เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7451 หนังสือเก่า สารบาญชีสำหรับเจ้าพนักงาน กรมไปรสนีย์ จ.ศ. ๑๒๔๕
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 มี.ค. 10, 10:16

นักอ่านหนังสือเก่า กวาดสายตาหยิบหยีอันคมกริบ ไปเจอ ท่านที่เคารพนับถือยิ่งท่านหนึ่ง ในหน้า ๑๓๙

ในกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์
สตาฟออฟฟิเซอร์
พระสารสาศน์พลขันธ์(สมบุญ)    บ้านตรอกพระยาเพชรพิไชย


ท่านผู้ที่อ่านสามก๊ก  อาจจะผ่านตามาบ้าง   คุณพระแต่ง สามก๊กขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง  เสร็จแล้วด้วย
ส่งไปพิมพ์   แล้วต้นฉบับสูญสลายหายตัวไป  ไม่มีใครเคยเห็นอีกเลย   


ต่อมาเห็นนามคุณพระว่าได้เป็น อนุศาสนาจารย์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 06:54

บรรดาศักดิ์เดิมของ คุณพระ  คือ ขุนสุวรรณอักษร


บันทึกไว้เผื่อสหายแถวนี้ที่ชอบเก็บสาแหรกสกุล
อ้างอิง  สยามประเภท เล่ม ๑   หน้า  ๒๐๔



ข้อมูลล่าสุดในวงการหนังสือเก่า  เวลานี้มีการค้นพบ สยามประเภทเล่ม ๕ และ เล่ม ๖ แล้ว
ผู้ถือหนังสือขอปกปิดนาม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 08:56

อ้างถึง
พระสารสาศน์พลขันธ์(สมบุญ)    บ้านตรอกพระยาเพชรพิไชย


ท่านผู้ที่อ่านสามก๊ก  อาจจะผ่านตามาบ้าง   คุณพระแต่ง สามก๊กขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง  เสร็จแล้วด้วย
ส่งไปพิมพ์   แล้วต้นฉบับสูญสลายหายตัวไป  ไม่มีใครเคยเห็นอีกเลย   


พระสารสาศน์พลขันธ์ เป็นผู้ถวายความเห็นต่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ว่า  ขงเบ้งใช้กวนอูไปตามจับโจโฉ หลังโจฌฉแตกทัพเรือ
ก็เพื่อให้ปล่อยโจโฉไป   นอกจากเป็นการใช้หนี้บุญคุณที่ตกค้างระหว่างกวนอูและโจโฉให้หมดไปแล้ว
ก็ยังไม่อยากจะให้โจโฉต้องถูกจับได้  ถูกซุนกวนปราบสิ้นซาก   
เพราะจะต้องรักษาโจโฉไว้เพื่อคานอำนาจกับซุนกวนต่อไป    เพราะถ้าเหลือแต่ซุนกวนก๊กเดียว  เล่าปี่คงไม่รอดจากมือซุนกวนเป็นลำดับต่อไป

เสียดายสามก๊กฉบับที่สูญหายไปมากๆ   อยากรู้ว่าคุณพระตีความสามก๊กอย่างใดอีก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 10:59

ขอบคุณ คุณเทาชมพูที่กรุณามาเติมความ      สามก๊กนั้นดิฉันอ่านไม่ตลอดค่ะ  หาอ่านเป็นตอน ๆ  เพื่อนยังคบอยู่อื้ออึง

ฉบับที่หายากที่สุด  ขนาดนักเล่นหนังสือเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕  ยังบ่นกันว่าไม่มีใครมีครบ  คือสามก๊กครูสมิท
สมเด็จกรมพระยาดำรง นิพนธ์ไว้ว่า  ท่านเคยเห็นเพียงเล่มเดียว

มีความลับซ่อนไว้ในปีพิมพ์อย่างพิสดาร  เพราะพิมพ์เล่มสองก่อนเล่มแรก เนื่องจาก สามก๊กเล่มแรกของบรัดเลยังมีขายอยู่
บางเล่มก็พิมพ์ก่อนที่ประวัติศาสตร์หนังสือเก่าจะจารึกไว้  และบางเล่มก็พิมพ์ห่างกันมาก
ครูคงไม่ค่อยมีสตางค์


คงมีโอกาสนำมาเล่าในเรือนไทยในโอกาสต่อไป

นายวรรณหรือเทียนวรรณนั้น หายใจเข้าออกเป็นสามก๊ก  มักจะเปรียบเทียบตัวบุคคลเป็นตัวละครรองๆในสามก๊ก
เป็นการบังคับให้ต้อง อ่านแบบกระโดด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 11:51

หนังสือนี้พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระเทพพลู
ประวัติหายากอีกเหมือนกันแต่พอมี
ถ้า คุณ เงินปุ่นศรี ว่างจากการงานคงจะกรุณาเขียนมาลงให้อ่านกันพอชื่นใจ

พระเทพผลู (สิน) บ้านอยู่บางลำภูล่าง  ในสารบาญชีระบุว่าเป็นเจ้าพนักงานเก็บภาษี
ท่านผู้นี้คงรับราชการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔
ในหนังสือการแต่งตั้งขุนนางไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ระบุว่า

"ให้หลวงอินทรมนตรีศรีจันทรกุมาร (สิน) สมุหสรรพากรนอก  เปนพระเทพผลู เจ้ากรมกองตระเวนซ้าย  คงถือศักดินา ๒๔๐๐ ทำราชการ ตั้งแต่ ณ วันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมแมเบญจศก ศักราช ๑๒๔๕ เปนวันที่ ๕๕๐๓ ในรัชกาลปัตยุบันนี้"

เมื่อลองเทียบวันเดือนปีดู ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๒๖  ปีเดียวกันกับที่พิมพ์สารบาญชีกรมไปรสนีย์พอดี 

ตำแหน่ง พระเทพผลู ก่อนหน้าที่ หลวงอินทรมนตรีฯ (สิน) จะเลื่อนมาเป็นนั้น เป็นของพระเทพผลู (บัว) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งไปเป็นพระยาพิษณุโลกาธิบดีศรีสุรสุนทรอุดรนครกระเษตรานุรักษ์  อรรคมหาสยามาธิราชภักดี  อภัยพิริยปรากรมพาหุ  ผู้สำเร็จราชการเมืองพระพิศณุโลกย  ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เมื่อ วันศุกร์ แรมค่ำหนึ่ง เดือนสาม ปีมเมียจัตวาศก ๑๒๔๔

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 12:49

พระเทพผลู คนนี้ละมัง  ที่มีการเอ่ยอ้างชื่อในกระทู้ รัชทายาทราชวงศ์ชิง 
เรียกผิดเป็นพระยาเทพหรู
บันทึกการเข้า
Kris
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 15:25

        ชื่อที่เข้าแถวกัน  มีบ้านในคลอง ริมถนน ใกล้วัด     ดูมีเสน่ห์   เป็นตัวตนขึ้นมาพอหยิบจับได้
จะขอคัดลอกตามที่เข้าใจ  หรือเห็นว่าเป็นข้อมูลที่แปลก
             ล่ามฝรั่งและเสมียนในออฟฟิซ
มิศเตอร์ ดีบิ  ปรัดเล     บ้านปากคลองบางหลวง

ฮ้า!

มิศเตอร์ดีซา            บ้านคลองบางรักษ์
มิศเตอร์ยีซู             บ้านหลังบ้านกงซุลโปรตุเกศ

นายอิน
นายสน
นายฟัก
นายเทียน
นายนุ่ม
นายแยะ
นายขาว



รบกวนสอบถามคุณวันดีซักนิดว่า
      - บ้านคลองบางรักษ์
      - บ้านหลังบ้านกงซุลโปรตุเกศ และ
      - บ้านกงศุลอังกฤษ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จริงๆ แล้วตั้งอยู่แห่งหนตำบลไหนกันแน่

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 15:32

หมื่นวิเสษอักษร(ครุด)                                       บ้านบางไส้ไก่

หมื่นวิสูทอักษร(เล็ก)                                         บ้านขุนอักษรสมบัติ

หมื่นพินิจอักษร(แดง)                                        บ้านถนนญวน

หมื่นอินท์อักษร(โพ)                                          บ้านริมคลองโอ่งอ่าง ริมวัดบพิธพิมุข(เชิงเลน)

หมื่นพิพิธอักษร(อิน)                                          บ้านวัดหงษารามในคลองบางหลวง

ขอตั้งข้อสังเกตว่า
๑   ไม่มีเลขที่บ้าน
๒   บอกชื่อถนนเท่านั้นก็รู้ว่าอยู่ริมถนนตรงไหน  เช่นหมื่นพินิจฯ บ้านถนนญวน    คือไม่ต้องบอกว่าปากทาง หรือปลายทาง
๓   บ้านที่อยู่ริมคลองก็เช่นกัน  ไม่ต้องบอกว่าเข้าไปในคลอง ลึกสักกี่เส้นกี่วา
ทั้งๆริมถนนและริมคลองก็ย่อมมีบ้านเรือนหนาแน่น
แสดงว่าบุรุษไปรษณีย์ ความจำแม่นยำจริงๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 15:55

อ้างถึง
ขอตั้งข้อสังเกตว่า
๑   ไม่มีเลขที่บ้าน
๒   บอกชื่อถนนเท่านั้นก็รู้ว่าอยู่ริมถนนตรงไหน  เช่นหมื่นพินิจฯ บ้านถนนญวน    คือไม่ต้องบอกว่าปากทาง หรือปลายทาง
๓   บ้านที่อยู่ริมคลองก็เช่นกัน  ไม่ต้องบอกว่าเข้าไปในคลอง ลึกสักกี่เส้นกี่วา
ทั้งๆริมถนนและริมคลองก็ย่อมมีบ้านเรือนหนาแน่น
แสดงว่าบุรุษไปรษณีย์ ความจำแม่นยำจริงๆ

ตามต้นฉบับสารบาญชีมีเลขที่บ้าน (ที่กรมไปรษณีย์กำหนดขึ้นเฉพาะ  ยังไม่ใช่เลขที่บ้านอย่างสมัยนี้) ที่กำหนดตามแต่ละตรอกถนนหรือลำคลอง  เลขบ้านนั้นจะต้องดูสารบาญเล่มที่ ๒ ประกอบด้วยจึงจะทราบว่าอยู่ตรงไหนของถนน ตรอก ซอย คลอง ลำปะโดง  ในสารบาญชีส่วนที่ ๒ ท่านทำละเอียดถึงขนาดว่า  เป็นลูกใคร  ที่อาศัยนั้นมีลักษณะอะไร เช่น โรงแตะ ตึก เป็นต้น (ถ้าเช่าบ้านของคนอื่นอยู่ก็บอกด้วยว่าใครเป็นเจ้าของให้เช่า)   ประกอบอาชีพอะไร  และเป็นไพร่ขึ้นสังกัดอยู่กับขุนนางคนใด  พร้อมหมายเลขบ้านตามลำดับตั้งแต่ต้นถนนถึงท้ายถนน  

คุณวันดีคงประสงค์จะนำเสนอเฉพาะข้อมูลชื่อบุคคลและตำแหน่งบ้านที่พักอาศัย   จึงไม่ได้ใส่รายละเอียดอื่นๆ ลงมาด้วยครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 มี.ค. 10, 16:23

โธ่...หนังสือชุดนี้มี ๔ เล่มค่ะ   พิมพ์มา ๒ เล่ม  ดิฉันรับอภินันทนาการมาคือ เล่ม ๑


เพื่อประโยขน์ในการยืนยันตัวบุคคล  ดิฉันใช้หนังสืออีกเล่มที่ออกมาในปี ๒๔๗๔  แต่นั่นคือรัชกาลที่ ๗

เรื่องที่นำมาเสนอคือเหตุการณ์ต้นรัชกาลที่ ๕
ถนนหนทางและคูคลองก็เปลี่ยนไป

เรื่องที่ตั้งของสถานทูตอังกฤษนั้นมีผู้เขียนอยู่หลายท่านแล้ว  พอจะตรวจสอบได้


ขอคัดที่อยู่ของราชทูตและกงซุลต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำตั้งอยู่ ณ กรุงเทพในเวลานั้น


กงซุลอเมริกัน
มิศเตอร์ ยอน เอ ฮาลเดอร์แมน  มินิศเตอร์ เรสิเดน                         บ้านลำนำ้ฝั่งตะวันออกใต้ห้างกงซุลอังกฤษ             ๑๐(น่าจะเป็นรหัส)
มิศเตอร์ แอน เอ แมกดัน  ไวซกงซุล                                          บ้านใต้สำเหร่  ลำน้ำฝั่งตะวันตก                          ๔
มิศเตอร์ โตรี                                                                     ที่อยู่เดียวกับ ฮาลเดอร์แมน


กงซุลอังกฤษ
มิศเตอร์ปาลเครฟ เอเยน  กงซุลเยเนราลอังกฤษ                             บ้านลำน้ำฝั่งตะวันออกใต้วัดแก้วฟ้า                     ๑๐
มิศเตอนิวแมน  เฮอแมเยศคี ไวซกงซุล                                        บ้านถนนเจริญกรุงนอก ที่  ๘๕๖                         ๑๐
มิศเตอร์ เฟรนช์                                                                  ที่อยู่เดียวกับปาลเกรฟ                                    ๑๐   


กงซุลโปรตุเกศ
ซินยอ เอนริเก  กงซุล                                                            บ้านใต้ปากคลองผดุงลำน้ำฝั่งตะวันออก               ๑๐
ซินยอ ฝรั่ง สิศดก  บาดแวล ซาเวีย  เสเครตารี                               ที่อยู่เดียวกัน




ดิฉันเองหาที่อยู่ของ นายน้อกซ์ บิดาของ แฟนนี  ยังไม่พบค่ะ 
และนายกูล  นักเรียนล่ามที่ทะลึ่งเข้าไปนั่งฟังการประชุมของไปรวีเคาซิลด้วยในคดี ลูกเขยฝรั่ง  ยังไม่เจอเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง