เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7466 หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 03 มี.ค. 10, 06:00

ทำไมจึงสนใจ  สารบัญชี

มีความสนใจตามเก็บประวัติ บุคคลสำคัญ คนหนึ่งในวงการหนังสือ ทราบแต่ชื่อตัวเดียว
ท่านมีผลงานอันยิ่งใหญ่  คือเป็นคน ทำ หนังสืออักราภิธานศรับท์

บรัลเลย์ ประกาศว่า
Dictionary
of The Siamese Language
By
D.B. Bradley
Bangkok
1873


ในใบรองปกที่ ๒   เขียนไว้ว่า
แจ้งความ
หนังสืออักราภิธานศรับท์  เปนคำไทย  อธิบายความโดยพิสดารตามภาษาไทย
ข้าพเจ้า หมอ ปรัดเลได้ให้อาจารริย์ทัด คัดแปล  แลอธิบายความตามวิธีอักษรสยามพากย์
ได้ตีพิมพ์ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่  หลังวังสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอจ้าวฟ้าจาตุรณรัศมี
จบลงเมื่อณวันอังคารเดือนสิบสองขึ้นค่ำหนึ่ง  จุลศักราช ๑๒๓๕  ปีรกา  เบญจศก


เมื่อพูดถึง อักขราภิธานศรับท์  ดิฉันก็พูดว่า  ของอาจารย์ทัด  เพราะอ่านว่า หมอปรัดเล เป็นผู้พิมพ์ หรือ อำนวยการสร้าง

เราไม่รู้เรื่องอาจารย์ทัดกันเลย   น่าน้อยใจนัก

ดิฉันจึงเริ่มเก็บข้อมูลเรื่อง  นายทัด   ว่าจะสืบไปเรื่อย ๆ


อยู่มาวันหนึ่ง  ได้เอ่ย คำว่า พจนานุกรมของอาจารย์ทัด  ต่อหน้าท่านผู้อาวุโสท่านหนึ่ง  ท่านพอใจมาก
สั่งว่าให้ค้นต่อไป   ไปดู สารบัญชีของกรมไปรษณีย์ ซิ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 06:18

เหมือนสายฟ้าผ่า   วาบ
ชื่อนี้เรารู้จักนี่นา  ว่าเป็นชื่อและที่อยู่ของประชาชนเมื่อแรกตั้งกรมไปรษณีย์
แต่ไม่มีหนังสือ  คงไปอ่านมาจากหนังสือเก่าเล่มใดเล่มหนึ่ง


อีกวันสองวันต่อมา  คุณหลวงเล็ก ผู้เป็นที่นับถือคนหนึ่ง ได้เอ่ยชื่อ สารบัญชี ออกมา
จึงได้สอบถาม
คุณหลวงได้กรุณาอธิบายว่า ต้นฉบับของคุณอ้วน(ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์)นำมาพิมพ์ใหม่แล้วไง สองเล่ม

อนิจจังหนังสือหมดไปแล้ว พิมพ์ ๒๕๔๑       ๑,๐๐๐ เล่ม


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 06:35

ได้ยื่นมืออันยาวเหยียดของนางนาคพระโขนงออกไป     ได้เล่ม ๑ มาเป็นสมบัติ
เล่มสองได้อ่านแล้ว   และกำลังจะได้มาเป็นเพื่อนเล่ม ๑  ในห้องสมุดอันคับแคบยากไร้อัดแน่นแห่งนี้

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะได้สนทนากับคุณหลวงเล็ก ผู้ต้องสงสัยว่า น่าจะเป็นคนเก่าคนแก่กลับชาติมาเกิด

คุณหลวงทำท่าสงสารดิฉันอยู่พักหนึ่งว่าไปไหนมา  ทำไมไม่มี สารบัญชี


อ้าว!  ดิฉันอุทานดัง ๆ     จำได้นี่นาว่าชุดนี้มี ๔ เล่ม   มีราคาด้วย เล่มแรก ๖ บาทเอง  ราคา ๒๔๒๖ นะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 07:29

ประธานบริษัทสำนักพิมพ์ ต้นฉบับ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒน์ เกษมศรี ได้เขียนไว้ในคำนำว่า

หนังสือชุดนี้มี ๔ เล่ม  บริษัทสำนักพิมพ์ต้นฉบับได้มาเพียงเล่ม ๑ และ เล่ม ๒ เท่านั้น

เล่ม ๑  ว่าด้วยตำแหน่งราชการ

เล่ม ๒  ว่าด้วยราษฎรในจังหวัด ถนน และตรอก


คุณชายศุภวัฒน์ เขียนไว้ว่า  "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์  กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ซึ่งขณะนั้นรับราชการเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์และโทรเลข จัดพิมพ์ขึ้นจากบัญชีบ้านเลขที่ในเขตกรุงเทพมหานคร 
ที่เจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์และโทรเลขได้ดำเนินการติดป้ายเลขที่บ้านและทำบัญชีไว้"


หนังสือนี้พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระเทพพลู
ประวัติหายากอีกเหมือนกันแต่พอมี
ถ้า คุณ เงินปุ่นศรี ว่างจากการงานคงจะกรุณาเขียนมาลงให้อ่านกันพอชื่นใจ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 07:48

ตามที่อ่านมา และ จดไว้     


หนังสือชุดนี้


เล่ม ๓   ชื่อราษฎรในจังหวัด  บ้าน  หมู่  แล ลำน้ำ          ราคาเล่มละ ๕ บาท

เล่ม ๔   ชื่อราษฎร ใน จังหวัด คลอง คู แลลำประโดง   ราคาเล่มละ ๖ บาท


เล่ม ๑ นั้น  ราคา ๖ บาท
เล่ม ๒   นาคา ๕ บาท


มีขายที่ตึก ว่า กรมไปรสนีย  แล  โทรเลข   ปากคลองโอ่งอ่างแห่ง ๑   
ออฟฟิซ โทรเลข โรงภาษี แห่ง ๑    แลมีขายบ้างเล็กน้อยทุกแห่งที่ร้านไปรสนีย

ออกจำหน่ายตั้งแต่ ณ วันพฤหัสบดี  เดือนห้า  ขึ้นค่ำหนึ่ง  ปีวอก  ยังเปน เบญจศก



อ่านมาจาก จดหมายเหตุ สยามไสมย  เล่มที่ ๒ จ.ศ. ๑๒๔๕
แผ่น ๑๗  วันพุฒ  เดือนห้า  ขึ้น ๗ ค่ำ  ปีวอก
หน้า  ๑๓๙

คุณธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์  นายกสมาคม กิจวัฒนธรรม  พิมพ์ต่ออายุ เมื่อ ๒๕๔๘
เป็นหนังสือที่ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา
สนุกด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 08:05

ขอคัดลอก  บาญชีข้าราชการ  ในหน้า ๑๙๒  มาอ่านกันพอเพลิน


กรมพระพราหมณโหราจารย์

พระมหาราชครูพิธีจางวาง(อาด)                                  บ้านตรอกหลังเทวสถาน  ที่ ๑๐๒
พระครูอัศฎาจารย์เจ้ากรม(แจ้ง)                                    "         ข้าง     "             ๔
หลวงราชมุนี(เหมือน)                                               "         หลัง                   ๒
หลวงศรีวาจาจารย์ปลัดกรม(รุ่ง)                                   "           "       "             "
หลวงสุริยาเวศ(ริ้ว)                                                  "           "       "         ๑๐๒
ขุนธรรมนรายณ์สมุบาญชี(อิน)                                     "           "       "            ๔


แล้วยังมี  พราหมณพฤฒิบาศ  ๔  ราย

กรมโหร  ๔  ราย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 มี.ค. 10, 09:30

พราหมณพฤฒิบาศ

พระสิทธิไชยบดีเจ้ากรม(ดิด)
หลวงเทพาจารย์ปลัดกรม(แสง)
หลวงอินทฤไชยปลัดกรม(ภู่)
หลวงสิทธิเทพปลัดรองตำหรับ(สุด)




กรมโหร
พระโหราธิบดีเจ้ากรม(ชุ่ม)
หลวงโลกทีปเจ้ากรม(เถื่อน)
ขุนโชตพรหมาปลัดกรม(เสิม)
ขุนเทพยากรปลัดกรม(คำ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 08:35

         นายเวรของกรมท่ากลาง  (หน้า ๗๑)

หมื่นวิเสษอักษร(ครุด)                                       บ้านบางไส้ไก่

หมื่นวิสูทอักษร(เล็ก)                                         บ้านขุนอักษรสมบัติ

หมื่นพินิจอักษร(แดง)                                        บ้านถนนญวน

หมื่นอินท์อักษร(โพ)                                          บ้านริมคลองโอ่งอ่าง ริมวัดบพิธพิมุข(เชิงเลน)

หมื่นพิพิธอักษร(อิน)                                          บ้านวัดหงษารามในคลองบางหลวง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 08:45

        ชื่อที่เข้าแถวกัน  มีบ้านในคลอง ริมถนน ใกล้วัด     ดูมีเสน่ห์   เป็นตัวตนขึ้นมาพอหยิบจับได้

จะขอคัดลอกตามที่เข้าใจ  หรือเห็นว่าเป็นข้อมูลที่แปลก


             ล่ามฝรั่งและเสมียนในออฟฟิซ

มิศเตอร์ ดีบิ  ปรัดเล                                         บ้านปากคลองบางหลวง

ฮ้า!


มิศเตอร์ดีซา                                                  บ้านคลองบางรักษ์
มิศเตอร์ยีซู                                                    บ้านหลังบ้านกงซุลโปรตุเกศ

นายอิน
นายสน
นายฟัก
นายเทียน
นายนุ่ม
นายแยะ
นายขาว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 09:11

       
                 ผู้ตรวจเงินโรงกระสาปน์สิทธิการ     (หน้า ๙๙)


หลวงกสาปน์พิภาคย์(จัน)                                    บ้านอยู่คลองวัดหงษ์ธางหลวง

ขุนนานาคมาสก(อยู่)                                         บ้านตะภานหัน



       ไม่เคยเห็นราชทินนาม  ขุนนานาคมาสก มาก่อนเลย
       ชอบจัง

       คนโบราณท่านคิดลึกซึ้ง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 11:39

ในกรมพระคลังสินค้า  (หน้า ๑๐๓)

มี  อุดมสมบัติ  สอง คนค่ะ

หลวงอุดมสมบัติ(ดัด)  บ้านในคลองบางลำภูบน  ริมวัดสังเวชวิศยาราม


และยังมี


ขุนอุดมสมบัติ(สี)   บ้านอยู่ริมวัดสุทัศ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 มี.ค. 10, 12:00

            กรมทนายเลือกหอกขวา


ชอบราชทินนามเป็นที่สุด  จึงขอยกมาให้ดูกัน

หลวงไชยโชกชกชนะ(อั้น)                              เจ้ากรม
                                                            บ้านตรอกศาลเจ้าครุธ

(เคยเรียนถามท่านเจ้าสำนักต่อสู้ป้องกันตัวคนหนึ่ง เรื่องความยาวของหอก  ว่าดูจะสูงกว่าตัวบุคคลที่ถืออยู่
ท่านเห็นใจความอยากรู้อยากเห็นมาก  ตอบสั้น ๆ แต่ตรงกับที่คิดเอาไว้เองว่า  คนไทยตัวเตี้ยลง)

ราชทินนามนี้มีอำนาจมาก  ใครหนอช่างคิด


ขุนภักดีอาษา(นก)                                       ปลัดกรม
                                                             บ้านอยู่คลองโอ่งอ่าง

หมื่นภูมินทรโยธา(ขำ)                                   นายเปรียบมวย
                                                             บ้านตรอกหลงวังกรมพระบำราบปรปักษ์                      




อีกราชทินนามข้าราชการ ใน กรมพระตำรวจพลพันซ้าย (หน้า ๑๒๘)

จ่าโผนวิ่งชิงไชย(อิ่ม)                                     บ้านอยู่ถนนเฟื่องนคร



จ่าเผ่นผยองยิ่ง  ของกรมพระตำรวจพลพันขวา   ในเวลานั้น ว่าง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 มี.ค. 10, 10:16

ผู้สนใจอ่านติดต่อหลังไมค์


ผู้อ่าน                     เจออาจารย์ทัดแล้วหรือยัง
วันดี                       อ่า...รับประทานเจอไป ๑๗ ชื่อ   ยังไม่มีแววเลยค่ะ
ผู้อ่าน                     ชักอยากรู้เหมือนกัน
วันดี                       นั่นซิคะ
ผู้อ่าน                     รู้แล้วบอกมั่งนา


วันดี                       ที่หาไว้จากที่อื่นก็อีกหลายชื่อค่ะ  เห็นแววอยู่แว่บ ๆ
ผู้อ่าน                     มีเบาะแสบ้างไหม
วันดี                      ครือว่า....อ่า....เอ่อ....เมื่อพจนานุกรมฉบับนี้พิมพ์  อาจารย์ทัดต้องอายุ ๓๐​+++
ผู้อ่าน                     อ้าว!    ไม่เด็กไปหน่อยหรือ


วันดี                      ต้องบวชเรียนมาแล้ว  (ทายแบบกวาดทั้งสนามหลวง)  แต่ไม่ได้เปรียญ
ผู้อ่าน                    อือ...นะ
วันดี                      ถ้าได้เปรียญสูงๆ  สึกออกมาก็ฟาดอย่างน้อยคุณหลวง
ผู้อ่าน                    อ๊ะ!   จริงด้วย
วันดี                      ท่านคงสึกออกมาเบียด  
ผู้อ่าน                    บวชนานก็สึกได้
วันดี                      ไม่เป็นที่นิยมค่ะ


วันดี                      ทำงานกันขนาดนี้  ต้องมีคนรู้จัก  แต่ไม่มีการบันทึก
ผู้อ่าน                    คนไทยไม่ชอบบันทึก
วันดี                      พวกโรงพิมพ์ก็ต้องรู้จัก   ก.ศ.ร. ผู้กว้างขวางก็คงรู้จัก
ผู้อ่าน                    เล่าให้ฟังด้วยก็แล้วกัน
วันดี                      ท.ป.ษ. แนะนำเชิงยุยงไว้ว่า  หาตัวได้เมื่อไร  พิมพ์ อักขราภิธานศรับท์ใหม่เลย  ฮ่ะ ๆ ๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 มี.ค. 10, 09:53

ตำแหน่งทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง

ขณะนั้นใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ขอคัดลอกรายการที่น่าสนใจ

อธิบดี  คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช    ที่ประทับ คือ  วังถนนหอกลอง

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม     ที่ประทับเดียวกัน


ตำแหน่งต่อมา คือ แอดชุแตน  หรือฝ่ายสารบรรณ
ผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือ หม่อมเจ้าวัฒนา ในกรมหมื่นสิทธิสุขุมการ   ถนนหอกลองในตรอกบุหรี่  หลังวังกรมหทื่นประจักษ


ตำแหน่วต่อมา ทำให้คนอ่านยิ้มเล็กน้อย
ดิบุคติ  แอชชุแตน   Deputy Adjutant
ผู้อยู่ในตำแหน่งคือ  พัน   บ้านอยู่ปากคลองวัดพิเรนทร์  ริมวังบ้านเขมร

ตำแหน่งต่อไปเป็นที่รู้จักกันประปราย  คือ เปมาศเตอร์

ตำแหน่งต่อไป  กวอศเตอร์มาศเตอร์

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 มี.ค. 10, 10:06

ชักจะยากขึ้นทุกทีแล้วค่ะ

ออเดอรี่ ออฟฟิเซอ
ผู้ดำรงตำแหน่งคือ ม.ร.ว. ผิว  ใน หม่อมเจ้าปรีดา  อยู่ในวังกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์  ริมหอกลอง
(ตามที่เคยผ่านตามาบ้าง  เข้าใจว่าเป็น หน่วยผู้ช่วยพยาบาล หรือ พลเตียง    ในสมัยโน้นอาจจะแปลว่าฝ่ายวินัยกระมัง   ตำแหน่งนี้ยอมแพ้ค่ะ)


แปรกมาศเตอร์         มิกล้าแปล

อินสตรัคเตอร์         
มิศเตอร์บีกริม    บ้านอยู่ห้างบีกริมกอมปนีแห่งหนึ่ง         อยู่บ้านหลวงทรงสุรเดช  ตรงหลังบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์อีกแห่งหนึ่ง


ตำแหน่งต่อไปคือ  กัปตัน  ลุดเตอร์แนน  สับลุดเตอร์แนน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง