เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 33361 ประวัติพระยาราชมนตรี(ภู่)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ม.ค. 10, 16:19

ขอค้านอาจารย์ล้อม

สักรวาน่าจะโห่ให้เรือล่ม                  นี่ฤๅกรมภูวเนตรเศษสวรรค์
เอานายทิมเข้ามาทวนพอควรกัน                       เหมือนอย่างหั่นใบขี้เหล็กให้เด็กยำ


สักวานี้  เนื้อหาก็บอกอยู่แล้วว่ากำลังเล่นสักวากัน      สำนวนภาษาก็ออกไปทางยั่วเย้า ล้อเลียน  สมัยนี้คือแซว
แล้วคุณพุ่มจะไปพาดพิงถึงการเฆี่ยนหลังเจ้าของนิราศหนองคาย หาอะไร
เหมือนอย่างหั่นใบขี้เหล็กให้เด็กยำ  แปลว่าไม่เป็นสับปะรด    ใบขี้เหล็กเขานิยมแกงกัน ไม่เอาไปยำ
แล้วยังให้เด็กทำเสียอีก     ก็แปลว่ากลืนไม่ลงแน่นอน
คำว่าทวน  ไม่ได้แปลว่าเฆี่ยนหลังอย่างเดียว  ทวนหนังสือ  คืออ่านหนังสือซ้ำ  หรือบอกหนังสือซ้ำ

ในที่นี้แสดงว่า คนที่มาร่วมวงสักวา  มี "นายทิม" อีกคนหนึ่งด้วย   เล่นสักวากลอนสด  คนบอกสักวาพูดกันปากเปล่า  ก็ต้องอาศัยคน "ทวน" กลอนด้วย เพื่อให้คนฟังตามทัน

ส่วนคนชื่อ ทิม  เป็นชื่อง่ายๆของคนไทยที่ในรัชกาลหนึ่งๆ เห็นจะมีเป็นร้อยเป็นพัน  นับเฉพาะขุนนางก็หลายสิบหรือร่วมร้อยก็เป็นได้
ไม่ได้แปลว่า ชื่อทิมในเรื่องนี้จะต้องเป็นคนเดียวกับทิมในเรื่องโน้น  ถ้าไม่มีบริบทสนับสนุนว่าเป็นคนเดียวกัน

ถ้าไม่มีหลักฐานอื่นมากกว่านี้   มีเท่าที่เห็น  ดิฉันก็จะสันนิษฐานว่าอ.ล้อม จับเอาชื่อทิม ไปเป็นคนเดียวกับเจ้าของนิราศหนองคาย   แล้วก็ดัดแปลงหลักฐานอื่นๆให้เข้ากัน
แม้แต่เปลี่ยนพระนามเจ้านายไปเป็นอีกองค์เสียเฉยๆ เพื่อให้ลงกรอบที่วางเอาไว้    
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 ม.ค. 10, 16:24

หรือจะหมายถึงนายทิมที่ไม่ได้ชื่อ "นายทิม"

คำว่า "นาย" นอกจากจะเป็นคำนำหน้าผู้ชายแล้ว ยังหมายถึง ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่  นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

"ทิม" แปลว่า น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสำหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระราชวัง เช่น ทิมตำรวจ ทิมกลอง.  ทิมดาบ (โบ) น. ทิมที่พวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ. (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

ดังนั้น "นายทิม" อาจจะหมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในโรงทิม หรือผู้ควบคุมโรงทิมก็เป็นได้

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งในสักวาของคุณพุ่มใช้คำว่า "นายทิม" ไม่ใช่ "อ้ายทิม" อย่างที่อาจารย์ล้อมว่าไว้ เนื่องด้วยคำว่า "อ้าย" ในสมัยก่อนมักใช้นำหน้าชื่อผู้ชายมักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น.(สามดวง). (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒) 

ถ้าหาก "ทิม" เป็นชื่อน่าจะใช้คำว่า "อ้ายทิม" อย่างที่อาจารย์ล้อมอยากได้ยิน

 ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 ม.ค. 10, 16:27

จริงอยู่ว่า  ว่าบทสักวานั้น เขียนว่า กรมภูวเนตร  แต่ก็เป็นสักวาที่จดมาจากความทรงจำของคนอื่นอีกที  ก็มีโอกาสจะผิดเพี้ยนกันได้อยู่

เพราะ  ในสักวาก็ไม่ได้ระบุไว้ว่า ทรงกรมอะไร กรมหลวง? กรมหมื่น?   ส่วนพระนามทรงกรม  ภูวเนตร  กับ ภูธเรศร  ก็นับว่าใกล้เคียงกันมาก  ถ้าลำพังจำได้เลาๆ ก็อาจจะจำสับสนได้  ในเมื่อเป็นกลอนที่จดภายหลังที่แต่งนานมาก  การสืบทอดแบบปากต่อปาก  โอกาสผิดเพี้ยนมีสูง  ที่สำคัญ ไปจับว่าผิดเพี้ยนกันเมื่อใดก็ไม่เหลือจะสืบได้  

กรมหลวงภูวเนตรฯ ทรงเป็นกวี แต่พระองค์ทรงหนักไปทางละคร    กรมหลวงภูวเนตรเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ที่ทรงสืบทอดการละครมาจากสมเด็จพระราชบิดาเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๓-๔  แต่ที่ว่าทรงสักวานั้นไม่ใคร่เห็นตัวอย่างพระนิพนธ์

กรมหมื่นภูธเรศรฯ  ทรงเป็นกวี  และทรงเล่นสักวา   อีกทั้งยังมีกรณีที่เกี่ยวกับอ้ายทิม (หลวงพัฒนพงศ์ภักดี ทิม สุขยางค์)  โดยตรง  เพราะได้ทรงพิจารณาคดีอ้ายทิมแต่งนิราศว่ากระทบสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  และอ้ายทิมได้รับโทษทวน (เฆี่ยนหลัง?) ด้วยตามที่สักวาว่าไว้

ถ้าเป็นกรมหลวงภูวเนตร  พระองค์จะทรงมาเกี่ยวกับอ้ายทิมได้อย่างไร  และอ้ายทิมจะโดนโทษทวน เพราะพระองค์ด้วยเหตุใด ก็แลไม่เห็น

ส่วนว่า เหมือนพุ่มพวงดวงเนตรของเชษฐา  น่าเป็นการยั่วล้อโดยโวหารกันในวงสักวามากกว่า  อย่าเพิ่งไปคิดว่า  เป็นการนับถือตามอายุอาวุโส  (ถ้าเคยดูลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เขาก็เล่นกันอย่างนี้)

โรคทุลาวะสะ  ขอเก็บไปเป็นการบ้านนะครับ  พอดีเอกสารอยู่ไกลมือ  ค้นไม่ทัน ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ม.ค. 10, 16:30

นายทิม   น่าจะเป็นชื่อมหาดเล็กค่ะ   คุณเพ็ญชมพู
จะมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นหุ้มแพรหรือไม่ก็ตาม  แต่ชื่อนี้คงเป็นที่เรียกกันมาจนคุ้นปากคุณพุ่ม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ม.ค. 10, 22:23

เข้ามารายงานตัวว่าเข้ามาอ่าน
และขอบพระคุณคุณวันดีกับคุณเพ็ญชมพูที่กรุณาเอ่ยถึงผลงานเรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ที่ผมเคยเสนอไว้ในเวปครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 08:47

กรุณาทำลิ้งค์เรื่องพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ไหมคะ   อยากไปอ่าน
ในเรือนไทย มีการเอ่ยถึงท่านไว้บ้างเหมือนกัน
http://www.reurnthai.com/index.php?action=search2
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 08:50


หม่อมเจ้าปฤษฎางค์  ต่อมาได้เป็นพระองค์เจ่า (คุณนวรัตน์ ได้เขียนเรื่องของท่านอย่างมีรสชาติเป็นที่สุดไว่ใน พันทิปแล้ว)

ชีวิตดั่งนิยาย-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กระดูกสันหลังพระปิยะมหาราช?
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8075368/K8075368.html

ในเรือนไทย

พระองค์เจ้าปฤษฎางค
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=174.0

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 08:56

สักวาวันนี้พี่สังเกต                      เหมือนพุ่มพวงดวงเนตรของเชษฐา
มิได้เล่นลับลี้หลายปีมา    

ตามประวัติของคุณพุ่มว่า    เมื่อสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้ว  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งชวนให้คุณพุ่มเข้ามารับราชการข้างในวังหลวง  แต่คุณพุ่มกราบบังคมทูลขอตัว   คงจะเป็นเพราะคุณพุ่มเห็นว่าอยู่นอกวังหลวงสบายใจกว่า  

ต่อมาคุณพุ่มได้ไปพึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิศณุนาถนิภาธร  พอเจ้านายพระองค์นี้สิ้นพระชนม์ (๒๔๐๕) ก็ไปพึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ  ต่อมาเจ้านายพระองค์นี้สิ้นพระชนม์ (๒๔๑๐) คุณพุ่มคงจะขาดที่พึ่งอยู่ระยะหนึ่ง  จึงได้เข้าไปอยู่ในวังหลวงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้านารีรัตนาและเจ้าจอมมารดาดวงคำในรัชกาลที่ ๔   ในระยะนี้คุณพุ่มได้แต่งเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๔ พอมีรายได้เลี้ยงตัว  จากนั้น คนคงเริ่มจำคุณพุ่มได้ในฐานะนักกลอนสักวา  

ต่อมา เมื่อรัชกาลที่ ๕ เริ่มทรงสักวา (ราวปี ๒๔๑๙)คุณพุ่มได้ย้ายเข้าไปรับราชการในสำนักกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร  ในตำแหน่งที่คนบอกสักวา  เจ้านายพระองค์นี้ได้ทรงชุบเลี้ยงคุณพุ่มต่อมาจนสิ้นอายุ        

ในช่วงที่คุณพุ่มระหกระเหิน  ท่านคงจะไม่ได้เล่นสักวาที่ไหน  คนก็ลืมท่าน   แต่ก็ยังมีคนจำได้อยู่บ้าง  คนที่เล่นสักวาสมัยก่อนต้องอาศัยผู้มีบุญบารมีช่วยชุบเลี้ยงให้เป็นคนบอกสักวาในวงของท่าน  ลำพังตัวคนเดียว  นักสักวาอยู่ลำบาก   กวีสมัยก่อนต้องพึ่งพาเข้านายหรือขุนนางที่มียศสูงๆ ชุบเลี้ยง   อนึ่งถึงเจ้านายจะชุบเลี้ยง  แต่ถ้าเจ้านายไม่มีนิสัยรักในการเล่นสักวา  ก็ไม่มีโอกาสแสดงฝีมือ  คงได้แต่รับใช้งานอื่นไปตามถนัด

ฉะนั้น ที่ว่า  "มิได้เล่นลับลี้หลายปีมา" ก็บ่งบอกว่า  คุณพุ่มว่างเว้นจากวงสักวามานานมาก  
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 09:25

อ้างถึง
และเล่ากันต่อมาว่า สักวาดังกล่าว  เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร)จำไว้ได้บ้าง  จะหาฉบับให้จบยังไม่ได้

ในเมื่อเจ้าพระยาเทเวศรฯ เป็นคนจดจำบทสักวา "ยำขี้เหล็ก" นี้ได้    ก็ต้องมาดูประวัติของท่านประกอบกับพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ด้วย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
ประสูติ  ๒๔ พ.ค. ๒๓๔๔ ในรัชกาลที่ ๑
ทรงกรม เป็นกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เมื่อ ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๔ (ขึ้นเป็นกรมหลวงทีเดียว ไม่ได้เป็นกรมหมื่นมาก่อน)สิ้นพระชนม์ ๒๘ พ.ย. ๒๓๙๙ พระชันษา ๕๖ ปี  ได้เคยทรงกำกับราชการกรมพระนครบาลอยู่ช่วงสั้นก่อนจะสิ้นพระชนม์

ถ้ากลอนสักวาดังกล่าว  คุณพุ่มแต่งว่า กรมหลวงภูวเนตรฯ จริง  ก็ต้องเป็นช่วงระยะ ๒๓๙๔ - ๒๓๙๙ เป็นระยะเวลาประมาณ ๖ปี  แต่ใน ๖ ปีนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์คงจะทรงประชวรเสียสัก ๑-๒ ปี ซึ่งน่าจะไม่ได้ทรงสักวาได้

เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน  กุญชร)
เกิดเมื่อ ๑๘ พ.ย. ๒๓๙๕
ทำราชการ ถวายตัวทำราชการในปลายรัชกาลที่ ๔
๒๔๑๒ เป็นมหาดเล็กสารถีรถพระที่นั่ง  ๒๔๑๓ เป็นนายกวด มหาดเล็กหุ้มแพร  ๒๔๑๔ เป็นายจ่ายง  ๒๔๒๑ เป็นหลวงเดช นายเวรมหาดเล็ก  ๒๔๒๒ เป็นเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี  ๒๔๓๒ เป็นพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์  ๒๔๔๓ เป็นเจ้าพระยาในราชทินนามเดิม
ถึงแก่อสัญกรรม ๑ ม.ค. ๒๔๖๕ อายุได้ ๗๐ ปี ๑เดือน ๗วัน

ถ้าคุณพุ่มแต่งสักวาว่ากรมหลวงภูวเนตรฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในระยะ ๒๓๙๔-๒๓๙๙ จริง เจ้าพระยาเทเวศรฯ เพิ่งจะเกิดและมีอายุได้อย่างมากที่สุด ๔ ขวบ และยังไม่ได้เข้ารับราชการ  ท่านจะได้ยินได้ฟังกับจดจำกลอนสักวามาบอกเล่าต่อได้อย่างไร  เว้นเสียแต่ว่า ท่านจะไปฟังคนอื่นเล่าให้ฟังอีกที อาจจะใช่ 

แต่กำลังสงสัยว่า  กลอนสักวาดังกล่าวนี้ คงเล่นเป็นการภายใน  (ส่วนพระองค์) คุณพุ่มจึงกล้าแต่งว่าเจ้านายได้   คนที่อยู่ร่วมฟังสักวาคราวนั้นจึงจดจำได้บ้าง (ไม่จบบท) และไม่มีการจดบันทึก  ถ้าคุณพุ่มเล่นสักวาบทนี้ในรัชกาลที่ ๔ กรมหลวงภูวเนตรฯ ก็มีพระชนม์ ๕๐ ปีเศษ แล้ว นับเป็นเจ้านายผู้ใหญ่  คุณพุ่มน่าจะเป็นสาว แต่อายุคงจะน้อยกว่ามาก  ตีเสียว่าน่าจะตกราว ๒๐ - ๓๐ เศษ  ท่านจะกล้าแต่งว่าเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หรือ  ที่สำคัญคุณพุ่มตอนนั้นสังกัดวงสักวาวังไหน วังหน้า?  คุณพุ่มสักวานี้ที่ไหน วังหน้า?  แล้วเจ้าพระยาเทเวศรฯ ไปทราบได้อย่างไร ใครเล่าให้ฟัง  พวกวังหน้า?

จะมีใครตอบได้ให้หายข้องใจบ้างหนอ ลังเล ลังเล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 10:12

กรมหมื่นภูธเรศรฯ  ทรงเป็นกวี  และทรงเล่นสักวา   อีกทั้งยังมีกรณีที่เกี่ยวกับอ้ายทิม (หลวงพัฒนพงศ์ภักดี ทิม สุขยางค์)  โดยตรง  เพราะได้ทรงพิจารณาคดีอ้ายทิมแต่งนิราศว่ากระทบสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)  และอ้ายทิมได้รับโทษทวน (เฆี่ยนหลัง?) ด้วยตามที่สักวาว่าไว้

ขอสรุปมูลเหตุของคดีนิราศหนองคายอีกทีในส่วนที่เกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ด้วยพระชนมพรรษาเพียง ๑๖ พรรษา  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๑๖ จะเห็นได้ว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านมีความสำคัญและยิ่งใหญ่เพียงใด

มูลเหตุของคดีนิราศหนองคายมาจากความขัดแย้งระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าสายตระกูลบุนนาคซึ่งกุมอำนาจไว้ทั้งหมด กับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดสงครามปราบฮ่อ ทั้งสองได้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในการจัดทัพ ทำให้นายทิมซึ่งเป็นคนของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ฯ ต้องออกมา “เถียงแทนนาย” ผ่าน นิราศหนองคาย โดยหาว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ สั่งเดินทัพในฤดูฝนเป็นการไม่สมควร ทั้งยังเป็นการขาดเมตตาจิตต่อไพร่พล สมเด็จเจ้าพระยาฯ โกรธมาก จึงนำเรื่องเข้ากราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งผลให้มีการสั่งเผา นิราศหนองคาย และลงโทษนายทิมด้วยการโบย ๕๐ ทีและจำคุก ๘ เดือน

ในสักวาของคุณพุ่มตรงที่ว่า

เอานาย (อ้าย) ทิมเข้ามาทวนพอควรกัน                        เหมือนอย่างหั่นใบขี้เหล็กให้เด็กยำ

ถ้าสมมุติฐานของอาจารย์ล้อมถูกต้อง

ขอถามบ้าง

ใครเป็นคนหั่นใบขี้เหล็ก  ใบขี้เหล็กคือใครหรืออะไร และเด็กที่ยำใบขี้เหล็กเป็นใคร

 ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 11:17

ขอเปลี่ยนบรรยากาศเรื่องใบขี้เหล็กกลับมาสู่เรื่องของพระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่)

๕.    นายภู่
       ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก  แล้วได้เป็นจางวาง ในพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์  รัชกาลที่ ๒

       บ้านนายภู่จางวางตั้งอยู่ริมน้ำฝั่งตะวันตก  บางยี่ขันเหนือบ้านปูน   ภายหลังยกบ้านสร้สงเป็นวัดคฤหบดี

       ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้เป็นพระยาราชมนตรี  แล้วให้เป็นอธิบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ
       พระราชทานบ้านท่าพระให้พระยาราชมนตรี(ภู่)

วัดคฤหบดีเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เหนือซอยบ้านปูน ในซอยวิมลสรกิจ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ๔๔ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

ประวัติของวัดมีคำอธิบายอยู่ในป้าย  ขอให้สังเกตบรรดาศํกดิ์ของสุนทรภู่

พระศรีสุนทรโวหาร ?

 ตกใจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 11:28

ของดีภายในวัด

หลวงพ่อแซกคำ พระพุทธรูปทองคำแท้จากเวียงจันทน์

ทั้งสองภาพนี้ได้มาจากคุณเสือออย
http://www.pantown.com/board.php?id=12944&area=4&name=board1&topic=126&action=view


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 13:05

สลับมาเรื่องของธิดาพระยาราชมนตรี (ภู่) บ้าง

คุณพุ่มคงจะขาดที่พึ่งอยู่ระยะหนึ่ง  จึงได้เข้าไปอยู่ในวังหลวงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้านารีรัตนาและเจ้าจอมมารดาดวงคำในรัชกาลที่ ๔   ในระยะนี้คุณพุ่มได้แต่งเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๔ พอมีรายได้เลี้ยงตัว

คุณพุ่มเขียนไว้ในเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๔  รำพันถึงชีวิตตนเองว่า หลังจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว เธอก็ลำบากยากจนลง  

ล่วงแผ่นดินปิ่นเกษจอมมงกุฎ              กลับจนรุดเกินริบที่ฉิบหาย
เหลือแต่กลอนกับชีวิตรอยู่ติดกาย         จึงพากเพียรเขียนถวายขายปัญญา
คนที่รู้พระเดชเกษกระหม่อม               เขาก็ย่อมนับถือมักซื้อหา
เอาอ่านเอิ้นเชิญชูขึ้นบูชา                  เดี๋ยวนี้ก็มาขอลอกฉันออกเต็ม
แต่ปัญญาหาไม่ง่ายเหมือนขายของ        ใช่เข้าพองร้องแรกเที่ยวแลกเข็ม
เรียนต่อครูรู้หลักตวงตักเต็ม                ต้องเก็บเลมเลือกคัดอัธิบาย


ชะตาชีวิตของธิดาคฤหบดี

เหลือแต่กลอนและชีวิตรอยู่ติดกาย   จึงพากเพียรเขียนเรื่องถวายขายปัญญา

 เศร้า



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 13:38

คุณพุ่มไม่ใช่คนสิ้นไร้ไม้ตอก   พี่น้องก็มี    แต่ดูท่าทีว่าเธอจะมีทิฐิ  ไม่หันไปพึ่งใคร
ปกติผู้หญิงตัวคนเดียวในสมัยโน้น  เขาก็อยู่รวมกับพี่น้อง  ให้อุ่นใจ   
โดยมากก็อาศัยในบ้านเดียวกับพี่น้องผู้ชายที่มีบารมี    เพื่ออาศัยให้คุ้มครอง   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 29 ม.ค. 10, 15:32

คุณพุ่มเขียนไว้อีกในนิราศวังบางยี่ขัน เมื่อตามเสด็จพระองค์เจ้านารีรัตนาไปเยี่ยมพระญาติ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๑๒

พ่อแม่น้ายายตายเหมือนถั่ว                  ยังแต่ตัวเต็มทีออกปี้ป่น
มายอมยากฝากชีวิตด้วยฤทธิจน             อยู่เป็นคนชิดใช้หมั่นไปมา
................................              ........................
โอ้วารียังรู้มีเวลาว่าง                          นิราศร้างแรมทิ้งตลิ่งหมอง
รู้คลาดเคลื่อนเลื่อนลดไปหมดคลอง         ดูทำนองเหมือนในน้ำใจคน
เมื่อคราวดีมีผู้มาสู่หา                         หมายพึ่งพาผูกรักเป็นพักผล
พอถอยยศลดลับฤๅอับจน                   ไม่เห็นคนใครทักรู้จักเลย


ต้องขอบพระคุณคุณวันดีที่กรุณานำมาให้อ่าน

 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง