เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 61504 โรคโบราณของไทย
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 17:09

        ในไทยเรา คุ้นเคยกับนาม ขุนหลวงขี้เรื้อน ในวิชาประวัติศาสตร์

          เชื่อกันว่าพระองค์ประชวรเป็นโรคเรื้อน แต่บ้างก็ระบุว่า ทรงเป็นกลากเกลื้อน
          หรือ  ไม่ได้เป็นโรคเรื้อนแต่ถูกเรียกเพราะความไม่พอใจในพระองค์

          อีกพระนามของพระองค์ว่า พระเจ้าเอกทัศ(น์) ก็เป็นที่สงสัยกัน บ้างว่าเพราะพระเนตรเสียหนึ่งข้าง
แต่บ้างก็ว่า แปลว่า ทัศ(น์)- ความเห็นที่เป็นหนึ่ง เป็นเลิศ

           ในกัมพูชา บางที่กล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมผู้ยิ่งยง ทรงเป็นโรคเรื้อนในบั้นปลายพระชนม์ชีพ
พระองค์ได้ทรงทำบุญทำทานสร้าง อโรคยาศาลา ไว้ทั่วอาณาจักร

           และยังปรากฏมี ลานพระเจ้าขี้เรื้อนในนครธม ตรงอาณาบริเวณด้านหน้าซึ่งเคยเป็นที่ตั้งรูปเคารพแกะสลัก
จากหินที่ตามตัวมีตะปุ่มตะป่ำเหมือนคนเป็นโรคเรื้อนอยู่ เชื่อตามๆ กันว่าเป็นรูปอดีตกษัตริย์ของเขมรที่เป็นโรคเรื้อน
เลยเรียกว่าลานพระเจ้าขี้เรื้อน
           บ้างก็ว่า มีตำนานกล่าวถึงกษัตริย์องค์หนึ่งได้หลับนอนกับนางนาค แล้วฆ่านางนาคตาย เลือดของนาคได้กระเซ็น
ถูกพระวรกายทำให้เป็นโรคเรื้อน

           ในภายหลังมีข้อสรุปของนักวิชาการว่า รูปนั้นเป็นรูปของพระยมซึ่งเป็นเทพแห่งความยุติธรรม ที่มาตั้งไว้ตรงนี้
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ตัดสินคดีความ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 20:12

กำแพงพัง
(อังกฤษ: tropical ulcer หรือ ulcus tropicum) เป็นชื่อโรคผิวหนังชนิดแผลเปื่อยหรือโรคไข้กาฬประเภทหนึ่งซึ่งอาจยังให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้ "โรคแผลเปื่อยในประเทศร้อน" หรือ "โรคแผลประเทศร้อน" ก็เรียก

ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับของหอพระสมุดวชิรญาณซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจัดพิมพ์เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2497 อธิบายเกี่ยวกับโรค "กำแพงพัง" ว่า

 "เมื่อจะตั้งต้นเป็นขึ้นมานั้น มีหัวผุดขึ้นมาหัวเดียวทำพิษสงเป็นกำลัง ให้จับสะท้านร้อนสะท้านหนาว ให้เชื่อมมัวร้อนในกระหายน้ำ ให้ฟกบวมขึ้น น้ำเหลืองแตกพังออก วางยาไม่หยุด ให้พังออกได้ตาย"
  

ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า โรคกำแพงพังตามแพทยศาสตร์แผนโบราณนั้นคือโรคที่ปัจจุบันเรียกตามแพทยศาสตร์สมัยใหม่ว่า "โรคแผลเปื่อยในประเทศร้อน" หรือ "โรคแผลประเทศร้อน" ซึ่งพบมากในเขตร้อน เช่น ในทวีปอัฟริกาหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย

โรคนี้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2498

อาการ
ตามแพทยศาสตร์สมัยใหม่ โรคกำแพงพังมีอาการตั้งต้นด้วยการเกิดตุ่มเล็ก ๆ คล้ายยุงหรือแมลงกัดต่อย หรืออาจเกิดตุ่มในแผลเดิมของคุดทะราดหรือแผลเรื้อรังก็ได้ จะมีอาการเจ็บปวดที่ตุ่มนั้น และก่อให้เกิดอาการไข้

ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ตุ่มนั้นจะกลายเป็นแผลเน่าและแตกออกอย่างรวดเร็ว

ภายในไม่กี่วันถัดนั้น แผลจะเน่าเปื่อยลึกลงไปถึงกระดูก และแผ่กว้างออกยาวออกทุกทิศทุกทางรอบแผลนั้นจนเป็นอาณาเขตโตหลายนิ้วหลายฟุต โบราณจึงเปรียบว่าเหมือนกับกำแพงที่ผังแผ่ออก

โรคนี้ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้

การเกิดโรค
นายสวัสดิ์ แดงสว่าง ผู้บัญชาการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สันนิษฐานว่า โรคนี้ทางแพทยศาสตร์เข้าใจว่าเกิดจากเชื้อโรคชนิด Spirochaeta schaudinni และชนิด Fusiform bacilus

จาก วิกิพีเดีย
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 20:54

เห็นรูปท้าวแสนปมแล้ว อืม เห็นใจนางอุษา มารศรีจริงๆ  ยิงฟันยิ้ม

แต่ติดใจโรคชิวหาสดมภ์นี่สิครับ ว่าทำไมเรียกอย่างนั้น เพราะคำว่าสดมภ์เองก็ไม่ได้หมายถึงอะไรที่คล้ายกับอาการของโรค หรืออดีตเคยมีความหายอย่างนั้นก็ไม่ทราบได้ เปิดพจนานุกรมดูพบว่า สดมภ์ [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสําหรับกรอกรายการ ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ). รึว่าลิ้นแข็งเหมือนเสา เอาเข้าไป

อาจารย์ จขกท. หรือท่านใดพอทราบก็อนุเคราะห์ชี้ทางสว่างแก่ผมด้วยนะครับ

".....ท่านใดมีตอบขอบคุณเอย....."

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 03 ก.พ. 10, 21:45

ถ้าแปลบาลีเห็นจะต้องถามคุณหลวงเล็ก  แต่คุณเพ็ญชมพูอาจมีหนังสือ ให้คำอธิบายได้
ส่วนดิฉันได้แต่เดา ว่า ชิวหาสดมภ์  แปลเอาดื้อๆว่า ลิ้นเป็นแท่ง  คือลิ้นแข็งนั่นเอง

ไปเจออีกนิดหน่อย 
อ้างจากจากตำราแพทย์แผนโบราณ สาขาเวชกรรมเล่ม ๓ และตำราการแพทย์ไทยเดิม กล่าวถึงเส้นสุมนาว่าตั้งต้นที่กึ่งกลางท้องเหนือสะดือ 2 นิ้ว แล่นขึ้นไปในทรวงอก ถึงลำคอ ไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น เรียกว่า รากเส้นลิ้น ลมประจำเรียกว่า ลมชิวหาสดมภ์
ถ้าเส้นสุมนาพิการ มีผลทำให้พูดไม่ออก เกิดลมเรียกว่า ชิวหาสดมภ์  ลิ้นกระด้าง คางแข็ง  หนักอก หนักใจ เซื่อม มัว  มึนซึม 
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 04:05

ขออนุญาตปาดหน้าคุณหลวงเล็กนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

เห็นคำแล้วอดไม่ได้ที่จะลองค้นดูจากเว็บ Digital Dictionaries of South India ( http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/ )

สรุปคร่าวๆ ได้ว่า ทั้งภาษาสันสกฤต (สฺตมฺภ Stambh / Stambha) และ บาลี (ถมฺภ Thambha) ทั่วไปจะแปลว่า เสา แต่ว่า บางครั้งก็แปลว่า แข็ง ได้เหมือนกัน

ในพจนานุกรมของ APTE (สันสกฤต อังกฤษ) ให้คำแปลไว้หลายแบบ แต่ไม่มีที่แปลว่าแข็งตรงๆ

स्तम्बः stambḥ / สฺตมฺภ ะ

1 A clump of grass
2 A sheaf of corn
3 A cluster, clump or bunch (in general)
4 A bush, thicket
5 A shrub or plant having no decided stem
6 The post of which an elephant is tied
7 A post; column
8 Stupefaction, insensibility; (probably for स्तभ in these two senses)
9 A mountain

ส่วนพจนานุกรมของ McDONELL (สันสกฤต - อังกฤษ) ให้ความหมายไว้ว่า
m. prop, post, pillar, column, (slender) stem (also fig. of arms; V., C.; ord. mg.); strengthening, support (rare); rigidness, fixedness; stupefaction, paralysis; stoppage, obstruction, suppression (also by magical means); pride, arrogance: -ka, a. stopping, arresting; m. N. of an attendant of Siva.

strengthening การทำให้แข็งแรง
rigidness ความเข้มงวด ความแข็งที่ทนต่อการบิดงอ

ความหมายทั้งสองนี้ น่าจะตรงกับ สดมภ์ ที่ใช้กับชื่อโรคครับ

พจนานุกรม บาลี-อังกฤษ ของ สมาคมบาลีปกรณ์ ก็ให้ความหมายทำนองเดียวกัน
ถมฺภ / Thambha
1. a pillar, a post
2. (fig.) in all meanings of thaddha (ถทฺธ = แข็ง แน่น), applied to selfishness, obduracy, hypocrisy & deceit; viz. immobility, hardness, stupor, obstinacy


พจนานุกรม Tamil lexicon ให้ความหมายของคำนี้ ที่เป็นรากในคำทมิฬว่า


ตมฺปิ- tampi- จาก สันสกฤต: stambh. (สฺตมฺภ ะ) intr. To become immovable, stiff, stunned;

ดังนั้น ก็พอสรุปได้ว่า โรคชิวหาสดมภ์ แปลว่า ว่า โรคลิ้นแข็ง ครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 05:26

คำว่า ทรพิษ (daravisฺa) ผมลองหาดูในพจนานุกรมแล้ว ไม่เจอครับ เข้าใจว่า แพทย์แผนโบราณของสุวรรณภูมิอาจผูกขึ้นเอง  ฮืม

ซึ่งอาจสมาสมาจากคำว่า ทร (dara = ความน่ากลัว ความเจ็บปวด เทียบ ละติน Terror) กับ พิษ (visฺa = พิษ เทียบ ละติน Virus) โดยอาจแปลได้ว่า พิษไข้อันน่ากลัว

คำสันสกฤตเค้าใช้ชื่อเพราะนะครับ คือ "ศีตลา" ( शीतला ) แต่อย่าเผลอเอาไปตั้งชื่อนะครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม (ชื่อจริงศีตลา ชื่อเล่นฝีดาษ หรือ น้องดาษ อิอิ)

พจนานุกรมฮินดี เก็บไว้ ๓ คำ คือ
๑. เจจก (चेचक chechak) (nf) small-pox.
๒. พรี มาตา (बड़ी माता bari: ma:ta:) small-pox
๓. ศีตลา (शीतला shi:tala:) (nf) small-pox

ในวิกิพีเดีย ใช้ เจจก (หรือ เจจัก) เป็นคำหลักครับ

ส่วนเนปาลเรียก เนปาลี: พิผร बिफर [ biphara ] , pr. biphar, NOM. smallpox
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 08:01

อ้างถึง
ถ้าแปลบาลีเห็นจะต้องถามคุณหลวงเล็ก 

อ้างถึง
ขออนุญาตปาดหน้าคุณหลวงเล็กนะครับ 

คุณ Hotacunus (สงสัยเป็นชาวชมพูทวีปมาเองเลย) ค้นหามาอธิบายได้ละเอียดมาก ขอบคุณมาก   ผมคงต้องไปหาข้อมูลอื่นมานำเสนอแทนแล้วล่ะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 20:04

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ คลายสงสัยแล้ว

คิดๆ ดูทุกภาษานี่มีความเชื่อมโยงกันจริงๆ

ได้อ่านที่มาที่ไปของคำศัพท์ต่างๆ ทำให้อดภูมิใจที่เมืองไทยเรามีภาษาเป็นของตนเองไม่ได้ (ถึงแม้จะได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นบ้างก็ตาม  ยิงฟันยิ้ม) ทำให้คำแต่ละคำมีความหมาย มีประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 04 ก.พ. 10, 20:25

เทพีปักษี
โรคเกิดแก่เด็ก ตําราแพทย์แผนโบราณว่าทําให้มีอาการ ท้องขึ้น มือเท้าเย็น ศีรษะร้อน.

ท้องขึ้นน่าจะเกี่ยวกับลมในท้อง  ท้องอืด ท้องเฟ้อ   ศีรษะร้อน เป็นไข้หรือเปล่า?
ชื่อโรคนี้จนปัญญาจะเดาจริงๆ ว่ามันเกี่ยวกับอาการโรคตรงไหน
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 20:15

สวัสดีครับ คุณหลวงเล็ก ผมก็ว่าตามดิกนั่นแหละครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม

สมัยนี้ดีมาก เวลาค้นศัพท์อะไรก็หาจากเว็บไซด์ได้ ถ้าเป็นเมื่อ สิบปีที่แล้ว ต้องไปหาที่ห้องสมุด (ซึ่งดิกบางภาษาก็ใช่ว่าจะมี) แล้วก็ต้องมานั่งไล่คำอีก

กว่าจะหาได้คงใช้เวลาครึ่งวัน เดี๋ยวนี้นั่งหน้าคอม พิมพ์ค้นไปเลย หาไปหามา ก็แค่ชั่วโมง สองชั่วโมง  เจ๋ง


พวกชื่อโรค ชื่อสูตรยา โบราณนี้ ผมก็เคยผ่านตามาบ้างเหมือนกัน ตั้งชื่อแปลกๆ ไม่เกี่ยวกับอาการก็มาก ไม่รู้เหมือนกันว่า เอาเกณฑ์อะไรมาตั้งชื่อ  ฮืม

ผมอ่านมานานแล้ว จำไม่ได้ว่าจากหนังสืออะไร คุ้นๆ ว่า ทางแพทย์แผนโบราณ จะจำแนกโรคออกเป็นสี่แนว คือ เป็นความผิดปกติของธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ)

รายละเอียดจำไมได้เสียแล้ว  อายจัง

อันนี้ผมเดาตามอาการนะครับ
พวกโรคทางผิวหนัง คงเกี่ยวกับธาตุดิน
พวกไข้ที่ทำให้ตัวร้อน ตัวเย็น เกี่ยวกับธาตุไฟ
พวกอาการอักเสบ การขับถ่าย เกี่ยวกับธาตุน้ำ
พวกอาการท้องอืด หน้ามืด เวียนหัว น่าจะเกี่ยวกับธาตุลม (อย่างเช่นคำว่า เป็นลม)

-----------------------
ชื่อโรค เทพีปักษี นี่ก็แปลก ถ้าแปลตรงๆ ก็แปลได้ว่า เทพธิดาแห่งนก หรือ เทพธิดามีปีก เราก็ไม่ทราบเสียด้วยว่า ชื่อนี้ตกทอดมาจาก การคัดลอกผิด ออกเสียงเพี้ยน หรือเปล่า  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 20:28

เจอชื่อโรคอีกหลายโรค ให้คุณ Ho  ตรวจสอบภาษาได้อีกหลายชั่วโมงค่ะ

ขยุ้มตีนหมา : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีพิษอักเสบออกเป็นเม็ดผื่นดวง ๆ.
เขม่าซาง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งตามตําราแพทย์แผนโบราณ.
บัณฑุโรค : (แบบ) น. โรคผอมเหลือง,
นันทปักษี : น. ชื่อโรคเด็กอย่างหนึ่ง (ไม่บอกอาการว่าเป็นยังไง)
ปรเมหะ : [ปะระเมหะ] น. ชื่อคัมภีร์หมอว่าด้วยโรคเกิดแต่นํ้าเบา (น้ำปัสสาวะ).
มานทะลุน : น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว.
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 22:57

จากชื่อโรคที่ อ.เทาชมพู ให้มา ทำให้ผมสงสัยว่า คำว่า "ปักษี" มันเกี่ยวอะไรกับ "โรคเด็ก" หรือเปล่า ก็เลยไปค้นมา พบว่า ชื่อโรคที่ใช้คำว่า "ปักษี" นี้ มีเขียนไว้ใน "คัมภีร์พระปฐมจินดา"

รายละเอียดโดยย่อเกี่ยวกับคัมภีร์นี้ ทางเว็บไซต์ของ พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย ให้ไว้ดังนี้ครับ
  
คัมภีร์ประถมจินดา คัมภีร์นี้ กล่าวถึงสัตว์ประเภทชลามพุชะลงมาปฏิสนธิเป็นมนุษย์ในครรภ์ มารดา จนกระทั่งคลอดออกมาเป็นชายหรือหญิง ซึ่งมีข้อแตกต่างกันอยู่ ๒ ประการคือ ต่อมเลือดและต่อมน้ำนม โดยการปฏิสนธินั้นจะต้องเกิดจากบิดา มารดาที่มีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำการปฏิสนธิกัน

นอกจากนั้น พระคัมภีร์ประถมจินดายังกล่าวถึงโรคภัยต่างๆที่จะเกิดแก่ทารก เช่น ปักษี โรคซาง โรคตาน เป็นต้น รวมทั้งลักษณะของหญิงเบญจกัลยาณี ๔ จำพวกที่จะให้น้ำนมที่ดีมีผลต่อสุขภาพของเด็ก และลักษณะของน้ำนมพิการ ที่ส่งผลให้ทารกเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

ที่มา: http://ittm.dtam.moph.go.th/Service/WebMuseum/ThaiIntell/page4_1.html

ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับ โรคที่มีคำว่า ปักษี ทางสมาคมแพทย์แผนไทย แห่งประเทศไทย ได้ยกคำอธิบายของ "ตำรายาแผนโบราณ หลวงพ่อสี ไอยรารัตน์" ไว้ดังนี้ครับ

ลักษณะปักษี ตามพระคัมภีร์ปฐมจินดาความว่า ทารกใดที่คลอดออกจากครรภ์มารดา ย่อมจะต้องถูกสพั้นพันธ์ปักษี ๔ ตน กระทำโทษให้มีอาการท้องขึ้นเชื่อมมัวหลังร้อน ถอนใจสำรอกออกทางปากและจมูก เหล่านี้เป็นต้น นับแต่เวลาคลอดตลอดเวลา ๑๑ เดือน

๑. นนทปักษี  เข้าตามลำไส้ปนไปกับเสมหะ มีอาการให้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน มักเป็นแต่เวลาเช้าตรู่ จนถึงเย็นสิ้นแสงพระอาทิตย์
๒. เทพีปักษี  มักจะเป็นแก่ทารกที่คลอดมีวัยได้ ๓ เดือน จะเป็นแต่เวลาบ่ายเย็น สร่างเวลาเช้าก่อนสว่าง มีอาการตาช้อนกลับ ท้องขึ้น เท้ามือเย็น หวาดสะดุ้งตกใจผวาบ่อยๆ
๓. กาฬปักษี มักจะเป็นแก่ทารกที่มีวัยได้ ๕ เดือน มักเป็นเวลาค่ำตอนจะนอน สร่างตอนเช้าพระอาทิตย์ขึ้น มักนอนผวาร้องไห้ ท้องขึ้นไส้พอง อาเจียนออกทางปากและจมูก
๔. อนุนนท์ปักษี มักเป็นแก่ทารกตั้งแต่ ๑๑ เดือนลงมา จับตั้งแต่เที่ยง สร่างเวลาสองยาม มีอาการไม่กินข้าว กินนม อาการกินแต่น้ำ ตัวร้อนดิ้นรนนอนไม่ได้ เนื่องจากเกิดที่ตับ


ที่มา: http://www.utts.or.th/doc_001.php?a_id=22

ตรงนี้ อาจพอสรุปได้ว่า "ปักษี" ในที่นี้ เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรคเด็ก ที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ในวัยทารก ๑๑ เดือนแรก เป็นหลัก (หลัง ๑๑ เดือน เรียก อนุนนท์ปักษี)

จากวลีว่า "ย่อมจะต้องถูกสพั้นพันธ์ปักษี ๔ ตน" คำว่า "สพั้น" พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า "[สะ] น. ทองเหลือง, ทองแดง. (ข. สฺพาน่)."

ตรงนี้ ผมอ่านแล้วก็ยัง งงๆ คำว่า สพั้นพันธ์ แต่คงพอจับความได้ว่า เป็นเรื่องปกติ ที่เด็กทารกจะถูก "วิญญาณ" (ปักษี) ๔ ชนิดคุกคาม

ดังนั้น "ปักษี" ในชื่อโรคเด็กนี้ น่าจะหมายถึง วิญญาณผีนก ที่คุกคามสุขภาพของทารก ก็คงได้    

จากชื่อ "นนท" (นนท์ = ความยินดี), "เทพี" (เทวี, หญิง), "กาฬ" (ดำ), "อนุ" (น้อย) + "นนท" น่าจะเป็นศัพท์ที่ผูกขึ้นให้ตรงกับ กาลของโรค

กลางวัน (ดวงอาทิตย์ขึ้น ถึง ดวงอาทิตย์ตก) ใช้ นนทปักษี อาจเทียบกับ แสงแดด = เบิกบาน
ตอนเย็น ถึง ย่ำรุ่ง ใช้ เทพีปักษี .... ไม่รู้เกี่ยวอะไรกับคำว่า นางอุษาเทวี หรือเปล่า  ฮืม
ตอนค่ำ ถึง เช้า ใช้ กาฬปักษี ... อาจเทียบกับ กาฬ (ดำ, มืด) = กลางคืน ...................... อีกา ?
เที่ยงวัน ถึง เที่ยงคืน ... ใช้ อนุนนทปักษี อาจเทียบว่า "อนุ" (น้อย) = ครึ่ง, อนุนนทปักษี คือ ครึ่งหนึ่งของกลางวัน กับ ครึ่งหนึ่งของกลางคืน

หรือ ชื่อต่างๆ อาจแปลมาจาก ชื่อนกไทยๆ เพื่อสร้างเป็นชื่อสำหรับโรค ฮืม

นนทปักษี - นกอะไรซักอย่าง ... ที่ฟังเสียงแล้วเบิกบาน ร้องกันตอนเช้าๆ ... นกกระจิบ นกกระจาบ  ฮืม
เทพีปักษี - นกอะไรซักอย่าง ... ที่ มีชื่อขึ้นด้วย "อี" (เ้ทียบ เทพี คือ นาง)
กาฬปักษี - น่าจะตรงกับ อีกา
อนุปักษี - ไม่น่าเกี่ยวกับชื่อนก น่าจะอิงกับ นนทปักษีมากกว่า หรือ ถ้าเกี่ยวกับชื่อนก ก็น่าจะเป็น นกกลุ่มเดียวกับ "นนทปักษี"

ตอนนี้ก็ "เดา" ได้แค่นี้ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 23:27

ขยุ้มตีนหมา : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีพิษอักเสบออกเป็นเม็ดผื่นดวง ๆ.

ผมเข้าใจว่า คงตั้งชื่อโรคตามลักษณะของผื่น เป็นดวงๆ ดูคล้ายใบ "ขยุ้มตีนหมา" ซึ่งก็น่าจะเพี้ยน หรือ แผลง มาจาก "อุ้งตีนหมา" เพราะใบของมันดูเหมือนอุ้งเท้าของสุนัข


ภาพใบขยุ้มตีนหมา จาก คุณ Alakazum:  http://www.siamensis.org/board/10394.html (กลุ่มอนุรักษ์ปลาไทย และสิ่งแวดล้อม)

ภาพอุ้งตีนหมา จาก http://online-rsr.xobix.ch/fr/rsr.html?siteSect=10007&sid=5318751&cKey=1102315435000




บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 23:35

ปรเมหะ (प्रमेह) ว่าตาม wiki ก็คือโกโนเรียครับ

น่าสนใจที่ลองค้นดูแล้วพบลิงก์เกียวกับอายุรเวทจำนวนมากพูดถึง ปรเมหะ ร่วมกับ มธุเมหะ (मधुमेह) ซึ่งหมายถึงเบาหวานครับ (prameha and madhumeha)
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 05 ก.พ. 10, 23:38

บัณฑุโรค (पंदुरोग) อันนี้เป็นโรคโลหิตจาง หรือพวกผอมแห้งแรงน้อย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง