองก็ถูกเผา ครั้งนี้มาสร้างอนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลาฯ จะเป็นอย่างไรต่อไป ... ?

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 19:50

ลุงไก่คะ พอจะมีผังโบราณไหมคะว่า ก่อนจะกลายเป็นทุ่งพระเมรุ ตรงสนามหลวงเคยเป็นวังหน้าใช่ไหมคะ แล้ว มีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นไร

ดิฉันเคยเห็นรูปถ่ายจากด้านพระบรมมหาราชวังสมัย ร.4 ถ่ายจากที่ไกล ๆ เห็นเป็นสิ่งก่อสร้างเต็มไปหมด แต่ไม่ทราบว่า ตรงนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เห็นรูปการใช้สนามหลวงในยามบ้านเมืองสงบแล้ว อยากให้มีวันอย่างนั้นอีก ไม่อยากเห็นการใช้สนามหลวงเป็นที่ผลิตผรุสาวาจาทางการเมืองเลยค่ะ

แผนที่เก่าที่พอจะหาได้ในตอนนี้ ไม่ได้ระบุปีในแผนที่ .. ให้สังเกตแนวถนนพระจันทร์ที่ตรงเข้าไปในพื้นที่ของสนามหลวงในปัจจุบัน
ขอให้อ่านเรื่องตำนานวังน่า พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประกอบด้วยครับ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 20:01

พอดีนึกได้ว่าในบ้านอาจจะมีรูปนี้ จึงไปค้นหนังสือหามาได้ ภาพชัดกว่าที่เอามาจากเน็ทมาก เห็นได้ว่า กำแพงและประตูวังหน้าดังกล่าวอยู่แนวเดียวกับกำแพงวัดมหาธาตุ เป็นประตูและกำแพงที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่๕หลังจากที่รื้อพระราชฐานชั้นนอกของวังหน้าเพื่อทำสนามหลวงลงแล้ว พื้นที่ในกำแพงส่วนนี้ใช้เป็นกรมทหารจนถึงรัชกาลที่๘(ดูภาพถ่ายทางอากาศรูปที่แล้ว)ก่อนจะสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นที่นั่น

ในรูปข้างล่างนี้ จะเห็นส่วนยอดของประตูไม่เหมือนกับปัจจุบัน กำแพงกรมทหารที่ทำล้อกำแพงวังด้านสนามหลวงถูกรื้อทิ้งไป เพื่อเปิดทัศนียภาพขอองมหาวิทยาลัย

ถนนที่เห็นคือถนนที่ผ่ากลางสนามหลวง ผ่านกำแพงวังและกำแพงวัดไปสู่ท่าพระจันทร์ สังเกตุดีๆจะเห็นต้นมะขามปลูกเป็นแนวขอบสนามหลวง ปัจจุบันกลายเป็นมะขามเฒ่าไปแล้ว


ภาพที่คุณ NAVARAT C. อ้างถึงในนี้ ถ้าความจำของผมไม่เบลอจนเกินไป น่าจะเป็นภาพการเตรียมทัพในการไปปราบฮ่อในครั้งแรกที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสมัยที่เป็นจมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพ ครับ
สำหรับภาพของสนามหลวงอีกภาพหนึ่งที่พอหาได้ .. เปรียบเทียบขนาดของต้นมะขาม ..


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 08:59

ถ้าใครช่วยร่างแผนที่คร่าวๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ตั้งของคณะต่างๆ มาให้     
ดิฉันจะเปรียบเทียบให้ดูว่าคณะต่างๆ ก่อนย้ายไปรังสิต ตรงกับส่วนไหนของวังหน้าในอดีตบ้าง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 09:06

ใช้ได้ไหมคุณเทาชมพู

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 11:33

^
^
ต้องดูประกอบกันไปครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 11:39

เอ่อ...
ดิฉันคงต้องใช้เวลานานกว่าที่คิด    เชิญคุณนวรัตนอธิบายไปก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 13:18

ถ้าใครช่วยร่างแผนที่คร่าวๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ตั้งของคณะต่างๆ มาให้     
ดิฉันจะเปรียบเทียบให้ดูว่าคณะต่างๆ ก่อนย้ายไปรังสิต ตรงกับส่วนไหนของวังหน้าในอดีตบ้าง

ภาพขยายมาจากภาพเดิม มองยากหน่อยนะครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 13:20

กับอีกภาพหนึ่ง ขยายขึ้นมาเช่นกัน ..





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 18:54

ลองเทียบแผนผังวังหน้ากับม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ไปทีละส่วน  ถ้าผิดก็ช่วยทักท้วงด้วย  
เริ่มด้วยส่วนติดแม่น้ำเจ้าพระยา

ไล่มาตั้งแต่ด้านใต้ คือท่าพระจันทร์
คณะศิลปศาสตร์ (เลข 6)  ลานโพธิ์(เลข 12)  เคยเป็น ตำหนัก(ฝ่ายใน) ของวังหน้า
ลานปรีดี พนมยงค์ (เลข 20) และตึกโดม (เลข เจ๋ง เคยเป็น เรือนแถว และตำหนัก ของวังหน้า    
(หมายเหตุ เดาเป็นส่วนตัวว่าเรือนแถว อาจจะทำนองเดียวกับเต๊งของวังหลวง)
ลาน 60 ปี (เลข 20)ธรรมศาสตร์ กับสำนักหอสมุด(เลข 17)  เคยเป็นศาลเทพารักษ์ พระที่นั่งต่างๆ เช่นพระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุข

อ่านมาได้แค่นี้เอง ขอหยุดให้ตรวจสอบกันก่อน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 21:57

^
^

ในความเป็นจริง นอกแผนผังดังกล่าวยังมีพื้นที่นอกกำแพงอีกมากก่อนจะถึงตลิ่งแม่น้ำ แต่ก่อนอาจเป็นบ้านเรือนของพวกข้าราชการวังหน้า หรืออู่เรือพระที่นั่ง ตรงนี้มีความกว้างเท่าไหร่ไม่ทราบแน่ชัดแต่ปัจจุบันธรรมศาสตร์ครอบครองหมด ตรงตลิ่งก็สร้างเขื่อนปรับแนวกันใหม่ให้เป็นเส้นตรง

ฝั่งแม่น้ำจึงไม่ใช่จุดที่ควรจะเริ่มหาว่าอะไรเป็นอะไร แต่ควรจะเริ่มต้นจากแนวกำแพงวังที่เหลืออยู่อย่างบริบูรณ์เป็นแนวยาวด้านถนนพระจันทร์ ตึกที่ติดกับกำแพงคือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ซึ่งตรงนั้นก็เคยเป็นบริเวณเรือนของพวกฝ่ายใน หอประชุมและสนามฟุตบอลทั้งสนามก็เป็นบริเวณเรือนฝ่ายในด้วย

จากแนวกำแพงวังที่เหลืออยู่นั้น จะสามารถหาแนวกำแพงด้านอื่นๆได้ ผมเคยวัดตามอัตราส่วนคร่าวๆ คิดว่าแนวกำแพงด้านริมแม่น้ำคือแนวถนนภายในของธรรมศาสตร์จากท่าพระจันทร์ไปท่าพระอาทิตย์นั่นแหละ คนสมัยก่อนก็นิยมรื้อกำแพงเมืองแล้วสร้างถนนบนรากฐานเดิม เพราะทุ่นเงินและเวลา ไม่ต้องบดอัดดินกันใหม่
ดังนั้น ถ้าการสันนิฐานของผมไม่ผิด คณะศิลปศาสตร์ (เลข 6)  ลานโพธิ์(เลข 12)  และลานปรีดี พนมยงค์ (เลข 20) ลาน 60 ปี (เลข 20)ธรรมศาสตร์ กับสำนักหอสมุด(เลข 17)  จะอยู่นอกกำแพงวังทั้งสิ้น ที่ว่ามามีตึกโดมเท่านั้น ที่อยู่ในกำแพงวัง

อันที่จริง อาคารต่างๆในวังหน้าที่ถูกรึ้อลงเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ของฝ่ายในเกือบจะทั้งหมด ไม่น่าจะสลักสำคัญมาก นอกจากตรงที่เป็นคณะรัฐศาสตร์ ตำแหน่งนั้นเป็นพระที่นั่งจตุรมุของค์หนึ่งที่มีสระน้ำล้อมรอบ ชื่อพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก น่าเสียดายที่ไม่ได้อนุรักษ์ไว้ อาจจะเห็นว่าผุพังมากเกินจะซ่อมก็เป็นได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 07:57

ส่วนศาลเทพารักษ์ พระที่นั่งต่างๆ เช่นพระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุขนั้น ดูจากภาพทางอวกาศของกูเกิลเอิร์ทแล้ว ยังอยู่ดี เป็นส่วนหนึงของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติวังหน้า อยู่ท้ายพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 08:25

แนววังหน้า เส้นสีฟ้า คือเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมที่เลยออกไปถึงกลางท้องสนามหลวง(ไม่เห็นในภาพ) ส่วนเส้นประคือแนวปัจจุบันหลังถูกแบ่งพื้นที่ไปเป็นสนามหลวง ถนนและทางเท้า

แนวเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในเส้นสีส้มครับ ถัดออกซึ่งเป็นส่วนพระราชฐานชั้นนอกนั้น ยังเก็บรักษาไว้อยู่โดยเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 13:08

ถามไป 1 คำถาม เกี่ยวกับผังวังหน้า ได้คำตอบมากมายที่มีค่ามากค่ะ
ก่อนอื่น กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ข้อมูลตรงนี้

สุดสัปดาห์นี้ (คุณแจ๋วร่วมฤดีจะได้หยุดงาน) จะเก็บรถเก๋งไว้บ้าน โหนรถเมล์ไปเดินเที่ยว
เริ่มจาก วังหน้า เข้า ธรรมศาสตร์ ลามเลยไปยังบ้านหม้อ (จะไปดูหม้อดินบนตึกค่ะ ไม่เคยสังเกตุเห็นมาก่อน)

ได้ฟังวิทยุรายการอะไรไม่ทราบ(ไม่สำคัญ) เขาพูดถึงยักษ์วัดแจ้ง ทะเลาะกับยักษ์วัดโพธิ์
ข้ามฟากมารบกันจนเกิดที่ราบริมแม่น้ำ เรียกว่า ท่าเตียน

มีใครทราบที่มาของท่าเตียนไหมคะว่า แท้จริงแล้ว มีความเป็นมาอย่างไร

อีกประการหนึ่ง สำหรับสนามหลวง ดิฉันยังติดใจอีกเรื่องค่ะ
คือ วัดมหาธาตุนั้น มองจากด้านสนามหลวง มีสิ่งก่อสร้างปิดบังวัดไว้เกือบมิด
จนบัดนี้ ดิฉันตอบไม่ถูกว่า หน้าวัด หันไปทางไหนกันแน่
ดิฉันไปที่นั่นบ่อย (อาศัยวัดจอดรถค่ะ) แต่ งง ค่ะ เกิดอะไรขึ้นกับวัีดนี้
วัดที่เคยเป็นที่ประทับของพระสังฆราชเจ้า แต่ถูกซ่อนอยู่หลังตึกสารพัด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 26 พ.ย. 10, 14:29

มาให้กิ๊ฟคุณ Navarat ค่ะ   ไม่สงสัยเรื่องแผนผังวังหน้าเปรียบเทียบกับม.ธรรมศาสตร์อีกแล้ว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง