เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8633 อยากจะช่วยเติมหนังสือในตู้หนังสือเรือนไทย
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ก.พ. 10, 22:12

ผมจะหาเครื่องหมายที่มีจุดในวงกลม ที่เรียกว่า "ตาปลา" รือ "ฟองมัน" หรือเปล่า จะทำอย่างไรครับ อยากจะนำมาใส่ในข้อความบ้างครับ หาไม่พบ ใน wiki ก็ไม่มี หรือว่ามีแต่ก็หาไม่พบ

ในเรื่อง "นิพานวังน่า" ที่ผมทำอยู่ ผมใช้ต้นฉบับจากหนังสือ "พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) โดยสำนักพิมพ์ศรีปัญญา

ผมอาจจะทำเรื่องของกรมหลวงนรินทรเทวีพร้อมๆ กันไป รายละเอียดอื่นจะศึกษาไปเรื่อยๆ ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
Moderator
นิลพัท
*****
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ก.พ. 10, 22:34

เป็นตัวอักษรพิเศษที่แป้นพิมพ์ไม่มีครับ

ต้องใช้วิธีตัดแปะเอาครับ

อันนี้ครับ

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 ก.พ. 10, 09:08

ตัวอักษรพิเศษ "ฟองมัน" ผมไปตัดแปะมาจาก Character map ขอขอบคุณ คุณ CrazyHorse ครับ
ผมมาคิดว่าผมเก็บ Megaproject ของเรื่องสามก๊กกับไซอิ๋ว เข้ากรุไปดีกว่า มามุ่งทำ "นิพานวังน่า" ให้จบ แล้วอาจจะตามด้วย "จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี"
แต่ตอนนี้ผมขออนุญาตเดินเรื่อง "เสภาพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่" พร้อมกันไป แล้วก็จะเรียนรู้การแต่งหน้าเวปไปด้วย
ก็จะขอคำชี้แนะจากคุณ CrazyHorse และทุกท่านครับ

จะเรียนถามอีกว่า งานพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทางมูลนิธิดำรงราชานุภาพเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์อยู่นั้น จะนำมาลงไว้ได้หรือไม่ครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
Moderator
นิลพัท
*****
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 ก.พ. 10, 22:19

ว่ากันตามกฎหมาย พระนิพนธ์สมเด็จดำรงเป็นสมบัติสาธารณะแล้วครับ

อีกประการหนึ่งคือ เราไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าแต่อย่างใด การนำมาเผยแพร่เช่นนี้เท่ากับเป็นการเชิดชูพระเกียรติยศ ผมคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 มี.ค. 10, 21:33

จากที่ค่อยๆ เติมแต่งเรื่องราวบทความในตู้หนังสือเรือนไทย ทำให้พบปัญหาหลายๆ อย่างที่ต้องหาตำตอบ คือ
๑. การพิมพ์คำร้อยกรอง ให้แสดงตามแบบที่เราต้องการ ก็หัวหมุนอยู่พ้กหนึ่ง จนกระทั่งคุณ CrazyHOrse ต้องเข้ามาช่วยแนะนำให้ทราบ ก็ถึงบางอ้อไปหนึ่งข้อหละ คือ การใช้เครื่องหมายคำสั่งกำกับรูปแบบในการพิมพ์ คือ การพิมพ์ในรูปแบบ

<tpoem>
ประโยคที่หนึ่ง(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่สอง
ประโยคที่สาม(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่สี่
ประโยคที่ห้า(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่หก
ประโยคที่เจ็ด(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่แปด
ประโยคที่เก้า(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่สิบ
</tpoem>

หรือในรูปแบบ

<tpoem>
ประโยคที่หนึ่ง(เคาะ spacebar 3 ครั้ง) ประโยคที่สอง
ประโยคที่สาม
ประโยคที่สี่(เคาะ spacebar 3 ครั้ง) ประโยคที่ห้า
ประโยคที่หก
ประโยคที่เจ็ด(เคาะ spacebar 3 ครั้ง) ประโยคที่แปด
ประโยคที่เก้า
</tpoem>

 ยิงฟันยิ้ม

แต่เมื่อเข้าไปพิมพ์งานในเวปวิกิ (www.wikipedia.org & www.wikisource.org) ก็พบว่าจะใช้คำสั่งเดียวกันกับของตู้หนังสือเรือนไทยนั้นไม่ได้
ก็ถือโอกาสมั่วอยู่หลายรอบ จนจับใจความได้ว่าการใช้คำสั่งในเวปวิกิเพื่อสร้างรูปแบบร้อยกรองนั้น ให้ใช้คำสั่งดังนี้

{|
|ประโยคที่หนึ่ง||ประโยคที่สอง
|-
|ประโยคที่สาม||ประโยคที่สี่
|-
|ประโยคที่ห้า||ประโยคที่หก
|-
|ประโยคที่เจ็ด||ประโยคที่แปด
|-
|ประโยคที่เก้า||ประโยคที่สิบ
|-
|}

หรือในรูปแบบ
{|
|ประโยคที่หนึ่ง|| ประโยคที่สอง
|-
|ประโยคที่สาม||
|-
|ประโยคที่สี่||ประโยคที่ห้า
|-
|ประโยคที่หก||
|}

อ้างถึง - จิระเดช เกิดศรี และ สมัญญา พันธุวัฒนา, Wiki คลังความรู้ คู่องค์การ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 มี.ค. 10, 21:48

จากที่ค่อยๆ เติมแต่งเรื่องราวบทความในตู้หนังสือเรือนไทย ทำให้พบปัญหาหลายๆ อย่างที่ต้องหาตำตอบ คือ
๑. การพิมพ์คำร้อยกรอง ให้แสดงตามแบบที่เราต้องการ ก็หัวหมุนอยู่พ้กหนึ่ง จนกระทั่งคุณ CrazyHOrse ต้องเข้ามาช่วยชี้แจงให้ทราบ ก็ถึงบางอ้อไปหนึ่งข้อหละ คือ การใช้เครื่องหมายคำสั่งกำกับรูปแบบในการพิมพ์ คือ การพิมพ์ในรูปแบบ

<tpoem>
ประโยคที่หนึ่ง(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่สอง
ประโยคที่สาม(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่สี่
ประโยคที่ห้า(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่หก
ประโยคที่เจ็ด(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่แปด
ประโยคที่เก้า(เคาะ spacear 3 ครั้ง)ประโยคที่สิบ
</tpoem>

หรือในรูปแบบ

<tpoem>
ประโยคที่หนึ่ง(เคาะ spacebar 3 ครั้ง) ประโยคที่สอง
ประโยคที่สาม
ประโยคที่สี่(เคาะ spacebar 3 ครั้ง) ประโยคที่ห้า
ประโยคที่หก
ประโยคที่เจ็ด(เคาะ spacebar 3 ครั้ง) ประโยคที่แปด
ประโยคที่เก้า
</tpoem>

 ยิงฟันยิ้ม

แต่เมื่อเข้าไปพิมพ์งานในเวปวิกิ (www.wikipedia.org & www.wikisource.org) ก็พบว่าจะใช้คำสั่งเดียวกันกับของตู้หนังสือเรือนไทยนั้นไม่ได้
ก็ถือโอกาสมั่วอยู่หลายรอบ จนจับใจความได้ว่าการใช้คำสั่งในเวปวิกิเพื่อสร้างรูปแบบร้อยกรองนั้น ให้ใช้คำสั่งดังนี้

{|
|ประโยคที่หนึ่ง||ประโยคที่สอง
|-
|ประโยคที่สาม||ประโยคที่สี่
|-
|ประโยคที่ห้า||ประโยคที่หก
|-
|ประโยคที่เจ็ด||ประโยคที่แปด
|-
|ประโยคที่เก้า||ประโยคที่สิบ
|-
|}

หรือในรูปแบบ
{|
|ประโยคที่หนึ่ง|| ประโยคที่สอง
|-
|ประโยคที่สาม||
|-
|ประโยคที่สี่||ประโยคที่ห้า
|-
|ประโยคที่หก||
|}
 เจ๋ง
จิระเดช เกิดศรี และ สมัญญา พันธุวัฒนา , Wiki คลังความรู้ คู่องค์การ, พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
Moderator
นิลพัท
*****
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 มี.ค. 10, 22:08

ขอบพระคุณคุณลุงไก่ที่ช่วยสรุปเผื่อคนที่ตามมาทีหลังจะได้ใช้เวลาน้อยลงครับ

ระบบที่ wiki ใช้อยู่นั้น เขาประยุกต์ใช้จากวิธีการเขียนตารางใน wiki ครับ แต่ผมเห็นว่าจะเพิ่มงานให้คนที่เข้ามาเติมหนังสือเข้าตู้ ที่สำคัญคือมันไม่ readable คือดูไม่รู้เรื่อง (จากประสพการณ์ที่ไปแอบดูที่ wikisource มา)

ใน module ของ wiki นั้น มีคนทำ tag <poem> สำหรับช่วยเขียนบทกวีของฝรั่ง ผมเห็นว่าน่าจะทำให้งานง่ายลง ก็เลยดัดแปลงมาเป็น <tpoem> ครับ เขียนอย่างง่ายๆ น่าจะปรับปรุงได้อีกมาก หากมีผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้โดยตรงเข้ามาช่วยในอนาคตครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 21 คำสั่ง