เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 127662 สนามหลวงสมัยก่อน
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 เม.ย. 10, 13:16

วันนี้ได้ภาพเสี้ยวหนึ่งของสนามหลวงในวันที่มีตลาดนัดมาเสนอ เป็นบริเวณทิศใต้ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๖
สังเกตที่ด้านซ้ายของภาพครับที่เป็นตลาดนัด ภาพไม่ชัดเพราะผมตัดมาจาก clip
ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ทางเทศบาลนครกรุงเทพฯ (สมัยนั้นยังไม่เปลี่ยนรูปแบบการบริหารราชการเป็นกรุงเทพมหานคร) สนามหลวงจะกลายเป็นตลาดนัดของกรุงเทพ ตั้งแต่ค่ำวันศุกร์ เหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะเริ่มเอาผ้าใบมาขึงกับต้นมะขามเทศ มีการปักเสาไม้ไผ่เพิ่มเติมเพื่อเป็นเสาเต๊นท์ ทับกันไปทับกันมาจนกลายเป็นหลังคาผ้าใบโดยรอบท้องสนามหลวง ยกเว้นถนนผ่ากลางท้องสนามหลวงที่ต้องเว้นไว้ และเก็บผ้าใบหลังคาลงให้หมดภายในค่ำวันอาทิตย์
ในฤดูฝน ถ้าวันไหนฝนตกจะสนุกมากกับการเดินหลบน้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคาผ้าใบเป็นจุดๆ แย่งกันกับคนขายรายเล็กรายน้อยที่วางแผลเล็กๆ บ้าง ปูกับพื้นบ้าง ตรงกลางแนวถนน
สมัยนั้นยังไม่มีเจ้าหน้าที่เทศกิจคอยไล่จับ ปู่คนเล็ก น้องคนสุดท้องของย่าผมเล่าให้ฟังว่า ปู่ทำงานอยู่เทศบาลนครกรุงเทพเป็นเจ้าหน้าที่อนามัย วันเสาร์อาทิตย์ต้องมีหน้าที่ไปคอยไล่จับพวกที่มาวางแผงขายอยู่กลางถนน ซึ่งก็คือหน้าที่ของเจ้าหน้าทีเทศกิจปัจจุบันนี้

กำลังหาภาพแผงหนังสือสนามหลวงใกล้พระแม่ธรณีมาให้ชมครับ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 เม.ย. 10, 13:24

ภาพถ่ายทางอากาศของสนามหลวง พระบรมมหาราชวัง วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕
จากหนังสือฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์




บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 10:01

ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร

ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ. 2440 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ

ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รวมทั้งงานพระเมรุมาศเจ้านายระดับสูง เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 10:04

สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 10:05

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 10:19

เป็นที่ชุมนุมทางการเมืองมาทุกยุคทุกสมัย


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 มิ.ย. 10, 10:33

นึกถึงเพลง ต้นมะขามสนามหลวง - กรรมาชน พ.ศ. ๒๕๑๙

ต้นมะขามสนามหลวง                      แต่ละต้นแต่ละช่วงเกิดก่อ
อันเป็นศาลประชาชนสถิตรอ              ทุกคดีทีละข้อรายต่อราย

นับหนึ่งสองสาม                           นับต้นมะขามด้วยหัวใจมาดหมาย
แต่ละกิ่งจะผูกบ่วงเป็นเงื่อนตาย           แล้วจับพวกวายร้ายมาแขวนคอ


อีกเพลงชื่อเดียวกัน ต้นมะขามสนามหลวง - สุรชัย จันทิมาธร คาราวาน

ต้นมะขามสนามหลวง                      ห่วงลูกหลานเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา
ต้นมะขามย้ำเตือนเรื่องราวนานา           เพราะหลายดวงตาเป็นสักขีพยาน

เมื่อวันที่หกตุลา                            คลื่นลมโถมซัดหญ้าแพรกแหลกลาญ
เหล่าสมุนขุนโจรผู้เผด็จการ                เข่นฆ่าลูกหลานหนุ่มสาวสายเลือดชาวไทย

ต้นมะขามน้ำตาไหล                       เจ็บจำไว้ไม่เคยลืมเลือน
ผ่านมาแล้วหลายวัน หลายปี หลายเดือน   ริ้วรอยคอยเตือนอนุสติคนไทย

 เศร้า


                         
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 มิ.ย. 10, 14:33

อย่าลุงไก่ว่าใน คห.15 นั่นแหละ 

สนามหลวงสมัยโน้น ขายกันเต็มพื้นที่ หากเดินเข้าไปแล้วอาจหลงทิศและหลงทางได้ง่ายๆ


เด็กบ้านนอกทุกคน(รวมทั้งผู้ใหญ่)หากไปไหนไม่ถูก ให้ไปเริ่ม ก.ไก่ ที่สนามหลวง เพราะเป็นที่ผ่านของรถเมล์หลายสาย   


ต้นมะขาม สนามหลวง...................เป็นห่วงลูกเต้าเหล่าประชา ฯ  ..................ฟังเพลงนี้แล้วทอดถอนใจ อโหสิให้กับคุณจมูกชมพู่--
หากศรีสยามไม่จับไข้เพราะโดนฝนที่ม็อบสนามหลวง ตอนเย็นวันที่ 5 ตุลา 19  ก็คงเป็นอะไรสักอย่างใน มธ. เมื่อ 6 ตุลา
บันทึกการเข้า
pooklook
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 05:31

ขอบคุณที่นำภาพมาให้ชมกันค่ะ เป็นภาพที่ทำให้เราอยากให้ความสงบสุขกลับมาอีกครั้ง
บันทึกการเข้า

srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 07:53

บังเอิญค้นเจอรูปที่เข้ากับกระทู้จึงเอามาแบ่งกันชม................


 ยิ้มกว้างๆ


สนามหลวง..................ช่วง.กึ่งพุทธกาล





บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 08:03

หากเข้าไปดูใกล้ๆ......ก็จะเห็นสภาพรถเมล์สมัยนั้น


เข้าใจว่าถ่ายภาพนี้ช่วงใกล้เที่ยง................ถนนใล่งว่าง... ยิงฟันยิ้ม


ปัจจุบันน่าจะมีเพียง บางสถานการณ์เท่านั้นที่จะเป็นเช่นนี้....สงกรานต์ / จลาจล?


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 08:11

ซูมดูรถเมล์?สมัยนั้น



บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 15 มิ.ย. 10, 08:47

ถอยออกไปมองเต็มภาพ................


สนามหลวง.ช่วงกึ่งพุทธกาล

วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง กระทรวงกลาโหม วัดมหาธาตุ เจ้าพระยา..............ศิลปากร



 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ก.ค. 10, 17:12

ใช้เป็นที่ปลูกข้างเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 ก.ค. 10, 23:08

เสาร์ อาทิตย์มีตลาดนัด ริมคลองหลอดเป็นตลาดไม้ดอก ไม้ประดับ 
หน้าศาลหลังแม่ธรณีบีบมวยผม มีแผงหนังสือใหม่ เก่า ขายทุกวัน
เมษามีกีฬาไทย ว่าว กระบี่กระบอง ตะกร้อ
ฝั่งสังคีตศาลามีการแสดงของกรมศิลป์
ร้านอาหารไก่ย่างจีรพันธ์ มีดนตรี
เมี่ยงคำ ร้านปูเสื่อ บายเยียที่ผมชอบ หมึกปิ้ง เดินขาย
โรงกษาปฌ์ อาหารกลางวันถูกอร่อยทุวัน ยกเว้นวันหยุด


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง