เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4563 ลิขสิทธิ์ของงานประพันธ์
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 15 ก.พ. 10, 10:20

ตั้งกระทู้แรก ก็ "ด๋อย" ไปแล้ว ขอตั้งใหม่

กรณีที่ผู้ประพันธ์ได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

๑. ส่งมอบลิขสิทธิ์ไว้ให้กับทายาท และทายาทยังคงมีชีวิตอยู่หรือถึงแก่กรรมไปแล้ว
๒. ส่งมอบลิขสิทธิ์ไว้ให้แก่มูลนิธิ และมูลนิธินั้นยังคงอยู่
๓. ขายผลงานประพันธ์ให้แก่สำนักพิมพ์ไปแล้ว และสำนักพิมพ์นั้นยังคงดำเนินธุรกิจอยู่
๔. ผู้ประพันธ์ไม่ได้ระบุการสงวนลิขสิทธิ์ไว้ หรือแสดงเจตนาอย่างเปิดเผยว่าไม่สงวนลิขสิทธิ์

ในข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ประพันธ์ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเกินกว่าห้าสิบปีตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 11:55

กฎหมายลิขสิทธิ์ อนุญาตให้งานเป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าของงานตลอดชีวิต  ตายไปแล้ว ทายาทได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าของอีก ๕๐ ปีหลังเจ้าของงานถึงแก่กรรม  เท่านั้น
เจ้าของจะทำพินัยกรรม หรือเซ็นหนังสือ แสดงความจำนงมอบให้มูลนิธิหรือส.น.พ. หรือยกให้หลานเหลนโหลนไปชั่วฟ้าดินสลาย ก็ทำไม่ได้  ถึงทำก็ไม่มีผลตามกฎหมาย
พ้น ๕๐ ปีเมื่อไร งานก็ตกเป็นของสาธารณะค่ะ  

ไปหาจากวิกิมาให้นะคะ

กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์งานโดยมีบทลงโทษเข้มงวดแล้ว ยังกำหนดระยะเวลาไว้ด้วย โดยให้คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ซึ่งทายาทของผู้สร้างสรรค์จักหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ได้ในช่วงนั้น เมื่อพ้นห้าสิบปีแล้ว งานชิ้นนี้จะตกเป็นสมบัติของแผ่นดินซึ่งรัฐจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งดูแลมิให้เกิดการดัดแปลงงานดังกล่าวไปเกินขอบเขตอันควรหรือเป็นการทำลายงานชิ้นนั้น คนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์ เผยแพร่งานต่อสาธารณชนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แก่ทายาทผู้สร้างสรรค์อีกต่อไปอันถือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

ตัวอย่างเช่น นายนพเขียนนิยายเรื่องหนึ่ง กฎหมายจะคุ้มครองนายนพในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์นิยายเรื่องดังกล่าวตลอดอายุของเขา ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายนพก่อน หลังจากนายนพตายแล้ว ทายาทของเขาเป็นผู้รับมรดกนิยายเรื่องนี้ต่อไปอีกห้าสิบปีในการหาประโยชน์หรือดูแลมิให้เกิดการละเมิดงานชิ้นนี้ หากพ้นห้าสิบปีไปแล้วงานชิ้นนี้จะไปอยู่ในความดูแลของรัฐในฐานะสมบัติของแผ่นดินซึ่งคนไทยสามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์หรือจ่ายด้วยอัตราน้อยซึ่งแล้วแต่กติกาของรัฐ ณ เวลานั้น เป็นต้น

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2".
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
Moderator
นิลพัท
*****
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 12:04

เรื่องลิขสิทธิ์นี้ ผมยังไม่แน่ใจอยู่ในประเด็นหนึ่ง

เคยอ่านพบว่า กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานใช้นามแฝงหรือนามปากกาในการเผยแพร่ ให้คุ้มครอง ๕๐ ปี นับจากวันเผยแพร่ครั้งแรก

กรณีนี้ไม่ทราบว่ามีผลในกรณีใดบ้างครับ ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานไม่เปิดเผยตัว หรือว่าเป็นทุกกรณีที่ใช้นามปากกาก็ไม่ทราบครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 12:12

อ้างถึง
เคยอ่านพบว่า กรณีที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานใช้นามแฝงหรือนามปากกาในการเผยแพร่ ให้คุ้มครอง ๕๐ ปี นับจากวันเผยแพร่ครั้งแรก

ใช้ในกรณีที่ไม่ทราบว่าผู้ประพันธ์เป็นใครค่ะ  สืบทราบไม่ได้ หรือพิสูจน์ไม่ได้
ส่วนงานที่ใช้นามแฝงแต่สืบทราบ/พิสูจน์ได้ว่าเป็นใคร  ก็มีอายุคุ้มครองหลังผู้ประพันธ์ถึงแก่กรรมไป ๕๐ ปี

ถ้าไปตีความว่างานที่ใช้นามแฝงนับอายุแค่ ๕๐ ปี   มันก็จะไปตีกับอีกข้อที่ว่าคุ้มครอง ๕๐ ปีหลังเจ้าของถึงแก่กรรม
กฎหมายถึงมีอีกข้อเผื่อไว้ในกรณีไม่ทราบว่าเจ้าของเป็นใคร แล้วจะคุ้มครองยังไงในเมื่อไม่รู้ว่าตายหรือยัง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 14:53

          มีกรณีที่น่าสนใจเรื่องลิขสิทธิ์ของ  Sherlock Holmes ในอเมริกา ครับ

หลังจากผู้ประพันธ์ (Arthur Conan Doyle) เสียชีวิต ๕๐ ปีแล้ว SH ก็ตกเป็นสมบัติสาธารณะ ดังที่

             Copyright in the Sherlock Holmes stories expired in Canada in 1980.

แต่ที่สหรัฐ ทายาทรุ่นหลังยังคงลิขสิทธิ์จนถึงปี 2023

              In America the passage of the Copyright Act of 1976 gave an author or his heirs
a chance to recapture lost rights; Conan Doyle’s daughter, Jean, did so in 1981.

            Mr. Lellenberg said that Sherlock Holmes remains under copyright protection
in the United States through 2023, ......

http://www.nytimes.com/2010/01/19/books/19sherlock.html?partner=rss&emc=rss&pagewanted=all
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ก.พ. 10, 21:39

เขาทำได้ยังไงนะ  ฮืม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 10:03

          วันนี้หาเจอบทความอธิบาย บทความจาก nytimes.com ครับ

http://www.propertyintangible.com/2010/01/15-of-sherlock-holmes-under-copyright.html

          section 304 of the Copyright Act set the copyright term at 75 years from date of publication.

          But, enter the Sonny Bono Copyright Term Extension Act, effective on October 27, 1998.
          Rather than the 75 year extension previously provided originally under the 1976 Act,
the Sonny Bono Act changed the extension to 95 years.

          Out of four novels and 56 short stories, nine short stories are still under copyright.

          What that means about using the Sherlock Holmes character at all is another story.

และยังมี บทความหัวข้อว่า 

            NY Times Takes Up The Case Of Sherlock Holmes And The Lost Public Domain... But Gets It Wrong

http://techdirt.com/articles/20100119/2318397826.shtml


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 10:21

แสดงว่าอเมริกาเขามีกฎหมายลิขสิทธิ์ของเขาเอง
เมื่อก่อนใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีอายุคุ้มครอง ๗๕ ปีหลังเจ้าของงานถึงแก่กรรม   แต่ต่อมา ออกกฎหมายใหม่ชื่อกฎหมายซอนนี่ โบโน  ปี 1998   ยืดอายุไปอีกเป็น ๙๕ ปี 
ลูกหลานของเจ้าของงานเลยสบายไปอีก ๒๐ ปี

ของไทยเราเอากฎหมายไทยไปผูกพันกับสนธิสัญญาเบิร์นส์  เพราะถือว่าไทยเป็นประเทศภาคี  ทำตามระเบียบของเขา
เลย ๕๐ ปีเท่านั้นเอง

ป.ล. เชื่อว่าคุณศิลาจำ Sonny Bono ได้   ชื่อเขากลายเป็นชื่อกฎหมาย  สงสัยว่าคงเคยต่อสู้เรื่องนี้มาก่อน
ดิฉันเคยดู Sonny and Cher   ยังจำลูกสาวเล็กๆที่บัดนี้กลายเป็นหญิงวัยกลางคนไปแล้ว
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 13:55

        จำได้ ครับ Sonny and Cher 
         ตามรอยด้วยวิกิดูต่อครับ

           โบโนสนใจเข้าสู่วงการเมืองจริงจัง หลังจากที่เขาต้องหัวเสียอย่างแรงกับภาครัฐเมื่อเขาจะเปิดภัตตาคาร
ที่ปาล์มสปริง แคลิฟอร์เนีย เขาประสบความสำเร็จได้รับเลือกให้เป็นพ่อเมืองปาล์มสปริงในช่วงปี 1988 - 1992
        แล้วได้เป็นผู้แทนรัฐสภาในปี 1994
และ
   
          He was one of twelve co-sponsors of a House bill extending copyright.
Although that bill was never voted on in the Senate, a similar Senate bill was passed
after his death and named
        the Sonny Bono Copyright Term Extension Act in his honor.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ก.พ. 10, 14:21

       Copyright Act of 1976 เดิมให้การคุ้มครอง
        ตลอดอายุผู้เขียน และบวกอีก ๕๐ ปีหลังเสียชีวิต
หรือ
        ถ้าเป็น corporate authorship* คุ้มครอง ๗๕ ปี

        ต่อมา Copyright Term Extension Act (CTEA) of 1998 ได้เพิ่มเวลาการคุ้มครองออกไปอีก ๒๐ ปี
กลายเป็นคุ้มครอง
        ๗๐ ปีหลังผู้เขียนเสียชีวิต และ
        สำหรับงานของ corporate authorship คุ้มครองถึง ๑๒๐ ปี หลังจากสร้างสรรค์
หรือ   ๙๕ ปีหลังพิมพ์เผยแพร่ แล้วแต่จะถึงเวลาไหนก่อน

       * ผู้สร้างสรรค์งาน คือ ผู้เขียน - author ตามกฎหมาย
แต่ ถ้างานนั้นเป็นงานรับจ้าง - "made for hire",
         ผู้จ้าง employer —ไม่ใช่ผู้รับจ้าง employee — คือ ผู้เขียนตามกฎหมาย - legal author.
              ในบางประเทศใช้คำเรียกว่า corporate authorship
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง