เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9080 ฝากให้คุณเทาชมพูค่ะ เรื่องของคังซีฮ่องเต้
Linmou linmou2000@hotmail.com
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 30 ม.ค. 01, 08:47

ชิงเซิ่งจู่(Qing sheng zu) เสวียนเยี่ย(Xuan ye)
ชิงเซิ่งจู่ เสวียนเยี่ย(พ.ศ. ๒๑๙๗ - ๒๒๖๕)หรือคังซีฮ่องเต้(Kang xi) แซ่อ้ายซินเจว๋ลั๋ว(Ai xin jue luo) นามเสวียนเยี่ย เป็นโอรสองค์ที่ ๓ ในโอรสทั้ง ๘ องค์ของชิงซื่อจู่(Qing shi zu) ซุ่นจื้อตี้(Shun zhi di) หลินฝู(Lin fu : ชิงซื่อจู่เป็นพระนามที่ได้รับการตั้งตามความประพฤติครั้งยังทรงพระชนม์ ; ซุ่นจื้อ เป็นชื่อปีการปกครอง ; หลินฝู เป็นพระนาม) พระชนนีแซ่ถงเจีย(Tong jia : ไม่ใช่ฮองเฮา) เป็นธิดาของแม่ทัพชาวฮั่น ถงถูล่าย(Tong tu lai) เสวียนเยี่ยประสูติเมื่อปีซุ่นจื้อที่ ๑๑ (พ.ศ. ๑๖๕๔) ณ พระตำหนักจิ่งเหริน(Jing ren gong)
ปีซุ่นจื้อที่ ๑๘ ฝูหลินสวรรคต และกำหนดให้โอรสวัย ๘ ขวบสืบทอดบัลลังก์ ปีถัดมา เปลี่ยนนามปีการปกครองเป็น ปี “คังซี”(พ.ศ. ๒๒๐๕)ที่ ๑
เดือน ๒ ปีคังซีที่ ๒ พระชนนีสิ้นพระชนม์ มีพระอัยยิกา(เซี่ยวจวงเหวินหวงโฮ้ว)เป็นผู้อภิบาลแทน พระองค์โปรดการเรียนเป็นชีวิตจิตใจ ไม่เคยเบื่อหน่าย พลานามัยดี ถนัดการขี่ม้าและยิงธนู เมื่ออายุได้ ๑๔(ขอเว้นๆราชาศัพท์ล่ะค่ะ) เริ่มบริหารราชการเอง ครองบัลลังก์เป็นเวลาทั้งหมด ๖๑ ปี กระตือรือร้นในการปกครองบ้านเมืองมาโดยตลอด เป็นฮ่องเต้ที่มีผลงานยอดเยี่ยมองค์หนึ่งในราชวงศ์ชิง และเป็นฮ่องเต้ที่ทรงพระปรีชาสามารถองค์หนึ่งของจีน
เมื่อยามหลินฝูใกล้สวรรคต ได้สั่งเสียให้สี่ขุนนางใหญ่ สั่วหนี(Suo ni) , ซูเค่อซ่าฮา(Su ke sa ha) , เยี่ยปี้หลง(Ye bi long) และอ๋าวป้าย(Ao bai)เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ช่วยฮ่องเต้น้อยบริหารบ้านเมือง ในระหว่างที่ทั้งสี่ช่วยกันบริหารบ้านเมือง ก็ได้ดำเนินสงครามรวมแผ่นดินต่อไปพร้อมกัน โดยมากจะเป้นการปราบปรามพวกชาวฮั่นที่หวังล้มล้างชิงกอบกู้หมิง เมื่อจัดการบรรดากลุ่มชาวฮั่นภาคพื้นดินจนราบคาบแล้ว การปกครอง การทหาร และระบบเศรษฐกิจของราชวงศ์ชิงก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ใน ๔ ขุนนางผู้สำเร็จราชการ เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็น “อ๋าวป้าย” กุมอำนาจสิทธิ์ขาด ข่มเหงฮ่องเต้น้อย ก่อสมัครพรรคพวกสร้างอิทธิพลขึ้นมา
ปีคังซีที่ ๖ (อายุประมาณ ๑๒ -๑๓ ขวบ) เสวียนเยี่ย “น้อยการขอปกครองบ้านเมืองเอง”
ปีคังซีที่ ๘ เดือน ๕ (อายุ ๑๔) ทำการกำจัดอ๋าวป้ายและบรรดาพวกพ้อง เริ่มกุมอำนาจการปกครองอย่างแท้จริงไว้ในมือ
หลังจากที่เสวียนเยี่ยได้อำนาจปกครองคืนมาแล้ว ก็ทำการปราบปราม “สามชายแดน” รวมไต้หวันเป็นหนึ่งเดียว และบดขยี้ชาวมองโกลเอ้อหลู่เท่อ เผ่าจุ่นก๋าเอ่อร(เสียงภาษาจจีนเชื่อถือไม่ค่อยได้ค่ะ)ที่วางแผนยุแหย่ให้แตกแยกเรียบร้อยแล้ว ก็ถือได้ว่าประเทศได้รวมเป็นหนึ่งเดียวแล้ว
“สามชายแดน” ล้วนเป็นขุนพลแห่งราชวงศ์หมิงที่มาสวามิภักดิ์ราชวงศ์ชิงอันได้แก่
อู๋ซานกุ้ย(Wu san gui) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นผิงซีหวาง(เจ้าชายพิชิตประจิม) ประจำการอยู่ที่อวิ๋นหนาน
ซ่างเขอสี่(Shang ke xi) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นผิงหนานหวาง(แม่ทัพสยบทักษิณ) ประจำการอยู่ที่กว่างตง(กวางตุ้ง)
เกิ่งจ้งหมิง(Geng zhong ming) หลังจากที่บุตรชายตายแล้ว หลานชายของเขาเก่งจิงจง(Geng jing zhong)ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์จิ้งหนานหวาง(เจ้าชายผู้ทำให้ทำให้ภาคใต้สงบสันติ)แทนที่ ประจำการอยู่ที่ฝูเจี้ยน
แต่ละคนต่างกุมกำลังทหารกองทัพใหญ่ ถือดีในอิทธิพล เป็นภัยคุกคามต่อราชสำนักชิงอย่างยิ่ง
ปีคังซีที่ ๑๒ ภายใต้การสนับสนุนของฮู่ปู้ซ่างซู(เสนาบดีฝ่ายพลเรือน) และปิงปู้ซ่างซู(เสนาบดีฝ่ายกลาโหม) เสวียนเยี่ยได้ออกคำสั่งถอนกองกำลังรักษาชายแดน บัญชาให้กองกำลัง “สามชายแดน” ต่างนำทัพกลับเหลียวตง  เดือน ๑๑ อู๋ซานกุ้ยนำทัพก่อกบฏ ทัพหลักออกจากกุ้ยโจว ผ่านหูหนาน แยกจู่โจมเสฉวนและเจียงซี ไม่นาน ซ่างจือซิ่น(Shang zhi xin : บุตรชายซ่างเขอสี่), เกิ่งจิงจง และแม่ทัพประจำก่วงซีซุนเหยียนหลิงก็นำทัพก่อกบฏติดต่อตามกัน
ในช่วงเวลา ๘ ปีแห่งการปราบกบฏ เสวียนเยี่ยได้แสดงออกถึงความเปรื่องทางการปกครองและการทหาร พระองค์ใช้วิธีการแยกการปกครองและการกดดันด้านการทหารบีบให้ซ่างจือซิ่น และเกิ่งจิงจงสองชายแดนปลีกตัวออกจากอู๋ซานกุ้ย เกลี้ยกล่อมให้หวางฝู่เฉินที่ก่อกบฏตามน้ำที่ส่านซียอมสวามิภักดิ์ ขณะเดียวกันก็ปราบกบฏมองโกลในและกบฏหยางฉี่หลงในปักกิ่งลงอย่างรวดเร็ว นับจากนั้นมา ทหารของราชสำนักชิงก็สามารถรวมพลเป็นปึกแผ่นและตั้งประจันกับอู๋กองทัพหลักของซานกุ้ยที่หูหนานได้ ปีคังซีที่ ๒๐ กบฎ “สามชายแดน” ถูกปราบลงในที่สุด
จากนั้น เสวียนเยี่ยก็ดำเนินการรวมแผ่นดินไต้หวัน ยึดไต้หวันจากพวกตระกูลเจิ้งมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง

ประนีประนอมความขัดแย้งระหว่างชนชั้น พัฒนาผลผลิต
เนื่องจากต้นราชวงศืชิงเกิดสงครามไม่ว่างเว้น เศรษฐกิจจึงตกต่ำ เมื่อปีซุ่นจื้อมีการสนับสนุนให้หักร้างถางพง แต่ผลรับเบาบางยิ่ง  เสวียนเยี่ยสนใจการฟื้นฟูและพัฒนาผลผลิตมาก ปล่อยให้ชาวนาได้ทำนาไปตามสบาย และออกกฎหมายเรียกร้องสนับสนุนให้ชาวบ้านที่ต้องเร่ร่อนหรือหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขากลับบ้านเดิมมาตั้งถิ่นฐานมาหว่านไถนาเช่นเดิม หนึ่งในกฎหมายนั้นเช่น หากขุนนางในส่วนภูมิภาดสามารถเรียกร้องชักชวนให้ชาวบ้านกลับถิ่นฐานมาทำนาได้ จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หากเรียกร้องชักชวนมาไม่ได้ จะถูกปลดออกจากตำแหน่ง , มอบที่ดินให้แก่ชาวนาเป็นสมบัติส่วนตัวที่สามารถสืบทอดแก่ลูกหลานได้ ให้ชาวนาได้มีที่นาเป็นของตนเอง , ลดภาษี เป็นต้น หลังจากที่ได้พยายามดำเนินการมาหลายสิบปี พื้นที่ทำนาได้เพิ่มจากเมื่อปีซุ่นจื้อที่มี ๕๕๐ ล้านหมู่(ไร่จีน) มาเป็นเกินกว่า ๘๐๐ ไร่ในปลายยุคคังซี ผลผลิตได้รับการพัฒนา รอยร้าวระหว่างชนชั้นได้รับการสมาน  จำนวนปราชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปรากฏเป็นคำกล่าว “คังซีเซิ่งซื่อ”(ยุคคังซีอันรุ่งเรือง)
แม่น้ำฮวงโหมักเกิดอุทกภัยเสมอ เสวียนเยี่ยสนพระทัยในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของแม่น้ำฮวงโหมาก ทรงกำหนดให้ “สามชายแดน” , ภาระเรื่องแม่น้ำฮวงโห และการสร้างเส้นทางขนส่งทางน้ำ เป็นสามภารกิจสำคัญ
ปีคังซีที่ ๒๓ - ๔๖ เสวียนเยี่ยเสด็จลงใต้ไปดูงานก่อสร้างเขื่อนของแม่น้ำฮวงโหถึง ๖ ครั้ง และถกกับขุนนางผู้รับผิดชอบถึงวิธีการในการจัดการกับน้ำท่วม ความใส่ใจที่เสวียนเยี่มีต่อภารกิจด้านแก้ปัญหาแม่น้ำฮวงโหนั้น ถึงขั้น “นับแต่อดีตมา หนังสือที่บันทึกเกี่ยวกับการแก้ปัญหาอุทกภัยจากแม่น้ำฮวงโห ไม่มีเล่มใดที่พระองค์ไม่เคยอ่าน” บางครั้งยังทรงทำการทดสอบด้วยพระองค์เองด้วยซ้ำ และจากความพยายามรวมทั้งการคัดเลือกผู้แก้ปัญหาอย่างพิถีพิถัน ทำให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง

เนื่องจากต้นราชวงศ์ชิง ขุนนางชาวฮั่นและชาวแมนจูที่มียศเท่ากัน จะได้รับการปฏิบัติต่างกันราวฟ้ากับดิน อันเป็นการแสดงการดูแคลนขุนนางชาวฮั่นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะชักชวนให้บรรดาชาวฮั่นผู้ทรงความรู้ และบรรดาขุนนางชาวฮั่นยอมทุ่มเทความสามารถเพื่อราชวงศ์ชิงอย่างแท้จริง เสวียนเยี่ยจึงได้พยายามใช้วิธีการต่างๆ เช่น ให้ความเสมอภาคระหว่างขุนนางชาวฮั่นและชาวแมนจู สนับสนุนการศึกษาอย่างชาวฮั่น สร้างโรงเรียนขุนนางและยกย่อง “จูซี” ขุนนางชื่อดังผู้เปรื่องปราดในสมัยราชวงศ์ซ่ง(จูซีเป็นผู้ แยกบท “ต้าเสว๋” และ “จงยง” จาก “คัมภีร์หลี่จี้” มารวมกันหนังสือ “ขงจื่อ” และ “เมิ่งจื่อ” เป็น “ซื่อซู” หรือ “สี่ตำรา”) เป็นต้น จากการนี้ ทำให้บรรดาปัญญาชนทั้งแห่แห่กันมาสอบขุนนางเพิ่มขึ้นมาก และบรรยายลูกหลานของผู้ที่ยังจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิง ก็ได้ทะยอยกันออกมาร่วมด้วย อย่างน้อยก็ช่วยเรียบเรียงหนังสือวิชาการแขนงต่างๆ
การห้ามเอกชนเรียบเรียงหรือเขียนหนังสือตามใจชอบก็เริ่มในสมัยของเสวียนเยี่ยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกประวัติศาสตร์ที่เขียนโจมตีราชวงศ์ชิง หรือยุยงให้แตกแยก

พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย(ใช่หรือเปล่าคะ?)ได้ส่งกองทัพมารุกล้ำแม่น้ำเฮยหลงเจียงอยู่หลายสิบปี ทั้งยังสร้างป้อนรักษาการอีกด้วย เมื่อเสวียนเยี่ยจัดการปราบปราม “สามชายแดน” และยึดไต้หวันกลับคืนมาเรียบร้อยแล้ว ก็ตัดสินใจลงมือไล่พวกรัสเซียไป แล้วแย่งดินแดนคืน จากปีคังซีที่ ๒๔ - ๒๖ เสวียนเยี่ยได้ส่งกองทัพไปยึดเฮยหลงเจียงได้สำเร็จ ๒ ครั้ง(ครั้งแรกพอยึดได้แล้วกลับไปไม่นาน พวกรัสเซียก็ฉวยโอกาสมารุกล้ำอีก รอบสองเลยเล่นให้หนักไปเลย) เมื่อยึดกลับได้เป็นครั้งที่ ๒ ก็มีการลงนามในสัญญาแจ้งเขตแดนกันอย่างชัดเจน แล้วเสวียนเยี่ก็ตั้งกองกำลังทหาารและเมืองเอาไว้อย่างมั่นคงที่เฮยหลงเจียง รวมทั้งสถานีสื่อสารด้วย อันเป็นการป้องกันชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เสวียนเยี่ยใฝ่รู้รักเรียน อ่านมาหมดทั้งหนังสือประวัติศาสตร์ , ปรัชญาลัทธิต่างๆ , กฎหมาย , คณิตศาสตร์ , พระไตรปิฏก และ คัมภีร์เต๋า พระองค์สนับสนุนวรรณคดี โปรดปราณนักวิชาการ เสวียนเยี่ยยังสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของทางตะวันตกอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวิชาแพทย์แผนใหม่ของชาวตะวันตกและวิชาคณิตศาสตร์
เสวียนเยี่ยมีโอรสทั้งสิ้น ๓๕ องค์ ที่รอดมาจนโตมี ๒๐ องค์ ปีคังซีที่ ๑๔ แต่งตั้งโอรสอิ้นเหริงเป็นรัชทายาท จนถึงปีคังซีที่ ๕๑ ก็ได้ทำการปลดและแต่งตั้งรัชทายาทหลายครั้ง จนถึงตอนใกล้สวรรคต ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นรัชทายาท ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการแย่งบังลังก์กันอยย่างดุเดือดในหมู่โอรส เสวียนเยี่ยทรมานใจกับเรื่องนี้จนเกิดอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จนถึงขั้นประหารขุนนางใหญ่ไปหลายรายเพราะเรื่องแต่งตั้งรัชทายาทนี้ ทำให้ชนชั้นปกครองเกิดความปั่นป่วน เสวียนเยี่ยไม่อาจจะปกครองบ้านเมืองได้อีกแล้วในตอนนี้ และทำให้ปลายรัชสมัยของเสวียนเยี่ย ระบบราชการเสื่อมโทรม เกิดการฉ้อราษฏร์บังหลวงไปทั่ว ซึ่งเป็นเรื่องผิดพลาดอันใหญ่หลวงเพียงเรื่องเดียวในชีวิตของเสวียนเยี่ย

ในช่วงที่เสวียนเยี่ยปกครอง ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวาง รวมกันเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้รับการพัฒนา การแผ่ขยายอำนาจมายังประเทศจีนของพวกล่าอาณานิคมชาวตะวันตกจึงถูกสกัดเอาไว้ได้อย่างเด็ดขาด สร้างเสถียรภาพแก่ฐานของราชวงศ์ชิง
บันทึกการเข้า
อัญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 13:10

ขอบคุณค่ะที่นำขอมูลมาให้อ่าน   โดยส่วนตัวก็ชอบคังซีจากการอ่านอุ้ยเสี่ยวป้อ  ได้รู้ประวัติก็ได้ความรู้ไปด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 14:12

ขอบคุณมากๆค่ะคุณ Linmou อยากรู้ชีวิตของคังซี

 เพราะชอบตั้งแต่ดูหนังกำลังภายในแล้วค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW325x002.gif'>
บันทึกการเข้า
Linmou
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 14:22

แก้ไขและเพิ่มเติม ส่วนที่คิดว่า คนไทยส่วนใหญ่สนใจค่ะ ช่วงแย่งอำนาจคืนของฮ่องเต้น้อย

สาเหตุที่ฝูหลินแต่งตั้งให้สี่ขุนนางใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เพราะเกรงโอรสเสวียนเยี่ยจะถูกบรรดาอาและลุงแย่งบัลลังก์ เพราะตอนนั้น มีการแย่งบัลลังก์กันอย่างดุเดือดมาก และสี่ขุนนางใหญ่นี้ก็อยู่ฝ่ายฝูหลินและพระอัยยิกาของเสวียนเยี่ยกันทุกคนด้วย การพวกเขากุมอำนาจ นอกจากจะสามารถปกป้องบัลลังก์ให้แก่ฮ่องเต้น้อยได้แล้ว ยังสามารถทอนอำนาจของพวกอ๋อง(เจ้าชาย)ทั้งหลายได้ด้วย
สี่ขุนนางใหญ่ล้วนเป็นขุนนางผู้มีความชอบใหญ่หลวงมาหลายรัชกาลทั้งสิ้น หัวหน้าของสี่ขุนนางใหญ่คือสั่วหนี ตามเหตุผลควรเป็นผู้นำในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เพราะสั่วหนีอายุมากแล้ว และไร้ความทะเยอทะยาน จึงไม่ค่อยยุ่งกันเรื่องบริหารบ้านเมืองมากนัก ส่วนเยี่ยปี้หลงที่อยู่อันดับสามนั้น แม้จะไม่พอใจกับการเริ่มยึดอำนาจของอ๋าวป้าย แต่เพราะอำนาจด้อยกว่า(อ๋าวป้ายกุมกำลังทหารมากสุด) เลยต้องยอมเป็นเบี้ยล่างไป(เขากับอ๋าวป้ายเกี่ยวดองกันโดยเป็นบ้านเขยบ้านสะใภ้กัน) ต่อมา สั่วหนีถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ซูเค่อซ่าฮาที่ไม่ยอมตกเป็นเบี้ยล่างก็เริ่มโดนบีบ
ในปีคังซีที่ ๖ เสวียนเยี่อายุ ๑๔ ตามกฏแล้วต้องทำพิธีคืนอำนาจการปกครองแก่ฮ่องเต้น้อย แต่อ๋าวป้ายไม่ยอม จึงเกิดการขัดแย้งระหว่างทั้งอ๋าวป้ายกับบรรดาขุนนางที่จงรักคนอื่นๆ และระหว่างอ๋าวป้ายกับเสวียนเยี่ย อ๋าวป้ายได้พยายามยึดอำนาจโดยวางบุคคลฝ่ายตนเอาไว้ในวัง เข้าออกในเขตวังตามใจชอบ และตรวจคนเข้าออกวังทุกคน ทุกคนต่างก็ไม่มีใครกล้าหือ ซูเเค่อซ่าฮาไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ และยืนกรานให้คืนอำนาจแก่ฮ่องเต้ จึงถูกอ๋าวป้ายเพ็ดทูลและยุให้ประหารล้างโคตรกับริบทรัพย์เข้าหลวง เสวียนเยี่ยเองเห็นว่าลงโทษหนักไป อ๋าวป้ายก็ไม่พอใจ ถึงขั้นข่มขูฮ่องเต้ เสวียนเยี่ยจึงต้องลงโทษปลดตำแหน่งซูเค่อซ่าฮาอย่างไม่มีทางเลือก เสวียนเยี่ยเองก็พยายามทอนอำนาจของอ๋าวเยี่ยโดย ตั้งแต่ผ่านพิธีมอบอำนาจปกครองคืนสู่ฮ่องเต้ ก็จะไปฟังการประชุมขุนนางและฟังข้อราชการพร้อมผู้สำเร็จราชการทุกครั้ง พร้อมกับแสดงความคิดเห็นของพระองค์เองออกมา จากนั้น หากมีข้อสงสัยประการใด จะทรงเรียกตัวขุนนาง(แน่นอน เข้าข้างพระองค์)ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆโดยตรงเข้าเฝ้า เพื่อรับสั่งถามเป็นการส่วนพระองค์ ทำให้อำนาจของอ๋าวป้ายถูกลดทอนลงไปบ้าง พร้อมกันนั้น เสวียนเยี่ยก็เริ่มคิดที่จะกำจัดอ๋าวป้ายอย่างจริงจัง
วันหนึ่ง เสวียนเยี่ยเอาเรื่องเล่นหมากรุกเป็นข้ออ้างบังหน้า เรียกตัวมหาดเล็กคนสนิท สั่วเอ๋อถู บุตรชายคนรองของสั่วหนีเข้าเฝ้า แล้วปรึกษากันถึงแผนจัดการจับอ๋าวป้าย
ปีคังซีที่ ๘ (ควรจะอายุ ๑๖) เสวียนเยี่ยได้เรียกตัวบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เล็กแต่น้อยมารวมกัน แล้วถามว่า : พวกเจ้าล้วนเป็นเพื่อนสนิทที่เล่นกันมาแต่เด็กของข้าทั้งสิ้น พวกเจ้ากลัวข้า หรือกลัวอ๋าวป้าย? พวกเด็กหนุ่มตอบว่า “กลัวฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียว!” จากนั้นเสวียนเยี่ยก็ประกาศความผิดของอ๋าวเยี่ยออกมา แล้วบอกแผนจับอ๋าวเยี่ยแก่ทุกคน จากนั้นมีพระราชโองการเรียกตัวอ๋าวป้ายเข้าเฝ้า อ๋าวป้ายก็มาอย่างไม่ระแวงอะไรเลย(ก็เด็กทั้งนั้น) พอเข้ามาในห้อง ก็โดนกลุ่มเด็กหนุ่มใช้วิธีปิดประตูตีแมวรุมจับตัวได้ทันที!
คิดว่าพวกเด็กๆเองก็ไม่ใช่จะจับได้ง่ายๆ เพราะอ๋าวป้ายคือแม่ทัพผู้มีความชอบใหญ่หลวงจากการสงคราม ซึ่งก็หมายความว่ารบเก่ง แต่ในที่สุดก็โดนจับได้จนได้
จับโจรจับหัวหน้า หัวหน้าถูกจับ ลูกน้องก็สิ้นฤทธิ์ โดนจับตามกันเป็นแถว เสวียนเยี่ยสั่งประหารอ๋าวป้ายและบุตรชาย พร้อมริบทรัพย์เข้าหลวง แต่อ๋าวป้ายขอพบพระพักตร์เป็นครั้งสุดท้าย แล้วเปิดรอยแผลเป็นที่ได้มาครั้งเสี่ยงชีวิตคุ้มครองชิงไท่จง หวงไท่จี๋ เสด็จปู่ของเสวียนเยี่ยให้ดู เสวียนเยี่ยจึงใจอ่อน ลงโทษเพียงปลดตำแหน่ง ริบทรัพย์ และขังคุกตลอดชีวิตพร้อมบุตรชาย(ไม่ประหารแล้ว) ไม่นาน อ๋าวป้ายก็ตายในคุก เสวียนเยี่ยก็สั่งปล่อยบุตรชายเขาเป็นอิสระ เยี่ยปี้หลงเองก็ถูกปลดตำแหน่ง ส่วนซูเค่อซ่าฮาได้รับตำแหน่งคืนดังเดิม
บันทึกการเข้า
Linmou
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 14:31

อึ๋ย! เพิ่งเห็นว่าพิมพ์ผิดเพียบเลย ด้วยความรีบร้อน ค.ควาย เป็น ด. เด็ก , ไม้ไต่คู้ เป็นไม้โท ,ม.ม้า เป็น น.หนู แถม "อ๋าวป้าย" ยังกลายเป็น "อ๋าวเยี่ย" อีก!! ลูกผสมกับเสวียนเยี่ยไปเลย

ขออภัยอย่างยิ่งค่ะ -_-'
บันทึกการเข้า
หลินโหม่ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 15:00

ไปตรวจทานมาแล้วค่ะ คราวนี้ ถึงมีที่พิมพ์ผิด ก็คงไม่มากจนน่าเกลียดเท่าเดิมแล้ว

ชิงเซิ่งจู่(Qing sheng zu) เสวียนเยี่ย(Xuan ye)
ชิงเซิ่งจู่ เสวียนเยี่ย(พ.ศ. ๒๑๙๗ - ๒๒๖๕)หรือคังซีฮ่องเต้(Kang xi) แซ่อ้ายซินเจว๋ลั๋ว(Ai xin jue luo) นามเสวียนเยี่ย เป็นโอรสองค์ที่ ๓ ในโอรสทั้ง ๘ องค์ของชิงซื่อจู่(Qing shi zu) ซุ่นจื้อตี้(Shun zhi di) หลินฝู(Lin fu : ชิงซื่อจู่เป็นพระนามที่ได้รับการตั้งตามความประพฤติครั้งยังทรงพระชนม์ ; ซุ่นจื้อ เป็นชื่อปีการปกครอง ; หลินฝู เป็นพระนาม) พระชนนีแซ่ถงเจีย(Tong jia : ไม่ใช่ฮองเฮา) เป็นธิดาของแม่ทัพชาวฮั่น ถงถูล่าย(Tong tu lai) เสวียนเยี่ยประสูติเมื่อปีซุ่นจื้อที่ ๑๑ (พ.ศ. ๑๖๕๔) ณ พระตำหนักจิ่งเหริน(Jing ren gong)
ปีซุ่นจื้อที่ ๑๘ ฝูหลินสวรรคต และกำหนดให้โอรสวัย ๘ ขวบสืบทอดบัลลังก์
ปีถัดมา เปลี่ยนนามปีการปกครองเป็น ปี “คังซี” ที่ ๑ (พ.ศ. ๒๒๐๕)
ปีคังซีที่ ๒ เดือน ๒ พระชนนีสิ้นพระชนม์ มีพระอัยยิกา(เซี่ยวจวงเหวินหวงโฮ้ว)เป็นผู้อภิบาลแทน พระองค์โปรดการเรียนเป็นชีวิตจิตใจ ไม่เคยเบื่อหน่าย พลานามัยดี ถนัดการขี่ม้าและยิงธนู เมื่ออายุได้ ๑๔(ขอเว้นๆราชาศัพท์ล่ะค่ะ) เริ่มบริหารราชการเอง ครองบัลลังก์เป็นเวลาทั้งหมด ๖๑ ปี กระตือรือร้นในการปกครองบ้านเมืองมาโดยตลอด เป็นฮ่องเต้ที่มีผลงานยอดเยี่ยมองค์หนึ่งในราชวงศ์ชิง และเป็นฮ่องเต้ที่ทรงพระปรีชาสามารถองค์หนึ่งของจีน
เมื่อยามหลินฝูใกล้สวรรคต ได้สั่งเสียให้สี่ขุนนางใหญ่ สั่วหนี(Suo ni) , ซูเค่อซ่าฮา(Su ke sa ha) , เยี่ยปี้หลง(Ye bi long) และอ๋าวป้าย(Ao bai)เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ช่วยฮ่องเต้น้อยบริหารบ้านเมือง ในระหว่างที่ทั้งสี่ช่วยกันบริหารบ้านเมือง ก็ได้ดำเนินสงครามรวมแผ่นดินต่อไปพร้อมกัน โดยมากจะเป็นการปราบปรามพวกชาวฮั่นที่หวังล้มล้างชิงกอบกู้หมิง เมื่อจัดการบรรดากลุ่มชาวฮั่นภาคพื้นดินจนราบคาบแล้ว การปกครอง การทหาร และระบบเศรษฐกิจของราชวงศ์ชิงก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ใน ๔ ขุนนางผู้สำเร็จราชการ เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็น “อ๋าวป้าย” กุมอำนาจสิทธิ์ขาด ข่มเหงฮ่องเต้น้อย ก่อสมัครพรรคพวกสร้างอิทธิพลขึ้นมา

สาเหตุที่ฝูหลินแต่งตั้งให้สี่ขุนนางใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เพราะเกรงโอรสเสวียนเยี่ยจะถูกบรรดาอาและลุงแย่งบัลลังก์ เพราะตอนนั้น มีการแย่งบัลลังก์กันอย่างดุเดือดมาก และสี่ขุนนางใหญ่นี้ก็อยู่ฝ่ายฝูหลินและพระอัยยิกาของเสวียนเยี่ยกันทุกคนด้วย การพวกเขากุมอำนาจ นอกจากจะสามารถปกป้องบัลลังก์ให้แก่ฮ่องเต้น้อยได้แล้ว ยังสามารถทอนอำนาจของพวกอ๋อง(เจ้าชาย)ทั้งหลายได้ด้วย
สี่ขุนนางใหญ่ล้วนเป็นขุนนางผู้มีความชอบใหญ่หลวงมาหลายรัชกาลทั้งสิ้น หัวหน้าของสี่ขุนนางใหญ่คือสั่วหนี ตามเหตุผลควรเป็นผู้นำในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เพราะสั่วหนีอายุมากแล้ว และไร้ความทะเยอทะยาน จึงไม่ค่อยยุ่งกันเรื่องบริหารบ้านเมืองมากนัก ส่วนเยี่ยปี้หลงที่อยู่อันดับสามนั้น แม้จะไม่พอใจกับการเริ่มยึดอำนาจของอ๋าวป้าย แต่เพราะอำนาจด้อยกว่า(อ๋าวป้ายกุมกำลังทหารมากสุด) เลยต้องยอมเป็นเบี้ยล่างไป(เขากับอ๋าวป้ายเกี่ยวดองกันโดยเป็นบ้านเขยบ้านสะใภ้กัน) ต่อมา สั่วหนีถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ซูเค่อซ่าฮาที่ไม่ยอมตกเป็นเบี้ยล่างก็เริ่มโดนบีบ
ในปีคังซีที่ ๖ เสวียนเยี่ยอายุ ๑๔ ตามกฏแล้วต้องทำพิธีคืนอำนาจการปกครองแก่ฮ่องเต้น้อย แต่อ๋าวป้ายไม่ยอมคืน จึงเกิดการขัดแย้งระหว่างทั้งอ๋าวป้ายกับบรรดาขุนนางที่จงรักภักดีคนอื่นๆ และระหว่างอ๋าวป้ายกับเสวียนเยี่ย อ๋าวป้ายได้พยายามยึดอำนาจโดยวางบุคคลฝ่ายตนเอาไว้ในวัง เข้าออกในเขตวังตามใจชอบ และตรวจคนเข้าออกวังทุกคน ทุกคนต่างก็ไม่มีใครกล้าหือ ซูเเค่อซ่าฮาไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ และยืนกรานให้คืนอำนาจแก่ฮ่องเต้ จึงถูกอ๋าวป้ายเพ็ดทูลและยุให้ประหารล้างโคตรกับริบทรัพย์เข้าหลวง เสวียนเยี่ยเองเห็นว่าลงโทษหนักไป อ๋าวป้ายก็ไม่พอใจ ถึงขั้นข่มขู่ฮ่องเต้ เสวียนเยี่ยจึงต้องลงโทษปลดตำแหน่งซูเค่อซ่าฮาอย่างไม่มีทางเลือก เสวียนเยี่ยเองก็พยายามทอนอำนาจของอ๋าวป้ายโดย ตั้งแต่ผ่านพิธีมอบอำนาจปกครองคืนสู่ฮ่องเต้ ก็จะไปฟังการประชุมขุนนางและฟังข้อราชการพร้อมผู้สำเร็จราชการทุกครั้ง พร้อมกับแสดงความคิดเห็นของพระองค์เองออกมา จากนั้น หากมีข้อสงสัยประการใด จะทรงเรียกตัวขุนนาง(แน่นอน เข้าข้างพระองค์)ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆโดยตรงเข้าเฝ้า เพื่อรับสั่งถามเป็นการส่วนพระองค์ ทำให้อำนาจของอ๋าวป้ายถูกลดทอนลงไปบ้าง พร้อมกันนั้น เสวียนเยี่ยก็เริ่มคิดที่จะกำจัดอ๋าวป้ายอย่างจริงจัง
วันหนึ่ง เสวียนเยี่ยเอาเรื่องเล่นหมากรุกเป็นข้ออ้างบังหน้า เรียกตัวมหาดเล็กคนสนิท สั่วเอ๋อถู บุตรชายคนรองของสั่วหนีเข้าเฝ้า แล้วปรึกษากันถึงแผนจัดการจับอ๋าวป้าย
ปีคังซีที่ ๘ (ควรจะอายุ ๑๖) เสวียนเยี่ยได้เรียกตัวบรรดาเด็กหนุ่มที่เป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เล็กแต่น้อยมารวมกัน แล้วถามว่า : พวกเจ้าล้วนเป็นเพื่อนสนิทที่เล่นกันมาแต่เด็กของข้าทั้งสิ้น พวกเจ้ากลัวข้า หรือกลัวอ๋าวป้าย? พวกเด็กหนุ่มตอบว่า “กลัวฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียว!” จากนั้นเสวียนเยี่ยก็ประกาศความผิดของอ๋าวป้ายออกมา แล้วบอกแผนจับอ๋าวป้ายแก่ทุกคน จากนั้นมีพระราชโองการเรียกตัวอ๋าวป้ายเข้าเฝ้า อ๋าวป้ายก็มาอย่างไม่ระแวงอะไรเลย(ก็เด็กทั้งนั้น) พอเข้ามาในห้อง ก็โดนกลุ่มเด็กหนุ่มใช้วิธีปิดประตูตีแมวรุมจับตัวได้ทันที!
คิดว่าพวกเด็กๆเองก็ไม่ใช่จะจับได้ง่ายๆ เพราะอ๋าวป้ายคือแม่ทัพผู้มีความชอบใหญ่หลวงจากการสงคราม ซึ่งก็หมายความว่ารบเก่ง แต่ในที่สุดก็โดนจับได้จนได้
จับโจรจับหัวหน้า หัวหน้าถูกจับ ลูกน้องก็สิ้นฤทธิ์ โดนจับตามกันเป็นแถว เสวียนเยี่ยสั่งประหารอ๋าวป้ายและบุตรชาย พร้อมริบทรัพย์เข้าหลวง แต่อ๋าวป้ายขอพบพระพักตร์เป็นครั้งสุดท้าย แล้วเปิดรอยแผลเป็นที่ได้มาครั้งเสี่ยงชีวิตคุ้มครองชิงไท่จง หวงไท่จี๋ เสด็จปู่ของเสวียนเยี่ยให้ดู เสวียนเยี่ยจึงใจอ่อน ลงโทษเพียงปลดตำแหน่ง ริบทรัพย์ และขังคุกตลอดชีวิตพร้อมบุตรชาย(ไม่ประหารแล้ว) ไม่นาน อ๋าวป้ายก็ตายในคุก เสวียนเยี่ยจึงสั่งปล่อยบุตรชายเขาเป็นอิสระ เยี่ยปี้หลงเองก็ถูกปลดตำแหน่ง ส่วนซูเค่อซ่าฮาได้รับตำแหน่งคืนดังเดิม

หลังจากที่เสวียนเยี่ยได้อำนาจปกครองคืนมาแล้ว ก็ทำการปราบปราม “สามชายแดน” รวมไต้หวันเป็นหนึ่งเดียว และบดขยี้ชาวมองโกลเอ้อหลู่เท่อ เผ่าจุ่นก๋าเอ่อร(เสียงภาษาจจีนเชื่อถือไม่ค่อยได้ค่ะ)ที่วางแผนยุแหย่ให้แตกแยกเรียบร้อยแล้ว ก็ถือได้ว่าประเทศได้กลายเป็นหนึ่งเดียว
“สามชายแดน” ล้วนเป็นขุนพลแห่งราชวงศ์หมิงที่มาสวามิภักดิ์ราชวงศ์ชิงอันได้แก่
อู๋ซานกุ้ย(Wu san gui) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นผิงซีหวาง(เจ้าชายพิชิตประจิม) ประจำการอยู่ที่อวิ๋นหนาน
ซ่างเขอสี่(Shang ke xi) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นผิงหนานหวาง(เจ้าชายสยบทักษิณ) ประจำการอยู่ที่กว่างตง(กวางตุ้ง)
เกิ่งจ้งหมิง(Geng zhong ming) หลังจากที่บุตรชายตายแล้ว หลานชายของเขาเกิ่งจิงจง(Geng jing zhong)ได้สืบทอดบรรดาศักดิ์จิ้งหนานหวาง(เจ้าชายผู้ทำให้ทำให้ภาคใต้สงบสันติ)แทนที่ ประจำการอยู่ที่ฝูเจี้ยน
แต่ละคนต่างกุมกำลังทหารกองทัพใหญ่ ถือดีในอิทธิพล เป็นภัยคุกคามต่อราชสำนักชิงอย่างยิ่ง
ปีคังซีที่ ๑๒ ภายใต้การสนับสนุนของฮู่ปู้ซ่างซู(เสนาบดีฝ่ายพลเรือน) และปิงปู้ซ่างซู(เสนาบดีฝ่ายกลาโหม) เสวียนเยี่ยได้ออกคำสั่งถอนกองกำลังรักษาชายแดน บัญชาให้กองกำลัง “สามชายแดน” ต่างนำทัพกลับเหลียวตง  เดือน ๑๑ อู๋ซานกุ้ยนำทัพก่อกบฏ ทัพหลักออกจากกุ้ยโจว ผ่านหูหนาน แยกจู่โจมเสฉวนและเจียงซี ไม่นาน ซ่างจือซิ่น(Shang zhi xin : บุตรชายซ่างเขอสี่), เกิ่งจิงจง และแม่ทัพประจำก่วงซี ซุนเหยียนหลิงก็นำทัพก่อกบฏติดต่อตามกัน
ในช่วงเวลา ๘ ปีแห่งการปราบกบฏ เสวียนเยี่ยได้แสดงออกถึงความเปรื่องปราดทางการปกครองและการทหาร พระองค์ใช้วิธีการแยกการปกครองและการกดดันด้านการทหารบีบให้ซ่างจือซิ่น และเกิ่งจิงจงสองชายแดนปลีกตัวออกจากอู๋ซานกุ้ย เกลี้ยกล่อมให้หวางฝู่เฉินที่ก่อกบฏตามน้ำที่ส่านซียอมสวามิภักดิ์ ขณะเดียวกันก็ปราบกบฏมองโกลในและกบฏหยางฉี่หลงในปักกิ่งลงอย่างรวดเร็ว นับจากนั้นมา ทหารของราชสำนักชิงก็สามารถรวมพลเป็นปึกแผ่นและตั้งประจันกับกองทัพหลักของอู๋ซานกุ้ยที่หูหนานได้
ปีคังซีที่ ๒๐ กบฎ “สามชายแดน” ถูกปราบลงในที่สุด
จากนั้น เสวียนเยี่ยก็ดำเนินการรวมแผ่นดินไต้หวัน ยึดไต้หวันจากพวกตระกูลเจิ้งมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง

ประนีประนอมความขัดแย้งระหว่างชนชั้น พัฒนาผลผลิต
เนื่องจากต้นราชวงศ์ชิงเกิดสงครามไม่ว่างเว้น เศรษฐกิจจึงตกต่ำ เมื่อปีซุ่นจื้อมีการสนับสนุนให้หักร้างถางพง แต่ผลรับเบาบางยิ่ง  เสวียนเยี่ยสนใจการฟื้นฟูและพัฒนาผลผลิตมาก ปล่อยให้ชาวนาได้ทำนาไปตามสบาย และออกกฎหมายเรียกร้องสนับสนุนให้ชาวบ้านที่ต้องเร่ร่อนหรือหลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขากลับบ้านเดิมมาตั้งถิ่นฐานหว่านไถนาเช่นเดิม หนึ่งในกฎหมายเหล่านั้นเช่น หากขุนนางในส่วนภูมิภาคสามารถเรียกร้องชักชวนให้ชาวบ้านกลับถิ่นฐานมาทำนาได้ จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หากเรียกร้องชักชวนมาไม่ได้ จะถูกปลดออกจากตำแหน่ง , มอบที่ดินให้แก่ชาวนาเป็นสมบัติส่วนตัวที่สามารถสืบทอดแก่ลูกหลานได้ ให้ชาวนาได้มีที่นาเป็นของตนเอง , ลดภาษี เป็นต้น หลังจากที่ได้พยายามดำเนินการมาหลายสิบปี พื้นที่ทำนาได้เพิ่มจากเมื่อปีซุ่นจื้อที่มี ๕๕๐ ล้านหมู่(ไร่จีน) มาเป็นเกินกว่า ๘๐๐ หมู่ในปลายยุคคังซี ผลผลิตได้รับการพัฒนา รอยร้าวระหว่างชนชั้นได้รับการสมาน  จำนวนปราชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปรากฏเป็นคำกล่าว “คังซีเซิ่งซื่อ”(ยุคคังซีอันรุ่งเรือง)
แม่น้ำฮวงโหมักเกิดอุทกภัยเสมอ เสวียนเยี่ยสนพระทัยในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของแม่น้ำฮวงโหมาก ทรงกำหนดให้ “สามชายแดน” , ภาระเรื่องแม่น้ำฮวงโห และการสร้างเส้นทางขนส่งทางน้ำ เป็นสามภารกิจสำคัญ
ปีคังซีที่ ๒๓ - ๔๖ เสวียนเยี่ยเสด็จลงใต้ไปดูงานก่อสร้างเขื่อนของแม่น้ำฮวงโหถึง ๖ ครั้ง และถกกับขุนนางผู้รับผิดชอบถึงวิธีการในการจัดการกับน้ำท่วม ความใส่ใจที่เสวียนเยี่ยมีต่อภารกิจด้านแก้ปัญหาแม่น้ำฮวงโหนั้น ถึงขั้น “นับแต่อดีตมา หนังสือที่บันทึกเกี่ยวกับการแก้ปัญหาอุทกภัยจากแม่น้ำฮวงโห ไม่มีเล่มใดที่พระองค์ไม่เคยอ่าน” บางครั้งยังทรงทำการทดสอบด้วยพระองค์เองด้วยซ้ำ และจากความพยายามรวมทั้งการคัดเลือกผู้แก้ปัญหาอย่างพิถีพิถัน ทำให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง

เนื่องจากต้นราชวงศ์ชิง ขุนนางชาวฮั่นและชาวแมนจูที่มียศเท่ากัน จะได้รับการปฏิบัติต่างกันราวฟ้ากับดิน อันเป็นการแสดงการดูแคลนขุนนางชาวฮั่นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะชักชวนให้บรรดาชาวฮั่นผู้ทรงความรู้ และบรรดาขุนนางชาวฮั่นยอมทุ่มเทความสามารถเพื่อราชวงศ์ชิงอย่างแท้จริง เสวียนเยี่ยจึงได้พยายามใช้วิธีการต่างๆ เช่น ให้ความเสมอภาคระหว่างขุนนางชาวฮั่นและชาวแมนจู สนับสนุนการศึกษาอย่างชาวฮั่น สร้างโรงเรียนขุนนางและยกย่อง “จูซี” ขุนนางชื่อดังผู้เปรื่องปราดในสมัยราชวงศ์ซ่ง(จูซีเป็นผู้ แยกบท “ต้าเสว๋” และ “จงยง” จาก “คัมภีร์หลี่จี้” มารวมกับหนังสือ “ขงจื่อ” และ “เมิ่งจื่อ” เป็น “ซื่อซู” หรือ “สี่ตำรา”) เป็นต้น จากการนี้ ทำให้บรรดาปัญญาชนทั้งหลายแห่กันมาสอบขุนนางเพิ่มขึ้นมาก และบรรดาลูกหลานของผู้ที่ยังจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิง ก็ได้ทะยอยกันออกมาร่วมด้วย อย่างน้อยก็ช่วยเรียบเรียงหนังสือวิชาการแขนงต่างๆ
การห้ามเอกชนเรียบเรียงหรือเขียนหนังสือตามใจชอบก็เริ่มในสมัยของเสวียนเยี่ยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกประวัติศาสตร์ที่เขียนโจมตีราชวงศ์ชิงยกย่องราชวงศ์หมิง หรือยุยงให้แตกแยก

พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย(ใช่หรือเปล่าคะ?)ได้ส่งกองทัพมารุกล้ำแม่น้ำเฮยหลงเจียงอยู่หลายสิบปี ทั้งยังสร้างป้อมรักษาการอีกด้วย เมื่อเสวียนเยี่ยจัดการปราบปราม “สามชายแดน” และยึดไต้หวันกลับคืนมาเรียบร้อยแล้ว ก็ตัดสินใจลงมือขับไล่พวกรัสเซียไป แล้วแย่งดินแดนคืน จากปีคังซีที่ ๒๔ - ๒๖ เสวียนเยี่ยได้ส่งกองทัพไปยึดเฮยหลงเจียงได้สำเร็จ ๒ ครั้ง(ครั้งแรกพอยึดได้แล้วกลับไปไม่นาน พวกรัสเซียก็ฉวยโอกาสมารุกล้ำอีก รอบสองเลยเล่นให้หนักไปเลย) เมื่อยึดกลับได้เป็นครั้งที่ ๒ ก็มีการลงนามในสัญญาแจ้งเขตแดนกันอย่างชัดเจน แล้วเสวียนเยี่ยก็ตั้งกองกำลังทหาารและเมืองเอาไว้อย่างมั่นคงที่เฮยหลงเจียง รวมทั้งสถานีสื่อสารด้วย อันเป็นการป้องกันชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เสวียนเยี่ยใฝ่รู้รักเรียน อ่านมาหมดทั้งหนังสือประวัติศาสตร์ , ปรัชญาลัทธิต่างๆ , กฎหมาย , คณิตศาสตร์ , พระไตรปิฎก และ คัมภีร์เต๋า พระองค์สนับสนุนวรรณคดี โปรดปรานนักวิชาการ เสวียนเยี่ยยังสนใจวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติของทางตะวันตกอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวิชาแพทย์แผนใหม่ของชาวตะวันตกและวิชาคณิตศาสตร์
เสวียนเยี่ยมีโอรสทั้งสิ้น ๓๕ องค์ ที่รอดมาจนโตมี ๒๐ องค์ ปีคังซีที่ ๑๔ แต่งตั้งโอรสอิ้นเหริงเป็นรัชทายาท จนถึงปีคังซีที่ ๕๑ ก็ได้ทำการปลดและแต่งตั้งรัชทายาทหลายครั้ง จนถึงตอนใกล้สวรรคต ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นรัชทายาท ดังนั้นจึงก่อให้เกิดการแย่งบังลังก์กันอยย่างดุเดือดในหมู่โอรส เสวียนเยี่ยทรมานใจกับเรื่องนี้จนเกิดอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จนถึงขั้นประหารขุนนางใหญ่ไปหลายรายเพราะเรื่องแต่งตั้งรัชทายาทนี้ ทำให้ชนชั้นปกครองเกิดความปั่นป่วน เสวียนเยี่ยไม่อาจจะปกครองบ้านเมืองได้อีกแล้วในตอนนี้ และทำให้ปลายรัชสมัยของเสวียนเยี่ย ระบบราชการเสื่อมโทรม เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงไปทั่ว ซึ่งเป็นเรื่องผิดพลาดอันใหญ่หลวงเพียงเรื่องเดียวในชีวิตของเสวียนเยี่ย

ในช่วงที่เสวียนเยี่ยปกครอง ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวาง รวมกันเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้รับการพัฒนา การแผ่ขยายอำนาจมายังประเทศจีนของพวกล่าอาณานิคมชาวตะวันตกจึงถูกสกัดเอาไว้ได้อย่างเด็ดขาด สร้างเสถียรภาพแก่ฐานของราชวงศ์ชิง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 15:00

ถ้าเว้นเรื่องกำลังภายในแล้ว  คิดว่าเรื่องราวของคังซีน่าจะมีคนไทยรุ่นก่อนแปลมาบ้าง แต่คงไม่ใช่เชิงประวัติศาสตร์อย่างที่คุณ Linmou เล่า  
 ดิฉันนึกถึงพงศาวดารจีนเรื่องเช็งเฉียว  ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยสถาปนาราชวงศ์เช็ง   แต่ยังตามหาไม่พบคงจะอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ
เรื่องฮ่องเต้องค์นี้ เกี่ยวกับพรรคดอกไม้แดงหรือเปล่าคะ?
เมื่อจบรัชกาลลงไป  องค์ชายที่ขึ้นครองสามารถทำให้จีนเข้มแข้งและเจริญก้าวหน้าได้เท่าสมัยฮ่องเต้องค์ก่อนหรือเปล่า?
ถ้าถามมากไป เล่นเอาเหนื่อยที่จะหาคำตอบ   ขอโทษด้วยค่ะ
จำได้ผิดหรือถูกไม่ทราบ ถึงตอนต้นๆสมัยราชวงศ์ชิง ที่มีผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์เหม็งพยายามกู้แผ่นดินแต่ไม่สำเร็จ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหนีออกนอกประเทศจีน
ในจำนวนนี้ก็ได้เป็นคนจีนอพยพมาไทย  แล้วเข้าเป็นอั้งยี่ จนปราบปรามกันในสมัยรัชกาลที่ ๓
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 15:12

ดีใจที่คุณหลินโหม่วมาเล่าเรื่องอีกค่ะ  คุณเทาฯคงชอบนั่งจิบนำ้ชาเหมือนกัน อิอิ

หลายอาทิตย์ก่อนไปดูหนังดังเรื่อง Crouching Tiger, Hidden dragon มาน่ะค่ะ  ชอบมาก  แต่ฝรั่งไม่รู้เรื่องการกดจุด  
หรือการสะกัดจุกเพื่อรักษาคน  ก็ฮากลิ้งเลย  ตัวเอกคือ โจวเหยินฟะ เป็นเจ้าสำนักที่เค้าเรียกว่า Wudan เลยสงสัยมากว่าเป็นสำนักอะไร  
เพราะไม่ใช่สำนักที่เคยได้ยินมาชินหู  อย่างพวกเส้าหลินอะไรนั่น  คุณหลินพอจะเดาออกมั้ยคะว่าอยู่ที่ไหน  ดูจากหนังก็เดาเวลาไม่ออก  
รู้แต่ว่าคงเป็นราชวงศ์เช็งแล้ว  เพราะผู้ชายโกนหัวไว้ผมเปียกันหมด  วันหลังพอหายใจหายคอออกแล้ว  
อยากฟังประวัติราชวงศ์เช็งที่เข้ามายึดเมืองจีน  และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน  อยากทราบว่า  เค้าโกนหัวครึ่งหนึ่งด้วยความเชื่ออะไร  
ทำไมผมเปียจึงสำคัญมาก
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 16:16

ผมเข้าใจว่าพรรคดอกไม้แดงเป็นเทือกๆ อั้งยี่ครับ คือสมาคมลับของชาวจีน (ฮั่น) ที่เกิดขึ้นสมัยที่ไต้เหม็งหรือต้าหมิงล่มสลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ "ต้านชิงกู้หมิง" ล้มราชวงค์ชิงซึ่งเป็นพวกต่างเชื้อชาติ (แมนจู) นั่นคือ พรรคดอกไม้แดงมีมาตั้งแต่ก่อนรัชสมัยคังซี ตั้งแต่ต้นวงศ์ชิงแล้ว (และมีสมาคมทำนองนี้มาเรื่อยๆ จนตลอดราชวงศ์ชิง)
อั้งยี่ (ตัวอักษรแดง) เดิมก็เป็นสมาคมลับที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเช่นนี้ แต่ต่อมากลายเป็นสมาคมมาเฟียอาชญากรรมไป

อ่านของคุณหลินแล้วสนุก นึกภาพเรื่องอุ้ยเสี่ยวป้อตามไปได้เป็นฉากๆ นับว่าจินหรงหรือกิมย้ง คนแต่ง เก่งมากที่ผสมเรื่องจริงตามประวัติศาสตร์กับจินตนาการเข้าได้อย่างกลมกลืน ยังกะเรื่องฟอร์เรสต์ กัมพ์

อู๋ซานกุ้ยแม่ทัพที่อยู่ชายแดนยูนนาน (อวิ๋นหนาน) ก็มีประวัติน่าสนใจ ก่อนยุคคังซีอีก ย้อนไปสมัยปลายราชวงศ์หมิงกำลังจะล่มโน่น อู๋ซานกุ้ยเป็นแม่ทัพจีนชาวฮั่นของต้าหมิงเดิม ที่หักหลังราชวงศ์หมิงไปสามิภักดิ์แมนจู เปิดด่านให้กองทัพแมนจูบุกเข้ามาได้จนสามารถสถาปนาราชวงศ์ชิงในจีนได้ อู๋ซานกุ้ยได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินใหม่ แต่ก็ถูกส่งไปอยู่เสียสุดปลายชายแดนทางใต้ แล้วในที่สุดก็ถูกราชวงศ์ชิงนายใหม่ปราบจนได้อยู่ดี ตามที่คุณหลินเล่า

ที่คุณพวงร้อยสงสัย เผอิญผมก็ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ครับ แต่ถ้าเป็น Wu Tang ก็สำนักบู๊ตึ้ง ครับ
เชิญจอมยุทธหญิงแซ่หลินแก้ไขเพิ่มเติมด้วย ชื่อสำนักกำลังภายในที่เรารู้จัก ส่วนมากเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว เทียบเป็นจีนกลางได้ดังนี้
เสียวลิ้มยี่ - วัดเส้าหลิน
บู๊ตึ้ง - อู่ถัง
ง่อไบ๊ - เอ๋อร์เหมย
 
ปรมาจารย์ตักม้อ - ต๋าหมอต้าซือ - ท่านโพธิธรรม ภิกษุชาวอินเดีย (เวลาคนจีนเรียกท่าน ตัด " โพธิ"  เหลือแค่คำว่า "ธรรมา"  - ต๋าหมอ ไปถึงญี่ปุ่นกลายเป็น ดะรุมา)
เตียซำฮง - จางซานฟง ผู้ก่อตั้งสำนักบู๊ตึง
ไท้เก็ก - ไท่จี๋
...มีอะไรอีก นึกไม่ออกครับตอนนี้
บันทึกการเข้า
Linmou
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 16:18

ตอบคุณเทาชมพู

กำลังจะลงเรื่องของยงเจิ้ง และเฉียนหลงให้พรุ่งนี้ล่ะค่ะ เพราะต้องรวบรวมข้อมูลก่อน

ยงเจิ้งสู้พ่อไม่ได้ แต่ก็ไม่เลว

เฉียนหลงมีปู่ปูพื้นฐานให้ดี เลยแซงหน้าพ่อและดูเหมือนจะเหนือปู่ด้วย

เฉียนหลงเองครองราชย์นาน ๖๐ ปี ก็สละบัลลังก์ ไปเป็น "ไท่ซ่างหวง"(ฮ่องเต้องค์ก่อน มีศักดิ์เหนือฮ่องเต้) เพราะไม่ต้องการเกินหน้าเกินตาเสด็จปู่ที่เขารักยิ่ง

เป็นไท่ซ่างหวงอยู่ ๓ ปี เฉียนหลงก็สวรรคต



ส่วนพรรคดอกไม้แดง อยู่ในยุคเฉียนหลงค่ะ



ท่าทางทุกคนจะอ่านงานของกิมย้งกันทั้งนั้นเลย ทั้งเรื่อง "อุ้ยเสี่ยวป้อ" และ "จอมใจจอมยุทธ" ฮิฮิ



ตอบคุณพวงร้อย

สำนักอู่ตัง คือ บู๊ตึ้ง ค่ะ(บู๊ตึ้งของจางซานเฟิง หรือ เตียซำฮงไงคะ)

คนจีนเขาถือว่าร่างกายเป็นสิ่งที่พ่อแม่ให้ จะทำลายตามใจชอบไม่ได้ รวมทั้งผมด้วย คนจีนจึงไม่ตัดผมกันเลย

เมื่อชาวแมนจูเข้าครอง คนแมนจูชอบความเรียบร้อย เห็นว่า "โกนครึ่งหัวแล้วถักเปียดูเรียบร้อยดี" จึงออกคำสั่งอันเด็ดขาดกับชาวฮั่นว่า

"จะยอมตัดผม หรือถูกตัดหัว?"

เนื่องจากกระทั่งพ่อแม่ผู้ให้เส้นผมมา ก็คงไม่อยากให้ลูกถนอมผมจนถูกตัดหัวเป็นแน่ ชาวฮั่นเลยต้องโกน(ครึ่ง)หัวกันทั้งน้ำตา แล้วถักเปียตามคำสั่งของทางการแมนจู



โปรดสังเกตว่าพระจีน เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้ชั่วชีวิต คิดว่าการตัดผมก็เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง อันเป็นการแสดงว่าตัดขาดจากทางโลก บุพการีผู้ให้กำเนิดและญาติพี่น้องโดยสิ้นเชิง



ความเห็นส่วนตัวค่ะ

โกนครึ่งหัวน่ะดูน่าเกลียดที่สุดเลย จะโกนทั้งหัวไปเลยก็ไม่ได้ ทำไมต้องโกนแค่ "ครึ่ง"?



อีกอย่าง ตอนดูหนังชุดเรื่อง "เจ้าหญิงกำมะลอ" ภาค ๑ ตอนที่เฉียนหลงออกประพาสแล้วประชวร จื่อเวยกับเสี่ยวเยี่ยนจื่อเอาผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆมาวางบนพระนลาฏ แต่ตรงนั้นไม่ใช่พระนลาฏค่ะ

มันคือ "พระเศียร" ส่วนที่โดนโกนไปน่ะ

เห็นแล้วต้องหัวเราะก๊ากเลย

เสียมรรยาทจริงๆเรา ^_^'
บันทึกการเข้า
Linmou
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 16:27

ตกใจ เจอข้อความของคุณ นกข. โผล่กะทันหัน

เส้าหลิน : เสี้ยวลิ้ม
อู่ตัง : บู๊ตึ้ง
ฮั้วซัว : หัวซาน
คุนลุ้น : คุนหลุน
ง่อไบ๊ : เอ๋อเหมย(ไม่มี ร ค่ะ)
ซงซัว : ซงซาน

ทราบแค่นี้ล่ะค่ะ
นอกนั้นชื่อพระเอกที่เด่นๆ อย่าง
ฮุ้นปวยเอี๊ยง = อวิ๋นเฟยหยาง
ชอลิ่วเฮียง = ฉู่หลิวเซียง
เล็กเสี่ยวหงส์ = ลู่เสี่ยวเฟิ่ง
ก้วยเจ๋ง = กัวจิ้ง
อึ้งย้ง = หวงหรย๋ง
เอี้ยก้วย = หยางกั้ว
เสียวเล้งนึ้ง = เสี่ยว หลง หนวี่
อั้งชิกกง = หงชีกง
เฮ้งเต็งเอี้ยง = หวาง ฉง หยาง
อึ้งเอี๊ยะซือ = หวงเย่าซือ
จิวแป๊ะทง = โจวป๋อทง
อาาวเอี๊ยงฮง  = โอวหยางเฟิง
ฯลฯ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 16:46

คุณหลินน่าจะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ทรงผมกับนัยยะทางการเมืองในประวัติศาสตร์จีน
สมัยก่อน ถ้าไม่ตัดผมกันก็คงต้องเกล้าเป็นมวยผม อย่างที่เราเห็นในหนังจีนกำลังภายใน (ยุคก่อนไว้เปีย)
ผมจำได้ว่า ในเรื่องสามก๊ก ซึ่งก่อนยุคต้าชิงขึ้นไปไกล มีตอนหนึ่งที่โจโฉมหาอุปราช (ตามฉบับแปลไทย - เข้าใจว่าตำแหน่งที่ถูกต้องเป็นเพียงอัครมหาเสนาบดีเท่านั้น) มีคำสั่งห้ามไม่ให้ทหารเดินทัพบุกทำลายต้นข้าวในนาชาวบ้านให้เสียหาย ให้ค่อยๆ ไป ใครฝ่าฝืนคำสั่งจะถูกตัดหัว แต่เผอิญม้ามหาอุปราชเกิดตื่น วิ่งตะลุยเข้าไปในนาเสียเอง โจโฉก็ใจเด็ดเหมือนกันก็จะฆ่าตัวตายตามคำสั่งของตัวเอง ขุนนางทหารทั้งหลายขอร้องไว้ โจโฉก็เลยตัดผมของตัวเองออกมาแทนการตัดหัว แล้วให้เอามวยผมไปประกาศต่อชาวบ้าน ทำให้มหาชมมีใจรักเคารพโจโฉขึ้นอีกมาก (เรื่องนี้คนเขียนเรื่องสามก๊ก ซึ่งเป็นพวกเล่าปี่ ดูเหมือนจะเห็นว่าเป็นกลอุบายทางการเมืองของโจโฉในการหาคะแนนนิยม)
ในสามก๊กเช่นกัน มีกล่าวถึงว่าร่างกายนี้เป็นของบริสุทธิ์ พ่อแม่ผู้มีพระคุณให้มา อีก 2 ตอน ตอนหนึ่งเมื่อแม่ทัพแซ่แฮหัว จะเป็นแฮหัวตุ้นหรือใครจำไม่ได้แล้ว ฝ่ายโจโฉ ออกรบแล้วถูกเกาฑัณฑ์ที่ตาข้างหนึ่ง จึงร้องว่า  แก้วตานี้เป็นของประเสริฐพ่อแม่กูให้มา ไม่บังควรจะให้เสียไป แล้วก็ (อื๋ยย์...) ดึงเกาทัณฑ์ออกมากลืนลูกตาตัวเองข้างนั้นลงท้องไป อีกตอนหนึ่งคือตอนที่ยีเอ๋ง ปัญญาชนผู้มีปัญญาเกินสติ ลองดีโจโฉมหาอุปราช โจโฉหมั่นไส้ที่ยีเอ๋งคุยโวอวดตัวนัก เลยให้เป็นพนักงานตีกลอง ยีเอ๋งก็แกล้งโจโฉโดยการแก้ผ้า (!) ตีกลองอวดแขกโจโฉเสียเลยกลางงานเลี้ยงใหญ่ ครั้นโจโฉทั้งโกรธทั้งอาย ยีเอ๋งก็ลอยหน้าตอบว่า อันร่างกายของเรานี่ไม่เห็นน่าอาย ไม่ได้โสโครกตรงไหน บริสุทธิ์สะอาด พ่อแม่ของเราให้มา ... นางแบบนู้ดทั้งหลายจะจำประเพณีจีนตรงนี้ไปอ้างบ้างก็ได้ ตามใจ  
ถึงแม้ตอนต้นแผ่นดินชิงคนแมนจูจะบังคับให้คนจีนตัดผมจนคนจีนร้องไห้กันทั้งแผ่นดิน แต่พอไปๆ เข้า นานๆ ไป คนจีนก็ไว้เปียกันจนเป็นธรรมดา จนรู้สึกว่าผมเปียเป็นธรรมเนียมจีนไปแล้ว ตอนปลายแผ่นดินจีนช่วงที่อารยธรรมตะวันตกเข้ามา คนจีนที่เห่อฝรั่งก็จะตัดเปีย พยายามไว้ผมแบบฝรั่ง คนจีนที่ยังอนุรักษ์นิยมอยู่ก็จะด่าพวกแรกว่าเป็นทาสความคิดฮวนตะวันตกไปแล้ว ส่วนคนจีนพวกแรกก็ว่าพวกหลังว่าล้าหลัง ไม่ทันสมัย
แม้แต่ในทางการเมืองก็เหมือนกัน พวกที่คิดจะทำเก๊กเหม็ง - เก๋อมิ่ง - ปฏิวัติ ล้มราชวงศ์ชิง คือพวกของ ดร. ซุนยัดเซ็นนั้น ตัดเปียไว้ผมแบบฝรั่งกันทั้งนั้นครับ ขณะที่พวกอำนาจเก่า คือขุนนางต้าชิงนั้นยังไว้เปียกันอยู่

พอเป็นวิทยานิพนธ์ได้ไหม?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 17:03

อะฮ้า มีคนทำ Outlineวิทยานิพนธ์ไว้ให้แล้ว  ท่าทางจะไม่สงวนลิขสิทธิ์
เท่าที่นึกออก  คนจีนมาอยู่เมืองไทยตอนแรกๆยังไว้เปียอยู่    แต่พออยู่นานๆไม่กลับจีนแน่แล้ว  ก็มีเหตุหลายอย่างทำให้ไม่อยากถักเปียต่อ
เพราะการปราบปรามจีนอั้งยี่สมัยร. ๓  เปียกลายเป็นจุดอ่อนของฝ่ายจีน  ทหารไทยจับเชลยจีนได้ใช้วิธีผูกเปียติดกัน ลากมาเป็นขบวน
ส่วนพวกที่ทำมาหากินอย่างสงบ มีลูกหลาน บางคนไม่ถักเปียแล้ว ถือว่าเป็นไทย  แต่ก็ไม่ใช่ไทยอย่างสนิท จึงไม่ตัดผมทรงมหาดไทย  แต่ใช้วิธีสยายผมลงมาถึงบ่า เรียกว่าทรงปันหยี
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 17:34

เคยมีหนังชุดทางทีวี จากฮ่องกงมาฉายเมืองไทย พูดถึงการแก่งแย่งอำนาจขององค์ชายต่างๆ ที่เป็นโอรสคังซี จำได้แต่ชื่อนางเอกว่าชื่อ หลี่ซื่อเหนียง
ตามเรื่องให้ ยงเจิ้ง องค์ชายสี่ เป็นผู้ร้าย และให้องค์ชายสิบสี่เป็นฝ่ายดี แต่ตอนหลังถูกเล่นงานด้วยอุบายเจ้าเล่ห์ขององค์ชายสี่ (หนังว่าเรื่อยเจื้อยไปถึงขนาดว่ายงเจิ้งปลอมพระราชพินัยกรรมของคังซีฮ่องเต้ แก้ชื่อผู้รับสืบทอดบัลลังก์จาก "องค์ชายสิบสี่" เป็น องค์ชายที่สี่" ด้วย) จนในที่สุดยงเจิ้งก็ได้ขึ้นครองราชย์
 
วังเดิมของเจ้าชายยงเจิ้ง ก่อนเสด็จไปเป็นฮ่องเต้และประทับในวังหลวง ยังอยู่ในกรุงปักกิ่งจนเดี๋ยวนี้ ฮ่องเต้ยงเจิ้งอุทิศถวายเป็นวัดลามะยงเหอกง มีพระพุทธรูปสลักจากไม้จันทน์ใหญ่ที่สุดในโลก สูงเท่าตึกสามชั้น ติดอันดับกินเนสบุ๊ก (แต่ผมเข้าใจว่าไม่ใช่รูปพระพุทธรูป น่าจะเป็นรูปพระโพธิสัตว์)

เหล่าซือชาวจีนของผมหัวเราะตอนที่ผมถามเรื่องนี้ บอกว่าเป็นแค่นิทานสนุกๆ พระราชพินัยกรรมของฮ่องเต้ต้าชิง ถ้ามีจริง คงไม่หละหลวมแก้ไขได้ง่ายปานนั้น พระบรมราชโอง
การของต้าชิง นอกจากจะเป็นภาษาจีนแล้วน่าจะต้องมีฉบับภาษาแมนจูกำกับด้วย จะแก้ตัว "สิบ" เป็นตัว "ที่" ก็ง่ายไปหน่อย

คุณหลินจำประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้ได้ไหม ตอนที่แก๊งสี่คนจะยึดอำนาจ เมื่อประธานเหมาตายไปแล้ว ก็มีการอ้าง "พินัยกรรม" ลับหรือคำสั่งลับของเหมามอบอำนาจไว้เหมือนกัน จำไม่ได้ว่าฝ่ายเจียงชิงแก๊งสี่คนอ้าง หรือฝ่ายที่จะมาโค่นแก๊งสี่คนภายหลังอ้าง แต่ผมขันว่า จนปฏิวัติล้มฮ่องเต้ไปนานแล้ว จีนก็ยังเป็นจีนอยู่นั่นเอง
บันทึกการเข้า
Linmou
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 29 ม.ค. 01, 17:35

ม่ายล่ะค่ะ คุณ นกข.

เกรงใจ......

เก็งแนวทางวิทยานิพนธ์ไว้แล้วด้วย

จะเป็นประมาณ ผลกระทบของการทะเลาะกันของซือหม่ากวงและหวางอานสือ สองรัฐบุรุษอัจฉริยะสมัยซ่งน่ะค่ะ ไม่ก็คลุมเป็นผลกระทบของการขัดแย้งทางการเมืองของบรรดาขุนนางในสมัยซ่งไปเลย เพราะมันน่าสนใจมาก กับการวิเคราะห์การเปลี่ยนปลงกฎหมายแต่ละข้อว่าจะให้ผลกระทบยังไงในแง่ไหน และต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง ^_^



จะไว้สั้นหรือไว้ยาวก็ตาม ดูเหมือนชาวจีน(โดยเฉพาะผู้ชาย) จะไม่ชอบสระผมกันเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อไว้เปีย...กว่าจะสระเสร็จ กว่าจะถัก...เลยทิ้งมันไว้ยังงั้น ไม่ต้องไปสระเลยสะดวกกว่า -_-'
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง