เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5082 เหมินจาน 门簪 - จำปาธรณีบ้านของจีน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 17 ก.พ. 10, 09:57

เมื่อไม่นานนี้มีเพื่อนชาวเรือนไทยได้ส่งภาพถ่ายจากนครศรีธรรมราชมาให้เป็นรูปถ่ายของอาคารที่ใช้เก็บเจดีย์เล็กๆ ซึ่งเป็นประเพณีทางใต้ที่เรียกว่าเอากระดูกเข้าบัว
อาคารดังกล่าวเป็นอาคารทรงจีนเล็กๆ บริเวณประตูทางเข้าอาคารมีหมุดไม้ยื่นมาสองหมุด เพื่อนชาวเรือนไทยท่านนั้นถามข้าพเจ้าว่าหมุดดังกล่าวคืออะไร ดูไปคล้ายๆจำปาธรณีบ้านของไทย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ข้าพเจ้าจึงขอนำจดหมายที่ตอบเพื่อนท่านนั้นมาเผยแพร่สักนิด (อนึ่งเอารูปลงอย่างไร ข้าพเจ้าลองหาแล้วหาไม่เจอวิธีเอาลง)
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:00

ถึงคุณอมเรนทร์
   เดือยไม้ดังกล่าวภาษาจีนเรียกว่า “เหมินจาน” (门簪:MEN ZAN) แปลตรงตัวว่าปิ่นประตู ปกติทำหน้าที่ยึดกรอบเช็ดหน้าเข้ากับคานประตูใหญ่ ปกติมักใช้ประดับในประตูใหญ่ที่จะติดกับถนน หรือตามประตูใหญ่ที่สำคัญ การใช้ เหมินจานน้อยสุดจะใช้สองตัว ใช้มากสุดสี่ตัว ตามความยาวของคาน ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่มีการอธิบายว่าปกติแล้วตามหากเราเป็นชาวบ้านธรรมดาจะใช้ได้แค่สองตัว แต่หากเป็นประตูในวังจะใช้สี่ตัว ถ้าคำอธิบายในส่วนนี้เป็นจริง หากชาวบ้านธรรมดาๆจะกล้าใช้สี่ตัวหรือไม่โปรดพิจารณาเอง
อย่างไรก็ตาม ปกติบ้านเรือนของประชาชนทั่วไปเหมินจานนั้นมักมีไว้เพื่อประดับให้สวยๆเฉยๆไม่ค่อยจะมีประโยชน์ในทางโครงสร้างเท่าใดนัก และบางทีการใช้งานเหมินจานเพื่อยึดกรอบเช็ดหน้าจริงๆใช้แค่สองตัวก็พอ แต่ที่ใช้สี่ตัวเพราะมันดูสวยดีก็มี
               ส่วนตัวหมุดเหมินจานจะยี่นยาวออกมาเท่าไรนั้นจะผิจารณาจากความหนาของคานประตูกับกรอบเช็ดหน้า ซึ่งปกติจะเป็นสูตรดังนี้
               คานประตูหนาหนึ่งส่วน
               กรอบเช็ดหน้าหนาครึ่งหนึ่งของคานประตู
              เมื่อคำนวณแล้วไซร้ก็จะให้เหมินจานยื่นออกมาห้าในสี่ของความหนาของคานประตูกับกรอบประตู


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:13

             ลวดลายของเหมินจานนี้จะใคร่ทำเป็นอะไรก็แล้วแต่เจ้าของบ้านหรือช่างจะคิดอาจทำเป็นดอกไม้มงคลจีนที่เป็นสัญลักษณ์ของสี่ฤดู หรือตัวอักษรอันมีความหมายเป็นมงคล อาทิ ใช้อักษรสองตัวดัง “จี๋เสียง” (吉祥: ji xiang) แปลว่าเป็นสิริมงคล หรือใช้อักษรสี่ตัว “เทียนเซี่ยไท่ผิง” (天下太平:tian xia tai ping)แปลว่า ใต้ฟ้าสงบแสน เป็นต้น
   หากถามว่าเหมินจานนี้ชาวจีนใช้มาแต่เมื่อไรคงตอบไม่ได้ แต่พบในบันทึกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นว่ามีการใช้ประกอบอาคาร ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าเหมินจาน หรือแปลเป็นไทยว่า “ปิ่นประตู” เนื่องจากคนสมัยก่อน โดยเฉพาะสตรีนิยมไว้ผมทรงสูงๆแล้วประดับด้วยปิ่นงดงาม (ไม่เชื่อลองไปดูหนังเรื่องศึกชิงบัลลังค์วังทองสิ...) แล้วทีนี้คนโบราณเขาเปรียบว่าบ้านนี้ไซร้เปรียบไปเหมิอนร่างกายคน อันปากประตูใหญ่ที่ติดกับถนนถือเป็นส่วนศรีษะ หมุดไม้ที่ใช้ประดับคงเปรียบไปคล้ายปิ่นที่ปักผม เลยเรียกกันดังนั้น เอวังด้วยประการฉะนี้แล 


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:22

             หากเทียบหน้าที่ของเหมินจากกับส่วนประกอบของอาคารไทย คงเทียบได้กับจำปารับธรณีบ้าน  ซึ่งซึ่งเป็นตัวไม้ส่วนประกอบร่วมกับกรอบเช็ดหน้าของประตูและหน้าต่างลักษณะเป็นเดือยแบนยาว ส่วนหัวทำเป็นแป้นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมักแกะเป็นลายดอกสี่กลีบ ตัวไม้เรียกว่า จำปา นี้ใช้สอดเข้าไปในรูเดือยซึ่งเจาะไว้ที่ตอนบนกรอบเช็ดหน้า ปลายจำปารอดเลยยื่นออกไปทางด้านหลังเพื่อรับตัวไม้ธรณีบน ซึ่งทำหน้าที่กำกับเดือยหัวบานประตูหรือบานหน้าต่าง กรอบเช็ดหน้ากรอบหนึ่ง ๆ มีจำปากำกับคู่หนึ่ง
   ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผิดจากจีนเล็กน้อยเนื่องจากที่จีนจะใช้ประกอบที่ประตูใหญ่ติดถนน ทั้งอาจมีได้มากกว่าสองตัว หากมีบุญเกิดมามีสถานะสูงส่งหรือมีความใจกล้า อยากลองผิดกฎมณเฑียรบาลเล่นๆ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:23

ต่อไปนี้คือรูปประกอบครับ
ภาพที่ ๑ ส่วนประกอบของประตูจีน
ที่มา http://zzb.bjft.gov.cn/dtxw/detail.asp?id=28275&type=29


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:26

ภาพที่ ๒ ภาพอาคารแบบจีนซึ่งสร้างครอบเจดีย์เล็ก
ที่มา คุณอมเรนทร์ เพื่อนชาวเรือนไทยส่งมาให้


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:28

ภาพที่ ๓ ภาพเหมินจานของอาคารดังกล่าว
ที่มา คุณอมเรนทร์อีกเช่นกัน


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 10:29

         เนื้อความทั้งหมดนี้ผมเก็บความมาจากเว็ปไซด์ดังนี้ครับ หากอยากสืบค้นต่อสามารถเข้าไปดูได้ ดังนี้
http://baike.baidu.com/view/881649.htm
http://bansongthai.com/content/view/139/52/
http://web.ptes.tp.edu.tw/ptc/%E7%B4%B0%E9%83%A8%E5%BB%BA%E7%AF%89%E4%B8%80.htm
         หวังว่าเรื่องดังกล่าวคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
                     สวัสดีครับ
ปล. เรื่องกรอบเช็ดหน้านี้ผมแปลจากคำว่าจากคำว่า “เหลี่ยนอิ้ง” (连楹: lian ying) ซึ่งคำอธิบายคือ ใช้ประกอบกับคานหลักเพื่อใช้ในการเปิดปิดบานพับประตู (连楹是安在中槛上用来开关门扇之用) ผมคิดว่าหน้าที่คล้ายๆกับกรอบเช็ดหน้าของไทย ที่มีหน้าตัวไม้ที่มีลักษณะเป็นแผ่น ทำลอกบัวไปตามความยาวแต่ละแผ่นแล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สำหรับล้อมช่องประตู และช่องหน้าต่างเรือน ประเภทเรือนเครื่องสับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 11:47

ขอบคุณครับ น่าสนใจมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
tian
ชมพูพาน
***
ตอบ: 138



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 12:08

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆคะ

ช่วยอธิบาย เรื่องสิงสาราสัตว์ ที่อยู่บนลังคา ในพระราชวังต้องห้าม ในปักกิ่ง ด้วยคะ  ขอบคุณล่วงหน้าคะ
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 18:40

ดีจังเลยคะ ขอบคุณมากเลยคะ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ก.พ. 10, 21:05

เข้ามาแวะเติมความรู้ก่อนนอน ขอบคุณสำหรับเรื่องที่น่าสนใจครับ   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 มี.ค. 10, 18:54

ขอบคุณ คุณhan_bing มากครับผม
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 มี.ค. 10, 22:36

ภาพจำปาของไทยครับ ไปดูมาเลยเอามาลงประกอบเพื่อความเข้าใจ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง