เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 23059 ภาพพระบฎ
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


 เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:18

สวัสดีสำหรับสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทุกท่านนะครับ     ความจริงผมไม่ค่อยเขียนรายละเอียดให้ยืดยาวนักเนื่องจากเป็นภาพจะน่าดูและน่าสนใจกว่า    แต่เห็นว่าบางครั้งเรานำภาพมาลงแต่ข้อมูลเชิงลึกนั้นไม่ค่อยได้อธิบาย เท่าที่ควร   ก็เลยถือโอกาสนำเรื่องภาพพระบฎ  มาเล่าสู่กันฟังครับ
สมัยเรียนจิตรกรรมไทยผมมักจะสนใจงานจิตรกรรมไทยตามฝาผนังโบส์ถวิหารต่างๆ   หรือตามสมุดข่อยแต่ก็มีภาพจิตรกรรมอีกชนิดหนึ่ง    ซึ่งปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที   เนื่องจากพกพาสะดวก  ขโมยออกมาขายง่าย   ไปอยู่ต่างประเทศก็มาก   พอๆกับสมุดข่อยเลย    นั่นก็คือ ภาพพระบฎ  นั่นแหละครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:19

พระบฎคืออะไร
พระบฎหรือเรียกอีกอย่างว่าพระบฎ    เป็นจิตรกรรมประเภทหนึ่งที่เขียนลงบนผ้า  ลักษณะคือแขวนห้อยตามความยาวของผ้า   ตามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   มีไม้สอดสำหรับแขวนหัวและท้าย   มีภาพทำเป็นหัวเม็ดที่ปลายไม้ด้วย ครับเพราะเราทำเพื่อพุทธศาสนา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:21

ภาพพระบฎการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
ผ้าที่นำมาเขียนภาพพระบฎแต่เดิมนั้นใช้ผ้าที่ผู้ตายใช้สอยเป็นประจำ   หรือผ้าที่ผู้ตายรักชอบมาก    หรือผ้าขาวสำหรับคลุมหีบศพ   ถือเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายอีกทางหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:23

ทำอย่างไรกับการทำพื้นภาพพระบฎก่อนเขียนภาพ
การเตรียมพื้นภาพผ้าพระบฎนั้นเขาจะนำผ้ามาขึงให้ตึง    ลองพื้นด้วยกาวเม็ดมะขามผสมกับดินสอพองเล็กน้อยเพื่อให้ภาพดูดสีได้ดีและติดทนนาน   กาวเม็ดมะขามคือเม็ดมะขามหวานนั่นเองแต่มีใครไม่รู้จำไม่ได้ให้ใช้เม็ดมะขามเปรี้ยวบอกว่าดีกว่าอันนี้ไม่ทราบได้เพราะยังไม่เคยลองเสียที    วิธีการคือเอาเม็ดมะขามที่แห้งแล้วมาคั่วในกะทะให้กรอบพอเปลือกกระเทาะออก   แกะเปลือกเมล็ดออกและเอาเนื้อด้านใน  มาต้มผสมน้ำให้เหลวพอควรผสมดินสอพองแล้วทาลองพื้นภาพทาแล้วขัดให้เรียบแล้วทำแบบเดิมจนมีความหนาพอสมควร  แล้วขัดหน้าให้เรียบ  บางครั้งมีการกวดหน้าผ้าชั้นสุดท้ายให้แน่นอีกทีหนึ่ง   อย่าผสมดินสอพดงมากเกินไปจะทำให้งานหลุดร่อนและไม่ทนทาน


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:24

ใช้สีอะไรเขียนภาพพระบฎ
นี่ถ้าตูตอบแบบกำปั้นทุบดินคงตอบว่าสีฝุ่น   เดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดไปซื้อสีฝุ่นตามร้านก่อสร้างหรือร้านขายเครื่องเขียน    แต่ก็ใช้เขียนได้นะแต่คุณภาพจะไม่ค่อยดีเหมือนสีฝุ่นโบราณ       สีแดง   มากจากดินแดง   ดินบางตัวมีสีน้ำตาลอมแดงก็มี   นำมาบดกับน้ำให้ละเอียด (พวกนี้เป็นอ๊อกไซด์จึงมีสีแดง)และกรองให้ละเอียดที่สุดด้วยผ้าขาวบางผสมกาวยางไม้ บดลงในโกร่ง    สีแดงอีกอย่างคือชาด    ไม่ว่าจะเป็นชาดหรคุณ   หรือเงี่งจูมีขายที่ร้านเจ้ากรมเป๋อวัดสามปลื้ม    ชาดสีแดงนั้นราคาแพงส่วนใหญ่ไว้ใช้ตัดเส้นบนทองเพราะเส้นจะจมบนทองไม่ลอยอยู่บนทองเหมือนสีแดงตัวอื่น   เวลาบดต้องบดกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ เพราะชาดจะไม่ละลายในน้ำ    อีกตัวหนึ่งคือรังของครั่ง อันนี้หายากเพราะผิดกฏหมายเขาห้ามนำออกจากป่า     สีดำ  จากหมึกจีน    หรือเข่มานำมาบดและผสมกาวยางไม้(แนะนำให้ใช้กาวกระถิน  หรือกาวยางมะขวิด  อย่าใช้กาวหนังควายเด็ดขาดเพราะเหม็นมาก)    สีเหลือง   จากยางของต้นรงค์   หรือต้นรงค์ทอง   เป็นก้อนๆเวลาใช้นำมาบดละลายน้ำแล้วใช้ได้เลยเป็นกาวยางไม้ในตัวอยู่แล้ว   สีเหลืองอีกสีทำจากหรดาล  ที่ใช้เขียนลายรดน้ำมีสีเหลืองเป็นประเภทกำมะถัน   ต้องหมักไว้หลายปีก่อนนำมาใช้ผสมกาวยางไม้แล้วใช้ได้เลย     ในหมู่สีเขียวใช้  สนิมของทองแดง   คือสนิมเขียวนั่นเอง  โดยการนำแผ่นทองแดงมาแช่น้ำส้มสายชูทิ้งไว้จนเกิดสนิมสีเขียวนำมาขูดเอาสีเขียวของสนิมออกมาผสมกาวยางไม้เราเรียกว่าสีเขียว ตังแช
สีเขียวอีกอย่างเรียกว่าเขียวใบแค   อันนี้ไม่รู้สูตรใคร   รู้ช่วยบอกที   เคยเห็นเขาเอาใบแคมาหมักและบดจนได้สีเขียวสำหรับเขียนจริงๆ    แต่เขาไม่ได้บอกกระบวนการหมักว่าทำอย่างไร    สีน้ำเงินของคราม    สีขาวจากเปลือกหอยเผา    หรือดินขาว  นำมาบดและผสมกาวยางไม้   เท่าที่รู้ก็มีแค่นี้แหละครับ   สมัยนั้นเราใช้สีที่สั่งจากจีนเป็นส่วนมากและเป็นสีฝุ่นธรรมชาติ    สีมักจะออกทึมๆเบรคๆทำให้งานขลังและสวยเมื่อปิดทอง(อ้อลืมบอกว่าเวลาปิดทองใช้ยางของมะเดื่ออุทุมพรนะครับ   ทาไปส่วนที่จะปิดทองรอให้แห้งและปิดได้เลยครับ    สมัยก่อนไปเขียนภาพต่างจังหวัด   ยางมะเดื่อดันหมด  จะซื้อหาก็ลำบากพอดีมีอยู่หลายต้นหลังป้าช้าของวัด    ต้องไปกรีดเอายางมะเดื่อกันตอนตีสี่ตีห้าเพราะน้ำยางออกมากที่สุดพูดถึงแล้วขนหัวลุกจริงๆสีสมัยใหม่หมายถึงสีฝุ่นที่ขายมักเป็นสีสังเคราะห์สีจะสดมากเกินไปทำให้งานที่เขียนบางครั้งกลายเป็นงานการ์ตูนมากกว่าเป็นจิตรกรรมไทยจริงๆคือเขียนภาพไทยแต่สีเป็นการ์ตูนวอทดิสนี่เลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:26

เขียนภาพอะไรในพระบฎ
ส่วนใหญ่ภาพพระบฎจะเขียนเป็นรูปพระพุทธเจ้าเป็นส่วนมากมีสาวกเฝ้าประกอบบ้าง  มีบ้างเป็นตอนมารผจญ   อย่างที่เคยเห็นที่เจ้าสามพระยา    แต่ตอนนี้ไม่รู้อยู่ไหนแล้วใครไม่เคยเห็นไปดูได้ในกระทู้เก่าๆเรื่องภาพพระบฏครับ
ทำไมต้องใส่ไม้ด้านลงและด้านล่างของภาพพระบฎ
ไม้กลึงกลมๆสอดเข้าไปใต้ผ้าที่เย็บเป็นซองเป็นเครื่องถ่วง   และยึดตึงไม่ให้ผ้าย่น  ช่วยให้ภาพเขียนอยู่ในสภาพดี  และใช้สำหรับเป็นแกนสำหรับม้วนภาพ   ด้านบนจะมีเชือกสำหรับผูกห้อยหรือแขวน    ภาพพระบฎจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความประสงค์ของผู้สร้าง   ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสถานที่ด้วย



บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:27

กำเนิดและความเป็นมาของพระบฎ
สรุปง่ายๆว่านักวิชาการบางท่านบอกว่าได้รับอิธิพลภาพแขวนของจีน    ส่วนหนึ่ง  บางท่านก็ว่าพัฒนามาจากตุงที่ใช้แขวนห้อยเป็นพุทธบูชา    อย่างไรก็ดีคำว่าพระบฎหรือ บฎ  มาจากภาษาบาลีแปลว่าผ้าขาวหรือผืนผ้าเมื่อรวมเรียกว่าพระบฎ ก้แปลได้ว่าผ้าที่เขียนภาพเรื่องราวของพระพุทธเจ้า  ใครเป็นคนริเริ่มนั้นหาหลักฐานได้น้อยเต็มที ส่วนมากเป็นภาพในสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งนั้น       ผมเองอยากไปดูภาพพระบฎที่เพชรบุรีที่วัดจันทราวาส  เพราะท่านอ.ศิลป  เคยไปดูเมื่อพ.ศ.  ๒๕๐๑  (จะยังเหลืออยู่หรือเปล่าเนี่ยตูยังไม่เกิดเลย)  “ ท่านบอกว่าผืนหนึ่งเป็นเรื่องทศชาติฝีมือราวๆรัชกาลที่๓     อีกผืนหนึ่งเป็นพุทธประวัติตั้งแต่ประสูตรจนถึงปรินิพพานคงเขียนก่อนรัชกาลที่๓ “


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:28

รูปแบบและลักษณะของภาพพระบฎ
              ภาพพระบฎเท่าที่มีเหลืออยู่   เนื้อเรื่องเขียนเกี่ยวกับเรื่องพุทธศาสนาทั้งสิ้นแต่ที่นิยมเขียนมากที่สุดเห็นจะเป็นภาพแบบสองด้านเหมือนกัน   คือมีพระพุทธเจ้านั่งหรือยืนและมีสาวกอยู่ด้ายข้าง     ด้านบนจะมี  เทวดาหรือวิทยาธรต่างๆลอยอยู่ด้านบนบ้างเขียนเรื่องจุฬามณี    บ้างเขียนพุทธประวัติ    บ้างเขียนเรื่องชาดกก็มี   ดังตัวอย่างภาพคร่าวๆที่สอดแทรกอยู่ตามบทความเพื่อไม่ให้สมาชิกเบื่อหน่ายในการอ่านนัก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:32

ส่วงนภาพชุดนี้เป้นขาวดำจากวัดจันทราวาส  ในจังหวัดเพชรบุรีเห็นมีบันทึกเขียนไว้ว่ามีอยู่๙ภาพไม่รู้ว่าจะได้เห็นหรือเปล่าไปเพชรคราวนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:33

อีกภาพครับภาพที่๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 23:37

ภาพที่๓เป็นภาพสุดท้ายที่พอค้นได้ครับเอาไว้ไปดูของจริงที่เพชรดีกว่าครับ(ถ้ายังอยู่นะ)     ส่วนจะไปวัดไหนนี่คงแล้วแต่สมาชิกกันอีกที


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 00:19

สวัสดีครับ คุณยุทธนา เข้ามารอชมภาพพระบฏสวยๆกันนะครับ ได้อ่านคำบรรยายเรื่องเขียนสีฝุ่นแล้วชักอยากจะลองเขียนดูบ้างจัง โบราณท่านมีวิํธีการซับซ้อนจริงๆ

รู้สึกว่า ทางอินเดียจะมีพระบฏด้วยนะครับ เรียกว่า ปฏจิตร (Patacitra) ก็คือการเขียนภาพลงบนผ้านั่นเอง ปฏ ก็คือคำเดียวกับคำว่า บฏ

เลยเอาพระบฏรุ่นแรกๆของโลกมาให้ดูกัน เขาว่ากันว่าที่แถบสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียนรูปพระพุทธเจ้า ที่มีเทพเชิญอยู่ 2 องค์นั้น คือพระบฏ เท็จจริงอย่างไรก็ลองดูกันครับ

พระปางมหาปาฏิหาริย์ที่สราวัสติ ศิลปะคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 6-8 ครับ

ใส่ที่มาด้วย

http://www.indiamike.com/photopost/data/500/Lahore_Museum_Gandhara_Art_Sravasti.jpg


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 01:16

สวัสดีครับ  ก็อาจจะเป็นไปได้ครับที่ประติมากรรมในภาพอาจเป็นพระบฎ  แต่ยังไม่ชัดเจนนักจริงๆภาพแขวนส่วนมากมีอยู่หลายประเทศเหมือนกันโดยเฉพาะในเรื่องศาสนา เช่นทิเบต   จีน   เขมรหรือพม่าก็มี  น่าจะเป็นการทำขึ้นเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้  เช่นอาจจะนำติดตัวเวลาเดินทางเอาไว้เครพบูชาก็อาจจะเป็นได้ครับ   หรืออาจจะไว้ประกอบการทำกิจกรรมทางศาสนาก็อาจจะเป็นได้    แต่ที่แน่ๆ ภาพพระบฎเป็นงานจิตรกรรมบนผืนผ้าที่งามมาก  และได้ความรูสึกงามมากเวลาแขวนด้านหลังองค์พระซึ่งเป็นประติมากรรม  ถ้ายิ่งจุดเทียนให้แสงนะงามอย่าบอกใคร   ปัจจุบันศิลปินบางท่านก็นิยมเขียนภาพแบบภาพพระบฎเหมือนกัน แทนที่จะใส่กรอบ   สำหรับรูปที่แนบเพิ่มมาให้ดูเป็นรูปที่ถ่ายไว้นานมาก  ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นภาพที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดมหาธาตุในจังหวัดเพชรบุรีถ้าไม่ใช่ต้องขออภัยเพราะหลายสิบปีแล้วภาพนี้ครับ   เหลืออยู่แค่สองภาพครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 01:20

ภาพขยาย
ภาพชิ้นนี้จัดภาพได้สวยงามลงตัวมากโดยเฉพาะสีบัวโรย(สีชมพูตุ่นๆนิดๆเหมือนสีของดอกบัวเวลาโรย)ยิ่งสีทองที่ปิดองค์พระพุทธเจ้าทำให้ภาพงามน่าดูครับ



บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 01:26

รูปนี้จะเห็นชัดคือพื้นสีชมพู(บัวโรย)  ลายดอกไม็บนซุ้มใช้สีเขียวสลับแดงและตัดเส้นขาวภายในมีใบโพธฺ์สีเขียวใบแคแซมพื้นน้ำตาลในขณะที่ตัวซุ้มเรือนแก้วเป็นสีขาวโดยสอดสีเขียวแดงสลับกันไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาดที่ตัดเส้นทองบนพระพักต์ของพระพุทธเจ้างามจริงๆครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง