เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 61496 โรคโบราณของไทย
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 23:41

ลักษณะของโรคขยุ้มตีนหมา น่าจะดูคล้ายๆ กับรูปของผู้ป่วยโรคงูหวัด ดังภาพนี้ครับ

นพ. ประวิตร พิศาลบุตร มีความเห็นว่า โรคขยุ้มตีนหมา กับ งูสวัด น่าจะเป็นกลุ่มอาการเดียวกัน ตามบทความนี้ครับ http://www.elib-online.com/doctors3/skin_pr01.html

ผมว่า แพทย์แผนโบราณนี้ ตั้งชื่อโรคไว้อย่างละเอียดมาก โดยสังเกตจากรูปแบบทางกายภาพของโรค (รูปร่างของผื่น) หรือ เวลาที่เป็น (เช่นโรคกลุ่มปักษี)

ทำให้บางครั้งโรคโบราณบางอย่าง ยากที่จะเทียบกันแบบเป๊ะๆ กับโรคปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันเรียกไข้หวัด แต่โบราณท่านอาจจำแนกเป็น หวัดโน้น หวัดนี่ ตามเวลา และอาการ



บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 06 ก.พ. 10, 05:41

ขอบคุณคุณ CrazyHOrse ครับ ที่เพิ่มเติมศัพท์  ยิงฟันยิ้ม

พอดีผมไปเจอแหล่งข้อมูลต้นฉบับของตำราแพทย์แผนไทย ซึ่งมีให้บริการอยู่หลายคัมภีร์ ที่เว็บไซต์ "ตำหรับยา ตำราไทย"

จัดทำโดย หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตำราน่าอ่าน: http://thrai.sci.ku.ac.th/node/587

ในชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ มีคำอธิบายไว้ดังนี้ครับ

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำและจัดพิมพ์ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ โดยได้รวบรวมคัมภีร์แพทย์ ครั้ง ร.ศ.๑๒๖ และ ร.ศ.๑๒๘ ซึ่งได้ตรวจสอบรับรองโดยคณะแพทย์หลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จำนวน ๑๔ คัมภีร์ เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่

๑. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวถึงจรรยาของแพทย์ทับ ๘ ประการ-โรคทราง-สมุฏฐานแห่งไข้-อติสารมรนญาณสูตร
๒. พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ กล่าวถึงพรหมปุโรหิตแรกปฐมกาล-การปฏิสนธิแห่งทารก-กำเนิดโลหิตระดูสตรีครรภ์ทวานกำเนิดโรคกุมารและยารักษาฯ
๓. พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ กล่าวถึงกองธาตุพิการตามฤดูฯ
๔. พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัต)
๕. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย กล่าวถึงการค้นหาต้นเหตุการเกิดของโรคฯ
๖. พระคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึงนิมิตรร้ายดีฯ
๗. พระคัมภีร์มหาโชตรัต กล่าวถึงโรคระดูสตรีฯ
๘. พระคัมภีร์ชวดาร กล่าวถึงพิษอาหารทำให้ลมโลหิตกำเริบฯ
๙. พระคัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่มีเกิน-หย่อนหรือพิการฯ
๑๐. พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ กล่าวถึงกองธาตุทั้งสี่ โรคโลหิตระดูสตรีฯ
๑๑. พระภัมภีร์ธาตุบรรจบ กล่าวถึงโรคอุจจาระธาตุฯ
๑๒. พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา กล่าวถึงโรคปัสสาวะมุตกิตมุตฆาตฯ
๑๓. พระคัมภีร์ตักกะศิลา กล่าวถึงบรรดาไข้พิษทั้งปวงฯ
๑๔. พระคัมภีร์ไกษย กล่าวถึงโรคกระษัย ๒๖ ประการฯ





ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ปักษี" นั้น ในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ บรรยายว่า

สิทธิการิยะ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยปีศาจกระทำโทษ แก่กุมารทั้งหลาย มีลักษณะ ๔ ประการ คือ

นนทปักษีประการ ๑ กาลปักษีประการ ๑ อสุนนทปักษีประการ ๑ เทพีปักษีประการ ๑

(๑) อันว่าลักษณะนนทปักษีกระทำโทษแก่กุมารเมื่ออยู่ในเรือนไฟนั้น เข้าในไส้เปนเสมหะให้เจ็บทั้งตัว และให้รากสำรอกไหลออกมาทางจมูก

(๒) อันว่าลักษณะกาลปักษีทำโทษนั้น เมื่อมารดาออกไฟแล้วได้ ๕ เดือน ปีศาจออกนอกไส้ให้ไส้เปนขดลั่นดังอยู่จ้อๆ แลให้ร้องไห้ เปนครู่แล้วให้ทอดใจใหญ่ร้องไห้เมื่อหลับ

(๓) อันว่าลักษณะอสุนนทปักษีกระทำโทษแก่กุมารนั้น ให้อยากน้ำให้นอนมิหลับกินเข้ามิได้ ให้ตัวร้อนปิศาจอยู่ตับ

(๔) อันว่าลักษณะเทพีปักษีกระทำโทษแก่กุมารนั้นให้ง่าเท้า ง่ามือ เมื่อออกจากเรือนไฟแล้วได้ ๓ เดือน ๔ เดือนก็ดี ย่อมให้เหลือกตาซ้ายขวา แลช้อนตากระหม่อมพร่อง อันว่านนทปักษีเข้าในไส้นั้นออกโดยทวารหนัก อันว่ากาลปักษีกระทำโทษนั้นออกโดยทางปัสสาวะ อันว่าอสุนนทปักษีนั้นเข้าโดยจมูกออกทางจักษุ อันว่าเทพปักษีนั้นเข้าโดยนมออกโดยเท้า

ถ้าจะแก้นนทปักษีนั้น ท่านให้เอาใบหนาด ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ประสมกันเข้าบดทาตัวกุมารนั้น นนทปักษีกลัว

ถ้าจะแก้กาลปักษี ท่านให้เอาสาบแร้ง ๑ สาบกา ๑ เขาควาย ๑ ประสมกันเข้าเผารม กาลปักษีกลัว

ถ้าจะแก้อสุนนทปักษี ท่านให้เอาขนนก ๑ ขนกา ๑ ประสมกันเข้าเผา อสุนนทปักษีกลัว

ถ้าจะแก้เทพีปักษี ท่านให้เอาพลับพลึง ๑ สุพรรณถัน ๑ ประสมกันเข้าเผา เทพีปักษีกลัว


จะเห็นว่า ต้นฉบับใช้ "อสุนนทปักษี" ต่างจากที่ผมเอามาอธิบายในครั้งแรก (อนุนนทปักษี) กับ "กาฬปักษี" เป็น "กาลปักษี"

จากข้อมูลในคัมภีร์ ก็บ่งชี้ไว้ชัดเจนว่า โรคในทารกเหล่านี้ เกิดจากวิญญาณร้าย ที่เรียกว่า "ปักษี" หรือ ผมเรียกว่า "ผีนก"

แต่ทำไมต้องเป็น "นก" อันนี้ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน คงเป็นความเชื่ออะไรซักอย่างระหว่าง นก กับ เด็กทารก  ฮืม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 ก.พ. 10, 05:57

ส่วนนามานุกรมของหนังสือ

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์ และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๙

อธิบายคำว่า "ปักษี" ดังนี้ครับ


ปักษี โรคชนิดหนึ่ง เกิดเป็นแก่เด็กตั้งแต่แรกคลอดจากครรภ์มารดาจนถึงอายุ ๑๑ เดือน และเมื่ออายุถึง ๑ ขวบก็จะพ้นจากโทษของโรคปักษีหรือปีศาจก็เรียก อาการของโรคเกิดเป็นพิษไข้จับแล้วมีเวลาสร่าง มี ๔ ชนิดคือ (๑)นนทปักษี ไข้จับเวลาเช้า สร่างเวลาค่ำ (๒)กาฬปักษี ไข้ขับเวลาค่ำ สร่างเวลาเช้ามืด (๓)อสุนนทปักษี ไข้จับเวลาเที่ยงวัน สร่างเวลาเที่ยงคืน (๔)เทพปักษี ไข้จับเวลาเย็น สร่างเวลาเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ดูเพิ่มเติมที่ แม่ซื้อ

ส่วน "แม่ซื้อ" ก็อธิบายไว้ว่า
แม่ซื้อ มีความหมาย ๒ อย่าง คือ
(๑)เทวดาหรือผีที่ประจำอยู่กับเด็กทารก ตามหลักฐานที่ปรากฏในจารึกวัดโพธิ์ระบุว่า แม่ซื้อมีอยู่ประจำวันทั้ง ๗ โดยมีที่สถิตอยู่ในเมืองบน (เมืองสวรรค์) เมืองล่าง (เมืองดินหรือพื้นโลก) และกลางหน (กลางทาง) ในคัมภีร์ปฐมจินดาร์กล่าวว่าแม่ซื้อแต่ละตนมีชื่อและที่อยู่ดังนี้ ๑.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันอาทิตย์ชื่อวิจิตรนาวรรณมีถิ่นอาศัยอยู่บนจอมปลวก ๒.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันจันทร์ชื่อวรรณานงคราญมีถิ่นอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำ ๓.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันอังคารชื่อนางยักษ์บริสุทธิ์มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลเทพารักษ์ ๔.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันพุธชื่อนางสามลทรรศน์มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ ๕.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันพฤหัสบดีชื่อนางกาโลทุกข์มีถิ่นอาศัยอยู่ที่สระน้ำหรือบ่อน้ำใหญ่ ๖.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันศุกร์ชื่อนางยักษ์นงเยาว์มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ ๗.แม่ซื้อประจำเด็กเกิดวันเสาร์ชื่อนางเอกาไลยมีถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลพระภูมิ

(๒)โรคชนิดหนึ่ง เป็นแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุได้ ๑๑ เดือน เมื่ออายุได้ ๑ ขวบก็จะพ้นจากโทษของโรคแม่ซื้อ โรคที่เกิดจากแม่ซื้อมี ๔ อย่างคือ ๑.ปักษีหรือปีศาจ ๒.ลำบองราหู ๓.อัคคมุขี ๔.สะพั้น รายละเอียดของโรคดูที่ชื่อโรค


มาถึงตรงนี้ ผมเห็นอะไรแปลกๆ ระหว่างคำว่า ปีศาจ - ปักษี คือ เป็นคำผวน หรือเปล่า  ฮืม คือ เป็นที่รู้กันว่า ธรรมเีนียมไทยไม่เอ่ยชื่อที่ไม่เป็นมงคลตรงๆ และนิยมเลี่ยงไปใช้คำอื่น

ปีศาจ - ปาจศี แผลงเป็น ปักษี .....  ขยิบตา ....... ถึงว่า ไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับ "นก" เลยแม้แต่น้อย !


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 06 ก.พ. 10, 06:19

ส่วน "ปรเมหะ" ใน นามานุกรม สะกดไว้ว่า "ประเมหะ" มีคำอธิบายไว้ดังนี้ครับ

ประเมหะ ชื่อโรคชนิดหนึ่ง อาการของโรคเกิดจากน้ำเบาเป็นพิษ มีก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ดูเพิ่มเติมที่ นิ่ว

ไปดูต่อที่ "นิ่ว" ก็พบว่า

นิ่ว ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการขัดเบาหรือปัสสาวะไม่ออก บางทีปัสสาวะออกมาขุ่นดังน้ำข้าว หรือน้ำดินสอพองเหมือนน้ำหนอง ทำให้เจ็บปวดทรมานมาก บางทีปัสสาวะออกมาเป็นหยดเป็นปรวด เป็นหนอง เป็นต้น

ปรวด คือ หนองที่เป็นก้อนแข็งหรือเป็นเม็ดอยู่ในเนื้อ

สรุปโดยอาการคือ ตามแพทย์แผนไทย นิยามคำว่า ปรเมหะ คือ หนองที่เกิดขึ้นในท่อปัสสาวะ อันมีสาเหตุมาจากโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ผมเข้าใจว่า ปรเมหะ คือ อาการแบบหนึ่ง ของโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ คือ เป็นระยะที่ท่อปัสสาวะอุดตัน และอักเสบ จนเกิดเป็นหนอง ไหลปนมากับน้ำปัสสาวะ

ส่วนทางอินเดียนั้น ที่แปลตรงกับ โกโนเรีย คือ หนองใน

เห็นที คำว่า ปรเมหะ แต่เดิมคงเป็นคำกลางๆ ที่ใช้เรียก อาการที่มีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ...


พบมาว่า นิ่วในไต ก็เป็นสาเหตุให้ปัสสาวะเป็นหนองเหมือนกันครับ

Q: ผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต จะมีอาการอย่างไร?   
A: ผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตอาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ ถ้าหากมีอาการต่อไปนี้ก็ให้สงสัยว่าเป็นโรคไต หรือมีนิ่วในไต ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเอวปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด หรือ สีน้ำล้างเนื้อ หากมีการอักเสบ ติดเชื้อร่วมด้วยก็จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะเป็นหนองกลิ่นเหม็นคาว หากมีการอุดตันร่วมด้วยก็จะมีก้อนในท้องส่วนบนซ้ายหรือขวาที่มีนิ่วอยู่
หากมีนิ่วที่ไต 2 ข้างและประสิทธิภาพในการทำงานเสื่อมไป ผู้ป่วยก็จะมีอาการ ปัสสาวะน้อยลง บวม โลหิตจาง คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังแห้งคล้ำและคัน ผู้ป่วยอาจจะซึม หรือ ไม่รู้สึกตัว ถ้ามีของเสียค้างอยู่ในกระแสเลือดมาก


ที่มา: http://www.thaiclinic.com/urinary_stone.html
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 06 ก.พ. 10, 10:45

คำว่า ปักษี ในชื่อโรคสารพัดปักษี น่าจะมีที่มาตรงอาการของโรคที่จะจับแล้วสร่างขึ้นลงเป็นราย "ปักษ" นะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 07 ก.พ. 10, 06:55

เรื่องคำว่า "ปักษ์" นี้ ตอนแรกผมก็คิดเหมือนกันครับ แต่พอไปตรวจดูศัพท์สันสกฤตแล้ว แปลว่า ปีก หรือ ปีกของลูกศร (คือ ขนนกที่ติดอยู่กับลูกศร) หรือ ด้านข้าง, สีข้าง, ฝ่าย ก็ได้

แปลว่า ครึ่งหนึ่งก็ได้ ใน ความหมายที่แปลว่า ครึ่งหนึ่ง ได้นำมาใช้กับเดือนทางจันทรคติ โดยนับแบ่งเป็น ครึ่งละสิบสี่วัน

ราชบัณฑิตยฯ ให้ความหมายดังนี้ครับ

ปักษ-, ปักษ์   [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ
คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว
หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา
หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).


ผมได้อ่านในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ในส่วนที่กล่าวถึง ปักษี แล้ว ไม่มีส่วนไหนส่อให้เห็นถึง อาการของโรคที่ขึ้นลงตาม รายปักษ์ (ข้างขึ้น ข้างแรม) ครับ มีแต่ระยะเป็นเดือนๆ

และเนื้อความนั้น บรรยายค่อนข้างชัดเจนว่า "ปักษี" เป็นปีศาจจำพวกหนึ่ง เหมือนแม่ซื้อ

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของคุณ CrazyHOrse ก็น่าสนใจตรงที่ ถ้าผู้ตั้งชื่อโรค เทียบเอา ปักษ์ = เดือน แล้วคัดลอกผิดจาก ปักษ์ เป็น ปักษี แล้ว ก็อาจเป็นได้ครับ


ผมค้นต่อพบว่าโรคปักษีนี้ มีกล่าวถึงอยู่ใน "คัมภีร์ฉันทศาสตร์" ด้วยครับ ซึ่งในนี้ ให้รายละเอียดไว้ชัดเจนว่าเป็นปีศาจ

เช่น
อนึ่งปักษีชื่อกาฬ ออกไฟนานห้าเดือน ปีศาจเลื่อนเข้าอยู่ นอกไส้ดูอนาจ นอนหลับหวาดร้องไห้ ถอนใจใหญ่ไส้พอง รากออกช่องนาสา เมื่อมันมาทางปาก ทางไปจากทวารเบา ย่ำค่ำเข้ายามนอน ออกทินกรไขศรี เสียงสัตว์มีรบกัน ไม้ไล่ครั่นครื้นหัก ตกใจทักแต่เช้า ยินสัตว์เร้าร้องไป สาบแร้งใส่สาบกา เผาเขาผ้าเมาะรม หยูกยาพรมเร่งขับ

ที่มาของคำว่า "ปักษี" อาจสืบต่อมาจากทางตำรายาอินเดียก็ได้ (ตอนนี้ ยังไม่รู้ว่าจะค้นต่อยังไง  ยิงฟันยิ้ม) ซึ่งถ้าใช่ ก็คงมาจาก ความเชื่อพื้นเมืองแขกเกี่ยวกับ นก และ เด็กทารก มั้งครับ




บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 07 ก.พ. 10, 07:54

ผมไปเว็บขายหนังสือเกี่ยวกับอายุเวทเด็กของอินเดียใต้ ชื่อ "อาโรคฺย รกฺษา กลฺปทรุม ะ" http://www.exoticindiaart.com/book/details/IDI832/

มีอยู่บทหนึ่ง ชื่อว่า 41   Diagnosis and treatment of paksi pida

ไม่ทราบเหมือนกันว่า ปักษีเดียวกันหรือเปล่า เอาคำนี้ไปหาเว็บอื่นๆ ก็ไม่มี  ลังเล

paksi pida น่าจะตรงกับคำไทยว่า ปักษี บีฑา ( บีฑา = เบียดเบียน, บีบคั้น, รบกวน, เจ็บปวด)

บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 07 ก.พ. 10, 18:11

เพิ่งไปค้นดูคำทมิฬ พบว่า ชื่อ "ปักษี" ในตำรายาไทยนี้ น่าจะมาจากอินเดีย ซึ่งอาจมาจากสายอินเดียใต้ (ไม่ใช่คำผวน  อายจัง อิอิ)

பக்ஷிதோஷம் pakṣi-tōṣam
A disease of children believed to be caused by the falling of the shadow of birds in the evening, of five kinds, viz., vara-p-puḷ-tōṣam, nīr-p-puḷ-tōṣam, tūṅku-puḷ-tōṣam, anāmattu-p-puḷ-tōṣam kāṇā-p-puḷ-tōṣam

ปกฺษิ-โตษมฺ (ปักษิ-โตษัม) โรคชนิดหนึ่งของเด็ก เชื่อว่าเกิดจากเงาของนกที่ตกถูกตัวเด็ก ในตอนเย็นตอนค่ำ
แบ่งเป็น ๕ ประเภทคือ วรัปปุฬโตษัม นีร์ปปุฬโตษัม ตูณกุปุฬโตษัม อนามัตตุปปุฬโตษัม และ กาณาปปุฬโตษัม

ดูจากชื่ออาการ ห้า ประเภท ก็ยังไม่ตรงกับของไทย

นอกจากนี้ ยังมีชื่อโรคเด็กอื่นๆ ที่เกิดจากความเชื่อเรื่องเงานก
ความเชื่อของอินเดียใต้เกี่ยวกับ เงานกเป็นพาหนะนำโรคมาสู่เด็ก มีอีกหลายโรคครับ
อันติปปุฏโฏฏัม - โรคเด็กอ่อน เกิดจาก การนำเด็กออกไปนอกบ้านตอนหัวค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่นกบินกลับรัง
ปัฏจิโตษัม - โรคเด็ก เกิดจากเงาของนกในตอนหัวค่ำ
วีงกุปุฬโตษัม - โรคเด็ก เกิดจาก การนำเด็กออกนอกบ้านในตอนหัวค่ำ เที่ยงคืน หรือ ยามวิกาล แล้วนกบินข้ามหัวเด็ก
เวงกัณณัน - โรคเด็ก เกิดจากฤทธิ์ของตาปีศาจ ของนก
กันนิปปรไว - โรคเด็ก เกิดจากเงาของนก ที่เคลื่อนมาโดนเด็กในตอนหัวค่ำ
ปุฬฬีฏุ - โรคเด็ก เกิดจากฤทธิ์ของนกปีศาจ
เวณปุฬ - โรคเด็ก เกิดจากฤทธิ์ของนกปีศาจ  
ที่มา: Tamil Lexicon ( http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/tamil-lex/ )

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 10:08

อะโห   ไม่ได้ดูหลายวัน   ลุกลามไปไกลมาก   ตอบต่อกระทู้ไม่ถูกเลย ตกใจ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 17:20

          อ่านเรื่องโรคโบราณแล้ว มองจากยุคปัจจุบันกลับไปเห็นสภาวะสุขภาพคนสมัยนั้นเปราะบางอย่างยิ่ง

            สภาพความขาดแคลนไปหมด - ตั้งแต่ ความรู้ ความเข้าใจในโรค (สาเหตุ กลไก การดำเนินโรค ฯ)
การวินิจฉัย การตวจทางห้องปฏิบัติการ วิธีการรักษา ยาที่มีประสิทธิภาพ การจัดการป้องกัน และบุคคลากรทางการ
แพทย์พยาบาล
            - ทำให้เมื่อเกิดโรคโดยเฉพาะโรคระบาด (เช่น โรคห่า - อหิวา กาฬโรค หรือไข้หวัดใหญ่)
ผู้คนจึงพากันล้มตายไปเป็นครึ่งค่อนเมือง - ทวีป เหลือแต่ผู้ที่เข้มแข็งเป็นแล้วหาย หรือที่โชคดีไม่ได้สัมผัสโรค
เป็นผู้รอดจากการคัดเลือกของธรรมชาติ - natural selection  

            หลายโรคโบราณ ฟังชื่อ ประกอบคำอธิบายที่ไม่กระจ่าง ไม่พอเพียงแล้ว ทำให้นึกได้ยากว่าน่าจะตรง
กับโรคอะไรในปัจจุบัน  
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 17:26

ถ้าพิจารณาที่คัมภีร์อายุรเวทซึ่งจะกล่าวถึงปรเมหะร่วมกับมธุเมหะ

ปรเมหะ น่าจะหมายถึงโรคปัสสาวะขัด ซึ่งตรงกันข้ามกับ มธุเมหะ ที่เป็นโรคปัสสาวะมากนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 17:33

ไม่นึกว่าจะต่อกระทู้กันมาได้ยาวขนาดนี้
เอาชื่อโรคมาฝากอีกโรคค่ะ 
ปรวด : [ปะหฺรวด]  เนื้อที่เป็นโรค มีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง
ซิสต์ หรือมะเร็ง หรือเปล่าเอ่ย?
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 18:09

(มีการแก้ไขข้อความไปบ้าง จากเดิมที่พิมพ์ไว้จนจบแล้ว)
    
         กรณี ปรเมหะ   สรุปความจากความเห็นข้างบนว่า เป็นโรคหนองใน หรือ โรคติดเชื้อจากนิ่วทางเดินปัสสาวะ

           และล่าสุดคุณม้ากล่าวว่าหมายถึง โรค(อาการ) ปัสสาวะขัด ซึ่งตรงกันข้ามกับ มธุเมหะ ที่เป็นโรคปัสสาวะมาก
                
                     เพราะเหตุคือ ข้อมูลไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าตรงกับโรคใดในปัจจุบัน

อาการปัสสาวะขัด-ลำบาก-ปวด (โดยคร่าวๆ) มาจาก ๒ ภาวะหลัก(สาเหตุย่อยอื่นๆ ขอข้าม) คือ

                      การอักเสบติดเชื้อ หรือการตีบกั้น ของทางเดินปัสสาวะ

           ยกตัวอย่างชัดๆ ก็คือ โรคหนองใน(ติดเชื้อ) มีอาการปัสสาวะขัด-ปวดมาก และเป็นหนอง ประวัติอาการสั้น
           ส่วนโรคต่อมลูกหมากโต(ตีบกั้น) ก็มีอาการปัสสาวะขัด-ลำบาก-ปวดเบ่ง แต่จะไม่มีหนอง ยกเว้นว่ามีการติดเชื้อ
ประวัติอาการเป็นมานานกว่า

                          เพราะปัสสาวะขัด-ลำบากทำให้ปัสสาวะออกน้อย

ว่า ถึงอาการปัสสาวะออกน้อยที่ตรงกันข้ามกับปัสสาวะมาก แบ่ง แบบคร่าวๆ ได้เป็นสองกรณีเช่นกัน
คือ
           ปัสสาวะออกมาให้เห็นน้อย คือ ปัสสาวะจริงไม่น้อยแต่ปัสสาวะไม่ออกเพราะปวด-ขัด หรือเพราะมีการตีบกั้นทางออก
(ซึ่งก็ได้แก่ สองโรคที่ทำให้ปัสสาวะขัดดังกล่าวข้างต้น) กับ

           ปัสสาวะออกน้อย เพราะปัสสวาะน้อยจริง ซึ่งเป็นกรณีของภาวะไตวาย

           ต่อจากนี้จะขอจับประเด็นแค่ หนองในและ การติดเชื้อจากนิ่ว ตามที่ได้พิมพ์ไว้เดิม นะครับ        
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 18:15

              การซักประวัติ, การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเป็นตัวช่วยแยกแยะและวินิจฉัยได้
ตัวอย่าง เช่น  
 
             มีประวัติเพศสัมพันธ์(ที่มีความเสี่ยง) ประมาณ 2 - 7 วัน ก่อนเกิดอาการ - โรคติดต่อ(ติดเชื้อ)ทางเพศสัมพันธ์
             มีอาการปวดมากเมื่อเริ่มปัสสาวะและปวดมากในท่อปัสสาวะขณะปัสสาวะ - การอักเสบในท่อปัสสาวะ
                         (หากเป็นการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ อาการปวดมักเป็นตอนปัสสาวะสุด)
             นำหนองไปย้อมสีแล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์พบเชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะเข้าได้กับโรคหนองใน
             จึงได้การวินิจฉัย - โรคหนองใน(Gonorrhea)

             หากเป็นนิ่วแล้วมีปัสสาวะเป็นหนองก็เพราะนิ่วนั้นทำให้เกิดการติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจมีอาการของนิ่วมาก่อน เช่น
ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ มีปวดอย่างรุนแรง(ลักษณาการตามตำแหน่งของนิ่วนั้น) ต่อมาจึงมีไข้ แล้วปัสสาวะมีหนอง และ
เมื่อทำการตรวจพิเศษ เช่น เอ็กซ์เรย์, อัลตราซาวนด์ก็จะช่วยหาตำแหน่งที่อยู่ของนิ่วนั้น

              เมื่อวินิจฉัยสำเร็จแล้วจึงให้การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม

หลากหลายก้อนนิ่ว(ผ่าซีก)จากทางเดินปัสสาวะ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 08 ก.พ. 10, 18:24

           พูดถึงยาฆ่าเชื้อแล้ว ในกระทู้โบราณอย่างนี้คงต้องกล่าวถึงยาในตำนาน -
ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) นามว่า Penicillin
 
              antibiotic ( ภาษา Greek โบราณ – anti = "against" และ bios = "life") คือ
สารที่ยับยั้งการงอกงามหรือฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นสมาชิกหนึ่งในกลุ่มยา antimicrobial (ยาที่จัดการกับจุลชีพ -
microorganism ที่รวมถึงเชื้อราและพยาธิด้วย)

            Alexander Fleming (1881 –  1955) ค้นพบ Penicillin ในปีค.ศ. 1928 (พ.ศ. ๒๔๗๑)
จากเชื้อรา (fungus)  Penicillium notatum
            ผ่านไปจนถึงปี 1939 (พ.ศ. ๒๔๘๒) Howard Florey และ Ernst Chain จึงได้สะกัดตัวยาออกมา
และในปี 1940 (พ.ศ. ๒๔๘๓) Florey ได้นำไปทดลองใช้ในหนูก่อนที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยเป็นฝีรุนแรงที่ใบหน้า
เมื่อเดือนก.พ. 1941 น่าเสียดายที่หลังจากอาการผู้ป่วยดีขึ้นแล้วแต่ยาหมด อาการจึงกลับทรุดลงจนเสียชีวิตในที่สุด
              เนื่องจากภาวะสงครามโลกในยามนั้น Florey และพรรคพวกโดยการสนับสนุนของมูลนิธิ Rockefeller
จึงข้ามมหานทีมาอเมริกาเพื่อหาบริษัทจัดการผลิตยาในปี 1941 (พ.ศ. ๒๔๘๔)

Alexander Fleming


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 19 คำสั่ง