เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 127314 สนามหลวงสมัยก่อน
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 ก.ค. 10, 15:30

คงเป็นเช่นนั้นครับ.....แต่ 750 สำหรับอาชีพอย่างเจ้าแห้วนะขอรับ..............ไม่มีวุฒิใดๆครับ
ขออภัยที่ลืมบอกให้ละเอียด

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 ก.ค. 10, 20:50

ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับสนามหลวง แต่เป็นภาพสมัยก่อน   
ขอถามว่าเป็นถนนไหนของกรุงเทพคะ   ใครดูออกบ้าง ช่วยเข้ามาไขปริศนาให้หน่อย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 ก.ค. 10, 20:55

2517 (สมัยนั้นเงินเดือนเริ่มที่ 750 บาทได้กระมัง)


รู้แต่ว่า 2513  เงินเดือนคนจบปริญญาตรี ราชการเริ่มต้นให้ 1250 บาท ค่ะ   ตอนนั้นข้าวแกงจานละ 2 บาท
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 20 ก.ค. 10, 23:31

ในภาพ ที่อ. เทาชมพูเอามาให้ชม น่าจะเป็นแถวๆ ตรอก อิสรานุภาพ ตรงข้ามกับ สน.พลับพลาชัย เพราะปัจจุบันยังคงเห็น ภาพหลังคาเก่าและแนวบ้านสมัยนั้นอยู่บ้างครับ ส่วนตึกที่อยู่บริเวณ สี่แยก ดาดฟ้า น่าจะเป็น ศาลเจ้า อยู่ในตรอก ที่มีของใหว้เจ้าขาย อาหารสดๆ อาหารทะเล แถวนี้เพียบ ราคาก็ไม่ค่อยแพงด้วยครับ สังเกตุจากตึกแถวที่สร้างน่าจะหลัง 2510 แล้ว  ละแวกวรจักร เยาวราช ก็ยังมีมนต์ขลัง ไม่แพ้ สนามหลวง นะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 10:31

นึกไม่ออกเลยค่ะว่าตรงไหนของพลับพลาชัย   ตึกแถวริมถนนคงไม่เหลือแล้ว  มองทีแรกนึกว่าเป็นเวลาก่อนสงครามโลก  แต่มองอีกทีเห็นตึกหลายชั้นกำลังก่อสร้างก็เลยคิดว่าเป็นหลังปี ๒๕๐๐ กว่าๆ

เอาวิดีโอสยามในรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. 2474)  มาให้ดูกัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 10:38

อีกชุดหนึ่งที่หาดูได้ยาก 
สยามในพ.ศ. ๒๔๙๑  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลง ๓ ปี
มีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในปีนั้นอยู่ในวิดีโอด้วยค่ะ
มองถนนหนทางและความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น   กรุงเทพยังมีที่หายใจมากกว่าเดี๋ยวนี้มาก

บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 11:47

นึกถึงบุณคุณ ร้านหนังสือแถวๆสนามหลวง ครับผม ตอนอยู่สามย่านโดนไล่ให้ไปเรียน เอ ยู เอ "มานิตภาษาเธอไม่ได้เรื่อง" ผมเลยไปกว้านซื้อสรรพตำราทั้งหลายแหล่ทั้ง อิเดียม ทั้งสะแลง มาท่อง มีงานแก้เหงา(มีตังเลี้ยงหลาน)ตอนนี้ ก็เพราะร้านที่ว่านี่แหละ ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 11:52

ขออนุญาตลองหาสถานที่ตามภาพใน คห. 46 ดูครับ

หากขยายชื่อตรงมุมขวาล่างจะพออ่านได้ว่า ไท้แปะ ซึ่งคงเป็นชื่อเทพดาวพระศุกร์
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/4/0099-1.html

คงมีศาลเจ้านี้ในภูเก็ตหลายศาล?
ที่ตั้งของป้ายชื่อดังกล่าวเป็นศาลเจ้า/มูลนิธิ?

ภาพนี้ถ่ายที่ภูเก็ต? ก็ไม่น่าจะใช่....สรุป...งงเหมือนเดิม



แต่คงไม่ใช่ตรอกอิสรานุภาพ แถวพลับพลาไชยเพราะตรอกนี้แคบมากกว่า



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 21 ก.ค. 10, 12:38

ดูจากสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นที่ราบจนสุดเส้นขอบฟ้า   และความกว้างขวางของเมือง น่าจะเป็นกรุงเทพ ไม่ใช่ภูเก็ตนะคะ
คุณศรีสยามลองขยายภาพตรงเจดีย์และหลังคาโบสถ์ดีไหมคะ  เผื่อจะนึกออกว่าที่ไหน
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 08:51

ขออนุญาตเดา....อย่างไม่มีหลักการ.อีกครั้งครับ..............ก่อนยกธงขาว

กลุ่มเจดีย์ที่เส้นขอบฟ้า...ทางซ้าย...คือวัดแจ้ง
หลังคาโบสถ์/วิหารทางขวา.....อาจเป็นวัดสุทัศน์


ตามมุมแลทิศแล้ว......ภาพนี้น่าจะถ่ายที่ถนนเยาวราช?.ช่วงตัดถนนมหาจักร

หากเลี้ยวซ้ายก็เข้าสำเพ็ง................





ติ๊ก...ต็อก...ๆๆๆๆๆๆๆ.....ใช่ไหมเอ่ย?

 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 13:23

บอกไม่ถูกจริงๆค่ะ  รู้แต่ว่าเป็นถนนสายเก่าแก่ของกรุงเทพ   อาจเป็นพลับพลาชัยอย่างคุณ Natadol ว่า หรือว่าเยาวราช 
หรือว่าวรจักร  หรือแม้แต่นางเลิ้ง  ก็ได้

เอามาให้ดูอีกรูป เขาบอกว่าเป็นกระทรวงคมนาคม ในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2485


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 15:10

พอดี เมื่อวานนี้ ผมมีโอกาสได้เข้าไปทำงาน แถวๆ สำเพ็ง ผมขึ้นไปตั้งจานดาวเทียมที่ดาดฟ้าบ้านลูกค้า มองไปทั่วบริเวณ ก็มีส่วนคล้ายในรูปเหมือนกันครับ หากดูจากอายุในภาพที่ถ่าย ตึกที่สูงขนาดถ่ายภาพมุมกว้างได้จะมีเพียงตึกเดียว คือตึกของห้างทองโต๊ะกัง (เก่า)  น่าที่จะเป็นละแวกนี้ครับ เพราะ ชุมชนที่มีบ้านเรือนหนาแน่น ในเวลานั้นก็จะมี ไม่มากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 15:22

นึกสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ภาพนี้ต้องถ่ายจากตึกสูงเจ็ดแปดชั้น  จะเป็นตึกไหนได้
ดูจากในรูป ตึกอื่นๆก็อยู่ต่ำลงไปมาก ขนาดตึกสามชั้นยังอยู่ต่ำกว่ามากเลย   
กรุงเทพในรูปนี้ ยังไม่มีตึกสูง  ตึกสร้างใหม่ทางขวามือ ดูเหมือนจะแค่สี่ชั้น
งั้นถนนสายยาว นี้คือถนนพลับพลาชัย หรือว่าเยาวราช คะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 18:58

เสียดายจริงๆ คุณNatadol คงติดตั้งจานดาวเทียมเสร็จแล้ว    ไม่งั้นจะขอให้ถ่ายรูปถนนมาให้ดูหน่อย ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากขนาดไหน
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 22 ก.ค. 10, 20:51

งานเสร็จแล้วก็ลืมเครื่องมือได้???   อิอิอิอิ
 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง