virain
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 10:58
|
|
อีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือแท่นธรรมาสน์ คิดว่าทำขึ้นในสมัยอยุธยาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:03
|
|
วัดที่สองคือวัดในกลาง เป็นวัดที่พี่กุรุกุลานำมาให้ชมไปแล้วหลายส่วนผมจึงขอนำภาพธรรมาสน์ มาลงให้ชม เพราะธรรมาสน์หลังนี้ถึงจะซ่อมแล้ว แต่ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:09
|
|
ฐานช่วงนี้มีลักษณะฐานที่คล้ายกับวัดโพธิ์เผือก ซึ่งลักษระฐานธรรมาสน์แบบนี้อาจจะเป็นฐานที่นิยม ใช้กันในสมัยอยุธยาตอนต้น-ตอนกลาง แต่ในขณะเดียวกันอยุธยาตอนปลายก็มีการใช้ในรูปแบบนี้ เพียงแต่มีส่วนที่ต่างออกไปบ้าง นีคือมุมมองของผมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:15
|
|
ลักษณะกระจังนั้นยังดูเป็นตัวกระจังที่พัฒนามาจากกระทง แต่ฐานชั้นล่างดูคล้ายกับฐาน แบบอยุธยาตอนปลาย ซึ่งคูณติบอแสดงความคิดเห็นว่า ชิ้นงานอยู่ในสถานที่ที่ไกลเมืองหลวง การพัฒนารูปแบบศิลปะอาจจะยังช้า และการออกแบบก็เป็นไปตามความคิดของช่างโดยไม่ต้องใช้ รูปแบบที่แน่นอน เหมือนช่างในเมืองหลวงชอบทำ การจะหยิบจับรูปแบบอะไรมาทำก็เป็นไปแล้วแต่ช่าง ผมจึงดูรวมๆเอาว่าธรรมาสน์หลังนี้ น่าจะอยู่ในกลุ่มธรรมาสน์ศิลปะอยุธยาตอนกลางแต่ค่อนมาทางปลายแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:17
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:24
|
|
วัดที่สามคือวัดกุฏิ ท่าแร้ง อยู่ติดแม่น้ำเพชรบุรีทางฝั่งตะวันออก วัดนี้ทำนองว่าเป็นวัดที่มีมาแต่สมัยอยุธยา แล้วซ่อมกันมาตลอด ปัจจุบันทรุดโทรมลงมากโดยเฉพาะตัวพระวิหาร พระอุโบสถปัจจุบันถูกซ่อมแซมหรือ อาจรื้อลงแล้วสร้างทับที่เดิม ดูเป็นของใหม่ทั้งหมด ตัวพระวิหารมีเจดีย์หลายองค์อยู่ทางด้านหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:25
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:26
|
|
ที่ขาสิงห์เจดีย์ปั้นเป็นรูปหน้าแปลกหลายหน้า คงมาปั้นทับกันในสมัยหลังๆครับ ดูจากรอยแตกของปูน:D
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:28
|
|
...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:36
|
|
ที่น่าสนใจมากๆคือบานประตูแกะสลักไม้ศิลปะอยุธยา ซึ่งคุณกุรุกุลาได้นำภาพนำเสนอไปแล้ว บานประตูนี้ทำนองคล้ายลายก้านขดแบบวัดเขายี่สาร แต่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ที่เป็นแกนนำมาวางไว้ตรงอกเลา แตกลายออกในพื้นบานสองฝั่ง เป็นก้านขดแล้วออกเป็นรูปเทพ รูปสัตว์ต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:40
|
|
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ตรงอกเลานั้นแกะเป็นลายดอก เหมือนดอกที่พบในกระทงธรรมาสน์ ที่มุมแกะเป็นรูปหน้ายักษ์หรือลิงคาบก้านที่หักเป็นกลม ทำท่าอย่างราหูจะอมจันทร์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:49
|
|
รูปเทพร่ายรำครับ เครื่องแต่งกายดูคล้ายเครื่องแต่งกายในบานประตูวัดพระศรีสรรเพชญ์ ลายที่ขอบประตูแกะเป็นลายถักสลับกับลายดอกไม้ แบบลายก้ามปูเป็นหน้ากระดาน ผมสันนิษฐานเองว่าน่าจะเป็นบานประตูที่ติดแบบอยุธยาตอนกลาง แต่จะสร้างในสมัยหลัง ลงมาแค่ไหนอย่างไรก็ไม่รู้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:50
|
|
คุณติบอ กำลังพิจารณาลวดลายอย่างเคร่งเครียดครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 11:54
|
|
บานประตูชิ้นนี้อยู่กับตัวพระวิหารซึ่งมีความทรุดโทรมมาก กลัวว่าจะผุพังหายไปได้ อยากให้มีการเข้าไปพิทักษ์รักษาให้ถูกวิธีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 01 มี.ค. 10, 12:07
|
|
หลังจากไปจัดการเรื่องที่พักกับกินข้าวกลางวัน เอาบรรยากาศกันที่ริมแม่น้ำเพชรแล้ว พวกเราก็มายังวัดเกาะแก้วสุธาราม วัดนี้ก็มีอะไรน่าสนใจมากมายแต่คิดว่าจะนำภาพ ไปเพิ่มเติมในกระทู้ สัมนาวัดเกาะฯ ของคุณกุรุกุลาน่าจะดีกว่าครับ
บ่ายแก่ๆก็มาที่วัดเกาะ ก็มีเด็กที่อยู่ในวัดมาเปิดให้อย่างมีอัธยาศัย ส่วนคุณติบอกับคุณแพร ก็หายไปดูบ้านเก่าที่ติดแม่น้ำด้านข้างวัด พี่ทอมมี่ก็นั่งวาดโครงสร้างวัดเกาะชิวอยู่ด้านนอก ผมก็เลยต้องถ่ายภาพอยู่ในโบสถ์คนเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|